วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับกรณีการทุจริตในการประมูลโครงการก่อสร้างถนนและอุโมงค์ของ
กทม. ในประเด็นต่อไปนี้
1. ความเชื่อมั่นว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง
2. ความคิดเห็นต่อการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
3. ความเหมาะสมต่อการที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.แต่งตั้ง พล.ต.อ. ประทิน สันติประภพเป็นประธานคณะกรรมการสอบ
สวนข้อเท็จจริง
4. ความพอใจการแก้ปัญหาดังกล่าวจนถึงขณะนี้ของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
5. ความเชื่อต่อประเด็นที่ว่านายอภิรักษ์ โกษะโยธิน มีส่วนรู้เห็นกับการทุจริต
6. คะแนนนิยมที่ประชาชนมีต่อนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ภายหลังมีกรณีการทุจริตเกิดขึ้น
7. ความพึงพอใจต่อท่าทีการแสดงออกในเรื่องดังกล่าวของพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะพรรคต้นสังกัดของผู้ว่าฯ กทม.
8. คะแนนนิยมที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์
9. ความเชื่อมั่นต่อการที่รัฐบาลพรรคไทยรักไทยจะมุ่งปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจังตามที่ได้ประกาศไว้
10. พรรคการเมืองที่ชาวกรุงเทพฯ เชื่อมั่นในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตมากที่สุดในขณะนี้
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุตั้งแต่ 22 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
(Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขต จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,386 คน เป็น
ชายร้อยละ 45.0 และหญิงร้อยละ 55.0
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 22-35 ปีร้อยละ 57.4
อายุ 36-45 ปีร้อยละ 25.3
และอายุ 46 ปีขึ้นไปร้อยละ 17.3
กลุ่มตัวอย่าง มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 32.3
ปริญญาตรีร้อยละ 52.7
และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 15.0
กลุ่มตัวอย่าง ประกอบอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 36.8
พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 45.9
ค้าขายและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 3.0
รับจ้างทั่วไปร้อยละ 1.2
พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 1.2
และอื่นๆ ร้อยละ 12.0
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามปลายเปิดสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 23-24 มกราคม 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 24 มกราคม 2549
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อกรณีการทุจริตในการประมูลโครงการก่อสร้างถนนและอุโมงค์ของ กทม. ร้อยละ 68.4 เชื่อว่ามีการ
ทุจริตเกิดขึ้นจริง ขณะที่ร้อยละ 25.3 ไม่แน่ใจ มีเพียงร้อยละ 6.3 ที่เชื่อว่าไม่มีการทุจริตเกิดขึ้น
2. สำหรับความคิดเห็นต่อการดำเนินงานสืบสวนกรณีการทุจริตดังกล่าวของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)นั้น ร้อยละ 60.6 เชื่อว่ามี
การเมืองอยู่เบื้องหลัง ขณะที่ร้อยละ 34.6 ไม่แน่ใจ และมีเพียงร้อยละ 4.8 ที่เชื่อว่าไม่มีการเมืองอยู่เบื้องหลัง
3. ส่วนการที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธินแต่งตั้ง พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ เป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงนั้น ร้อยละ
76.8 เห็นว่าเหมาะสม ขณะที่ร้อยละ 22.2 เห็นว่าไม่เหมาะสม โดยเสนอให้แต่งตั้งคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑะกา พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียะ
เวส นายอานันท์ ปันยารชุน และร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นประธานฯ ตามลำดับ และร้อยละ 1.0 ไม่แสดงความเห็น
4. ความพึงพอใจการแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. ร้อยละ 45.6 ระบุว่าพอใจ ขณะที่ร้อยละ
21.5 ไม่พอใจ และร้อยละ 32.9 ไม่แสดงความเห็น
5. ส่วนประเด็นที่ว่านายอภิรักษ์ โกษะโยธิน มีส่วนรู้เห็นในเรื่องดังกล่าวด้วยหรือไม่นั้น ส่วนใหญ่คือร้อยละ 55.2 ระบุว่าไม่แน่ใจ
