เหตุผลและที่มาของการสำรวจ
วันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาที่ทางราชการกำหนดให้เป็นวันหยุดประจำปีเพื่อให้ประชาชนได้มี
โอกาสไปวัดเพื่อทำบุญหรือประกอบกิจกรรมทางศาสนาตามแนวทางที่พึงประสงค์ อย่างไรก็ตามด้วยสภาพการดำรง
ชีวิตของคนไทยในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองหลวงที่อยู่ภายใต้กระแสของสังคมนิยมวัตถุ และการที่ต้องใช้ชีวิต
อย่างเร่งรีบเกือบตลอดเวลาทำให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยไม่มีโอกาสได้เข้าวัดทำบุญ นอกจากนี้ข่าวคราวด้านลบของ
พระสงฆ์บางรูปที่ถูกนำเสนอเป็นระยะๆ อาจส่งผลให้แนวคิดของพุทธศาสนิกชนบางส่วนเปลี่ยนแปลงไป
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์จึงได้ดำเนินการสำรวจเรื่อง คนไทยกับการทำบุญ เพื่อให้สังคมได้รับทราบข้อมูล
เกี่ยวกับพฤติกรรมและแนวคิดเรื่องการทำบุญของพุทธศาสนิกชนไทยในปัจจุบัน เพื่อให้องค์กรที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นแนว
ทางส่งเสริมให้คนไทยทำบุญอย่างถูกวิธีและสามารถนำศาสนาไปเป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยวจิตใจได้อย่างเหมาะสมต่อไป
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชน ในกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
- กิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้
- โอกาสและวิธีการในการทำบุญ
การหวังผลจากการทำบุญ
ความเห็นต่อการถวายปัจจัย(เงิน) แก่พระสงฆ์ที่อาจส่งผลทางอ้อมให้พระสงฆ์ประพฤติผิดวินัย
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรในเขตกรุงเทพมหานครที่นับถือศาสนาพุทธ ได้ตัวอย่าง
จำนวน 1,128 คน เป็นชายร้อยละ 42.0 หญิงร้อยละ 58.0
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 38.1 มีอายุระหว่าง 18-25 ปี
ร้อยละ 29.9 อายุระหว่าง 26-35 ปี
ร้อยละ 18.7 อายุระหว่าง 36-45 ปี
และร้อยละ 13.3 อายุ 46 ปีขึ้นไป
กลุ่มตัวอย่างมีระดับการศึกษา ดังนี้ ร้อยละ 13.0 ประถมศึกษา
ร้อยละ 24.4 มัธยมศึกษา/ปวช.
ร้อยละ 12.9 ปวส./อนุปริญญา
ร้อยละ 43.4 ปริญญาตรี
ร้อยละ 5.9 สูงกว่าปริญญาตรี
และร้อยละ 0.4 ไม่ระบุ
อาชีพของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 8.1 ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 14.3 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 21.0 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.7 พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
ร้อยละ 0.9 เกษตรกร
ร้อยละ 26.3 นิสิต/นักเรียน
ร้อยละ 6.6 พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และอีกร้อยละ 1.2 ว่างงาน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ในเรื่อง “คนไทยกับการทำบุญ”
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 15-16 กุมภาพันธ์ 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 22 กุมภาพันธ์ 2548
ผลการสำรวจ
1. เมื่อถามถึงกิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในวันหยุดมาฆะบูชาที่จะถึงนี้ ร้อยละ 48.7 ระบุว่าจะไปทำบุญ ตัก
