วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกี่ยวกับกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและให้จัดการเลือกตั้งใหม่ ในประเด็นต่อไปนี้
1. ควรมีผู้รับผิดชอบต่อการเลือกตั้ง 2 เมษายน ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเป็นผลให้ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่หรือ
ไม่ และถ้ามีใครควรเป็นผู้รับผิดชอบ
2. ความตั้งใจไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งครั้งใหม่
3. ความต้องการให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบันทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่
4. พรรคการเมืองที่ประชาชนต้องการให้เป็นรัฐบาลชุดต่อไป
5. หัวหน้าพรรคการเมืองที่ประชาชนต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
6. ภารกิจสำคัญประการแรกที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ทำ
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-
Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,538 คน
เป็นชายร้อยละ 49.9 และหญิงร้อยละ 50.1
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 34.8
อายุ 26-35 ปีร้อยละ 31.9
อายุ 36-45 ปีร้อยละ 23.4
และอายุ 46 ปีขึ้นไปร้อยละ 9.9
กลุ่มตัวอย่าง มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 46.8
ปริญญาตรีร้อยละ 49.2
และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 4.0
กลุ่มตัวอย่าง ประกอบอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 17.5
ค้าขายและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 20.7
รับจ้างทั่วไปร้อยละ 10.5
พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 30.3
พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 1.6
นิสิตนักศึกษาร้อยละ 15.2
และอื่นๆ ร้อยละ 4.2
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 9 พฤษภาคม 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 10 พฤษภาคม 2549
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. เมื่อถามว่าใครคือผู้ที่ควรรับผิดชอบหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 2 เมษายน ที่ผ่านมาไม่
ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและให้จัดการเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 43.6 เห็นว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ควรต้องรับผิดชอบ รองลงมาร้อยละ
15.2 เห็นว่าพรรคฝ่ายค้านควรรับผิดชอบ ร้อยละ 13.9 เห็นว่าพรรคไทยรักไทยควรรับผิดชอบ ร้อยละ 9.1 เห็นว่าแกนนำกลุ่มพันธมิตรเพื่อ
ประชาธิปไตยควรรับผิดชอบ ร้อยละ 5.1 ระบุอื่นๆ อาทิคนไทยทุกคน และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ร้อยละ 13.1 ระบุว่าไม่มีใครต้องรับ
ผิดชอบ
2. สำหรับความตั้งใจไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งครั้งใหม่นั้น ร้อยละ 81.5 ระบุว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 44.9 จะ
ลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากพรรคใดพรรคหนึ่ง ร้อยละ 11.8 จะไม่เลือกผู้สมัครจากพรรคใดเลย และร้อยละ 24.8 ยังไม่แน่ใจว่าจะลงคะแนน
เลือกผู้สมัครหรือไม่ ในขณะที่ร้อยละ 7.4 ระบุว่าจะไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และร้อยละ 11.1 ยังไม่แน่ใจว่าจะไปเลือกตั้งหรือไม่
3. เมื่อถามว่าต้องการให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบันทำหน้าที่ดูแลจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่หรือไม่ ร้อยละ 51.4 ไม่
ต้องการ ขณะที่ร้อยละ 48.6 ต้องการ
4. สำหรับพรรคการเมืองที่ต้องการให้เป็นรัฐบาลชุดต่อไปนั้น อันดับแรกได้แก่ พรรคไทยรักไทย ร้อยละ 41.0 รองลงมาคือพรรคประ
ชาธิปัตย์ ร้อยละ 12.7 พรรคชาติไทย ร้อยละ 2.1 พรรคอื่นๆ อาทิ พรรคมหาชน พรรคประชากรไทยฯ ร้อยละ 4.6 และร้อยละ 39.6 ต้อง
การรัฐบาลผสมจากหลายพรรค
5. ส่วนหัวหน้าพรรคการเมืองที่ต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ปรากฎว่า อันดับแรกได้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ
45.1 รองลงมาคือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 13.5 นายบรรหาร ศิลปอาชา ร้อยละ 2.0 อื่นๆ ร้อยละ 2.4 ขณะที่ร้อยละ 37.0 ระบุ
ว่าไม่มีหัวหน้าพรรคการเมืองในปัจจุบันคนใดที่เหมาะสมเลย
