จากการที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึง 1 มีนาคม ที่จะถึงนี้ นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับชาติต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนแล้ว หลายฝ่ายต่างมุ่งหวังที่จะใช้การประชุมดังกล่าว เป็นโอกาสในการฟื้นฟูภาพลักษณ์ความเชื่อมั่นของประเทศไทยกลับคืนมา ขณะที่สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองยังคงส่อเค้าท่าทีที่น่าเป็นห่วงศูนย์ วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุด ยอดผู้นำอาเซียน” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 1,210 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 50.6 และเพศหญิงร้อยละ 49.4 เมื่อวันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
ทราบ ร้อยละ 91.3 ไม่ทราบ ร้อยละ 8.7 2. ความสนใจต่อข่าวการจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14 ในกลุ่มประชาชนที่ทราบข่าว สนใจ ร้อยละ 55.2
(โดยแบ่งเป็น สนใจมากร้อยละ 15.4 และสนใจค่อนข้างมากร้อยละ 39.8)
ไม่สนใจ ร้อยละ 44.8
(โดยแบ่งเป็น ไม่สนใจเลยร้อยละ 4.8 และไม่ค่อยสนใจร้อยละ 40.0)
รู้สึกว่ามีส่วนร่วม ร้อยละ 31.4
(โดยแบ่งเป็น รู้สึกว่ามีส่วนร่วมมากร้อยละ 10.3 และรู้สึกว่ามีส่วนร่วมค่อนข้างมากร้อยละ 21.1)
ไม่รู้สึกว่ามีส่วนร่วม ร้อยละ 68.6
(โดยแบ่งเป็น ไม่รู้สึกว่ามีส่วนร่วมเลยร้อยละ 18.4 และไม่ค่อยรู้สึกว่ามีส่วนร่วมร้อยละ 50.2)
- เชื่อมั่น ร้อยละ 72.2
(โดยแบ่งเป็น เชื่อมั่นมากร้อยละ 22.5 และเชื่อมั่นค่อนข้างมากร้อยละ 49.7)
- ไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 27.8
(โดยแบ่งเป็น ไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 23.3 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 4.5)
- การกระตุ้นการท่องเที่ยว มีคะแนนเฉลี่ย 6.92 คะแนน
- ความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน
มีคะแนนเฉลี่ย 6.61 คะแนน
- การฟื้นฟูภาพลักษณ์ความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตานานาชาติ
มีคะแนนเฉลี่ย 6.22 คะแนน
- การนัดชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ร้อยละ 49.6
- ผลกระทบที่คนไทยจะได้รับจากข้อตกลงในเรื่องต่างๆ ร้อยละ 26.2 - การรักษาความปลอดภัยให้กับผู้เข้าร่วมประชุม ร้อยละ 10.8 - การเตรียมความพร้อมของแต่ละฝ่ายในการจัดประชุม ร้อยละ 10.7 - ไม่มีเรื่องใดน่ากังวล ร้อยละ 2.7 7. ข้อมูลที่ประชาชนต้องการทราบมากที่สุดเกี่ยวกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14 คือ - ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจที่ประเทศไทยจะได้รับ ร้อยละ 42.6 - ข้อสรุปจากการประชุมที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ร้อยละ 33.9 - หัวข้อหลักๆ ในการประชุม ร้อยละ 8.3 - ผลได้ผลเสียจากการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ร้อยละ 3.8
- เรื่องอื่นๆ อาทิ การแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา ข้อพิพาทกรณีเขาพระวิหาร-
ปัญหาชายแดน ปัญหาความมั่นคง และรายชื่อผู้เข้าประชุม ฯลฯ ร้อยละ 11.4
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นต่อไปนี้
1. การรับทราบข่าวการจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
2. ความสนใจติดตามข่าวการจัดประชุม
3. ความรู้สึกมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้
4. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะสามารถจัดงานประชุมให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
5. ความคาดหวังต่อความสำเร็จในด้านต่างๆ จากการที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุม
6. เรื่องที่กังวลมากที่สุดจากการที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดประชุม
7. ข้อมูลที่ต้องการทราบมากที่สุดเกี่ยวกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งแบ่งด้วยการสุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน จำนวน 20 เขต ได้แก่ เขตคลองสาม วา จตุจักร บางกอกน้อย บางกะปิ บางขุนเทียน บางแค บางนา บางบอน บางพลัด บางรัก ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระโขนง ยานนาวา ราช เทวี ลาดพร้าว สวนหลวง สาทร และหนองแขม จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,210 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.6 และเพศหญิงร้อยละ 49.4
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมา ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 21-23 กุมภาพันธ์ 2552 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 25 กุมภาพันธ์ 2552
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 615 50.6 หญิง 595 49.4 รวม 1,210 100.0 อายุ 18 ปี - 25 ปี 310 25.6 26 ปี — 35 ปี 413 34.1 36 ปี — 45 ปี 277 22.9 46 ปีขึ้นไป 210 17.4 รวม 1,210 100.0 อาชีพ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 173 14.3 พนักงานบริษัทเอกชน 415 34.3 ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว 250 20.7 รับจ้างทั่วไป 138 11.4 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 61 5.0 อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 173 14.3 รวม 1,210 100.00 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 460 38.0 ปริญญาตรี 670 55.4 สูงกว่าปริญญาตรี 80 6.6 รวม 1,210 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--