หลักการและเหตุผล
ประเทศกำลังพัฒนามักประสบปัญหากับการจัดการท่องเที่ยว เนื่องจากนโยบายการท่องเที่ยวมักมุ่งเน้นเพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ
สำคัญในการสร้างรายได้ให้ประเทศ และสร้างงานให้กับประชาชน ทำให้มักละเลยรายละเอียดและขาดการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักท่องเที่ยว โดย
เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของวัฒนธรรมประเพณีที่มีเอกลักษณ์และรูปแบบอันดีงาม
เทศกาลสงกรานต์ประกอบด้วยกิจกรรมและรายละเอียดมากมายที่สอดแทรกและบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย การพัฒนาการท่องเที่ยว
โดยยังคงรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์และวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ถูกต้องและมีคุณค่าเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรตระหนักถึงอย่างมาก ไม่
เช่นนั้นประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามอาจถูกทำให้ผิดเพี้ยนด้อยค่าไปโดยไม่รู้ตัว
ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนควบคู่กับการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทยเอา
ไว้ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์จึงดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการเดินทางมาท่องเที่ยวเมืองไทยในช่วงเทศกาล
สงกรานต์ขึ้น
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามข้อมูลความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ในประเด็นต่อไปนี้
-วัตถุประสงค์และรูปแบบของการเดินทางมาประเทศไทย
-สิ่งที่ประทับใจมากที่สุดเกี่ยวกับประเทศไทย
-การเข้าร่วมกิจกรรมในช่วงเทศกาลสงกรานต์
-การรับรู้และความเข้าใจที่มีต่อเทศกาลสงกรานต์
-สิ่งที่ประทับใจและไม่ประทับใจมากที่สุดเกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์
-ความมั่นใจในความปลอดภัยขณะอยู่ในประเทศไทย
-ความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการพักอาศัยกับครอบครัวคนไทยในช่วงเทศกาลสงกรานต์
-ระดับความพึงพอใจที่มีต่อความมีมิตรไมตรีของคนไทย ความสะอาดของถนนหนทาง ป้ายบอกทางและชื่อถนน ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวและ
กิจกรรม คุณภาพของแหล่งจับจ่ายซื้อของ และมัคคุเทศก์
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจครั้งนี้ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่กำลังจะเดินทางออกนอกประเทศ ณ บริเวณขาออก ของอาคารผู้โดยสาร
ระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 445 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 61.3 เพศหญิง ร้อยละ
38.7 โดยมาจากทวีปเอเชียร้อยละ 44.0 ทวีปยุโรปร้อยละ 39.1 ทวีปอเมริการ้อยละ 5.8 ทวีปออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ร้อยละ
9.9 ทวีปแอฟริกาและอื่น ๆ ร้อยละ 1.2 อายุระหว่าง 15-24 ปีร้อยละ 18.4 อายุ 25-34 ปีร้อยละ 38.7 อายุ 35-44 ปีร้อยละ
22.5 อายุ 45-54 ปีร้อยละ 13.5 อายุ 55-64 ปีร้อยละ 5.6 และอายุมากกว่า 64 ปีร้อยละ 1.3 จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ
11.7 และจบปริญญาตรีขึ้นไปร้อยละ 88.3
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล - 16 เมษายน 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ - 18 เมษายน 2549
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776 http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 38.7 เดินทางมาประเทศไทยเป็นครั้งแรก ร้อยละ 34.2 เดินทางมา 2-4 ครั้ง ร้อยละ 10.3 เดินทางมา
5-7 ครั้ง ร้อยละ 8.1 เดินทางมา 8-10 ครั้ง และร้อยละ 8.7 เดินทางมามากกว่า 10 ครั้งโดยวัตถุประสงค์ในการเดินทางมายังประเทศไทย
นั้นร้อยละ 78.3 มาท่องเที่ยวพักผ่อน ร้อยละ 12.3 มาติดต่อธุรกิจ และร้อยละ 9.4 มาเยี่ยมญาติ เยี่ยมเพื่อนทั้งนี้ส่วนใหญ่คือร้อยละ 60.5 เดิน
ทางมากับครอบครัวและเพื่อนฝูง ร้อยละ 24.7 มาคนเดียว มีเพียงร้อยละ 14.8 ที่มากับทัวร์
2. เมื่อถามถึงสิ่งที่ประทับใจมากที่สุดเกี่ยวกับประเทศไทย อันดับแรกร้อยละ 44.0 ประทับใจในความเป็นมิตรไมตรีของคนไทย รอง
ลงมาร้อยละ 12.6 ประทับใจวัฒนธรรมประเพณี ร้อยละ 11.0 ประทับใจแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่นทะเลและเกาะ ร้อยละ 7.6 ประทับ
ใจแหล่งช็อปปิ้ง ร้อยละ 6.5 ประทับใจอาหารไทย ร้อยละ 4.0 ประทับใจโบราณสถาน/วัด/วัง ร้อยละ 2.5 ประทับใจที่พักและการบริการ
และร้อยละ 11.8 ประทับใจอย่างอื่น อาทิ แหล่งท่องเที่ยวยามราตรี และความทันสมัย
3. ในส่วนของประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรมในเทศกาลสงกรานต์นั้น ร้อยละ 62.0 ได้เข้าร่วมงานเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา
ขณะที่ร้อยละ 38.0 ไม่ได้เข้าร่วมสำหรับความรู้สึกที่มีต่อเทศกาลสงกรานต์ของไทยในภาพรวมนั้น ร้อยละ 66.7 ระบุว่าชอบ (โดยร้อยละ 25.6 ชอบ
มาก และร้อยละ41.1 ค่อนข้างชอบ) มีเพียงร้อยละ 3.4 ที่ไม่ชอบ (โดยไม่ชอบเลยร้อยละ 1.6 และไม่ค่อยชอบร้อยละ 1.8) และร้อยละ
29.9 รู้สึกเฉยๆ กับเทศกาลดังกล่าวส่วนการและความเข้าใจเกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์ อันดับแรกร้อยละ 44.5 รับรู้ว่าเป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ของ
ไทย รองลงมาร้อยละ 14.9 รับรู้ว่าเป็นเทศกาลรื่นเริงสนุกสนาน และร้อยละ 10.5 รับรู้ว่าเป็นเทศกาลทำบุญตักบาตรสำหรับสิ่งที่ประทับใจมากที่สุด
เกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์ 3 อันดับแรก ได้แก่ ความสนุกสนานรื่นเริง ร้อยละ 34.3 การสาดน้ำเพื่อคลายร้อนร้อยละ 15.3 และวัฒนธรรม
ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ ร้อยละ 8.3ส่วนสิ่งที่ไม่ประทับใจมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การเล่นสาดน้ำมากเกินไปทำให้ไม่สะดวกในการเดินทางไป
เที่ยวยังสถานที่ต่างๆ ร้อยละ 24.6 คนเยอะ รถติด มีอุบัติเหตุมาก ร้อยละ 6.0 และการเล่นแป้ง น้ำแข็งและน้ำผสมสี ร้อยละ 5.6
4. เมื่อถามถึงความมั่นใจด้านความปลอดภัยในการมาเที่ยวเมืองไทยช่วงเทศกาลสงกรานต์ ร้อยละ 91.5 ระบุว่ามั่นใจ มีเพียงร้อย
ละ 1.8 ที่ไม่มั่นใจ และร้อยละ 6.7 ไม่แสดงความเห็น