6. ในส่วนของภารกิจสำคัญประการแรกที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ทำคือ การแก้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจและราคาสินค้า ร้อยละ 58.3
รองลงมาคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ/ปฏิรูปการเมือง ร้อยละ 19.9 ปฏิรูประบบการศึกษา ร้อยละ 7.5 การแก้ปัญหาการจราจร ร้อยละ 4.9
แก้ปัญหาหารทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 3.9 เดินหน้าโครงการเม็กกะโปรเจ็ก ร้อยละ 1.8 ปรับแนวนโยบายเรื่องการเปิดเสรีทางการค้า (เอฟที
เอ) ร้อยละ 1.7 และอื่นๆ ร้อยละ 2.0
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 768 49.9
หญิง 770 50.1
อายุ :
18 - 25 ปี 537 34.8
26 — 35 ปี 490 31.9
36 — 45 ปี 359 23.4
46 ปีขึ้นไป 152 9.9
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 720 46.8
ปริญญาตรี 756 49.2
สูงกว่าปริญญาตรี 62 4.0
อาชีพ
ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 270 17.5
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 318 20.7
รับจ้างทั่วไป 162 10.5
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 466 30.3
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 24 1.6
นิสิตนักศึกษา 234 15.2
อื่นๆ 64 4.2
รวม 1,538 100
ตารางที่ 2: ผู้ที่ควรแสดงความรับผิดชอบหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน
ที่ผ่านมาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและให้จัดการเลือกตั้งใหม่
จำนวน ร้อยละ
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 670 43.6
พรรคฝ่ายค้าน 234 15.2
รัฐบาลพรรคไทยรักไทย 214 13.9
แกนนำกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย 140 9.1
อื่นๆ อาทิ ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง 78 5.1
ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ 202 13.1
ตารางที่ 3: ความตั้งใจไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งครั้งใหม่
จำนวน ร้อยละ
ไป โดย 1,254 81.5
- จะลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากพรรคใดพรรคหนึ่ง (ร้อยละ 44.9)
- จะไม่เลือกผู้สมัครคนใดเลย (ร้อยละ 11.8)
- ยังไม่แน่ใจว่าจะลงคะแนนเลือกผู้สมัครหรือไม่ (ร้อยละ 24.8)
ไม่ไป 114 7.4
ยังไม่แน่ใจว่าจะไปใช้สิทธิหรือไม่ 170 11.1
ตารางที่ 4: ความต้องการให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบันทำหน้าที่ดูแลจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่
จำนวน ร้อยละ
ต้องการ 747 48.6
ไม่ต้องการ 791 51.4
ตารางที่ 5: พรรคการเมืองที่ประชาชนต้องการให้เป็นรัฐบาลชุดต่อไป
จำนวน ร้อยละ
พรรคไทยรักไทย 630 41.0
พรรคประชาธิปัตย์ 196 12.7
พรรคชาติไทย 32 2.1
พรรคอื่น 71 4.6
ต้องการรัฐบาลผสมจากหลายพรรค 609 39.6
ตารางที่ 6: หัวหน้าพรรคการเมืองที่ประชาชนต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
จำนวน ร้อยละ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 694 45.1
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 208 13.5
นายบรรหาร ศิลปะอาชา 30 2.0
อื่นๆ อาทิ 37 2.4
ไม่มีหัวหน้าพรรคคนใดที่เหมาะสมเลย 569 37.0
ตารางที่ 7: ภารกิจสำคัญประการแรกที่ต้องการให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งครั้งใหม่ทำ
จำนวน ร้อยละ
แก้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจและราคาสินค้า 896 58.3
แก้ไขรัฐธรรมนูญ/ปฏิรูปการเมือง 306 19.9
ปฏิรูประบบการศึกษาไทย 116 7.5
แก้ปัญหาจราจร 76 4.9
แก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน 39 3.9
เดินหน้าโครงการเมกกะโปรเจ็ก 28 1.8
ปรับแนวนโยบายเรื่องการเปิดเสรีทางการค้า (เอฟทีเอ) 26 1.7
อื่นๆ 31 2.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกี่ยวกับกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและให้จัดการเลือกตั้งใหม่ ในประเด็นต่อไปนี้
1. ควรมีผู้รับผิดชอบต่อการเลือกตั้ง 2 เมษายน ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเป็นผลให้ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่หรือ
ไม่ และถ้ามีใครควรเป็นผู้รับผิดชอบ
2. ความตั้งใจไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งครั้งใหม่