บาตร เวียนเทียน ปล่อยนกปล่อยปลา ขณะที่ร้อยละ 51.3 ระบุว่าจะทำกิจกรรมอื่น ได้แก่ พักผ่อนอยู่กับบ้าน (ร้อย
ละ 25.2) ไปทานข้าวนอกบ้านกับครอบครัวและเพื่อนฝูง (ร้อยละ 9.8) ไปเดินซื้อของ (ร้อยละ 6.5) ไป
เที่ยวนอกบ้าน (ร้อยละ 6.1) และอื่นๆ เช่น ไปทำงานตามปกติ ร้อยละ 3.7
2. เมื่อถามว่าส่วนใหญ่ทำบุญในโอกาสใด พบว่า ร้อยละ 25.1 ทำบุญในโอกาสวันสำคัญทางพุทธ
ศาสนา ร้อยละ 24.8 ทำบุญในโอกาสวันสำคัญของตนเองและคนใกล้ชิด เช่นวันเกิด ครบรอบวันตาย ร้อยละ
20.7 ทำบุญในเทศกาลสำคัญ เช่นสงกรานต์ ขึ้นปีใหม่ ร้อยละ 6.6 ทำบุญเมื่อมีความทุกข์ ร้อยละ 1.5 ทำ
บุญในช่วงวันหวยออก ขณะที่ ร้อยละ 21.3 ทำบุญตามความสะดวกโดยไม่มีโอกาสที่แน่นอน
3. สำหรับวิธีการในการทำบุญ ร้อยละ 26.4 ทำบุญด้วยการใส่บาตร รองลงมาร้อยละ 11.6 ถวาย
เงินและสิ่งของเครื่องใช้แก่พระสงฆ์ ร้อยละ 11.4 ไปไหว้พระตามวัดต่างๆ ร้อยละ 9.7 บริจาคทรัพย์เพื่อช่วย
เหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ ร้อยละ 9.3 ทอดกฐิน ผ้าป่า ร้อยละ 8.1 บริจาคทรัพย์สร้างถาวรวัตถุในวัด ร้อยละ 5.9
ทำบุญด้วยการไม่เบียดเบียนผู้อื่น ร้อยละ 4.3 รักษาศีลปฏิบัติธรรม ร้อยละ 3.8 แผ่เมตตาและให้อภัยแก่ผู้ทำผิด
คิดร้าย ร้อยละ 3.5 บริจาคเลือดและอวัยวะ ร้อยละ 3.0 เสียสละแรงกายและสติปัญญาช่วยงานการกุศล
ต่างๆ ร้อยละ 2.2 ให้ข้อคิดเตือนสติผู้อื่นให้ละเว้นจากการทำชั่ว และอื่นๆ อีกร้อยละ 0.8
ผลสำรวจในข้อนี้สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยในเมืองหลวงส่วนใหญ่นิยมทำบุญด้วยวิธีการที่ต้องอาศัยปัจจัยด้าน
วัตถุและเงินทองเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งหากพิจารณารูปแบบในการทำบุญที่มีอยู่ด้วยกัน 4 รูปแบบ ได้แก่ การ
เกื้อกูลแรงกาย การสละทรัพย์ การทำชีวิตให้โปร่งเบา และการฝึกชำระจิตใจ จะพบว่าคนไทยในกรุงเทพฯ นิยมทำ
บุญในรูปแบบของการสละทรัพย์มากที่สุด ส่วนการทำบุญที่ไม่ต้องอาศัยวัตถุเงินทองซึ่งสามารถนำมาปฏิบัติได้ในชีวิต
ประจำวันของคนทั่วไปอันจะส่งผลให้การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมมีความสงบสุขร่มเย็นยิ่งขึ้น เช่น การรักษาศีลปฏิบัติ
ธรรม การไม่เบียดเบียนผู้อื่น การเสียสละแรงกายเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ การให้ข้อคิดเตือนสติผู้อื่นให้ละเว้น
จากการทำชั่ว และการแผ่เมตตาให้อภัยแก่ผู้ที่ทำผิดคิดร้ายนั้น ยังไม่ได้รับการนำไปปฏิบัติมากนัก ซึ่งเป็นประเด็นที่
องค์กรผู้เกี่ยวข้องควรจะหาวิธีการชี้แนะและสร้างความตระหนักแก่พุทธศาสนิกชนชาวไทยต่อไป
4. เมื่อถามถึงการทำบุญโดยไม่เต็มใจ พบว่า ร้อยละ 46.2 ระบุว่าเคยทำบุญโดยไม่เต็มใจแต่จำเป็น
ต้องทำเพราะความเกรงใจหรือเพื่อรักษาหน้า (โดยเคยเป็นประจำ ร้อยละ 1.9 เคยค่อนข้างบ่อย ร้อยละ
7.3 และเคยนานๆ ครั้ง ร้อยละ 37.0) ขณะที่ร้อยละ 53.8 ระบุว่าไม่เคยทำบุญด้วยความไม่เต็มใจ
5. เมื่อถามว่าหวังผลอะไรจากการทำบุญ ร้อยละ 24.9 หวังความสบายใจ ร้อยละ 19.3 หวังอุทิศ
