กรุงเทพโพลล์: ความเชื่อมั่นต่ออนาคตประเทศไทยหลังการชุมนุมเคลื่อนไหวของกลุ่ม นปช.

ข่าวผลสำรวจ Friday April 10, 2009 07:21 —กรุงเทพโพลล์

จากเหตุการณ์การชุมนุมเคลื่อนไหวของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ปิดล้อมสถานที่ต่างๆ โดยประกาศ จะยกระดับการชุมนุมเพื่อกดดันให้รัฐบาลและองคมนตรีปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อเรียกร้อง ล่าสุดได้ปิดเส้นทางการจราจรหลายแห่ง ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัย กรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ความเชื่อมั่นต่ออนาคตประเทศไทยหลังการชุมนุมเคลื่อนไหวของกลุ่ม นปช.” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนชาวกรุงเทพมหานครทุกสาขาอาชีพ จำนวน 1,097 คน เป็นเพศชายร้อยละ 33.2 และเพศหญิงร้อยละ 66.8 เมื่อวัน ที่ 9 เมษายน ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้

1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการชุมนุมและการปิดล้อมสถานที่ต่างๆ ของกลุ่ม นปช.
          - เห็นด้วย                                                   ร้อยละ 17.4
          - ไม่เห็นด้วย                                                 ร้อยละ 82.6

2. สิ่งที่ประชาชนเป็นห่วงมากที่สุดจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น คือ
          - ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ของประเทศ                      ร้อยละ 51.4
          - การเผชิญหน้า และการแตกแยกในหมู่คนไทยด้วยกัน                    ร้อยละ 24.8
          - ผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์                                ร้อยละ 14.3
          - การปฏิวัติรัฐประหาร                                          ร้อยละ 3.6
          - ไม่มีสิ่งใดน่าเป็นห่วง                                          ร้อยละ 3.3
  • อื่นๆ อาทิ ห่วงความปลอดภัยของประชาชนผู้เดินทาง
            และห่วงว่าจะมีการทำลายทรัพย์สินของทางราชการ                    ร้อยละ 2.6

3. ทางออกที่ประชาชนต้องการเห็นมากที่สุดในขณะนี้ คือ
          - ให้ พ.ต.ท. ทักษิณ เลิกยุ่งเกี่ยวการเมือง และกลุ่ม นปช. เลิกการชุมนุม              ร้อยละ 43.4
          - ยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่                                                   ร้อยละ 27.2
          - ใช้กำลังตำรวจ ทหาร เข้าสลายการชุมนุม                                     ร้อยละ 9.4
          - ให้องคมนตรีและนายกฯ ลาออกตามคำเรียกร้องของกลุ่ม นปช.                      ร้อยละ 7.8
          - ปล่อยให้มีการชุมนุมต่อไป                                                  ร้อยละ 4.1
  • อื่นๆ อาทิ ให้แต่ละฝ่ายส่งผู้แทนมาเจรจา ให้สื่อนำเสนอข่าวการชุมนุมให้น้อยลง ฯลฯ ร้อยละ 8.1
4. คะแนนความเชื่อมั่นต่ออนาคตของประเทศไทยหลังเกิดการชุมนุมเคลื่อนไหวของกลุ่ม นปช. พบว่า ความเชื่อมั่นศรัทธาต่อการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขมีคะแนนสูงที่สุด ขณะที่ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการนำพา
ประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤติมีคะแนนต่ำที่สุด ดังนี้ (จากคะแนนเต็ม 10)
  • ความเชื่อมั่นศรัทธาต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ...ได้คะแนน 8.68
  • ความเชื่อมั่นต่อการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำอาเซียนที่พัทยาให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี......ได้คะแนน 6.18
  • ความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยในการแข่งขันกับประเทศ อื่นในภูมิภาคเดียวกัน ...ได้คะแนน 5.65
  • ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการนำพาประเทศ ให้ผ่านพ้นวิกฤติ ....ได้คะแนน 5.28

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ในประเด็นต่อไปนี้

1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการชุมนุมและการปิดล้อมสถานที่ต่างๆ ของ นปช.

2. เรื่องที่เป็นห่วงมากที่สุดจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

3. ทางออกที่ต้องการเห็นมากที่สุดในขณะนี้

4. ความเชื่อมั่นต่ออนาคตของประเทศไทยหลังเกิดการชุมนุมเคลื่อนไหวของกลุ่ม นปช.

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น ตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ โดยใช้ทั้งวิธีการลงพื้นที่ เก็บข้อมูลภาคสนาม และการสุ่มหมายเลขโทรศัพท์สัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,097 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 33.2 และเพศหญิง ร้อยละ 66.8

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วย

ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบ

ความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  9 เมษายน 2552

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :  9 เมษายน 2552

ตารางที่ 1  ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                                 จำนวน          ร้อยละ
เพศ
            ชาย                                    364           33.2
            หญิง                                    733           66.8
รวม                                              1,097          100.0

อายุ
            18-25 ปี                                228           20.8
            26-35 ปี                                368           33.5
            36-45 ปี                                270           24.6
            46 ปีขึ้นไป                               231           21.1
รวม                                              1,097          100.0

การศึกษา
            ต่ำกว่าปริญญาตรี                           426           38.8
            ปริญญาตรี                                618           56.4
            สูงกว่าปริญญาตรี                            53            4.8
รวม                                              1,097          100.0

อาชีพ
           ข้าราชการ  พนักงานรัฐวิสาหกิจ                 76            6.9
           พนักงานบริษัทเอกชน                         492           44.8
           ค้าขาย  ประกอบอาชีพส่วนตัว                  230           21.0
           รับจ้างทั่วไป                               100            9.1
           พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                     61            5.6
           อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน และนิสิตนักศึกษา    138           12.6
รวม                                              1,097          100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