ช่วงใกล้สิ้นสุดปีการศึกษาของทุกปีจะเป็นช่วงที่ว่าที่บัณฑิตใหม่จากสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนต่างเตรียมตัวหางานทำเพื่อสร้าง อนาคตและแบ่งเบาภาระของครอบครัว แต่สำหรับปีนี้ผลกระทบที่ประเทศไทยได้รับอันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ เป็นผลให้หน่วยงานหลาย แห่งต้องปรับลดจำนวนพนักงาน บางแห่งไม่มีนโยบายรับพนักงานเพิ่ม โดยมีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีปัญหาคนว่างงาน ประมาณ 5 แสนถึง 1 ล้านคน ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะการหางานทำของว่าที่บัณฑิตใหม่เป็นอย่างยิ่ง ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจ ความคิดเห็นเรื่อง “ความกังวลของว่าที่บัณฑิตใหม่ในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ” โดยเก็บข้อมูลจากนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้ายซึ่งกำลังจะจบการ ศึกษาในช่วงระยะนี้ จากมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 20 แห่ง รวมทั้งสิ้น 1,226 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 45.0 และเพศหญิงร้อยละ 55.0 เมื่อวันที่ 6 - 11 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
- กังวล ร้อยละ 52.2
(โดยแบ่งเป็น กังวลมากร้อยละ 17.5 และค่อนข้างกังวลร้อยละ 34.7)
- ไม่กังวล ร้อยละ 47.8
(โดยแบ่งเป็น ไม่กังวลเลยร้อยละ 17.9 และไม่ค่อยกังวล ร้อยละ 29.9)
(โดยกลุ่มที่ระบุว่าไม่กังวลให้เหตุผลว่า เนื่องจากมีแผนจะศึกษาต่อ และจะกลับไปช่วยกิจการของครอบครัว ฯลฯ)
1.1 เมื่อเปรียบเทียบความกังวลระหว่างผู้ที่กู้เงินจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กับผู้ที่ไม่ได้กู้ยืม พบว่า ผู้ที่กู้ยืมเงินจากกองทุนกู้ ยืมฯ มีความกังวลเรื่องการตกงานมากกว่าผู้ที่ไม่ได้กู้ยืมร้อยละ 16.0 ดังนี้
- ผู้ที่กู้ยืมเงินจากกองทุนกู้ยืม มีความกังวลร้อยละ 64.4 ไม่กังวลร้อยละ 35.6 - ผู้ที่ไม่ได้กู้ยืม มีความกังวลร้อยละ 48.4 ไม่กังวลร้อยละ 51.6
1.2 เมื่อเปรียบเทียบความกังวลระหว่างผู้ที่ศึกษาในสถาบันของรัฐกับเอกชน พบว่า มีความกังวลใกล้เคียงกัน ดังนี้
- ผู้ที่เรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐบาล มีความกังวลร้อยละ 51.1 ไม่กังวลร้อยละ 48.9 - ผู้ที่เรียนในมหาวิทยาลัยของเอกชน มีความกังวลร้อยละ 53.6 ไม่กังวลร้อยละ 46.4 2. ความมั่นใจของว่าที่บัณฑิตใหม่ว่าจะได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานที่เหมาะสมกับคุณวุฒิ (ไม่ต่ำกว่าคุณวุฒิ) ที่จบมา พบว่า - มั่นใจ ร้อยละ 37.4
(โดยแบ่งเป็น มั่นใจมากร้อยละ 7.7 และค่อนข้างมั่นใจร้อยละ 29.7)
- ไม่มั่นใจ ร้อยละ 62.6
(โดยแบ่งเป็น ไม่มั่นใจเลยร้อยละ 11.4 และไม่ค่อยมั่นใจร้อยละ 51.2)
- หาช่องทางประกอบอาชีพส่วนตัว ร้อยละ 31.6 - เรียนต่อเพื่อให้ได้คุณวุฒิที่สูงขึ้น ร้อยละ 29.7 - ยอมทำงานที่ได้ค่าตอบแทนต่ำกว่าคุณวุฒิ ร้อยละ 16.5 - ยังไม่มีแนวทางการรับมือ / ยังคิดไม่ออก ร้อยละ 13.7 - ศึกษา/อบรมทักษะเฉพาะด้านเพิ่มเติม เช่น ด้านภาษา ร้อยละ 6.9 - อื่นๆ อาทิ ยอมทำงานที่ไม่ตรงกับสาขาที่เรียนและไปหางานทำเมืองนอก เป็นต้น ร้อยละ 1.6 4. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการฟื้นฟูและแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ พบว่า - เชื่อมั่น ร้อยละ 65.4
(โดยแบ่งเป็น เชื่อมั่นมากร้อยละ 12.2 และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 53.2)
- ไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 34.6
(โดยแบ่งเป็น ไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 5.7 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 28.9)
- เชื่อมั่น ร้อยละ 55.5
(โดยแบ่งเป็น เชื่อมั่นมากร้อยละ 9.0 และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 46.5)
- ไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 44.5
(โดยแบ่งเป็น ไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 6.5 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 38.0)
- เร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้บังเกิดผลโดยเร็ว ร้อยละ 47.0 - ส่งเสริมการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อขยายตำแหน่งงาน ร้อยละ 31.7 - จัดโครงการตลาดนัดแรงงานให้บ่อยขึ้น ร้อยละ 8.0 - เพิ่มเงินเดือนและค่าครองชีพเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย ร้อยละ 5.9 - เร่งสร้างความเชื่อมั่นด้านการลงทุนกับนักลงทุนต่างชาติ ร้อยละ 4.9 - อื่นๆ เช่น ส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมธุรกิจ SME และ- ร้อยละ 2.5
เลิกโต้เถียงกันในสภาด้วยเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว ฯลฯ
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของว่าที่บัณฑิตใหม่ ในประเด็นต่อไปนี้
1. ความกังวลเรื่องการตกงาน
2. ความมั่นใจว่าจะได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานที่เหมาะสมกับคุณวุฒิ (ไม่ต่ำกว่า คุณวุฒิ) ที่จบมา
3. แนวทางการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
4. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
5. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการแก้ปัญหาเรื่องการว่างงาน
6. สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการโดยเร่งด่วนเพื่อบรรเทาปัญหาการตกงานของบัณฑิตใหม่
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาในชั้นปีสุดท้ายจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ใน เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) ได้แก่ การสุ่มสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจำนวน 10 แห่ง และเอกชนจำนวน 10 แห่ง จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,226 คน เป็นเพศชาย ร้อย ละ 45.0 และเพศหญิง ร้อยละ 55.0
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุด มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 6 — 11 กุมภาพันธ์ 2552 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 16 กุมภาพันธ์ 2552
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 552 45.0 หญิง 674 55.0 รวม 1,226 100.0 ประเภทของสถานศึกษา รัฐบาล 708 57.7 เอกชน 518 42.3 รวม 1,226 100.0 ที่มาของค่าเทอมในการเรียน กู้จากกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา(กยศ.) 292 23.8 ทุนส่วนตัว 934 76.2 รวม 1,226 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--