ด้วยวันที่ 20 มิถุนายน ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบ 6 เดือนในการทำงานของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัย กรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ประเมินผลงาน 6 เดือน รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์” ขึ้น โดยเก็บข้อมูล จากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,337 คน เมื่อวันที่ 16-18 มิถุนายน ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อตอนที่รัฐบาลทำงานครบ 1 เดือน (ได้คะแนน 5.42 คะแนน) พบว่าคะแนนลดลง 1.36 คะแนน หรือลดลงร้อยละ 13.6
โดยมีคะแนนความพึงพอใจผลงานด้านต่างๆ ดังนี้
- ด้านการต่างประเทศ ได้ 4.58 คะแนน - ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ได้ 4.13 คะแนน - ด้านเศรษฐกิจ ได้ 3.95 คะแนน - ด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย ได้ 3.91 คะแนน - ด้านความมั่นคงของประเทศ ได้ 3.73 คะแนน 2. คะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน มีดังนี้ (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) - พรรคแกนนำรัฐบาล (พรรคประชาธิปัตย์) ได้ 4.38 คะแนน - พรรคร่วมรัฐบาล (พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน) ได้ 3.40 คะแนน - พรรคฝ่ายค้าน (พรรคเพื่อไทย พรรคประชาราช) ได้ 3.46 คะแนน 3. กระทรวงที่ประชาชนมีความเคลือบแคลงสงสัยเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันมากที่สุด (3 อันดับแรก) ได้แก่ - อันดับ 1 กระทรวงคมนาคม ร้อยละ 34.6 - อันดับ 2 กระทรวงการคลัง ร้อยละ 24.2 - อันดับ 3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยละ 7.7 4. เรื่องที่ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันสมควรได้รับการชื่นชมมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) - เรื่องที่นายกฯ ใช้ความสุขุม ประนีประนอม ในการแก้ปัญหา- ร้อยละ 17.6
ความขัดแย้งของคนของชาติ
- เรื่องการให้ความช่วยเหลือ มอบสวัสดิการให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อย ร้อยละ 16.5 - เรื่องการสนับสนุนด้านการศึกษา เช่น โครงการเรียนฟรี ร้อยละ 14.8 5. เรื่องที่ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันสมควรปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) - เรื่องแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และราคาสินค้าเกษตร ร้อยละ 37.3 - เรื่องการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน สร้างความชัดเจนและโปร่งใสในการทำงาน ร้อยละ 10.5 - เรื่องการทำงานล่าช้า ไม่เด็ดขาด ไม่มีผลงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ร้อยละ 9.6 6. ความมั่นใจว่าในช่วง 6 เดือนที่เข้ามาบริหารประเทศ รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ ได้นำพาประเทศเดินไปในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่ พบว่า - เชื่อว่าถูกต้องแล้ว ร้อยละ 33.7 - เชื่อว่าไม่ถูกต้อง ร้อยละ 21.9 - ไม่แน่ใจ ร้อยละ 44.4 7. สำหรับความเชื่อมั่นเกี่ยวกับระยะเวลาในการอยู่บริหารประเทศของรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธ์ พบว่า - เชื่อว่ารัฐบาลจะอยู่ได้เกิน 1 ปี ร้อยละ 64.5 - เชื่อว่ารัฐบาลจะอยู่ไม่ครบ 1 ปี ร้อยละ 35.5
(สำหรับสาเหตุที่จะทำให้รัฐบาลอยู่ไม่ครบ 1 ปี เนื่องจาก ความขัดแย้งกับพรรคร่วมรัฐบาล ผลงานไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน และ ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ตามลำดับ)
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นต่อไปนี้
1. ความพึงพอใจผลงานของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในด้านต่างๆ
2. ความพึงพอใจการทำงานของพรรคฝ่ายรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน ในช่วง 6 เดือน ที่ผ่านมา
3. กระทรวงที่ประชาชนมีความเคลือบแคลงสงสัยเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันมากที่สุด
4. เรื่องที่รัฐบาลชุดปัจจุบันสมควรได้รับการชื่นชมมากที่สุด
5. เรื่องที่รัฐบาลชุดปัจจุบันสมควรปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด
6. ความมั่นใจเกี่ยวกับการนำพาประเทศไปทิศทางที่ถูกต้อง
7. ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับระยะเวลาในการบริหารประเทศของรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธ์
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ หลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะ สัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,337 คน เป็นเพศชายร้อยละ 43.4 และเพศหญิงร้อยละ 56.6
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบ ถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนัก วิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 16 — 18 มิถุนายน 2552 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 22 มิถุนายน 2552
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 580 43.4 หญิง 757 56.6 รวม 1,337 100.0 อายุ 18 ปี - 25 ปี 363 27.2 26 ปี — 35 ปี 407 30.4 36 ปี — 45 ปี 298 22.3 46 ปีขึ้นไป 269 20.1 รวม 1,337 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 653 48.9 ปริญญาตรี 590 44.1 สูงกว่าปริญญาตรี 94 7.0 รวม 1,337 100.0 อาชีพ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 167 12.5 พนักงานบริษัทเอกชน 424 31.7 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 326 24.4 รับจ้างทั่วไป 135 10.1 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 66 4.9 อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 219 16.4 รวม 1,337 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--