วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั่วประเทศเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาที่จะมีขึ้นในวันพุธที่ 19
เมษายน 2549 ในประเด็นต่อไปนี้
1. ความตั้งใจที่จะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาพร้อมเหตุผลของการไปเลือกตั้งและไม่ไปเลือกตั้ง
2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร และจำนวนผู้สมัครที่จะ
ต้องเลือก
3. เกณฑ์การตัดสินใจเลือกผู้สมัคร
4. ข้อมูลการหาเสียงของผู้สมัคร สส. ในลักษณะพ่วงการขอคะแนนเสียงให้ผู้สมัคร สว.
5. สถานการณ์การซื้อเสียงในช่วงระยะที่ผ่านมา
6. ความเชื่อมั่นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
7. เปรียบเทียบผลการสำรวจครั้งนี้ (4-10 เมษายน) กับผลการสำรวจครั้งก่อน (1-10 กุมภาพันธ์)
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั่วประเทศตามสัดส่วนของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในแต่ละภาค ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ
หลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยในแต่ละภาคจะทำการสุ่มจังหวัด จากนั้นสุ่มอำเภอ และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่ม
ตัวอย่างจาก 25 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สระบุรี
สุโขทัย แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ ลำปาง อุดรธานี หนองคาย ขอนแก่น สุรินทร์ กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ ชลบุรี ระยอง นราธิวาส
สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา รวมทั้งสิ้นจำนวน 3,020 คน เป็นชายร้อยละ 47.0 และหญิงร้อยละ 53.0 โดยอาศัยอยู่ใน
กรุงเทพฯ ร้อยละ 10.3อยู่ต่างจังหวัดในเขตอำเภอเมืองร้อยละ 37.8 และอยู่ต่างจังหวัดนอกเขตอำเภอเมืองร้อยละ 51.9กลุ่มตัวอย่างมีอายุ
18-25 ปีร้อยละ 23.4 อายุ 26-35 ปีร้อยละ 31.3 อายุ 36-45 ปีร้อยละ 25.0 และอายุ 45 ปีขึ้นไปร้อยละ 20.3
จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 25.1 มัธยมศึกษา/ปวช.ร้อยละ 30.1 ปวส./อนุปริญญาร้อยละ 15.3 ปริญญาตรีร้อยละ
25.5 และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 4.0
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 14.8 ค้าขายและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 18.5 รับจ้างทั่วไปร้อย
ละ 16.2 พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 19.7 พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 6.8นิสิตนักศึกษาร้อยละ 11.8 เกษตรกร
และชาวประมงร้อยละ 10.7 และอื่นๆ ร้อยละ 1.5
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 4-10 เมษายน 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 17 เมษายน 2549
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
ประชาชนร้อยละ 76.6 ระบุว่าจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ในวันพุธที่ 19 เมษายนที่จะถึงนี้โดยให้เหตุผลว่า เป็น
หน้าที่ ไปเพื่อใช้สิทธิ์ตามกฎหมาย กลัวถูกตัดสิทธิ์ และต้องการได้ สว. ที่ดีตามลำดับขณะที่ร้อยละ 12.0 ระบุว่าจะไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง โดยให้
เหตุผลว่า ติดธุระ ต้องเสียค่าเดินทาง เบื่อการเมือง และเบื่อการเลือกตั้งอีกร้อยละ 11.4 ระบุว่ายังไม่แน่ใจ เพราะในวันดังกล่าวอาจติดธุระ
