กรุงเทพโพลล์: ภาวะการเงินของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอม

ข่าวผลสำรวจ Wednesday May 6, 2009 12:45 —กรุงเทพโพลล์

ผลสำรวจเรื่อง "ภาวะการเงินของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอม"

ช่วงใกล้เปิดเทอม นับเป็นช่วงเวลาที่แทบทุกครอบครัวต่างมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องเร่งหาเงินเพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องการศึกษาของบุตร ไม่ว่าจะเป็น ค่าเทอม ค่าหนังสือ ค่าชุดนักเรียน ตลอดจนค่าอุปกรณ์การเรียนต่างๆ ประกอบกับในปีนี้เกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้หลายๆ ครอบครัวประสบปัญหาทางการเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง "ภาวะการเงินของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอม” โดยเก็บข้อมูลจากผู้ปกครองที่มีบุตรเรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาล — มัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 1,073 คน เป็นเพศชายร้อยละ 47.5 และเพศหญิงร้อยละ 52.5 เมื่อวันที่ 28 -29 เมษายน ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้

1. ค่าใช้จ่ายในเรื่องการเรียนของบุตรในเทอมนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว พบว่า

          - มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น                     ร้อยละ 44.2
          - มีค่าใช้จ่ายลดลง                      ร้อยละ 31.6
          - มีค่าใช้จ่ายเท่าเดิม                    ร้อยละ 24.2

2. การประสบปัญหาเงินไม่พอกับค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอม

          - ประสบปัญหา                         ร้อยละ 53.5

(โดยในจำนวนนี้ระบุว่าเพิ่งจะประสบปัญหาในเทอมนี้ร้อยละ 21.7 และเคยประสบปัญหามาก่อนหน้านี้ร้อยละ 31.8 )

          - ไม่ประสบปัญหา                       ร้อยละ 46.5

3. สาเหตุหลักของปัญหาเงินไม่พอกับค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอม คือ (เฉพาะผู้ที่ตอบว่าประสบปัญหา โดยตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

          - รายได้ลดลง                                ร้อยละ 32.0
          - อุปกรณ์การเรียนมีราคาแพงขึ้น                   ร้อยละ 19.8
          - ค่าเทอมแพงขึ้น                              ร้อยละ 11.6
          - มีจำนวนบุตรที่ต้องเข้าศึกษาเพิ่มขึ้น                ร้อยละ  7.1
          - ตกงาน                                    ร้อยละ  4.4
  • อื่นๆ อาทิ เศรษฐกิจไม่ดี มีรายได้เพียงคนเดียว ฯลฯ ร้อยละ 5.1

4.วิธีการที่ผู้ปกครองใช้ในการแก้ปัญหาเงินไม่พอกับค่าใช้จ่าย คือ (เฉพาะผู้ที่ตอบว่าประสบปัญหา โดยตอบได้มากกว่า1ข้อ)

          - ขอยืมเงินจากญาติ / เพื่อน / คนรู้จัก             ร้อยละ 18.2
          - นำเงินที่เก็บสะสมไว้ออกมาใช้                   ร้อยละ 16.1
          - กู้เงินนอกระบบ                              ร้อยละ 12.3
          - ใช้เสื้อผ้า อุปกรณ์การเรียนของปีที่แล้ว             ร้อยละ 11.6
          - หารายได้เสริมนอกจากอาชีพหลัก                 ร้อยละ 11.5
          - จำนำทรัพย์สิน                               ร้อยละ 10.6
          - นำของมีค่าออกมาขาย                         ร้อยละ  5.4
          - กู้เงินจากธนาคาร                            ร้อยละ  3.1
  • ย้ายบุตรมาเรียนโรงเรียนรัฐบาล หรือ
            โรงเรียนที่มีค่าเล่าเรียนถูกกว่า                  ร้อยละ  2.5
          - ให้บุตรทำงานหารายได้พิเศษ                    ร้อยละ  2.4
  • อื่นๆ อาทิ ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านอื่น