ส่วนกุศลให้ญาติมิตรที่เสียชีวิต ร้อยละ 16.9 หวังให้มีความสุขความเจริญในชาตินี้ ร้อยละ 12.0 หวังให้รอดพ้น
จากเรื่องเลวร้ายที่ประสบอยู่ ร้อยละ 11.5 หวังสั่งสมบุญไว้เป็นทุนในชาติหน้า ร้อยละ 8.5 หวังช่วยผู้อื่นให้พ้น
ทุกข์ และร้อยละ 5.2 หวังชำระจิตใจให้หลุดพ้นจากกิเลส ในขณะที่ร้อยละ 1.7 ไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ
ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ยังหวังให้บุญกุศลที่ทำส่งผลย้อนกลับมาสู่ตนเอง โดยหวังได้รับผลบุญใน
ชาตินี้มากกว่าชาติหน้า
6. สำหรับความคิดเห็นต่อประเด็นเรื่องการถวายปัจจัย (เงิน) แก่พระสงฆ์นั้น ร้อยละ 74.7 เห็นว่า
การถวายปัจจัยแก่พระสงฆ์ไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้พระสงฆ์ประพฤติผิดวินัย ในขณะที่ร้อยละ 25.3 เห็นว่าการ
ถวายปัจจัยเป็นการส่งเสริมทางอ้อมให้พระสงฆ์ประพฤติผิดวินัย
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 474 42.0
หญิง 654 58.0
อายุ :
18-25 ปี 430 38.1
26-35 ปี 337 29.9
36-45 ปี 211 18.7
46 ปีขึ้นไป 150 13.3
การศึกษา :
ประถมศึกษา 147 13.0
มัธยมศึกษา / ปวช. 275 24.4
ปวส. / อนุปริญญา 146 12.9
ปริญญาตรี 490 43.4
สูงกว่าปริญญาตรี 66 5.9
ไม่ระบุ 4 0.4
อาชีพ :
ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 91 8.1
รับจ้างทั่วไป 161 14.3
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 237 21.0
พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน 245 21.7
เกษตรกร 10 0.9
นิสิต / นักศึกษา 297 26.3
พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 74 6.6
อื่น ๆ 13 1.2
ตารางที่ 2: กิจกรรมที่ท่านตั้งใจจะทำในวันหยุดมาฆบูชาที่จะถึงนี้ (23 กุมภาพันธ์ 2548) คือข้อใด
จำนวน ร้อยละ
ทำบุญ ตักบาตร เวียนเทียน ปล่อยนกปล่อยปลา 806 48.7
พักผ่อนอยู่กับบ้าน 417 25.2
ไปทานข้าวนอกบ้านกับครอบครัว/เพื่อนฝูง 163 9.8
เดินซื้อของ 108 6.5
ไปเที่ยวนอกบ้าน 101 6.1
อื่น ๆ เช่นไปทำงานตามปกติ 61 3.7
ตารางที่ 3: ส่วนใหญ่ท่านทำบุญในโอกาสใด
จำนวน ร้อยละ
วันสำคัญทางพุทธศาสนา เช่น วันพระ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา 540 25.1
วันสำคัญของตนเองและคนใกล้ชิด 535 24.8
ไม่แน่นอน ตามความสะดวก 458 21.3
เทศกาลสำคัญ เช่น สงกรานต์ ขึ้นปีใหม่ 446 20.7
เมื่อมีความทุกข์ 142 6.6
ช่วงวันหวยออก 32 1.5
ตารางที่ 4 ส่วนใหญ่ท่านทำบุญด้วยวิธีใด
จำนวน ร้อยละ
ใส่บาตร 892 26.4
ถวายเงินและสิ่งของเครื่องใช้แก่พระสงฆ์ 393 11.6
ไหว้พระตามวัดต่าง ๆ 386 11.4
บริจาคทรัพย์เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ 328 9.7
ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า 316 9.3
บริจาคทรัพย์สร้างถาวรวัตถุในวัด เช่น เจดีย์ โบสถ์ ศาลา 270 8.1
ไม่เบียดเบียนผู้อื่น 201 5.9
รักษาศีล ปฏิบัติธรรม 144 4.3
แผ่เมตตา ให้อภัยแก่ผู้ที่ทำผิดคิดร้าย 130 3.8
บริจาคเลือด อวัยวะ 119 3.5
เสียสละแรงกาย/สติปัญญาช่วยงานการกุศลต่าง ๆ 101 3.0
ให้ข้อคิด เตือนสติผู้อื่นให้ละเว้นจากการทำชั่ว 76 2.2