หากเปรียบเทียบผลการสำรวจครั้งนี้กับการผลสำรวจครั้งที่แล้วเมื่อสองเดือนก่อน พบว่า ความตั้งใจในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง สว. ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ลดลงร้อยละ 7.1สำหรับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวนผู้สมัคร สว. ที่จะต้องกากบาทเลือกในวันดังกล่าว พบว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งถึงร้อยละ
60.7 ยังไม่ทราบว่าในการเลือกตั้ง สว. ครั้งนี้ตนจะต้องกากบาทเลือกผู้สมัครกี่เบอร์ โดยผู้ที่ทราบว่าสามารถเลือกผู้สมัครได้เบอร์เดียวมีเพียงร้อย
ละ 39.3ในส่วนของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของ สว. สำหรับใช้เป็นแนวทางในการเลือกผู้สมัครนั้นประชาชนร้อยละ 58.9 ระบุว่า
ยังมีความรู้ความเข้าใจไม่เพียงพอ ขณะที่ร้อยละ 41.1 ระบุว่ามีความรู้ความเข้าใจเพียงพอแล้ว ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบผลสำรวจครั้งนี้กับเมื่อสอง
เดือนก่อน พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของ สว. เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.7สำหรับคำถามที่ว่าในการ
ตัดสินใจเลือกผู้สมัคร สว. ครั้งนี้จะพิจารณาจากคุณสมบัติใดเป็นหลัก พบว่า อันดับแรก พิจารณาผู้ที่เข้าใจปัญหาของประชาชนในพื้นที่ ร้อยละ
39.2 รองลงมาคือ มีประวัติการทำงานดีไม่ด่างพร้อย ร้อยละ 18.9 มีความรู้ความสามารถด้านกฎหมาย ร้อยละ 16.8 เป็นอิสระ
จากพรรคการเมือง ร้อยละ 10.9 มีบุคคลน่าเชื่อถือให้การสนับสนุน ร้อยละ 6.0 มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ร้อยละ 5.0 มีพรรคการเมือง
สนับสนุน ร้อยละ 1.0 และ ดูจากคุณสมบัติอื่น ร้อยละ 2.2สำหรับผู้สมัคร สว. ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคการเมืองนั้น ร้อยละ 59.7 ระบุว่า
จะไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครคนดังกล่าวเพราะมีคุณสมบัติด้านอื่นที่ควรพิจารณามากกว่า ขณะที่ร้อยละ 28.2 ระบุว่าจะส่งผลให้ไม่เลือก
และร้อยละ 12.1 ระบุว่าจะส่งผลให้เลือกส่วนประเด็นที่ว่าการหาเสียงของผู้สมัคร สส. บางรายอาจพ่วงการขอคะแนนเสียงให้ผู้สมัคร สว. ไปด้วย
นั้น ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 13.9 ระบุว่าที่ผ่านมาการหาเสียงของผู้สมัคร สส. ในพื้นที่ได้ช่วยหาเสียง แนะนำ หรือเชิญชวนให้เลือกผู้สมัคร
สว. คนใดคนหนึ่งด้วย ขณะที่ร้อยละ 44.9 ระบุว่าไม่พบเห็นการกระทำดังกล่าว และร้อยละ 41.2 ไม่ตอบสำหรับการติดต่อเพื่อซื้อเสียงให้กับผู้
สมัครรับเลือกตั้งที่ผ่านมานั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร้อยละ 14.6 ระบุว่าได้รับการติดต่อเพื่อซื้อเสียงของตนเองและคนในครอบครัว โดยในจำนวนนี้เป็นการ
ซื้อเสียงให้กับผู้สมัคร สส.ร้อยละ 41.3 ซื้อเสียงให้ผู้สมัคร สว. ร้อยละ 31.2 และซื้อเสียงให้ผู้สมัคร สส. พ่วงกับผู้สมัคร สว. ร้อยละ 27.5
ขณะที่ร้อยละ 85.4 ระบุว่ายังไม่ได้รับการติดต่อซื้อเสียงสำหรับความเชื่อมั่นต่อการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าจะ
สามารถควบคุมดูแลการเลือกตั้ง สว. ครั้งนี้ให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ยุติธรรมได้เพียงใดนั้น ร้อยละ 46.2 ระบุว่าเชื่อมั่น (แบ่งเป็นเชื่อมั่นมาก
