จากการที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงการคลังกู้เงิน 8 แสนล้านบาทเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย ในปี 2553-2555 ตามแผนปฏิบัติ
การ : ไทยเข้มแข็ง 2555 นอกจากนี้ยังเห็นชอบให้หารายได้เข้ารัฐโดยการขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่และสุรา และเพิ่มกรอบภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ใน
ขณะเดียวกันก็พิจารณาตัดลดงบประมาณประจำปี2553 ของกระทรวงต่างๆ ลง ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรกับแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพ
มหานคร รวมทั้งสิ้น 1,195 คน เป็นเพศชายร้อยละ 46.3 และเพศหญิงร้อยละ 53.7 เมื่อวันที่ 11 — 13 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
- เห็นด้วย ร้อยละ 54.1
(โดยให้เหตุผลว่า เพื่อนำเงินมาพัฒนาประเทศ มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น)
- ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 45.9
(โดยให้เหตุผลว่า ทำให้ประเทศมีหนี้เพิ่ม เป็นเงินก้อนใหญ่เกินไป และกลัวเป็นการกระทำที่เสียเปล่า)
- เห็นด้วย ร้อยละ 75.9 - ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 24.1
(โดยให้เหตุผลว่า ขึ้นราคามากเกินไป ทำให้ผู้ซื้อมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น และกลัวมีการลักลอบนำของหนีภาษีเข้ามา)
- ได้รับผลกระทบ ร้อยละ 20.8
(โดยผลกระทบที่ได้รับคือ ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น มีผลต่อธุรกิจที่ทำอยู่ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุหรี่และสุรา)
- ไม่ได้รับผลกระทบ ร้อยละ 79.2
- เห็นด้วย ร้อยละ 27.3 - ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 72.7
(โดยให้เหตุผลว่า ทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น ประชาชนต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และปัจจุบันน้ำมันมีราคาแพงอยู่แล้ว )
- ได้รับผลกระทบ ร้อยละ 71.5
(โดยผลกระทบที่ได้รับคือ ทำให้สินค้ามีราคาแพงขึ้น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงขึ้น )
- ไม่ได้รับผลกระทบ ร้อยละ 28.5
- เห็นด้วย ร้อยละ 76.2
(โดยให้เหตุผลว่า ราคาสินค้าจะได้ไม่ต้องปรับขึ้น ประชาชนจะได้ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ )
- ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 23.8
(โดยให้เหตุผลว่า เป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ช่วยได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด)
- เห็นด้วย ร้อยละ 84.0
(โดยให้เหตุผลว่า เป็นการลดค่าใช้จ่ายของประเทศ บางกระทรวงไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมากและจะได้นำเงิน
ไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ที่จำเป็นมากกว่า )
- ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 16.0
(โดยให้เหตุผลว่า งบประมาณน้อยเกินไปไม่พอที่จะนำไปบริหารประเทศ การตัดงบประมาณไม่ใช่ทาง แก้ปัญหาที่ถูกต้อง
และบางกระทรวงไม่ควรถูกตัดงบประมาณ)
8.1) กระทรวงด้านความมั่นคง (กระทรวงกลาโหม)
เหมาะสม ร้อยละ 87.8 ไม่เหมาะสม ร้อยละ 12.2 (โดยให้เหตุผลว่า ความมั่นคงของประเทศเป็นเรื่องสำคัญต้องเตรียมพร้อมตลอดเวลา และทหารมีรายได้น้อยอยู่แล้ว)
8.2) กระทรวงด้านเศรษฐกิจ (กระทรวงการท่องเที่ยวฯ กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม)
เหมาะสม ร้อยละ 63.9 ไม่เหมาะสม ร้อยละ 36.1 (โดยให้เหตุผลว่า ไม่ควรตัดงบประมาณที่จะนำมาพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ควรสนับสนุนการท่องเที่ยวและเป็นการตัดลดงบประมาณมากเกินไป)
8.3) กระทรวงด้านสังคม (กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ)
เหมาะสม ร้อยละ 77.5 ไม่เหมาะสม ร้อยละ 22.5 (โดยให้เหตุผลว่า ควรให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตประชาชน และการสร้างอนาคตของเยาวชน การ ตัดงบด้านการศึกษาอาจทำให้การ เรียนการสอนไม่มีคุณภาพ)
8.4) สำนักนายกรัฐมนตรี