อื่น ๆ 24 0.8
ตารางที่ 5: ท่านเคยทำบุญโดยไม่เต็มใจ แต่จำเป็นต้องทำเพราะความเกรงใจหรือเพื่อรักษาหน้าบ้างหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เคยเป็นประจำ 21 1.9
เคยค่อนข้างบ่อย 82 7.3
เคยนาน ๆ ครั้ง 418 37.0
ไม่เคย 607 53.8
ตารางที่ 6: ท่านหวังผลอะไรจากการทำบุญ
จำนวน ร้อยละ
หวังความสบายใจ 714 24.9
หวังอุทิศส่วนกุศลให้ญาติมิตรที่เสียชีวิต 554 19.3
หวังให้มีความสุขความเจริญในชาตินี้ 485 16.9
หวังให้รอดพ้นจากเรื่องเลวร้ายที่ประสบอยู่ 344 12.0
หวังสั่งสมบุญไว้เป็นทุนในชาติหน้า 331 11.5
หวังช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์ 244 8.5
หวังชำระจิตใจให้หลุดพ้นจากกิเลส 148 5.2
ไม่หวังผลใดๆ 50 1.7
ตารางที่ 7: ท่านคิดว่าการถวายปัจจัย (เงิน) เป็นการส่งเสริมทางอ้อมให้พระสงฆ์ประพฤติผิดวินัยหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ใช่ 284 25.3
ไม่ใช่ 843 74.7
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
วันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาที่ทางราชการกำหนดให้เป็นวันหยุดประจำปีเพื่อให้ประชาชนได้มี
โอกาสไปวัดเพื่อทำบุญหรือประกอบกิจกรรมทางศาสนาตามแนวทางที่พึงประสงค์ อย่างไรก็ตามด้วยสภาพการดำรง
ชีวิตของคนไทยในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองหลวงที่อยู่ภายใต้กระแสของสังคมนิยมวัตถุ และการที่ต้องใช้ชีวิต
อย่างเร่งรีบเกือบตลอดเวลาทำให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยไม่มีโอกาสได้เข้าวัดทำบุญ นอกจากนี้ข่าวคราวด้านลบของ
พระสงฆ์บางรูปที่ถูกนำเสนอเป็นระยะๆ อาจส่งผลให้แนวคิดของพุทธศาสนิกชนบางส่วนเปลี่ยนแปลงไป
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์จึงได้ดำเนินการสำรวจเรื่อง คนไทยกับการทำบุญ เพื่อให้สังคมได้รับทราบข้อมูล
เกี่ยวกับพฤติกรรมและแนวคิดเรื่องการทำบุญของพุทธศาสนิกชนไทยในปัจจุบัน เพื่อให้องค์กรที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นแนว
ทางส่งเสริมให้คนไทยทำบุญอย่างถูกวิธีและสามารถนำศาสนาไปเป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยวจิตใจได้อย่างเหมาะสมต่อไป
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชน ในกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
- กิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้
- โอกาสและวิธีการในการทำบุญ
การหวังผลจากการทำบุญ
ความเห็นต่อการถวายปัจจัย(เงิน) แก่พระสงฆ์ที่อาจส่งผลทางอ้อมให้พระสงฆ์ประพฤติผิดวินัย
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรในเขตกรุงเทพมหานครที่นับถือศาสนาพุทธ ได้ตัวอย่าง
จำนวน 1,128 คน เป็นชายร้อยละ 42.0 หญิงร้อยละ 58.0
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 38.1 มีอายุระหว่าง 18-25 ปี
ร้อยละ 29.9 อายุระหว่าง 26-35 ปี
ร้อยละ 18.7 อายุระหว่าง 36-45 ปี
และร้อยละ 13.3 อายุ 46 ปีขึ้นไป
กลุ่มตัวอย่างมีระดับการศึกษา ดังนี้ ร้อยละ 13.0 ประถมศึกษา
ร้อยละ 24.4 มัธยมศึกษา/ปวช.