ร้อยละ 11.5 และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 34.7) ขณะที่ส่วนใหญ่คือร้อยละ 53.8 ไม่เชื่อมั่น (โดยแบ่งเป็นไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 15.4 และไม่
ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 38.4)
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 1,420 47.0
หญิง 1,600 53.0
อายุ :
18 - 25 ปี 708 23.4
26 - 35 ปี 946 31.3
36 - 45 ปี 754 25.0
46 ปีขึ้นไป 612 20.3
จบการศึกษา
ประถมศึกษา 758 25.1
มัธยมศึกษา/ปวช. 908 30.1
ปวส./อนุปริญญา 462 15.3
ปริญญาตรี 770 25.5
สูงกว่าปริญญาตรี 122 4.0
อาชีพ
ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 446 14.8
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 558 18.5
รับจ้างทั่วไป 490 16.2
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 594 19.7
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 204 6.8
นิสิต/นักศึกษา 356 11.8
เกษตรกร/ชาวประมง 323 10.7
อื่นๆ 49 1.5
ที่อยู่อาศัย
กรุงเทพฯ และปริมณฑล 312 10.3
ต่างจังหวัดในเขตอำเภอเมือง 1,142 37.8
ต่างจังหวัดนอกเขตอำเภอเมือง 1,566 51.9
รวม 3,020 100.0
ตารางที่ 2: เปรียบเทียบความตั้งใจที่จะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 19 เมษายน
สำรวจครั้งที่ 1วันที่ 1-10 กุมภาพันธ์ สำรวจครั้งที่ 2วันที่ 4-10 เมษายน
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ไป เพราะ เป็นหน้าที่ กลัวถูกตัดสิทธิและ ต้องการได้ สว. ที่ดี 2,665 83.7 2,313 76.6
ไม่ไป เพราะ ติดธุระ เสียค่าเดินทางเบื่อการเมือง และเบื่อการเลือกตั้ง 171 5.4 363 12.0
ยังไม่แน่ใจ เพราะ อาจติดธุระ 347 10.9 344 11.4
ตารางที่ 3: ความรู้เกี่ยวกับจำนวนผู้สมัคร สว. ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องกากบาทเลือก
จำนวน ร้อยละ
ทราบว่าเลือกได้เบอร์เดียว 1,187 39.3
ไม่ทราบว่าเลือกได้กี่เบอร์ 1,833 60.7
ตารางที่ 4: เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา
สำหรับใช้เป็นแนวทาง ในการเลือกผู้สมัคร
สำรวจครั้งที่ 1วันที่ 1-10 กุมภาพันธ์ สำรวจครั้งที่ 2วันที่ 4-10 เมษายน
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอแล้ว 1,160 36.4 1,241 41.1
ยังมีความรู้ความเข้าใจไม่เพียงพอ 2,023 63.6 1,779 58.9
ตารางที่ 5: เปรียบเทียบคุณสมบัติของผู้สมัคร สว. ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้เป็นเกณฑ์หลักในการตัดสินใจเลือก
สำรวจครั้งที่ 1วันที่ 1-10 กุมภาพันธ์ สำรวจครั้งที่ 2วันที่ 4-10 เมษายน
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
เลือกผู้ที่เข้าใจปัญหาของประชาชนในพื้นที่ 1,472 46.3 1,184 39.2
เลือกผู้ที่มีประวัติการทำงานดี ไม่ด่างพร้อย 596 18.7 570 18.9
เลือกผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านกฎหมาย 404 12.7 508 16.8
เลือกผู้ที่มีความเป็นอิสระจากพรรคการเมือง 330 10.4 330 10.9
เลือกผู้ที่มีบุคคลน่าเชื่อถือให้การสนับสนุน 140 4.4 180 6.0
เลือกผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก 93 2.9 152 5.0
เลือกผู้ที่มีพรรคการเมืองสนับสนุน 45 1.4 30 1.0
อื่นๆ เช่น เลือกจากคุณสมบัติหลายข้อรวมกัน 103 3.2 66 2.2
ตารางที่ 6: เปรียบเทียบความคิดเห็นเรื่องที่ผู้สมัคร สว. มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคการเมือง
ว่าส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกหรือไม่อย่างไร
สำรวจครั้งที่ 1วันที่ 1-10 กุมภาพันธ์ สำรวจครั้งที่ 2วันที่ 4-10 เมษายน
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ส่งผลให้เลือก 558 17.5 366 12.1
ส่งผลให้ไม่เลือก 779 24.5 852 28.2
ไม่ส่งผล เพราะมีคุณสมบัติด้านอื่นที่ควรพิจารณามากกว่า 1,846 58.0 1,802 59.7
ตารางที่ 7: ทีมงานหาเสียงของผู้สมัคร สส. ในพื้นที่มีลักษณะช่วยหาเสียง แนะนำ หรือเชิญชวน
ให้เลือกผู้สมัคร สว. คนใดคนหนึ่งหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มี 420 13.9
ไม่มี 1,356 44.9
ไม่ตอบ 1,244 41.2
ตารางที่ 8: การติดต่อทาบทามเพื่อซื้อเสียงจากผู้ตอบแบบสอบถามและบุคคลในครอบครัว
จำนวน ร้อยละ
ได้รับการติดต่อซื้อเสียง โดยเป็นการซื้อเสียงให้กับ 441 14.6
- ผู้สมัคร สส.......(ร้อยละ 41.3)
- ผู้สมัคร สว.......(ร้อยละ 31.2)
- ผู้สมัคร สส. พ่วงกับผู้สมัคร สว. (ร้อยละ 27.5)
ไม่ได้รับการติดต่อซื้อเสียง 2,579 85.4
ตารางที่ 9: ความเชื่อมั่นต่อการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าจะสามารถควบคุมดูแล
การเลือกตั้ง สว. ครั้งนี้ให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ยุติธรรมได้
สำรวจครั้งที่ 1วันที่ 1-10 กุมภาพันธ์ สำรวจครั้งที่ 2วันที่ 4-10 เมษายน
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
เชื่อมั่นมาก 253 7.9 347 11.5
ค่อนข้างเชื่อมั่น 1,121 35.2 1,050 34.7
ไม่ค่อยเชื่อมั่น 1,375 43.3 1,160 38.4
ไม่เชื่อมั่นเลย 434 13.6 464 15.4
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เพื่อสอบถามข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั่วประเทศเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาที่จะมีขึ้นในวันพุธที่ 19
เมษายน 2549 ในประเด็นต่อไปนี้
1. ความตั้งใจที่จะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาพร้อมเหตุผลของการไปเลือกตั้งและไม่ไปเลือกตั้ง
2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร และจำนวนผู้สมัครที่จะ
ต้องเลือก
3. เกณฑ์การตัดสินใจเลือกผู้สมัคร
4. ข้อมูลการหาเสียงของผู้สมัคร สส. ในลักษณะพ่วงการขอคะแนนเสียงให้ผู้สมัคร สว.
5. สถานการณ์การซื้อเสียงในช่วงระยะที่ผ่านมา
6. ความเชื่อมั่นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
7. เปรียบเทียบผลการสำรวจครั้งนี้ (4-10 เมษายน) กับผลการสำรวจครั้งก่อน (1-10 กุมภาพันธ์)
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั่วประเทศตามสัดส่วนของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในแต่ละภาค ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ
หลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยในแต่ละภาคจะทำการสุ่มจังหวัด จากนั้นสุ่มอำเภอ และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่ม
ตัวอย่างจาก 25 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สระบุรี
สุโขทัย แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ ลำปาง อุดรธานี หนองคาย ขอนแก่น สุรินทร์ กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ ชลบุรี ระยอง นราธิวาส
สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา รวมทั้งสิ้นจำนวน 3,020 คน เป็นชายร้อยละ 47.0 และหญิงร้อยละ 53.0 โดยอาศัยอยู่ใน