5. ในส่วนของการประเมินปัจจัยการท่องเที่ยวของไทยในด้านต่างๆ นั้น พบว่า ความเป็นมิตรของคนไทยได้รับคะแนนในด้านดีสูงสุดคือ
ร้อยละ 97.5 รองลงมาคือแหล่งช็อปปิ้งร้อยละ 96.9 การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมต่างๆ ร้อยละ 87.7 มัคคุเทศก์
86.3 ความถูกต้องชัดเจนของป้ายบอกทางร้อยละ 78.2 ส่วนความสะอาดของถนนหนทางได้คะแนนต่ำสุดคือร้อยละ 67.1
ตารางแสดงผลการสำรวจ
ตารางที่ 1 : แยกตามโซนทวีปของกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ร้อยละ
เอเชีย 196 44.0
ยุโรป 174 39.1
อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ 26 5.8
ออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ 44 9.9
แอฟริกาและอื่นๆ 5 1.2
ตารางที่ 2 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 273 61.3
หญิง 172 38.7
อายุ
15-24 ปี 82 18.4
25-34 ปี 172 38.7
35-44 ปี 100 22.5
45-54 ปี 60 13.5
55-64 ปี 25 5.6
มากกว่า 64 ปี 6 1.3
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 52 11.7
ตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป 393 88.3
จำนวนครั้งที่เดินทางมาประเทศไทย
ครั้งแรก 172 38.7
2-4 ครั้ง 152 34.2
5-7 ครั้ง 46 10.3
8-10 ครั้ง 36 8.1
มากกว่า 10 ครั้ง 39 8.7
วัตถุประสงค์ของการเดินทางมาประเทศไทย(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ติดต่อธุรกิจ 59 12.3
ท่องเที่ยวพักผ่อน 374 78.3
เยี่ยมญาติ/เยี่ยมเพื่อน 45 9.4
รูปแบบการเดินทางมาประเทศไทยในครั้งนี้
เดินทางมากับกรุ๊ปทัวร์ 66 14.8
เดินทางมากับครอบครัว/เพื่อน 269 60.5
เดินทางมาคนเดียว 110 24.7
ตารางที่ 3: สิ่งที่ประทับใจมากที่สุดเกี่ยวกับประเทศไทย
จำนวน ร้อยละ
ความเป็นมิตรไมตรีของคนไทย 196 44.0
วัฒนธรรมประเพณี 56 12.6
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ทะเล เกาะ 49 11.0
แหล่งช็อปปิ้ง 34 7.6
อาหาร 29 6.5
โบราณสถาน วัด พระราชวัง 18 4.0
ที่พักและการบริการ 11 2.5
อื่นๆ อาทิ แหล่งท่องเที่ยวยามราตรี และความทันสมัย 52 11.8
ตารางที่ 4: ประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรมในเทศกาลสงกรานต์
จำนวน ร้อยละ
ได้เข้าร่วมงานเทศกาลสงกรานต์ 276 62.0
ไม่ได้เข้าร่วมงานเทศกาลสงกรานต์ 169 38.0
ตารางที่ 5: ความรู้สึกที่มีต่อเทศกาลสงกรานต์ของไทย
จำนวน ร้อยละ
ชอบมาก 114 25.6
ค่อนข้างชอบ 183 41.1
เฉยๆ 133 29.9
ไม่ค่อยชอบ 8 1.8
ไม่ชอบเลย 7 1.6
ตารางที่ 6: ความเข้าใจ/การรับรู้เกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
จำนวน ร้อยละ
เป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ของไทย 371 44.5
เป็นเทศกาลรื่นเริงสนุกสนาน 124 14.9
เป็นเทศกาลแห่งการทำบุญตักบาตรตามความเชื่อทางศาสนา 88 10.5
เป็นเทศกาลแห่งการพบปะสังสรรค์ในหมู่ญาติ 85 10.2
เป็นเทศกาลเล่นสาดน้ำเพื่อคลายร้อน 83 10.0
เป็นเทศกาลแห่งการรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ 63 7.6
ไม่ทราบ 19 2.3
ตารางที่ 7: สิ่งที่ประทับใจมากที่สุดเกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์
จำนวน ร้อยละ
ความสนุกสนานรื่นเริง 153 34.3
การสาดน้ำเพื่อคลายร้อน 68 15.3
วัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ 37 8.3
ความยิ้มแย้มเป็นมิตรของคนไทย 33 7.4
บรรยากาศโดยรวม 32 7.2
การพบปะสังสรรค์ในหมู่ญาติ 7 1.6
อื่นๆ 33 7.4
ไม่มีสิ่งที่ประทับใจ 11 2.5
ไม่แสดงความเห็น 71 16.0
ตารางที่ 8: สิ่งที่ไม่ประทับใจมากที่สุดเกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์
จำนวน ร้อยละ
การเล่นสาดน้ำมากเกินไปทำให้ไม่สะดวกต่อการเดินทางไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆ 110 24.6
คนเยอะ รถติด มีอุบัติเหตุมาก 27 6.0
การเล่นแป้ง น้ำแข็ง และน้ำผสมสี 25 5.6
ขยะและความสกปรก 10 2.2
ร้านค้าปิดกิจการไม่สามารถใช้บริการได้ 10 2.2
การเมาสุรา 8 1.8
อื่นๆ 27 6.0
ไม่มีสิ่งที่ไม่ประทับใจ 78 17.5
ไม่แสดงความเห็น 150 33.7
ตารางที่ 9: ความมั่นใจด้านความปลอดภัยในการมาเที่ยวเมืองไทยช่วงเทศกาลสงกรานต์
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 407 91.5
ไม่มั่นใจ 8 1.8
ไม่แสดงความเห็น 30 6.7
ตารางที่ 10: การประเมินปัจจัยด้านการท่องเที่ยวของไทย
ดีมาก(ร้อยละ) ค่อนข้างดี(ร้อยละ) ไม่ค่อยดี(ร้อยละ) ไม่ดีเลย(ร้อยละ) ไม่แสดงความเห็น(ร้อยละ)
ความเป็นมิตรไมตรี 58.2 39.3 1.3 0.0 0.5
ความสะอาดของถนนหนทาง 9.6 57.5 29.7 1.6 1.6
ความถูกต้องชัดเจนของป้ายบอกทาง 9.4 68.8 18.9 0.9 2.0
ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมต่างๆ 20.0 67.7 10.3 0.4 1.6
แหล่งช็อปปิ้ง 38.2 58.7 1.8 0.0 1.3
มัคคุเทศก์ 18.7 67.6 8.1 0.2 5.4
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-กภ-
ประเทศกำลังพัฒนามักประสบปัญหากับการจัดการท่องเที่ยว เนื่องจากนโยบายการท่องเที่ยวมักมุ่งเน้นเพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ
สำคัญในการสร้างรายได้ให้ประเทศ และสร้างงานให้กับประชาชน ทำให้มักละเลยรายละเอียดและขาดการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักท่องเที่ยว โดย
เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของวัฒนธรรมประเพณีที่มีเอกลักษณ์และรูปแบบอันดีงาม
เทศกาลสงกรานต์ประกอบด้วยกิจกรรมและรายละเอียดมากมายที่สอดแทรกและบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย การพัฒนาการท่องเที่ยว
โดยยังคงรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์และวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ถูกต้องและมีคุณค่าเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรตระหนักถึงอย่างมาก ไม่
เช่นนั้นประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามอาจถูกทำให้ผิดเพี้ยนด้อยค่าไปโดยไม่รู้ตัว
ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนควบคู่กับการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทยเอา
ไว้ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์จึงดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการเดินทางมาท่องเที่ยวเมืองไทยในช่วงเทศกาล
สงกรานต์ขึ้น
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามข้อมูลความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ในประเด็นต่อไปนี้
