จากการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากวุฒิสภา สภาผู้แทน ราษฎร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก เพื่อหาแนวทางการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทางการปฏิรูปการเมืองของไทย ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “คณะกรรมการสมานฉันท์ ฯ กับความคาดหวังของประชาชน” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 1,260 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.5 และเพศหญิงร้อยละ 49.6 เมื่อวันที่ 20 - 21 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
เชื่อว่าทำได้(ร้อยละ) เชื่อว่าทำไม่ได้(ร้อยละ) ไม่แน่ใจ(ร้อยละ)
1) ภารกิจในการเสนอแนวทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นที่ยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่ 41.1 30.2 28.7 2) ภารกิจในการปฏิรูประบบการเมืองไทยให้มีความมั่นคง/เข้มแข็ง 35.1 29.6 35.3 3) ภารกิจในการสร้างความสมานฉันท์/ลดปัญหาความขัดแย้ง/แตกแยกทางการเมือง 29.6 41.8 28.6 2. ความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราต่างๆ ปรากฏผลดังนี้
เห็นด้วย(ร้อยละ) ไม่เห็นด้วย(ร้อยละ) ไม่แน่ใจ(ร้อยละ)
1) การแก้ไขมาตรา 111 และ 112 โดยให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 70.9 20.0 9.1 2) การแก้ไขมาตรา 237 โดยให้ตัดทิ้งประเด็นการยุบพรรคการเมืองและ ให้ลงโทษกรรมการบริหารพรรคที่ทุจริตเลือกตั้งเฉพาะคน ไม่ใช่เหมารวม 64.2 26.1 9.7 3) การแก้ไขมาตรา 93 และ 98 โดยการเลือกตั้ง ส.ส.ให้กลับไปใช้ระบบ เขตเดียวคนเดียว (รวมจำนวน ส.ส.เขต 400 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่ออีก 100 คน) 58.3 23.0 18.7 4) การแก้ไขมาตรา 265 และ 266 โดยให้ ส.ส. ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น ที่ปรึกษารัฐมนตรี และเลขานุการรัฐมนตรีได้ 38.4 41.5 20.1 5) การยกเลิกมาตรา 309 โดยให้มีการนิรโทษกรรมคดีทุจริตให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และยกเลิกการยึดทรัพย์ 7 หมื่นล้านบาท 31.9 53.5 14.6 3. สิ่งที่ต้องการฝากไปถึงคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง และการศึกษาการแก้ไข รัฐธรรมนูญ 5 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) - ให้ช่วยทำให้บ้านเมืองสงบสุข มีความสมานฉันท์ โดยเร็ว ร้อยละ 37.4 - ให้วางตัวเป็นกลาง ทำงานอย่างตรงไปตรงมา ร้อยละ 21.4 - ให้ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักในการทำงาน ร้อยละ 19.2 - ขอให้กำลังใจ ให้ทำงานสำเร็จลุล่วง ร้อยละ 7.1 - ให้รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และเปิดให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม ร้อยละ 3.8
รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครประเด็นต่อไปนี้
1. ความเชื่อมั่นต่อปฏิบัติภารกิจหลัก 3 ประการของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ สำเร็จลุล่วง
2. ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราต่างๆ
3. สิ่งที่ต้องการฝากไปถึงคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบ หลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน จำนวน 25 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย คลอง สาน จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ตลิ่งชัน ธนบุรี บางกอกน้อย บางกะปิ บางเขน บางซื่อ บางพลัด บางรัก ปทุมวัน พญาไท พระโขนง พระนคร ยานนาวา ราชเทวี ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สาทร และห้วยขวาง จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็น ระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,260 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.4 และเพศหญิงร้อยละ 49.6
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุด มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 20 -21 พฤษภาคม 2552 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 22 พฤษภาคม 2552
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 635 50.4 หญิง 625 49.6 รวม 1,260 100.0 อายุ 18 ปี - 25 ปี 323 25.6 26 ปี - 35 ปี 406 32.2 36 ปี - 45 ปี 301 23.9 46 ปีขึ้นไป 230 18.3 รวม 1,260 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 625 49.6 ปริญญาตรี 566 44.9 สูงกว่าปริญญาตรี 69 5.5 รวม 1,260 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ 152 12.1 พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน 404 32.0 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 263 20.9 รับจ้างทั่วไป 194 15.4 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 74 5.9 อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 173 13.7 รวม 1,260 100.00
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--