กรุงเทพฯ ร้อยละ 10.3อยู่ต่างจังหวัดในเขตอำเภอเมืองร้อยละ 37.8 และอยู่ต่างจังหวัดนอกเขตอำเภอเมืองร้อยละ 51.9กลุ่มตัวอย่างมีอายุ
18-25 ปีร้อยละ 23.4 อายุ 26-35 ปีร้อยละ 31.3 อายุ 36-45 ปีร้อยละ 25.0 และอายุ 45 ปีขึ้นไปร้อยละ 20.3
จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 25.1 มัธยมศึกษา/ปวช.ร้อยละ 30.1 ปวส./อนุปริญญาร้อยละ 15.3 ปริญญาตรีร้อยละ
25.5 และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 4.0
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 14.8 ค้าขายและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 18.5 รับจ้างทั่วไปร้อย
ละ 16.2 พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 19.7 พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 6.8นิสิตนักศึกษาร้อยละ 11.8 เกษตรกร
และชาวประมงร้อยละ 10.7 และอื่นๆ ร้อยละ 1.5
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 4-10 เมษายน 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 17 เมษายน 2549
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
ประชาชนร้อยละ 76.6 ระบุว่าจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ในวันพุธที่ 19 เมษายนที่จะถึงนี้โดยให้เหตุผลว่า เป็น
หน้าที่ ไปเพื่อใช้สิทธิ์ตามกฎหมาย กลัวถูกตัดสิทธิ์ และต้องการได้ สว. ที่ดีตามลำดับขณะที่ร้อยละ 12.0 ระบุว่าจะไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง โดยให้
เหตุผลว่า ติดธุระ ต้องเสียค่าเดินทาง เบื่อการเมือง และเบื่อการเลือกตั้งอีกร้อยละ 11.4 ระบุว่ายังไม่แน่ใจ เพราะในวันดังกล่าวอาจติดธุระ
หากเปรียบเทียบผลการสำรวจครั้งนี้กับการผลสำรวจครั้งที่แล้วเมื่อสองเดือนก่อน พบว่า ความตั้งใจในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง สว. ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ลดลงร้อยละ 7.1สำหรับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวนผู้สมัคร สว. ที่จะต้องกากบาทเลือกในวันดังกล่าว พบว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งถึงร้อยละ
60.7 ยังไม่ทราบว่าในการเลือกตั้ง สว. ครั้งนี้ตนจะต้องกากบาทเลือกผู้สมัครกี่เบอร์ โดยผู้ที่ทราบว่าสามารถเลือกผู้สมัครได้เบอร์เดียวมีเพียงร้อย
ละ 39.3ในส่วนของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของ สว. สำหรับใช้เป็นแนวทางในการเลือกผู้สมัครนั้นประชาชนร้อยละ 58.9 ระบุว่า
ยังมีความรู้ความเข้าใจไม่เพียงพอ ขณะที่ร้อยละ 41.1 ระบุว่ามีความรู้ความเข้าใจเพียงพอแล้ว ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบผลสำรวจครั้งนี้กับเมื่อสอง
เดือนก่อน พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของ สว. เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.7สำหรับคำถามที่ว่าในการ
ตัดสินใจเลือกผู้สมัคร สว. ครั้งนี้จะพิจารณาจากคุณสมบัติใดเป็นหลัก พบว่า อันดับแรก พิจารณาผู้ที่เข้าใจปัญหาของประชาชนในพื้นที่ ร้อยละ
39.2 รองลงมาคือ มีประวัติการทำงานดีไม่ด่างพร้อย ร้อยละ 18.9 มีความรู้ความสามารถด้านกฎหมาย ร้อยละ 16.8 เป็นอิสระ
จากพรรคการเมือง ร้อยละ 10.9 มีบุคคลน่าเชื่อถือให้การสนับสนุน ร้อยละ 6.0 มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ร้อยละ 5.0 มีพรรคการเมือง