-วัตถุประสงค์และรูปแบบของการเดินทางมาประเทศไทย
-สิ่งที่ประทับใจมากที่สุดเกี่ยวกับประเทศไทย
-การเข้าร่วมกิจกรรมในช่วงเทศกาลสงกรานต์
-การรับรู้และความเข้าใจที่มีต่อเทศกาลสงกรานต์
-สิ่งที่ประทับใจและไม่ประทับใจมากที่สุดเกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์
-ความมั่นใจในความปลอดภัยขณะอยู่ในประเทศไทย
-ความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการพักอาศัยกับครอบครัวคนไทยในช่วงเทศกาลสงกรานต์
-ระดับความพึงพอใจที่มีต่อความมีมิตรไมตรีของคนไทย ความสะอาดของถนนหนทาง ป้ายบอกทางและชื่อถนน ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวและ
กิจกรรม คุณภาพของแหล่งจับจ่ายซื้อของ และมัคคุเทศก์
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจครั้งนี้ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่กำลังจะเดินทางออกนอกประเทศ ณ บริเวณขาออก ของอาคารผู้โดยสาร
ระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 445 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 61.3 เพศหญิง ร้อยละ
38.7 โดยมาจากทวีปเอเชียร้อยละ 44.0 ทวีปยุโรปร้อยละ 39.1 ทวีปอเมริการ้อยละ 5.8 ทวีปออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ร้อยละ
9.9 ทวีปแอฟริกาและอื่น ๆ ร้อยละ 1.2 อายุระหว่าง 15-24 ปีร้อยละ 18.4 อายุ 25-34 ปีร้อยละ 38.7 อายุ 35-44 ปีร้อยละ
22.5 อายุ 45-54 ปีร้อยละ 13.5 อายุ 55-64 ปีร้อยละ 5.6 และอายุมากกว่า 64 ปีร้อยละ 1.3 จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ
11.7 และจบปริญญาตรีขึ้นไปร้อยละ 88.3
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล - 16 เมษายน 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ - 18 เมษายน 2549
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776 http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 38.7 เดินทางมาประเทศไทยเป็นครั้งแรก ร้อยละ 34.2 เดินทางมา 2-4 ครั้ง ร้อยละ 10.3 เดินทางมา
5-7 ครั้ง ร้อยละ 8.1 เดินทางมา 8-10 ครั้ง และร้อยละ 8.7 เดินทางมามากกว่า 10 ครั้งโดยวัตถุประสงค์ในการเดินทางมายังประเทศไทย
นั้นร้อยละ 78.3 มาท่องเที่ยวพักผ่อน ร้อยละ 12.3 มาติดต่อธุรกิจ และร้อยละ 9.4 มาเยี่ยมญาติ เยี่ยมเพื่อนทั้งนี้ส่วนใหญ่คือร้อยละ 60.5 เดิน
ทางมากับครอบครัวและเพื่อนฝูง ร้อยละ 24.7 มาคนเดียว มีเพียงร้อยละ 14.8 ที่มากับทัวร์
2. เมื่อถามถึงสิ่งที่ประทับใจมากที่สุดเกี่ยวกับประเทศไทย อันดับแรกร้อยละ 44.0 ประทับใจในความเป็นมิตรไมตรีของคนไทย รอง
ลงมาร้อยละ 12.6 ประทับใจวัฒนธรรมประเพณี ร้อยละ 11.0 ประทับใจแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่นทะเลและเกาะ ร้อยละ 7.6 ประทับ
ใจแหล่งช็อปปิ้ง ร้อยละ 6.5 ประทับใจอาหารไทย ร้อยละ 4.0 ประทับใจโบราณสถาน/วัด/วัง ร้อยละ 2.5 ประทับใจที่พักและการบริการ
และร้อยละ 11.8 ประทับใจอย่างอื่น อาทิ แหล่งท่องเที่ยวยามราตรี และความทันสมัย
3. ในส่วนของประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรมในเทศกาลสงกรานต์นั้น ร้อยละ 62.0 ได้เข้าร่วมงานเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา
ขณะที่ร้อยละ 38.0 ไม่ได้เข้าร่วมสำหรับความรู้สึกที่มีต่อเทศกาลสงกรานต์ของไทยในภาพรวมนั้น ร้อยละ 66.7 ระบุว่าชอบ (โดยร้อยละ 25.6 ชอบ
มาก และร้อยละ41.1 ค่อนข้างชอบ) มีเพียงร้อยละ 3.4 ที่ไม่ชอบ (โดยไม่ชอบเลยร้อยละ 1.6 และไม่ค่อยชอบร้อยละ 1.8) และร้อยละ
29.9 รู้สึกเฉยๆ กับเทศกาลดังกล่าวส่วนการและความเข้าใจเกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์ อันดับแรกร้อยละ 44.5 รับรู้ว่าเป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ของ
ไทย รองลงมาร้อยละ 14.9 รับรู้ว่าเป็นเทศกาลรื่นเริงสนุกสนาน และร้อยละ 10.5 รับรู้ว่าเป็นเทศกาลทำบุญตักบาตรสำหรับสิ่งที่ประทับใจมากที่สุด
เกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์ 3 อันดับแรก ได้แก่ ความสนุกสนานรื่นเริง ร้อยละ 34.3 การสาดน้ำเพื่อคลายร้อนร้อยละ 15.3 และวัฒนธรรม
ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ ร้อยละ 8.3ส่วนสิ่งที่ไม่ประทับใจมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การเล่นสาดน้ำมากเกินไปทำให้ไม่สะดวกในการเดินทางไป
เที่ยวยังสถานที่ต่างๆ ร้อยละ 24.6 คนเยอะ รถติด มีอุบัติเหตุมาก ร้อยละ 6.0 และการเล่นแป้ง น้ำแข็งและน้ำผสมสี ร้อยละ 5.6
4. เมื่อถามถึงความมั่นใจด้านความปลอดภัยในการมาเที่ยวเมืองไทยช่วงเทศกาลสงกรานต์ ร้อยละ 91.5 ระบุว่ามั่นใจ มีเพียงร้อย
ละ 1.8 ที่ไม่มั่นใจ และร้อยละ 6.7 ไม่แสดงความเห็น
5. ในส่วนของการประเมินปัจจัยการท่องเที่ยวของไทยในด้านต่างๆ นั้น พบว่า ความเป็นมิตรของคนไทยได้รับคะแนนในด้านดีสูงสุดคือ
ร้อยละ 97.5 รองลงมาคือแหล่งช็อปปิ้งร้อยละ 96.9 การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมต่างๆ ร้อยละ 87.7 มัคคุเทศก์
86.3 ความถูกต้องชัดเจนของป้ายบอกทางร้อยละ 78.2 ส่วนความสะอาดของถนนหนทางได้คะแนนต่ำสุดคือร้อยละ 67.1
ตารางแสดงผลการสำรวจ
ตารางที่ 1 : แยกตามโซนทวีปของกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ร้อยละ
เอเชีย 196 44.0
ยุโรป 174 39.1
อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ 26 5.8
ออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ 44 9.9
แอฟริกาและอื่นๆ 5 1.2
ตารางที่ 2 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 273 61.3
หญิง 172 38.7
อายุ
15-24 ปี 82 18.4
25-34 ปี 172 38.7
35-44 ปี 100 22.5
45-54 ปี 60 13.5
55-64 ปี 25 5.6
มากกว่า 64 ปี 6 1.3
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 52 11.7
ตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป 393 88.3
จำนวนครั้งที่เดินทางมาประเทศไทย
ครั้งแรก 172 38.7
2-4 ครั้ง 152 34.2
5-7 ครั้ง 46 10.3
8-10 ครั้ง 36 8.1
มากกว่า 10 ครั้ง 39 8.7
วัตถุประสงค์ของการเดินทางมาประเทศไทย(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ติดต่อธุรกิจ 59 12.3
ท่องเที่ยวพักผ่อน 374 78.3
เยี่ยมญาติ/เยี่ยมเพื่อน 45 9.4
รูปแบบการเดินทางมาประเทศไทยในครั้งนี้
เดินทางมากับกรุ๊ปทัวร์ 66 14.8
เดินทางมากับครอบครัว/เพื่อน 269 60.5
เดินทางมาคนเดียว 110 24.7
