ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพเปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ อนาคตการเมืองไทยหลังศาลอาญาตัดสิน
พิพากษาจำคุก 3 กกต.” โดยสอบถามความคิดเห็นประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,113 เมื่อวันที่ 25-27
กรกฎาคม ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลอาญา แต่ยังคงไม่แน่ใจกับอนาคตการเมืองไทยที่มีบางเรื่องยังไม่ชัดเจน โดย
เฉพาะเรื่องการยุบพรรคการเมือง และการเว้นวรรคทางการเมืองของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่คะแนนโนโหวตลดลงถึงร้อยละ 29.6
ผลสำรวจดังกล่าวระบุว่า ประชาชนร้อยละ 67.0 เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลอาญาที่พิพากษาจำคุก กกต. 3 คน โดยไม่รอลงอาญา
และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี ขณะที่ร้อยละ 33.0 ไม่เห็นด้วย และเมื่อถามว่า อดีต กกต. ทั้ง 3 คนควรได้รับการประกันตัวหรือไม่ ร้อยละ
50.8 เห็นว่าควรได้รับการประกันตัวเนื่องจากไม่ใช่คดีฆ่าคนตาย ส่วนอีกร้อยละ 49.2 เห็นว่าไม่ควรได้รับการประกันตัว
สำหรับความคิดเห็นต่ออนาคตการเมืองไทยหลังจากนี้เป็นต้นไป ร้อยละ 35.2 ระบุว่าไม่แน่ใจ เนื่องจากเห็นว่ายังมีปัจจัยอื่นอีกนอกเหนือ
จากเรื่อง กกต. เช่น ประเด็นเรื่องการยุบพรรคการเมือง และการตัดสินใจของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เกี่ยวกับการเว้นวรรคทางการเมือง
ขณะที่ร้อยละ 22.7 เชื่อว่าอนาคตการเมืองไทยจะดีขึ้น ร้อยละ 17.0 เชื่อว่าจะแย่ลง และร้อยละ 25.1 เชื่อว่าจะเหมือนเดิม
เมื่อถามถึงความตั้งใจในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม หลังมี กกต. ชุดใหม่ ร้อยละ 75.7 ระบุว่าจะไปเลือกตั้ง ร้อย
ละ 7.5 จะไม่ไป และร้อยละ 16.8 ไม่แน่ใจ
ส่วนพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกนั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.6 ระบุว่ายังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคใด รองลงมาร้อยละ 19.8
เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 16.0 เลือกพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 2.4 เลือกพรรคชาติไทย ร้อยละ 2.1 เลือกพรรคอื่น และร้อยละ
9.2 จะไม่เลือกพรรคใดเลยหรือโนโหวต ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจเมื่อวันที่ 3 กรกฏาคมที่ผ่านมา พบว่าคะแนนโนโหวตลดลงร้อยละ
29.6
เมื่อถามว่าถ้า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ประกาศว่าจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อหากพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งในวันที่ 15
ตุลาคม จะส่งผลอย่างไรหรือไม่ต่อการตัดสินใจเลือกของประชาชน ร้อยละ 34.2 ระบุว่าจะส่งผลให้ไม่เลือกพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 16.9 ระบุ
ว่าจะส่งผลให้เลือกพรรคไทยรักไทย ขณะที่ร้อยละ 48.9 ระบุว่าจะไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เพราะจะไม่เลือกพรรคไทยรักไทยอยู่แล้ว และถึงไม่เป็น
นายกฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ก็มีอำนาจมากที่สุดในพรรคไทยรักไทยอยู่ดี
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในประเด็นต่อไปนี้
1. ความคิดเห็นต่อคำตัดสินของศาลอาญาที่พิพากษาจำคุก กกต. 3 คนโดยไม่รอลงอาญา และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 10 ปี
2. ความคิดเห็นต่ออนาคตการเมืองไทยภายหลัง กกต. ถูกพิพากษาให้จำคุก
3. ความตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งหากมีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม ที่จะถึงนี้
4. พรรคที่ตั้งใจจะเลือกหากมีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม 2549
5. ถ้า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ประกาศว่าจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหากพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในการเลือกตั้ง มีผล
ต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครของประชาชนหรือไม่อย่างไร
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,113 คน เป็นเพศชายร้อยละ 47.5 และเพศหญิงร้อยละ 52.5
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 25-27 กรกฎาคม 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 27 กรกฎาคม 2549
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 529 47.5
หญิง 584 52.5
อายุ
18-25 ปี 344 30.9