สนับสนุน ร้อยละ 1.0 และ ดูจากคุณสมบัติอื่น ร้อยละ 2.2สำหรับผู้สมัคร สว. ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคการเมืองนั้น ร้อยละ 59.7 ระบุว่า
จะไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครคนดังกล่าวเพราะมีคุณสมบัติด้านอื่นที่ควรพิจารณามากกว่า ขณะที่ร้อยละ 28.2 ระบุว่าจะส่งผลให้ไม่เลือก
และร้อยละ 12.1 ระบุว่าจะส่งผลให้เลือกส่วนประเด็นที่ว่าการหาเสียงของผู้สมัคร สส. บางรายอาจพ่วงการขอคะแนนเสียงให้ผู้สมัคร สว. ไปด้วย
นั้น ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 13.9 ระบุว่าที่ผ่านมาการหาเสียงของผู้สมัคร สส. ในพื้นที่ได้ช่วยหาเสียง แนะนำ หรือเชิญชวนให้เลือกผู้สมัคร
สว. คนใดคนหนึ่งด้วย ขณะที่ร้อยละ 44.9 ระบุว่าไม่พบเห็นการกระทำดังกล่าว และร้อยละ 41.2 ไม่ตอบสำหรับการติดต่อเพื่อซื้อเสียงให้กับผู้
สมัครรับเลือกตั้งที่ผ่านมานั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร้อยละ 14.6 ระบุว่าได้รับการติดต่อเพื่อซื้อเสียงของตนเองและคนในครอบครัว โดยในจำนวนนี้เป็นการ
ซื้อเสียงให้กับผู้สมัคร สส.ร้อยละ 41.3 ซื้อเสียงให้ผู้สมัคร สว. ร้อยละ 31.2 และซื้อเสียงให้ผู้สมัคร สส. พ่วงกับผู้สมัคร สว. ร้อยละ 27.5
ขณะที่ร้อยละ 85.4 ระบุว่ายังไม่ได้รับการติดต่อซื้อเสียงสำหรับความเชื่อมั่นต่อการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าจะ
สามารถควบคุมดูแลการเลือกตั้ง สว. ครั้งนี้ให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ยุติธรรมได้เพียงใดนั้น ร้อยละ 46.2 ระบุว่าเชื่อมั่น (แบ่งเป็นเชื่อมั่นมาก
ร้อยละ 11.5 และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 34.7) ขณะที่ส่วนใหญ่คือร้อยละ 53.8 ไม่เชื่อมั่น (โดยแบ่งเป็นไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 15.4 และไม่
ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 38.4)
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 1,420 47.0
หญิง 1,600 53.0
อายุ :
18 - 25 ปี 708 23.4
26 - 35 ปี 946 31.3
36 - 45 ปี 754 25.0
46 ปีขึ้นไป 612 20.3
จบการศึกษา
ประถมศึกษา 758 25.1
มัธยมศึกษา/ปวช. 908 30.1
ปวส./อนุปริญญา 462 15.3
ปริญญาตรี 770 25.5
สูงกว่าปริญญาตรี 122 4.0
อาชีพ
ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 446 14.8
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 558 18.5
รับจ้างทั่วไป 490 16.2
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 594 19.7
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 204 6.8
นิสิต/นักศึกษา 356 11.8
เกษตรกร/ชาวประมง 323 10.7
อื่นๆ 49 1.5
ที่อยู่อาศัย
กรุงเทพฯ และปริมณฑล 312 10.3
ต่างจังหวัดในเขตอำเภอเมือง 1,142 37.8
ต่างจังหวัดนอกเขตอำเภอเมือง 1,566 51.9
รวม 3,020 100.0
ตารางที่ 2: เปรียบเทียบความตั้งใจที่จะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 19 เมษายน
สำรวจครั้งที่ 1วันที่ 1-10 กุมภาพันธ์ สำรวจครั้งที่ 2วันที่ 4-10 เมษายน
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ไป เพราะ เป็นหน้าที่ กลัวถูกตัดสิทธิและ ต้องการได้ สว. ที่ดี 2,665 83.7 2,313 76.6
ไม่ไป เพราะ ติดธุระ เสียค่าเดินทางเบื่อการเมือง และเบื่อการเลือกตั้ง 171 5.4 363 12.0
ยังไม่แน่ใจ เพราะ อาจติดธุระ 347 10.9 344 11.4
