เนื่องในโอกาสที่วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันรัฐธรรมนูญ ประกอบกับประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการเกี่ยวกับการร่างรัฐ
ธรรมนูญฉบับใหม่แทนฉบับปี 2540 ที่ถูกยกเลิกไปหลังเหตุการณ์ยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในความเห็นของประชาชน” โดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 1-5 ธันวาคมที่ผ่านมา จาก
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ในทุกภาคของประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และชลบุรี
จำนวน 1,390 คน สรุปผลได้ดังนี้
1. เมื่อถามว่าทราบหรือไม่ว่าขณะนี้ประเทศไทยกำลังมีการดำเนินการเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนฉบับปี 2540 ที่ถูกยกเลิก
อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549
- ร้อยละ 81.5 ระบุว่าทราบ
- ร้อยละ 18.5 ระบุว่าไม่ทราบ
เมื่อให้กลุ่มที่ระบุว่าทราบให้คะแนนความพึงพอใจต่อกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินอยู่ โดยมีคะแนนเต็ม 10 ผลปรากฏว่า
- ความรวดเร็วในการดำเนินการเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่........ได้คะแนน 4.15
- การเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับรู้และมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่............................. ได้คะแนน 4.32
- ความชัดเจนโปร่งใสของกระบวนการสรรหาสมัชชาแห่งชาติที่เป็น
ต้นทางของสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ฉบับใหม่............................................... ได้คะแนน 4.41
2. ความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน
- ร้อยละ 47.9 เชื่อมั่น (โดยเชื่อมั่นมากร้อยละ 6.6 และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 41.3)
- ร้อยละ 52.1 ไม่เชื่อมั่น (โดยไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 7.3 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 44.8)
3. หากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะกำหนดให้นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง
- ร้อยละ 21.3 เห็นด้วย
- ร้อยละ 59.8 ไม่เห็นด้วย
- ร้อยละ 18.9 ไม่แสดงความเห็น
4. สำหรับแนวทางการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
- ร้อยละ 26.9 เห็นว่าควรมีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ทั้งหมด
- ร้อยละ 39.6 เห็นว่าควรนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาปรับแก้บางจุด
โดยจุดที่เห็นว่าควรปรับแก้มากที่สุดคือ ต้องเปิดช่องให้สามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีได้มากขึ้น ไม่ให้ฝ่ายการ
เมืองมาครอบงำองค์กรอิสระได้เหมือนที่ผ่านมา และการลงโทษเอาผิดกับนักการเมืองที่ทุจริตคอร์รัปชัน
- ร้อยละ 33.5 ไม่แสดงความเห็น
5. ความเชื่อมั่นว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้ประเทศไทยปฏิรูปการเมืองได้สำเร็จ
- ร้อยละ 32.5 เชื่อว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้ประเทศไทยปฏิรูปการเมืองได้สำเร็จ
- ร้อยละ 12.5 ไม่เชื่อว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้ประเทศไทยปฏิรูปการเมืองได้สำเร็จ
เพราะ นักการเมืองยังเป็นคนหน้าเดิมๆ/ ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากกว่ารัฐธรรมนูญ/ และประชาชนยังขาด
ความรู้ความเข้าใจ เป็นต้น
- ร้อยละ 55.0 ไม่แน่ใจ
6. สำหรับปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยปฏิรูปการเมืองได้เป็นผลสำเร็จ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
- ร้อยละ 66.6 เห็นว่าขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจของประชาชนเป็นสำคัญ
- ร้อยละ 54.5 เห็นว่าขึ้นอยู่กับนักการเมือง/ผู้มีอำนาจที่จะนำรัฐธรรมนูญมาใช้เป็นสำคัญ
- ร้อยละ 46.8 เห็นว่าขึ้นอยู่กับเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ
- ร้อยละ 5.7 เห็นว่าขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น อาทิ จิตสำนึกของคนในชาติ และระดับการศึกษาของประชาชน เป็นต้น
7. ในส่วนความคิดเห็นต่อการนัดชุมนุมต่อต้านคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และรัฐบาลชุดปัจจุบันในวันที่ 10 ธันวาคมนี้
ที่ท้องสนามหลวง
- ร้อยละ 78.6 ไม่เห็นด้วยกับการนัดชุมนุมดังกล่าว
- ร้อยละ 21.4 เห็นด้วย