ตารางที่ 3: สิ่งที่ประทับใจมากที่สุดเกี่ยวกับประเทศไทย
จำนวน ร้อยละ
ความเป็นมิตรไมตรีของคนไทย 196 44.0
วัฒนธรรมประเพณี 56 12.6
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ทะเล เกาะ 49 11.0
แหล่งช็อปปิ้ง 34 7.6
อาหาร 29 6.5
โบราณสถาน วัด พระราชวัง 18 4.0
ที่พักและการบริการ 11 2.5
อื่นๆ อาทิ แหล่งท่องเที่ยวยามราตรี และความทันสมัย 52 11.8
ตารางที่ 4: ประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรมในเทศกาลสงกรานต์
จำนวน ร้อยละ
ได้เข้าร่วมงานเทศกาลสงกรานต์ 276 62.0
ไม่ได้เข้าร่วมงานเทศกาลสงกรานต์ 169 38.0
ตารางที่ 5: ความรู้สึกที่มีต่อเทศกาลสงกรานต์ของไทย
จำนวน ร้อยละ
ชอบมาก 114 25.6
ค่อนข้างชอบ 183 41.1
เฉยๆ 133 29.9
ไม่ค่อยชอบ 8 1.8
ไม่ชอบเลย 7 1.6
ตารางที่ 6: ความเข้าใจ/การรับรู้เกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
จำนวน ร้อยละ
เป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ของไทย 371 44.5
เป็นเทศกาลรื่นเริงสนุกสนาน 124 14.9
เป็นเทศกาลแห่งการทำบุญตักบาตรตามความเชื่อทางศาสนา 88 10.5
เป็นเทศกาลแห่งการพบปะสังสรรค์ในหมู่ญาติ 85 10.2
เป็นเทศกาลเล่นสาดน้ำเพื่อคลายร้อน 83 10.0
เป็นเทศกาลแห่งการรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ 63 7.6
ไม่ทราบ 19 2.3
ตารางที่ 7: สิ่งที่ประทับใจมากที่สุดเกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์
จำนวน ร้อยละ
ความสนุกสนานรื่นเริง 153 34.3
การสาดน้ำเพื่อคลายร้อน 68 15.3
วัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ 37 8.3
ความยิ้มแย้มเป็นมิตรของคนไทย 33 7.4
บรรยากาศโดยรวม 32 7.2
การพบปะสังสรรค์ในหมู่ญาติ 7 1.6
อื่นๆ 33 7.4
ไม่มีสิ่งที่ประทับใจ 11 2.5
ไม่แสดงความเห็น 71 16.0
ตารางที่ 8: สิ่งที่ไม่ประทับใจมากที่สุดเกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์
จำนวน ร้อยละ
การเล่นสาดน้ำมากเกินไปทำให้ไม่สะดวกต่อการเดินทางไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆ 110 24.6
คนเยอะ รถติด มีอุบัติเหตุมาก 27 6.0
การเล่นแป้ง น้ำแข็ง และน้ำผสมสี 25 5.6
ขยะและความสกปรก 10 2.2
ร้านค้าปิดกิจการไม่สามารถใช้บริการได้ 10 2.2
การเมาสุรา 8 1.8
อื่นๆ 27 6.0
ไม่มีสิ่งที่ไม่ประทับใจ 78 17.5
ไม่แสดงความเห็น 150 33.7
ตารางที่ 9: ความมั่นใจด้านความปลอดภัยในการมาเที่ยวเมืองไทยช่วงเทศกาลสงกรานต์
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 407 91.5
ไม่มั่นใจ 8 1.8
ไม่แสดงความเห็น 30 6.7
ตารางที่ 10: การประเมินปัจจัยด้านการท่องเที่ยวของไทย
ดีมาก(ร้อยละ) ค่อนข้างดี(ร้อยละ) ไม่ค่อยดี(ร้อยละ) ไม่ดีเลย(ร้อยละ) ไม่แสดงความเห็น(ร้อยละ)
ความเป็นมิตรไมตรี 58.2 39.3 1.3 0.0 0.5
ความสะอาดของถนนหนทาง 9.6 57.5 29.7 1.6 1.6
ความถูกต้องชัดเจนของป้ายบอกทาง 9.4 68.8 18.9 0.9 2.0
ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมต่างๆ 20.0 67.7 10.3 0.4 1.6
แหล่งช็อปปิ้ง 38.2 58.7 1.8 0.0 1.3
มัคคุเทศก์ 18.7 67.6 8.1 0.2 5.4
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-กภ-