กรุงเทพโพลล์: ดัชนีความเชื่อมั่นประเทศไทย ประจำเดือนพฤษภาคม 2552

ข่าวผลสำรวจ Thursday May 28, 2009 11:43 —กรุงเทพโพลล์

จากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของ ประชาชน และความวิตกกังวลในจิตใจแล้ว ยังส่งผลต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทยอีกด้วย ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ความเชื่อมั่นประเทศไทย ประจำเดือนพฤษภาคม 2552” ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจาก ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ทุกสาขาอาชีพที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 1,328 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.9 และเพศหญิงร้อยละ 50.1 เมื่อวันที่ 25 — 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้

1. ความเชื่อมั่นประเทศไทยประจำเดือนพฤษภาคม 2552 มีคะแนนความเชื่อมั่นเฉลี่ยอยู่ที่ 4.07 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 ซึ่งลดลงจากเดือน
เมษายน 0.02 คะแนน หรือร้อยละ 0.2

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาคะแนนความเชื่อมั่นในแต่ละด้าน พบว่า ความเชื่อมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีและความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อของคนไทยยัง คงมีคะแนนสูงที่สุดและเป็นความเชื่อมั่นเพียงด้านเดียวจากทั้งหมด 12 ด้านที่มีคะแนนสูงกว่าครึ่ง ในขณะที่ความเชื่อมั่นในสถานะทางการเงินการคลัง ของประเทศมีคะแนนต่ำที่สุดคือ 3.36 โดยลดต่ำกว่าเมื่อเดือนเมษายน 0.16 คะแนน หรือร้อยละ 1.6

สำหรับความเชื่อมั่นที่มีคะแนนลดลงมากที่สุดคือ ความเชื่อมั่นในระบบรัฐสภาไทย รองลงมาคือความเชื่อมั่นในการบริหารประเทศของ รัฐบาลชุดปัจจุบัน และความเชื่อมั่นในความมั่นคงปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน ตามลำดับ

ส่วนความเชื่อมั่นที่มีคะแนนเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ ความเชื่อมั่นในการเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ของ ประเทศ ความเชื่อมั่นในความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน และความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาความยากจน การว่างงาน และการ ประกอบอาชีพ ตามลำดับ

ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้

   ความเชื่อมั่นที่มีต่อประเทศไทยในด้านต่างๆ                                        เมษายน      พฤษภาคม      เพิ่มขึ้น /ลดลง

(คะแนนเต็ม 10) (คะแนนเต็ม10)

1. ความเชื่อมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี และความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อของคนไทย                 5.68          5.73          + 0.05
2. ความเชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทย                                               4.65          4.71          + 0.06
3. ความเชื่อมั่นในความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน                       4.40          4.52          + 0.12
4. ความเชื่อมั่นในการเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ของประเทศ  4.10          4.34          + 0.24
5. ความเชื่อมั่นในเสรีภาพของสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสารข้อเท็จจริงไปยังประชาชน         4.35          4.28          - 0.07
6. ความเชื่อมั่นในการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบัน                                4.43          4.23          - 0.20
7. ความเชื่อมั่นในระบบรัฐสภาไทย                                                 3.79          3.55          - 0.24
8. ความเชื่อมั่นในความรักความสามัคคีของคนในชาติ                                    3.47          3.55          + 0.08
9. ความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายของไทย                      3.64          3.53          - 0.11
10. ความเชื่อมั่นในความมั่นคงปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน                               3.69          3.53          - 0.16
11.ความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาความยากจน การว่างงาน และการประกอบอาชีพ                3.32          3.44          + 0.12
12. ความเชื่อมั่นในสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ                               3.52          3.36          - 0.16
          เฉลี่ยรวม                                                          4.09          4.07          - 0.02

2. ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อประเทศไทย ในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนมีความเชื่อมั่นว่าด้านเศรษฐกิจจะดีขึ้น ส่วนด้านการเมือง
และสังคมจะยังคงเหมือนเดิม ดังตารางต่อไปนี้

ความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า     เชื่อว่าจะดีขึ้น(ร้อยละ)   เชื่อว่าจะแย่ลง(ร้อยละ)   เชื่อว่าจะเหมือนเดิม(ร้อยละ)
1.  ด้านเศรษฐกิจ                                        35.7              29.3                    35.0
2.  ด้านการเมือง                                        33.4              21.9                    44.7
3.  ด้านสังคม                                           31.7              26.3                    42.0

3. เรื่องที่เห็นว่าควรดำเนินการโดยเร่งด่วนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทย (3 อันดับแรก) (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) ได้แก่
แก้ปัญหาเศรษฐกิจ การว่างงาน และการลงทุน รองลงมาคือ แก้ปัญหาความขัดแย้งของคนในสังคมให้มีความรักสามัคคีกัน และแก้ปัญหาความขัดแย้ง
ในหมู่นักการเมืองให้มีความสมานฉันท์ช่วยกันแก้ปัญหาของประเทศ ตามลำดับ

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อเดือนเมษายน จะพบว่า การแก้ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติซึ่งเคยเป็นเรื่องที่ประชาชนเห็น ว่าควรเร่งดำเนินการเป็นอันดับแรกเมื่อเดือนเมษายน ถูกลดอันดับลงไปอยู่ในอันดับ 2 โดยมีเรื่องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ การว่างงาน และการลงทุน มาแทนที่ ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้

          เดือนเมษายน                                                  เดือนพฤษภาคม
อันดับ 1 แก้ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ        (ร้อยละ 35.3)   อันดับ 1 แก้ปัญหาเศรษฐกิจ การว่างงาน และการลงทุน(ร้อยละ 40.1)
อันดับ 2 แก้ปัญหาเศรษฐกิจ การว่างงาน                          อันดับ 2 แก้ปัญหาความขัดแย้งของคนในสังคม
       และการประกอบอาชีพ                  (ร้อยละ 33.1)          ให้มีความรักสามัคคีกัน (ร้อยละ 35.0)
อันดับ 3 ปฏิรูปการเมือง ทำให้การเมืองมีเสถียรภาพ  (ร้อยละ 8.8)    อันดับ 3 แก้ปัญหาความขัดแย้งในหมู่นักการเมือง ให้มีความสมานฉันท์

ช่วยกันแก้ปัญหาของประเทศ (ร้อยละ 6.0)

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในประเด็นต่อไปนี้

1. ประเมินความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครในด้านต่างๆ

2. ประเมินความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครในด้านต่างๆ ในอีก 6 เดือนข้างหน้า

3. เรื่องที่เห็นว่าควรดำเนินการโดยเร่งด่วนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทย

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น ตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน จำนวน 25 เขต ได้แก่ คลองเตย ดอนเมือง ดิน แดง ทุ่งครุ บางเขน บางคอแหลม บางพลัด บางรัก บางขุนเทียน ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบศัตรูพ่าย พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สะพานสูง สาทร หนองแขม หลักสี่ ห้วยขวาง จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่าง เป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,328 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.9 และเพศหญิงร้อยละ 50.1

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูล และประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  25 — 27 พฤษภาคม 2552

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :  28 พฤษภาคม 2552

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                            จำนวน         ร้อยละ
เพศ
            ชาย                               663          49.9
            หญิง                               665          50.1
รวม                                         1,328         100.0

อายุ
           18 ปี — 25 ปี                        386          29.0
           26 ปี — 35 ปี                        378          28.5
           36 ปี — 45 ปี                        303          22.8
           46 ปีขึ้นไป                           261          19.7
รวม                                         1,328         100.0

การศึกษา
           ต่ำกว่าปริญญาตรี                       666          50.3
           ปริญญาตรี                            612          46.2
           สูงกว่าปริญญาตรี                        50          3.5
รวม                                         1,328         100.0

อาชีพ
           ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ          174          13.1
           พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน            394          29.7
           ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว            309          23.3
           รับจ้างทั่วไป                          189          14.2
           พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ            74           5.5
           อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน  188          14.2
รวม                                         1,328        100.00

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