ตารางที่ 3: ความรู้เกี่ยวกับจำนวนผู้สมัคร สว. ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องกากบาทเลือก
จำนวน ร้อยละ
ทราบว่าเลือกได้เบอร์เดียว 1,187 39.3
ไม่ทราบว่าเลือกได้กี่เบอร์ 1,833 60.7
ตารางที่ 4: เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา
สำหรับใช้เป็นแนวทาง ในการเลือกผู้สมัคร
สำรวจครั้งที่ 1วันที่ 1-10 กุมภาพันธ์ สำรวจครั้งที่ 2วันที่ 4-10 เมษายน
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอแล้ว 1,160 36.4 1,241 41.1
ยังมีความรู้ความเข้าใจไม่เพียงพอ 2,023 63.6 1,779 58.9
ตารางที่ 5: เปรียบเทียบคุณสมบัติของผู้สมัคร สว. ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้เป็นเกณฑ์หลักในการตัดสินใจเลือก
สำรวจครั้งที่ 1วันที่ 1-10 กุมภาพันธ์ สำรวจครั้งที่ 2วันที่ 4-10 เมษายน
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
เลือกผู้ที่เข้าใจปัญหาของประชาชนในพื้นที่ 1,472 46.3 1,184 39.2
เลือกผู้ที่มีประวัติการทำงานดี ไม่ด่างพร้อย 596 18.7 570 18.9
เลือกผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านกฎหมาย 404 12.7 508 16.8
เลือกผู้ที่มีความเป็นอิสระจากพรรคการเมือง 330 10.4 330 10.9
เลือกผู้ที่มีบุคคลน่าเชื่อถือให้การสนับสนุน 140 4.4 180 6.0
เลือกผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก 93 2.9 152 5.0
เลือกผู้ที่มีพรรคการเมืองสนับสนุน 45 1.4 30 1.0
อื่นๆ เช่น เลือกจากคุณสมบัติหลายข้อรวมกัน 103 3.2 66 2.2
ตารางที่ 6: เปรียบเทียบความคิดเห็นเรื่องที่ผู้สมัคร สว. มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคการเมือง
ว่าส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกหรือไม่อย่างไร
สำรวจครั้งที่ 1วันที่ 1-10 กุมภาพันธ์ สำรวจครั้งที่ 2วันที่ 4-10 เมษายน
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ส่งผลให้เลือก 558 17.5 366 12.1
ส่งผลให้ไม่เลือก 779 24.5 852 28.2
ไม่ส่งผล เพราะมีคุณสมบัติด้านอื่นที่ควรพิจารณามากกว่า 1,846 58.0 1,802 59.7
ตารางที่ 7: ทีมงานหาเสียงของผู้สมัคร สส. ในพื้นที่มีลักษณะช่วยหาเสียง แนะนำ หรือเชิญชวน
ให้เลือกผู้สมัคร สว. คนใดคนหนึ่งหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มี 420 13.9
ไม่มี 1,356 44.9
ไม่ตอบ 1,244 41.2
ตารางที่ 8: การติดต่อทาบทามเพื่อซื้อเสียงจากผู้ตอบแบบสอบถามและบุคคลในครอบครัว
จำนวน ร้อยละ
ได้รับการติดต่อซื้อเสียง โดยเป็นการซื้อเสียงให้กับ 441 14.6
- ผู้สมัคร สส.......(ร้อยละ 41.3)
- ผู้สมัคร สว.......(ร้อยละ 31.2)
- ผู้สมัคร สส. พ่วงกับผู้สมัคร สว. (ร้อยละ 27.5)
ไม่ได้รับการติดต่อซื้อเสียง 2,579 85.4
ตารางที่ 9: ความเชื่อมั่นต่อการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าจะสามารถควบคุมดูแล
การเลือกตั้ง สว. ครั้งนี้ให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ยุติธรรมได้
สำรวจครั้งที่ 1วันที่ 1-10 กุมภาพันธ์ สำรวจครั้งที่ 2วันที่ 4-10 เมษายน
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
เชื่อมั่นมาก 253 7.9 347 11.5
ค่อนข้างเชื่อมั่น 1,121 35.2 1,050 34.7
ไม่ค่อยเชื่อมั่น 1,375 43.3 1,160 38.4
ไม่เชื่อมั่นเลย 434 13.6 464 15.4
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-