ร้อยละ 12.9 ปวส./อนุปริญญา
ร้อยละ 43.4 ปริญญาตรี
ร้อยละ 5.9 สูงกว่าปริญญาตรี
และร้อยละ 0.4 ไม่ระบุ
อาชีพของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 8.1 ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 14.3 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 21.0 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.7 พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
ร้อยละ 0.9 เกษตรกร
ร้อยละ 26.3 นิสิต/นักเรียน
ร้อยละ 6.6 พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และอีกร้อยละ 1.2 ว่างงาน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ในเรื่อง “คนไทยกับการทำบุญ”
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 15-16 กุมภาพันธ์ 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 22 กุมภาพันธ์ 2548
ผลการสำรวจ
1. เมื่อถามถึงกิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในวันหยุดมาฆะบูชาที่จะถึงนี้ ร้อยละ 48.7 ระบุว่าจะไปทำบุญ ตัก
บาตร เวียนเทียน ปล่อยนกปล่อยปลา ขณะที่ร้อยละ 51.3 ระบุว่าจะทำกิจกรรมอื่น ได้แก่ พักผ่อนอยู่กับบ้าน (ร้อย
ละ 25.2) ไปทานข้าวนอกบ้านกับครอบครัวและเพื่อนฝูง (ร้อยละ 9.8) ไปเดินซื้อของ (ร้อยละ 6.5) ไป
เที่ยวนอกบ้าน (ร้อยละ 6.1) และอื่นๆ เช่น ไปทำงานตามปกติ ร้อยละ 3.7
2. เมื่อถามว่าส่วนใหญ่ทำบุญในโอกาสใด พบว่า ร้อยละ 25.1 ทำบุญในโอกาสวันสำคัญทางพุทธ
ศาสนา ร้อยละ 24.8 ทำบุญในโอกาสวันสำคัญของตนเองและคนใกล้ชิด เช่นวันเกิด ครบรอบวันตาย ร้อยละ
20.7 ทำบุญในเทศกาลสำคัญ เช่นสงกรานต์ ขึ้นปีใหม่ ร้อยละ 6.6 ทำบุญเมื่อมีความทุกข์ ร้อยละ 1.5 ทำ
บุญในช่วงวันหวยออก ขณะที่ ร้อยละ 21.3 ทำบุญตามความสะดวกโดยไม่มีโอกาสที่แน่นอน
3. สำหรับวิธีการในการทำบุญ ร้อยละ 26.4 ทำบุญด้วยการใส่บาตร รองลงมาร้อยละ 11.6 ถวาย
เงินและสิ่งของเครื่องใช้แก่พระสงฆ์ ร้อยละ 11.4 ไปไหว้พระตามวัดต่างๆ ร้อยละ 9.7 บริจาคทรัพย์เพื่อช่วย
เหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ ร้อยละ 9.3 ทอดกฐิน ผ้าป่า ร้อยละ 8.1 บริจาคทรัพย์สร้างถาวรวัตถุในวัด ร้อยละ 5.9
ทำบุญด้วยการไม่เบียดเบียนผู้อื่น ร้อยละ 4.3 รักษาศีลปฏิบัติธรรม ร้อยละ 3.8 แผ่เมตตาและให้อภัยแก่ผู้ทำผิด
คิดร้าย ร้อยละ 3.5 บริจาคเลือดและอวัยวะ ร้อยละ 3.0 เสียสละแรงกายและสติปัญญาช่วยงานการกุศล
ต่างๆ ร้อยละ 2.2 ให้ข้อคิดเตือนสติผู้อื่นให้ละเว้นจากการทำชั่ว และอื่นๆ อีกร้อยละ 0.8
ผลสำรวจในข้อนี้สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยในเมืองหลวงส่วนใหญ่นิยมทำบุญด้วยวิธีการที่ต้องอาศัยปัจจัยด้าน
วัตถุและเงินทองเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งหากพิจารณารูปแบบในการทำบุญที่มีอยู่ด้วยกัน 4 รูปแบบ ได้แก่ การ
เกื้อกูลแรงกาย การสละทรัพย์ การทำชีวิตให้โปร่งเบา และการฝึกชำระจิตใจ จะพบว่าคนไทยในกรุงเทพฯ นิยมทำ
บุญในรูปแบบของการสละทรัพย์มากที่สุด ส่วนการทำบุญที่ไม่ต้องอาศัยวัตถุเงินทองซึ่งสามารถนำมาปฏิบัติได้ในชีวิต
ประจำวันของคนทั่วไปอันจะส่งผลให้การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมมีความสงบสุขร่มเย็นยิ่งขึ้น เช่น การรักษาศีลปฏิบัติ
ธรรม การไม่เบียดเบียนผู้อื่น การเสียสละแรงกายเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ การให้ข้อคิดเตือนสติผู้อื่นให้ละเว้น
จากการทำชั่ว และการแผ่เมตตาให้อภัยแก่ผู้ที่ทำผิดคิดร้ายนั้น ยังไม่ได้รับการนำไปปฏิบัติมากนัก ซึ่งเป็นประเด็นที่
องค์กรผู้เกี่ยวข้องควรจะหาวิธีการชี้แนะและสร้างความตระหนักแก่พุทธศาสนิกชนชาวไทยต่อไป
4. เมื่อถามถึงการทำบุญโดยไม่เต็มใจ พบว่า ร้อยละ 46.2 ระบุว่าเคยทำบุญโดยไม่เต็มใจแต่จำเป็น
ต้องทำเพราะความเกรงใจหรือเพื่อรักษาหน้า (โดยเคยเป็นประจำ ร้อยละ 1.9 เคยค่อนข้างบ่อย ร้อยละ
7.3 และเคยนานๆ ครั้ง ร้อยละ 37.0) ขณะที่ร้อยละ 53.8 ระบุว่าไม่เคยทำบุญด้วยความไม่เต็มใจ
5. เมื่อถามว่าหวังผลอะไรจากการทำบุญ ร้อยละ 24.9 หวังความสบายใจ ร้อยละ 19.3 หวังอุทิศ
ส่วนกุศลให้ญาติมิตรที่เสียชีวิต ร้อยละ 16.9 หวังให้มีความสุขความเจริญในชาตินี้ ร้อยละ 12.0 หวังให้รอดพ้น
จากเรื่องเลวร้ายที่ประสบอยู่ ร้อยละ 11.5 หวังสั่งสมบุญไว้เป็นทุนในชาติหน้า ร้อยละ 8.5 หวังช่วยผู้อื่นให้พ้น
ทุกข์ และร้อยละ 5.2 หวังชำระจิตใจให้หลุดพ้นจากกิเลส ในขณะที่ร้อยละ 1.7 ไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ
ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ยังหวังให้บุญกุศลที่ทำส่งผลย้อนกลับมาสู่ตนเอง โดยหวังได้รับผลบุญใน
ชาตินี้มากกว่าชาติหน้า
6. สำหรับความคิดเห็นต่อประเด็นเรื่องการถวายปัจจัย (เงิน) แก่พระสงฆ์นั้น ร้อยละ 74.7 เห็นว่า
การถวายปัจจัยแก่พระสงฆ์ไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้พระสงฆ์ประพฤติผิดวินัย ในขณะที่ร้อยละ 25.3 เห็นว่าการ
ถวายปัจจัยเป็นการส่งเสริมทางอ้อมให้พระสงฆ์ประพฤติผิดวินัย
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 474 42.0
หญิง 654 58.0
อายุ :
18-25 ปี 430 38.1
26-35 ปี 337 29.9
36-45 ปี 211 18.7
46 ปีขึ้นไป 150 13.3
การศึกษา :
ประถมศึกษา 147 13.0
มัธยมศึกษา / ปวช. 275 24.4
ปวส. / อนุปริญญา 146 12.9
ปริญญาตรี 490 43.4
สูงกว่าปริญญาตรี 66 5.9
ไม่ระบุ 4 0.4
อาชีพ :
ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 91 8.1
รับจ้างทั่วไป 161 14.3