ร้อยละ 26.6 เชื่อว่าไม่มีส่วนรู้เห็น และร้อยละ 18.2 เชื่อว่ามีส่วนรู้เห็น
6. คะแนนนิยมที่มีต่อนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ภายหลังมีกรณีการทุจริตเกิดขึ้น ร้อยละ 50.1 ระบุว่าคะแนนนิยมลดลง ขณะที่ร้อยละ
42.0 ระบุว่าคะแนนนิยมไม่เปลี่ยนแปลง มีเพียงร้อยละ 7.9 ที่ระบุว่าคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น
7. สำหรับความพึงพอใจต่อท่าทีการแสดงออกของพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะพรรคต้นสังกัดของผู้ว่าฯ กทม. นั้น ร้อยละ 55.5 ระบุว่า
พอใจ (แบ่งเป็นค่อนข้างพอใจร้อยละ 48.6 และพอใจมากร้อยละ 6.9) ขณะที่ร้อยละ 44.5 ระบุว่าไม่พอใจ (แบ่งเป็นไม่ค่อยพอใจร้อยละ 38.9
และไม่พอใจเลยร้อยละ 5.6)
8. คะแนนนิยมที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 46.9 ระบุว่าคะแนนนิยมไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่ร้อยละ 44.9 ระบุว่าคะแนนนิยมลด
ลง มีเพียงร้อยละ 8.2 ที่ระบุว่าคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น
9. สำหรับคำถามที่ว่ากรณีดังกล่าวทำให้มีความเชื่อมั่นมากขึ้นหรือไม่ว่ารัฐบาลพรรคไทยรักไทยจะมุ่งปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันอย่าง
จริงจังตามที่ได้ประกาศไว้ ร้อยละ 63.3 ระบุว่าไม่ได้ทำให้เชื่อมั่นมากขึ้น โดยให้เหตุผลว่าเป็นการเลือกปฏิบัติเฉพาะกับฝ่ายตรงข้าม เป็นแค่การ
สร้างภาพเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากกรณีการทุจริตของพรรคไทยรักไทยเอง และยังไม่เห็นผลงานการปราบคอร์รัปชันอย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่ร้อย
ละ 36.7 ระบุว่าเชื่อมั่นมากขึ้น
10. ส่วนพรรคการเมืองที่ชาวกรุงเทพฯ มีความเชื่อมั่นในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตมากที่สุดในขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่คือร้อยละ 60.4 เห็น
ว่าไม่มีพรรคใดน่าเชื่อมั่นเลย ตามมาด้วยพรรคประชาธิปัตย์มีคะแนนร้อยละ 22.8 พรรคไทยรักไทยร้อยละ 8.4 และพรรคอื่นๆ อีกร้อยละ 8.4
เช่นกัน
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 624 45.0
หญิง 762 55.0
อายุ :
22 — 35 ปี 796 57.4
36 — 45 ปี 350 25.3
46 ปีขึ้นไป 240 17.3
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 448 32.3
ปริญญาตรี 730 52.7
สูงกว่าปริญญาตรี 208 15.0
อาชีพ
ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 510 36.8
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 636 45.9
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 42 3.0
รับจ้างทั่วไป 16 1.2
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 16 1.2
อื่นๆ อาทิอาชีพอิสระ และนักศึกษาปริญญาโท 166 12.0
ตารางที่ 2: ความเชื่อมั่นว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริงในการประมูลโครงการก่อสร้างถนนและอุโมงค์ของ กทม.
จำนวน ร้อยละ
เชื่อว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง 948 68.4
ไม่เชื่อว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น 88 6.3
ไม่แน่ใจ 350 25.3
ตารางที่ 3: ความคิดเห็นต่อการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
จำนวน ร้อยละ
เชื่อว่ามีการเมืองอยู่เบื้องหลัง 840 60.6
เชื่อว่าไม่มีการเมืองอยู่เบื้องหลัง 66 4.8
ไม่แน่ใจ 480 34.6
ตารางที่ 4: ความเหมาะสมต่อการที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.แต่งตั้ง พล.ต.อ. ประทิน สันติประภพเป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง
จำนวน ร้อยละ
เหมาะสม 1,064 76.8
ไม่เหมาะสม โดยบุคคลที่เหมาะสมมากกว่าเรียงตามลำดับคือ 308 22.2
- คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑะกา
- พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียะเวส
- นายอานันท์ ปันยารชุน
- ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ฯ
ไม่แสดงความเห็น 14 1.0
ตารางที่ 5: ความพึงพอใจการแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวจนถึงขณะนี้ของนายอภิรัษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.