26-35 ปี 468 42.0
36-45 ปี 196 17.6
46 ปีขึ้นไป 105 9.4
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 337 30.3
ปริญญาตรี 612 55.0
สูงกว่าปริญญาตรี 164 14.7
อาชีพ
ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ 188 16.9
พนักงาน ลูกจ้างบริษัทเอกชน 475 42.7
ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว 155 13.9
รับจ้างทั่วไป 92 8.3
นิสิต นักศึกษา 155 13.9
พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 28 2.5
อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ 20 1.8
รวม 1,113 100.0
ตารางที่ 2: ความคิดเห็นต่อคำตัดสินของศาลอาญาที่พิพากษาจำคุก กกต. 3 คน โดยไม่รอลงอาญา และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 746 67.0
ไม่เห็นด้วย 367 33.0
ตารางที่ 3: ความคิดเห็นต่อเรื่องการอนุญาตให้ประกันตัว กกต. 3 คน
จำนวน ร้อยละ
ควรได้รับการประกันตัว 565 50.8
ไม่ควรได้รับการประกันตัว 548 49.2
ตารางที่ 4: ความคิดเห็นต่ออนาคตการเมืองไทยหลังจากนี้
จำนวน ร้อยละ
ดีขึ้น 253 22.7
แย่ลง 189 17.0
เหมือนเดิม 279 25.1
ไม่แน่ใจ 392 35.2
ตารางที่ 5: ความตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งหากมีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคมที่จะถึงนี้
จำนวน ร้อยละ
ไป 843 75.7
ไม่ไป 83 7.5
ไม่แน่ใจ 187 16.8
ตารางที่ 6: พรรคที่ตั้งใจจะเลือกหากมีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม 2549
จำนวน ร้อยละ
พรรคชาติไทย 27 2.4
พรรคไทยรักไทย 178 16.0
พรรคประชาธิปัตย์ 220 19.8
พรรคอื่นๆ 23 2.1
ไม่เลือกพรรคใดเลย 102 9.2
ยังไม่ตัดสินใจ 563 50.6
ตารางที่ 7: ถ้า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ประกาศว่าจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หากพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในการเลือกตั้ง
มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครของท่านหรือไม่อย่างไร
จำนวน ร้อยละ
มีผลให้เลือกพรรคไทยรักไทย 188 16.9
มีผลให้ไม่เลือกพรรคไทยรักไทย 381 34.2
ไม่มีผล เพราะ จะไม่เลือกพรรคไทยรักไทยอยู่แล้ว และถึงไม่เป็นนายกฯ
พ.ต.ท. ทักษิณ ก็มีอำนาจมากที่สุดในพรรคไทยรักไทยอยู่ดี 544 48.9
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
พิพากษาจำคุก 3 กกต.” โดยสอบถามความคิดเห็นประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,113 เมื่อวันที่ 25-27
กรกฎาคม ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลอาญา แต่ยังคงไม่แน่ใจกับอนาคตการเมืองไทยที่มีบางเรื่องยังไม่ชัดเจน โดย
เฉพาะเรื่องการยุบพรรคการเมือง และการเว้นวรรคทางการเมืองของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่คะแนนโนโหวตลดลงถึงร้อยละ 29.6
ผลสำรวจดังกล่าวระบุว่า ประชาชนร้อยละ 67.0 เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลอาญาที่พิพากษาจำคุก กกต. 3 คน โดยไม่รอลงอาญา
และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี ขณะที่ร้อยละ 33.0 ไม่เห็นด้วย และเมื่อถามว่า อดีต กกต. ทั้ง 3 คนควรได้รับการประกันตัวหรือไม่ ร้อยละ
50.8 เห็นว่าควรได้รับการประกันตัวเนื่องจากไม่ใช่คดีฆ่าคนตาย ส่วนอีกร้อยละ 49.2 เห็นว่าไม่ควรได้รับการประกันตัว
สำหรับความคิดเห็นต่ออนาคตการเมืองไทยหลังจากนี้เป็นต้นไป ร้อยละ 35.2 ระบุว่าไม่แน่ใจ เนื่องจากเห็นว่ายังมีปัจจัยอื่นอีกนอกเหนือ
จากเรื่อง กกต. เช่น ประเด็นเรื่องการยุบพรรคการเมือง และการตัดสินใจของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เกี่ยวกับการเว้นวรรคทางการเมือง
ขณะที่ร้อยละ 22.7 เชื่อว่าอนาคตการเมืองไทยจะดีขึ้น ร้อยละ 17.0 เชื่อว่าจะแย่ลง และร้อยละ 25.1 เชื่อว่าจะเหมือนเดิม
เมื่อถามถึงความตั้งใจในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม หลังมี กกต. ชุดใหม่ ร้อยละ 75.7 ระบุว่าจะไปเลือกตั้ง ร้อย
ละ 7.5 จะไม่ไป และร้อยละ 16.8 ไม่แน่ใจ
ส่วนพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกนั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.6 ระบุว่ายังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคใด รองลงมาร้อยละ 19.8
เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 16.0 เลือกพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 2.4 เลือกพรรคชาติไทย ร้อยละ 2.1 เลือกพรรคอื่น และร้อยละ