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 237 21.0
พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน 245 21.7
เกษตรกร 10 0.9
นิสิต / นักศึกษา 297 26.3
พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 74 6.6
อื่น ๆ 13 1.2
ตารางที่ 2: กิจกรรมที่ท่านตั้งใจจะทำในวันหยุดมาฆบูชาที่จะถึงนี้ (23 กุมภาพันธ์ 2548) คือข้อใด
จำนวน ร้อยละ
ทำบุญ ตักบาตร เวียนเทียน ปล่อยนกปล่อยปลา 806 48.7
พักผ่อนอยู่กับบ้าน 417 25.2
ไปทานข้าวนอกบ้านกับครอบครัว/เพื่อนฝูง 163 9.8
เดินซื้อของ 108 6.5
ไปเที่ยวนอกบ้าน 101 6.1
อื่น ๆ เช่นไปทำงานตามปกติ 61 3.7
ตารางที่ 3: ส่วนใหญ่ท่านทำบุญในโอกาสใด
จำนวน ร้อยละ
วันสำคัญทางพุทธศาสนา เช่น วันพระ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา 540 25.1
วันสำคัญของตนเองและคนใกล้ชิด 535 24.8
ไม่แน่นอน ตามความสะดวก 458 21.3
เทศกาลสำคัญ เช่น สงกรานต์ ขึ้นปีใหม่ 446 20.7
เมื่อมีความทุกข์ 142 6.6
ช่วงวันหวยออก 32 1.5
ตารางที่ 4 ส่วนใหญ่ท่านทำบุญด้วยวิธีใด
จำนวน ร้อยละ
ใส่บาตร 892 26.4
ถวายเงินและสิ่งของเครื่องใช้แก่พระสงฆ์ 393 11.6
ไหว้พระตามวัดต่าง ๆ 386 11.4
บริจาคทรัพย์เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ 328 9.7
ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า 316 9.3
บริจาคทรัพย์สร้างถาวรวัตถุในวัด เช่น เจดีย์ โบสถ์ ศาลา 270 8.1
ไม่เบียดเบียนผู้อื่น 201 5.9
รักษาศีล ปฏิบัติธรรม 144 4.3
แผ่เมตตา ให้อภัยแก่ผู้ที่ทำผิดคิดร้าย 130 3.8
บริจาคเลือด อวัยวะ 119 3.5
เสียสละแรงกาย/สติปัญญาช่วยงานการกุศลต่าง ๆ 101 3.0
ให้ข้อคิด เตือนสติผู้อื่นให้ละเว้นจากการทำชั่ว 76 2.2
อื่น ๆ 24 0.8
ตารางที่ 5: ท่านเคยทำบุญโดยไม่เต็มใจ แต่จำเป็นต้องทำเพราะความเกรงใจหรือเพื่อรักษาหน้าบ้างหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เคยเป็นประจำ 21 1.9
เคยค่อนข้างบ่อย 82 7.3
เคยนาน ๆ ครั้ง 418 37.0
ไม่เคย 607 53.8
ตารางที่ 6: ท่านหวังผลอะไรจากการทำบุญ
จำนวน ร้อยละ
หวังความสบายใจ 714 24.9
หวังอุทิศส่วนกุศลให้ญาติมิตรที่เสียชีวิต 554 19.3
หวังให้มีความสุขความเจริญในชาตินี้ 485 16.9
หวังให้รอดพ้นจากเรื่องเลวร้ายที่ประสบอยู่ 344 12.0
หวังสั่งสมบุญไว้เป็นทุนในชาติหน้า 331 11.5
หวังช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์ 244 8.5
หวังชำระจิตใจให้หลุดพ้นจากกิเลส 148 5.2
ไม่หวังผลใดๆ 50 1.7
ตารางที่ 7: ท่านคิดว่าการถวายปัจจัย (เงิน) เป็นการส่งเสริมทางอ้อมให้พระสงฆ์ประพฤติผิดวินัยหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ใช่ 284 25.3
ไม่ใช่ 843 74.7
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-