เหมาะสม ร้อยละ 95.8 ไม่เหมาะสม ร้อยละ 4.2 (โดยให้เหตุผลว่า ปรับลดมากเกินไป ) 9. ความเห็นต่อมาตรการลงทุนระยะยาว (กำหนดแล้วเสร็จในปี 2555) เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันของประเทศไทย - เห็นด้วย ร้อยละ 77.5
(โดยให้เหตุผลว่า จะได้มีการพัฒนาประเทศให้ดีขึ้น ทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้ประเทศไทย )
- ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 22.5
(โดยให้เหตุผลว่า ไม่ควรกู้เงินมาลงทุนมากเกินไป เศรษฐกิจยังไม่แน่นอน และกลัวความไม่โปร่งใส )
โครงการ เห็นด้วย(ร้อยละ) ไม่เห็นด้วย(ร้อยละ) 1) โครงการการศึกษา มูลค่า 1.28 แสนล้านบาท (เช่น ปัจจัยสนับสนุนด้านการศึกษา และพัฒนาครูทั้งระบบ) 93.0 7.0 2) โครงการสาธารณสุข มูลค่า 9.8 หมื่นล้านบาท (เช่น โครงการพัฒนาระบบบริการระดับชุมชน และศูนย์โรคพิเศษ) 89.6 10.4 3) โครงการบริหารจัดการน้ำ มูลค่า 2.22 แสนล้านบาท (เช่นโครงการชลประทานขนาดใหญ่ โครงการฟื้นฟูแหล่งน้ำ) 81.9 18.1 4) โครงการสร้างพื้นฐานทางการท่องเที่ยว มูลค่า 5.6 พันล้านบาท (เช่น โครงการประปา และสายเคเบิ้ลใต้น้ำ) 79.1 20.9 5) โครงการขนส่ง มูลค่า 3.55 แสนล้านบาท (เช่น งานบำรุงรักษาทางหลวง โครงการรถไฟฟ้า และถนนไร้ฝุ่น) 76.8 23.2 6) โครงการพลังงานและพลังงานทดแทน มูลค่า 1.56 แสนล้านบาท (เช่น โครงการพัฒนาระบบสายส่งและระบบส่งไฟฟ้า) 76.6 23.4 7) โครงการสื่อสาร มูลค่า 2.4 หมื่นล้านบาท (เช่น โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่) 55.6 44.4
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครประเด็นต่อไปนี้
1. ความเห็นต่อการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กระทรวงการคลังกู้เงิน 8 แสนล้านบาท
2. ความเห็นต่อการหารายได้เข้าสู่รัฐด้วยวิธีการขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่และสุรา และการเพิ่มกรอบภาษี สรรพสามิตน้ำมันทุกประเภท
3. ผลกระทบที่ได้รับจากการขึ้นภาษีบุหรี่และสุรา
4. ผลกระทบที่ได้รับจากการขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมัน
5. ความเห็นต่อการนำเงินจากกองทุนน้ำมันมาช่วยชะลอการขึ้นราคาน้ำมัน อันเนื่องมาจากการขึ้นภาษีน้ำมัน
6. ความเห็นต่อ มติ ครม. ที่ให้ตัดลดงบประมาณประจำปี 2553 ของกระทรวงต่างๆ ลงจาก 1.99 ล้านล้านบาท
ในปี 2552 เหลือ 1.7 ล้านล้านบาทในปี 2553
7. ความเหมาะสมในการตัดลดงบประมาณตามมติ ครม. ในกระทรวงหลักๆ แต่ละด้าน
8. ความเห็นต่อมาตรการลงทุนระยะยาว (กำหนดแล้วเสร็จในปี 2555) เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันของประเทศไทย
9. ความเห็นต่อการจัดสรรงบประมาณในแต่ละโครงการ ตามมาตรการลงทุนระยะยาว
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น ตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ โดยใช้ทั้งวิธีการลงพื้นที่ เก็บข้อมูลภาคสนาม และการสุ่มหมายเลขโทรศัพท์สัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,195 คน เป็นเพศชายร้อยละ 46.3 และเพศหญิงร้อยละ 53.7
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบ ถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนัก วิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 11 — 13 พฤษภาคม 2552 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 14 พฤษภาคม 2552
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 553 46.3 หญิง 642 53.7 รวม 1,195 100.0 อายุ 18 ปี - 25 ปี 367 30.8 26 ปี - 35 ปี 344 28.8 36 ปี - 45 ปี 271 22.6 46 ปีขึ้นไป 213 17.8 รวม 1,195 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 572 47.9 ปริญญาตรี 558 46.8 สูงกว่าปริญญาตรี 65 5.3 รวม 1,195 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ 95 8.0 พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน 363 30.5 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 275 23.1 รับจ้างทั่วไป 150 12.5 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 66 5.5 อื่นๆ เช่น อาชีพอิสระ ว่างงาน 246 20.4 รวม 1,195 100.00
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--