จำนวน ร้อยละ
พอใจ 632 45.6
ไม่พอใจ 298 21.5
ไม่มีความเห็น 456 32.9
ตารางที่ 6: ความเชื่อต่อประเด็นที่ว่านายอภิรักษ์ โกษะโยธิน มีส่วนรู้เห็นกับเรื่องดังกล่าว
จำนวน ร้อยละ
เชื่อว่ามีส่วนรู้เห็น 252 18.2
เชื่อว่าไม่มีส่วนรู้เห็น 368 26.6
ไม่แน่ใจ 766 55.2
ตารางที่ 7: คะแนนนิยมที่มีต่อนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ภายหลังมีกรณีการทุจริตเกิดขึ้น
จำนวน ร้อยละ
คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น 110 7.9
คะแนนนิยมลดลง 694 50.1
คะแนนนิยมไม่เปลี่ยนแปลง 582 42.0
ตารางที่ 8: ความพึงพอใจต่อท่าทีการแสดงออกในเรื่องดังกล่าวของพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะพรรคต้นสังกัดของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
จำนวน ร้อยละ
พอใจมาก 96 6.9
ค่อนข้างพอใจ 673 48.6
ไม่ค่อยพอใจ 539 38.9
ไม่พอใจเลย 78 5.6
ตารางที่ 9: คะแนนนิยมที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์
จำนวน ร้อยละ
คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น 114 8.2
คะแนนนิยมลดลง 622 44.9
คะแนนนิยมไม่เปลี่ยนแปลง 650 46.9
ตารางที่ 10: ความเชื่อมั่นต่อการที่รัฐบาลพรรคไทยรักไทยจะมุ่งปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจังตามที่ได้ประกาศไว้
จำนวน ร้อยละ
ทำให้เชื่อมั่นมากขึ้น 508 36.7
ไม่ได้ทำให้เชื่อมั่นมากขึ้น เพราะ 878 63.3
- เป็นการเลือกปฏิบัติเฉพาะกับฝ่ายตรงข้าม
- เป็นแค่การสร้างภาพเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากกรณีการทุจริตของพรรคไทยรักไทยเอง
- รัฐบาลคงไม่กล้าตัดแขนตัดขาของตัวเอง
- ยังไม่เห็นผลงานปราบปรามการทุจริตที่เป็นรูปธรรม
ตารางที่ 11: พรรคการเมืองที่ชาวกรุงเทพฯ เชื่อมั่นในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตมากที่สุดในขณะนี้
จำนวน ร้อยละ
พรรคไทยรักไทย 116 8.4
พรรคประชาธิปัตย์ 316 22.8
พรรคอื่นๆ อาทิ พรรคชาติไทย 116 8.4
ไม่มีพรรคใดน่าเชื่อมั่นเลย 838 60.4
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับกรณีการทุจริตในการประมูลโครงการก่อสร้างถนนและอุโมงค์ของ
กทม. ในประเด็นต่อไปนี้
1. ความเชื่อมั่นว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง
2. ความคิดเห็นต่อการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
3. ความเหมาะสมต่อการที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.แต่งตั้ง พล.ต.อ. ประทิน สันติประภพเป็นประธานคณะกรรมการสอบ
สวนข้อเท็จจริง
4. ความพอใจการแก้ปัญหาดังกล่าวจนถึงขณะนี้ของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
5. ความเชื่อต่อประเด็นที่ว่านายอภิรักษ์ โกษะโยธิน มีส่วนรู้เห็นกับการทุจริต
6. คะแนนนิยมที่ประชาชนมีต่อนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ภายหลังมีกรณีการทุจริตเกิดขึ้น
7. ความพึงพอใจต่อท่าทีการแสดงออกในเรื่องดังกล่าวของพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะพรรคต้นสังกัดของผู้ว่าฯ กทม.