9.2 จะไม่เลือกพรรคใดเลยหรือโนโหวต ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจเมื่อวันที่ 3 กรกฏาคมที่ผ่านมา พบว่าคะแนนโนโหวตลดลงร้อยละ
29.6
เมื่อถามว่าถ้า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ประกาศว่าจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อหากพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งในวันที่ 15
ตุลาคม จะส่งผลอย่างไรหรือไม่ต่อการตัดสินใจเลือกของประชาชน ร้อยละ 34.2 ระบุว่าจะส่งผลให้ไม่เลือกพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 16.9 ระบุ
ว่าจะส่งผลให้เลือกพรรคไทยรักไทย ขณะที่ร้อยละ 48.9 ระบุว่าจะไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เพราะจะไม่เลือกพรรคไทยรักไทยอยู่แล้ว และถึงไม่เป็น
นายกฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ก็มีอำนาจมากที่สุดในพรรคไทยรักไทยอยู่ดี
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในประเด็นต่อไปนี้
1. ความคิดเห็นต่อคำตัดสินของศาลอาญาที่พิพากษาจำคุก กกต. 3 คนโดยไม่รอลงอาญา และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 10 ปี
2. ความคิดเห็นต่ออนาคตการเมืองไทยภายหลัง กกต. ถูกพิพากษาให้จำคุก
3. ความตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งหากมีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม ที่จะถึงนี้
4. พรรคที่ตั้งใจจะเลือกหากมีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม 2549
5. ถ้า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ประกาศว่าจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหากพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในการเลือกตั้ง มีผล
ต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครของประชาชนหรือไม่อย่างไร
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,113 คน เป็นเพศชายร้อยละ 47.5 และเพศหญิงร้อยละ 52.5
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 25-27 กรกฎาคม 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 27 กรกฎาคม 2549
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 529 47.5
หญิง 584 52.5
อายุ
18-25 ปี 344 30.9
26-35 ปี 468 42.0
36-45 ปี 196 17.6
46 ปีขึ้นไป 105 9.4
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 337 30.3
ปริญญาตรี 612 55.0
สูงกว่าปริญญาตรี 164 14.7
อาชีพ
ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ 188 16.9
พนักงาน ลูกจ้างบริษัทเอกชน 475 42.7
ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว 155 13.9
รับจ้างทั่วไป 92 8.3
นิสิต นักศึกษา 155 13.9
พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 28 2.5
อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ 20 1.8
รวม 1,113 100.0
ตารางที่ 2: ความคิดเห็นต่อคำตัดสินของศาลอาญาที่พิพากษาจำคุก กกต. 3 คน โดยไม่รอลงอาญา และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 746 67.0
ไม่เห็นด้วย 367 33.0
ตารางที่ 3: ความคิดเห็นต่อเรื่องการอนุญาตให้ประกันตัว กกต. 3 คน
จำนวน ร้อยละ
ควรได้รับการประกันตัว 565 50.8
ไม่ควรได้รับการประกันตัว 548 49.2
ตารางที่ 4: ความคิดเห็นต่ออนาคตการเมืองไทยหลังจากนี้
จำนวน ร้อยละ
ดีขึ้น 253 22.7
แย่ลง 189 17.0
เหมือนเดิม 279 25.1
ไม่แน่ใจ 392 35.2
ตารางที่ 5: ความตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งหากมีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคมที่จะถึงนี้
จำนวน ร้อยละ
ไป 843 75.7
ไม่ไป 83 7.5
ไม่แน่ใจ 187 16.8
ตารางที่ 6: พรรคที่ตั้งใจจะเลือกหากมีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม 2549
จำนวน ร้อยละ
พรรคชาติไทย 27 2.4
พรรคไทยรักไทย 178 16.0
พรรคประชาธิปัตย์ 220 19.8
พรรคอื่นๆ 23 2.1
ไม่เลือกพรรคใดเลย 102 9.2
ยังไม่ตัดสินใจ 563 50.6
ตารางที่ 7: ถ้า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ประกาศว่าจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หากพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในการเลือกตั้ง
มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครของท่านหรือไม่อย่างไร
จำนวน ร้อยละ
มีผลให้เลือกพรรคไทยรักไทย 188 16.9
มีผลให้ไม่เลือกพรรคไทยรักไทย 381 34.2
ไม่มีผล เพราะ จะไม่เลือกพรรคไทยรักไทยอยู่แล้ว และถึงไม่เป็นนายกฯ
พ.ต.ท. ทักษิณ ก็มีอำนาจมากที่สุดในพรรคไทยรักไทยอยู่ดี 544 48.9
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-