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 02-350-3500 ต่อ 1776
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ในประเด็นต่อไปนี้
1. การรับรู้ต่อเรื่องราวการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
2. ความพึงพอใจต่อกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังดำเนินอยู่
3. ความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน
4. ความคิดเห็นต่อการที่หากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะกำหนดให้นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง
5. ความคิดเห็นต่อการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่าควรร่างใหม่ทั้งหมดหรือควรนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาปรับแก้ไข
และควรปรับแก้ในจุดใด
6. ความเชื่อมั่นว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้ประเทศไทยปฏิรูปการเมืองได้สำเร็จ
7. ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยปฏิรูปการเมืองได้เป็นผลสำเร็จ
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีเลือกจังหวัดที่เป็นหัวเมืองใหญ่ในแต่ละภาคของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และสงขลา
จากนั้นจึงสุ่มเขตการปกครอง/อำเภอ และประชากรเป้าหมายอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,390 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน +/- 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 1-5 ธันวาคม 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 7 ธันวาคม 2549
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 655 47.1
หญิง 735 52.9
อายุ
18-25 ปี 480 34.5
26-35 ปี 467 33.6
36-45 ปี 322 23.2
46 ปีขึ้นไป 121 8.7
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 546 39.3
ปริญญาตรี 729 52.4
สูงกว่าปริญญาตรี 115 8.3
อาชีพ
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 213 15.3
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 236 17.0
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 490 35.3
รับจ้างทั่วไป 140 10.0
นิสิต/นักศึกษา 269 19.4
อื่นๆ อาทิ เกษตรกร พ่อบ้าน แม่บ้านเกษียณอายุ 42 3.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
ธรรมนูญฉบับใหม่แทนฉบับปี 2540 ที่ถูกยกเลิกไปหลังเหตุการณ์ยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในความเห็นของประชาชน” โดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 1-5 ธันวาคมที่ผ่านมา จาก
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ในทุกภาคของประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และชลบุรี
จำนวน 1,390 คน สรุปผลได้ดังนี้
1. เมื่อถามว่าทราบหรือไม่ว่าขณะนี้ประเทศไทยกำลังมีการดำเนินการเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนฉบับปี 2540 ที่ถูกยกเลิก
อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549
- ร้อยละ 81.5 ระบุว่าทราบ
- ร้อยละ 18.5 ระบุว่าไม่ทราบ
เมื่อให้กลุ่มที่ระบุว่าทราบให้คะแนนความพึงพอใจต่อกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินอยู่ โดยมีคะแนนเต็ม 10 ผลปรากฏว่า
- ความรวดเร็วในการดำเนินการเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่........ได้คะแนน 4.15
- การเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับรู้และมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่............................. ได้คะแนน 4.32
- ความชัดเจนโปร่งใสของกระบวนการสรรหาสมัชชาแห่งชาติที่เป็น
ต้นทางของสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ฉบับใหม่............................................... ได้คะแนน 4.41
2. ความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน
- ร้อยละ 47.9 เชื่อมั่น (โดยเชื่อมั่นมากร้อยละ 6.6 และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 41.3)
- ร้อยละ 52.1 ไม่เชื่อมั่น (โดยไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 7.3 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 44.8)
3. หากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะกำหนดให้นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง
- ร้อยละ 21.3 เห็นด้วย
- ร้อยละ 59.8 ไม่เห็นด้วย
- ร้อยละ 18.9 ไม่แสดงความเห็น
4. สำหรับแนวทางการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
- ร้อยละ 26.9 เห็นว่าควรมีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ทั้งหมด
- ร้อยละ 39.6 เห็นว่าควรนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาปรับแก้บางจุด
โดยจุดที่เห็นว่าควรปรับแก้มากที่สุดคือ ต้องเปิดช่องให้สามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีได้มากขึ้น ไม่ให้ฝ่ายการ
เมืองมาครอบงำองค์กรอิสระได้เหมือนที่ผ่านมา และการลงโทษเอาผิดกับนักการเมืองที่ทุจริตคอร์รัปชัน
- ร้อยละ 33.5 ไม่แสดงความเห็น
5. ความเชื่อมั่นว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้ประเทศไทยปฏิรูปการเมืองได้สำเร็จ
- ร้อยละ 32.5 เชื่อว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้ประเทศไทยปฏิรูปการเมืองได้สำเร็จ
- ร้อยละ 12.5 ไม่เชื่อว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้ประเทศไทยปฏิรูปการเมืองได้สำเร็จ
เพราะ นักการเมืองยังเป็นคนหน้าเดิมๆ/ ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากกว่ารัฐธรรมนูญ/ และประชาชนยังขาด
ความรู้ความเข้าใจ เป็นต้น
- ร้อยละ 55.0 ไม่แน่ใจ
6. สำหรับปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยปฏิรูปการเมืองได้เป็นผลสำเร็จ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
- ร้อยละ 66.6 เห็นว่าขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจของประชาชนเป็นสำคัญ
- ร้อยละ 54.5 เห็นว่าขึ้นอยู่กับนักการเมือง/ผู้มีอำนาจที่จะนำรัฐธรรมนูญมาใช้เป็นสำคัญ
- ร้อยละ 46.8 เห็นว่าขึ้นอยู่กับเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ
- ร้อยละ 5.7 เห็นว่าขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น อาทิ จิตสำนึกของคนในชาติ และระดับการศึกษาของประชาชน เป็นต้น
7. ในส่วนความคิดเห็นต่อการนัดชุมนุมต่อต้านคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และรัฐบาลชุดปัจจุบันในวันที่ 10 ธันวาคมนี้
ที่ท้องสนามหลวง
- ร้อยละ 78.6 ไม่เห็นด้วยกับการนัดชุมนุมดังกล่าว
- ร้อยละ 21.4 เห็นด้วย
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 02-350-3500 ต่อ 1776
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ในประเด็นต่อไปนี้
1. การรับรู้ต่อเรื่องราวการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
2. ความพึงพอใจต่อกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังดำเนินอยู่
3. ความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน
4. ความคิดเห็นต่อการที่หากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะกำหนดให้นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง
5. ความคิดเห็นต่อการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่าควรร่างใหม่ทั้งหมดหรือควรนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาปรับแก้ไข
และควรปรับแก้ในจุดใด
6. ความเชื่อมั่นว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้ประเทศไทยปฏิรูปการเมืองได้สำเร็จ
7. ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยปฏิรูปการเมืองได้เป็นผลสำเร็จ
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีเลือกจังหวัดที่เป็นหัวเมืองใหญ่ในแต่ละภาคของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และสงขลา
จากนั้นจึงสุ่มเขตการปกครอง/อำเภอ และประชากรเป้าหมายอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,390 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน +/- 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 1-5 ธันวาคม 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 7 ธันวาคม 2549
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 655 47.1
หญิง 735 52.9
อายุ
18-25 ปี 480 34.5
26-35 ปี 467 33.6
36-45 ปี 322 23.2
46 ปีขึ้นไป 121 8.7
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 546 39.3
ปริญญาตรี 729 52.4
สูงกว่าปริญญาตรี 115 8.3
อาชีพ
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 213 15.3
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 236 17.0
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 490 35.3
รับจ้างทั่วไป 140 10.0
นิสิต/นักศึกษา 269 19.4
อื่นๆ อาทิ เกษตรกร พ่อบ้าน แม่บ้านเกษียณอายุ 42 3.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-