8. คะแนนนิยมที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์
9. ความเชื่อมั่นต่อการที่รัฐบาลพรรคไทยรักไทยจะมุ่งปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจังตามที่ได้ประกาศไว้
10. พรรคการเมืองที่ชาวกรุงเทพฯ เชื่อมั่นในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตมากที่สุดในขณะนี้
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุตั้งแต่ 22 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
(Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขต จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,386 คน เป็น
ชายร้อยละ 45.0 และหญิงร้อยละ 55.0
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 22-35 ปีร้อยละ 57.4
อายุ 36-45 ปีร้อยละ 25.3
และอายุ 46 ปีขึ้นไปร้อยละ 17.3
กลุ่มตัวอย่าง มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 32.3
ปริญญาตรีร้อยละ 52.7
และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 15.0
กลุ่มตัวอย่าง ประกอบอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 36.8
พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 45.9
ค้าขายและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 3.0
รับจ้างทั่วไปร้อยละ 1.2
พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 1.2
และอื่นๆ ร้อยละ 12.0
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามปลายเปิดสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 23-24 มกราคม 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 24 มกราคม 2549
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อกรณีการทุจริตในการประมูลโครงการก่อสร้างถนนและอุโมงค์ของ กทม. ร้อยละ 68.4 เชื่อว่ามีการ
ทุจริตเกิดขึ้นจริง ขณะที่ร้อยละ 25.3 ไม่แน่ใจ มีเพียงร้อยละ 6.3 ที่เชื่อว่าไม่มีการทุจริตเกิดขึ้น
2. สำหรับความคิดเห็นต่อการดำเนินงานสืบสวนกรณีการทุจริตดังกล่าวของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)นั้น ร้อยละ 60.6 เชื่อว่ามี
การเมืองอยู่เบื้องหลัง ขณะที่ร้อยละ 34.6 ไม่แน่ใจ และมีเพียงร้อยละ 4.8 ที่เชื่อว่าไม่มีการเมืองอยู่เบื้องหลัง
3. ส่วนการที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธินแต่งตั้ง พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ เป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงนั้น ร้อยละ
76.8 เห็นว่าเหมาะสม ขณะที่ร้อยละ 22.2 เห็นว่าไม่เหมาะสม โดยเสนอให้แต่งตั้งคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑะกา พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียะ
เวส นายอานันท์ ปันยารชุน และร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นประธานฯ ตามลำดับ และร้อยละ 1.0 ไม่แสดงความเห็น
4. ความพึงพอใจการแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. ร้อยละ 45.6 ระบุว่าพอใจ ขณะที่ร้อยละ
21.5 ไม่พอใจ และร้อยละ 32.9 ไม่แสดงความเห็น
5. ส่วนประเด็นที่ว่านายอภิรักษ์ โกษะโยธิน มีส่วนรู้เห็นในเรื่องดังกล่าวด้วยหรือไม่นั้น ส่วนใหญ่คือร้อยละ 55.2 ระบุว่าไม่แน่ใจ
ร้อยละ 26.6 เชื่อว่าไม่มีส่วนรู้เห็น และร้อยละ 18.2 เชื่อว่ามีส่วนรู้เห็น
6. คะแนนนิยมที่มีต่อนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ภายหลังมีกรณีการทุจริตเกิดขึ้น ร้อยละ 50.1 ระบุว่าคะแนนนิยมลดลง ขณะที่ร้อยละ
42.0 ระบุว่าคะแนนนิยมไม่เปลี่ยนแปลง มีเพียงร้อยละ 7.9 ที่ระบุว่าคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น
7. สำหรับความพึงพอใจต่อท่าทีการแสดงออกของพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะพรรคต้นสังกัดของผู้ว่าฯ กทม. นั้น ร้อยละ 55.5 ระบุว่า
พอใจ (แบ่งเป็นค่อนข้างพอใจร้อยละ 48.6 และพอใจมากร้อยละ 6.9) ขณะที่ร้อยละ 44.5 ระบุว่าไม่พอใจ (แบ่งเป็นไม่ค่อยพอใจร้อยละ 38.9
และไม่พอใจเลยร้อยละ 5.6)
8. คะแนนนิยมที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 46.9 ระบุว่าคะแนนนิยมไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่ร้อยละ 44.9 ระบุว่าคะแนนนิยมลด
ลง มีเพียงร้อยละ 8.2 ที่ระบุว่าคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น
9. สำหรับคำถามที่ว่ากรณีดังกล่าวทำให้มีความเชื่อมั่นมากขึ้นหรือไม่ว่ารัฐบาลพรรคไทยรักไทยจะมุ่งปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันอย่าง
จริงจังตามที่ได้ประกาศไว้ ร้อยละ 63.3 ระบุว่าไม่ได้ทำให้เชื่อมั่นมากขึ้น โดยให้เหตุผลว่าเป็นการเลือกปฏิบัติเฉพาะกับฝ่ายตรงข้าม เป็นแค่การ
สร้างภาพเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากกรณีการทุจริตของพรรคไทยรักไทยเอง และยังไม่เห็นผลงานการปราบคอร์รัปชันอย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่ร้อย
ละ 36.7 ระบุว่าเชื่อมั่นมากขึ้น
10. ส่วนพรรคการเมืองที่ชาวกรุงเทพฯ มีความเชื่อมั่นในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตมากที่สุดในขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่คือร้อยละ 60.4 เห็น
ว่าไม่มีพรรคใดน่าเชื่อมั่นเลย ตามมาด้วยพรรคประชาธิปัตย์มีคะแนนร้อยละ 22.8 พรรคไทยรักไทยร้อยละ 8.4 และพรรคอื่นๆ อีกร้อยละ 8.4
เช่นกัน
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 624 45.0
หญิง 762 55.0
อายุ :
22 — 35 ปี 796 57.4
36 — 45 ปี 350 25.3
46 ปีขึ้นไป 240 17.3
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 448 32.3
ปริญญาตรี 730 52.7
สูงกว่าปริญญาตรี 208 15.0
อาชีพ
ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 510 36.8
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 636 45.9
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 42 3.0
รับจ้างทั่วไป 16 1.2
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 16 1.2
อื่นๆ อาทิอาชีพอิสระ และนักศึกษาปริญญาโท 166 12.0
ตารางที่ 2: ความเชื่อมั่นว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริงในการประมูลโครงการก่อสร้างถนนและอุโมงค์ของ กทม.