ให้บุตรลาออกจากโรงเรียน และ

            ขอชำระค่าเทอมเป็นงวดๆ เป็นต้น                ร้อยละ  2.6

5.สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเรียนของบุตร คือ

          - ให้ทุกคนเรียนฟรีจนจบมัธยมปลาย                 ร้อยละ 49.3
  • จัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับนักเรียนมัธยม ร้อยละ 15.9
          - เพิ่มทุนการศึกษาให้มากขึ้น                      ร้อยละ 15.4
          - ช่วยเหลือเรื่องค่าอุปกรณ์การเรียน                ร้อยละ 15.2
  • อื่นๆ อาทิ ควบคุมค่าใช้จ่ายของโรงเรียนเอกชน

ยกเลิกค่าแป๊ะเจี๊ยะ ให้เรียนฟรีจนจบปริญญาตรี เป็นต้น ร้อยละ 4.2

6.ความคิดเห็นต่อความคุ้มค่าระหว่างความรู้และประโยชน์จากการเรียนที่บุตรได้รับกับค่าใช้จ่ายที่เสียไป

          - คิดว่าคุ้มค่า                                 ร้อยละ 62.5
          - คิดว่าไม่คุ้มค่า                               ร้อยละ  8.9
          - ไม่แน่ใจ                                   ร้อยละ  28.6

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีบุตรเรียนในระดับชั้นอนุบาล - มัธยมศึกษาในประเด็นต่อไปนี้

1. เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าเล่าเรียนของบุตรในเทอมนี้กับที่ผ่านมา

2. การประสบปัญหาเงินไม่พอกับค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอม

3. สาเหตุของปัญหาเงินไม่พอกับค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอม

4. วิธีการแก้ปัญหา

5. สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเรียนของบุตร

6. เปรียบเทียบความคุ้มค่าระหว่างความรู้และประโยชน์จากการเรียนที่บุตรได้รับกับค่าใช้จ่ายที่เสียไป

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างผู้ปกครองที่มีบุตรเรียนในระดับชั้นอนุบาล — มัธยมศึกษา ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน จำนวน 30 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางคอแหลม บางซื่อ บางพลัด บางรัก ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบ-ศัตรูพ่าย พญาไท พระโขนง พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว สวนหลวง สาทร หนอง-จอก และหลักสี่ จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,073 คน เป็นเพศชายร้อยละ 47.5 และเพศหญิงร้อยละ 52.5

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 28 - 29 เมษายน 2552

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 6 พฤษภาคม 2552

ข้อมูลประชากรศาสตร์
               จำนวน         ร้อยละ
-เพศ
   ชาย          510          47.5
   หญิง          563          52.5
รวม           1,073          100.0
-อายุ
   ต่ำกว่า 25 ปี    102          9.5
   26 ปี — 35 ปี   303          28.2
   36 ปี — 45 ปี   464          43.2
   46 ปีขึ้นไป      204          19.1
รวม            1,073         100.0
-การศึกษา
   ต่ำกว่าปริญญาตรี   724         67.5
   ปริญญาตรี        301         28.1
   สูงกว่าปริญญาตรี    48          4.4
รวม             1,073        100.0

-อาชีพ
   ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ          110          10.3
   พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน      211          19.7
   ค้าขาย/ประกอบอาชีพส่วนตัว      394          36.7
   รับจ้างทั่วไป                  221          20.6
   พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ       110          10.3
   อื่นๆ เช่น อาชีพอิสระ ว่างงาน     27           2.4
รวม                         1,073         100.00

-ประเภทของโรงเรียนที่บุตรศึกษาอยู่
   โรงเรียนรัฐบาล               666          62.1
   โรงเรียนเอกชน               378          35.2
   โรงเรียนรัฐบาลและเอกชน        29           2.7
รวม                         1,073         100.00

--ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)--

-พธ-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