จำนวน ร้อยละ
เชื่อว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง 948 68.4
ไม่เชื่อว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น 88 6.3
ไม่แน่ใจ 350 25.3
ตารางที่ 3: ความคิดเห็นต่อการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
จำนวน ร้อยละ
เชื่อว่ามีการเมืองอยู่เบื้องหลัง 840 60.6
เชื่อว่าไม่มีการเมืองอยู่เบื้องหลัง 66 4.8
ไม่แน่ใจ 480 34.6
ตารางที่ 4: ความเหมาะสมต่อการที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.แต่งตั้ง พล.ต.อ. ประทิน สันติประภพเป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง
จำนวน ร้อยละ
เหมาะสม 1,064 76.8
ไม่เหมาะสม โดยบุคคลที่เหมาะสมมากกว่าเรียงตามลำดับคือ 308 22.2
- คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑะกา
- พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียะเวส
- นายอานันท์ ปันยารชุน
- ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ฯ
ไม่แสดงความเห็น 14 1.0
ตารางที่ 5: ความพึงพอใจการแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวจนถึงขณะนี้ของนายอภิรัษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.
จำนวน ร้อยละ
พอใจ 632 45.6
ไม่พอใจ 298 21.5
ไม่มีความเห็น 456 32.9
ตารางที่ 6: ความเชื่อต่อประเด็นที่ว่านายอภิรักษ์ โกษะโยธิน มีส่วนรู้เห็นกับเรื่องดังกล่าว
จำนวน ร้อยละ
เชื่อว่ามีส่วนรู้เห็น 252 18.2
เชื่อว่าไม่มีส่วนรู้เห็น 368 26.6
ไม่แน่ใจ 766 55.2
ตารางที่ 7: คะแนนนิยมที่มีต่อนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ภายหลังมีกรณีการทุจริตเกิดขึ้น
จำนวน ร้อยละ
คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น 110 7.9
คะแนนนิยมลดลง 694 50.1
คะแนนนิยมไม่เปลี่ยนแปลง 582 42.0
ตารางที่ 8: ความพึงพอใจต่อท่าทีการแสดงออกในเรื่องดังกล่าวของพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะพรรคต้นสังกัดของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
จำนวน ร้อยละ
พอใจมาก 96 6.9
ค่อนข้างพอใจ 673 48.6
ไม่ค่อยพอใจ 539 38.9
ไม่พอใจเลย 78 5.6
ตารางที่ 9: คะแนนนิยมที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์
จำนวน ร้อยละ
คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น 114 8.2
คะแนนนิยมลดลง 622 44.9
คะแนนนิยมไม่เปลี่ยนแปลง 650 46.9
ตารางที่ 10: ความเชื่อมั่นต่อการที่รัฐบาลพรรคไทยรักไทยจะมุ่งปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจังตามที่ได้ประกาศไว้
จำนวน ร้อยละ
ทำให้เชื่อมั่นมากขึ้น 508 36.7
ไม่ได้ทำให้เชื่อมั่นมากขึ้น เพราะ 878 63.3
- เป็นการเลือกปฏิบัติเฉพาะกับฝ่ายตรงข้าม
- เป็นแค่การสร้างภาพเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากกรณีการทุจริตของพรรคไทยรักไทยเอง
- รัฐบาลคงไม่กล้าตัดแขนตัดขาของตัวเอง
- ยังไม่เห็นผลงานปราบปรามการทุจริตที่เป็นรูปธรรม
ตารางที่ 11: พรรคการเมืองที่ชาวกรุงเทพฯ เชื่อมั่นในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตมากที่สุดในขณะนี้
จำนวน ร้อยละ
พรรคไทยรักไทย 116 8.4
พรรคประชาธิปัตย์ 316 22.8
พรรคอื่นๆ อาทิ พรรคชาติไทย 116 8.4
ไม่มีพรรคใดน่าเชื่อมั่นเลย 838 60.4
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-