3. ความต้องการให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบันทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่
4. พรรคการเมืองที่ประชาชนต้องการให้เป็นรัฐบาลชุดต่อไป
5. หัวหน้าพรรคการเมืองที่ประชาชนต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
6. ภารกิจสำคัญประการแรกที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ทำ
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-
Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,538 คน
เป็นชายร้อยละ 49.9 และหญิงร้อยละ 50.1
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 34.8
อายุ 26-35 ปีร้อยละ 31.9
อายุ 36-45 ปีร้อยละ 23.4
และอายุ 46 ปีขึ้นไปร้อยละ 9.9
กลุ่มตัวอย่าง มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 46.8
ปริญญาตรีร้อยละ 49.2
และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 4.0
กลุ่มตัวอย่าง ประกอบอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 17.5
ค้าขายและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 20.7
รับจ้างทั่วไปร้อยละ 10.5
พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 30.3
พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 1.6
นิสิตนักศึกษาร้อยละ 15.2
และอื่นๆ ร้อยละ 4.2
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 9 พฤษภาคม 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 10 พฤษภาคม 2549
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. เมื่อถามว่าใครคือผู้ที่ควรรับผิดชอบหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 2 เมษายน ที่ผ่านมาไม่
ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและให้จัดการเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 43.6 เห็นว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ควรต้องรับผิดชอบ รองลงมาร้อยละ
15.2 เห็นว่าพรรคฝ่ายค้านควรรับผิดชอบ ร้อยละ 13.9 เห็นว่าพรรคไทยรักไทยควรรับผิดชอบ ร้อยละ 9.1 เห็นว่าแกนนำกลุ่มพันธมิตรเพื่อ
ประชาธิปไตยควรรับผิดชอบ ร้อยละ 5.1 ระบุอื่นๆ อาทิคนไทยทุกคน และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ร้อยละ 13.1 ระบุว่าไม่มีใครต้องรับ
ผิดชอบ
2. สำหรับความตั้งใจไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งครั้งใหม่นั้น ร้อยละ 81.5 ระบุว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 44.9 จะ
ลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากพรรคใดพรรคหนึ่ง ร้อยละ 11.8 จะไม่เลือกผู้สมัครจากพรรคใดเลย และร้อยละ 24.8 ยังไม่แน่ใจว่าจะลงคะแนน
เลือกผู้สมัครหรือไม่ ในขณะที่ร้อยละ 7.4 ระบุว่าจะไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และร้อยละ 11.1 ยังไม่แน่ใจว่าจะไปเลือกตั้งหรือไม่
3. เมื่อถามว่าต้องการให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบันทำหน้าที่ดูแลจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่หรือไม่ ร้อยละ 51.4 ไม่
ต้องการ ขณะที่ร้อยละ 48.6 ต้องการ
4. สำหรับพรรคการเมืองที่ต้องการให้เป็นรัฐบาลชุดต่อไปนั้น อันดับแรกได้แก่ พรรคไทยรักไทย ร้อยละ 41.0 รองลงมาคือพรรคประ
ชาธิปัตย์ ร้อยละ 12.7 พรรคชาติไทย ร้อยละ 2.1 พรรคอื่นๆ อาทิ พรรคมหาชน พรรคประชากรไทยฯ ร้อยละ 4.6 และร้อยละ 39.6 ต้อง
การรัฐบาลผสมจากหลายพรรค
5. ส่วนหัวหน้าพรรคการเมืองที่ต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ปรากฎว่า อันดับแรกได้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ
45.1 รองลงมาคือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 13.5 นายบรรหาร ศิลปอาชา ร้อยละ 2.0 อื่นๆ ร้อยละ 2.4 ขณะที่ร้อยละ 37.0 ระบุ
ว่าไม่มีหัวหน้าพรรคการเมืองในปัจจุบันคนใดที่เหมาะสมเลย
6. ในส่วนของภารกิจสำคัญประการแรกที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ทำคือ การแก้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจและราคาสินค้า ร้อยละ 58.3
รองลงมาคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ/ปฏิรูปการเมือง ร้อยละ 19.9 ปฏิรูประบบการศึกษา ร้อยละ 7.5 การแก้ปัญหาการจราจร ร้อยละ 4.9
แก้ปัญหาหารทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 3.9 เดินหน้าโครงการเม็กกะโปรเจ็ก ร้อยละ 1.8 ปรับแนวนโยบายเรื่องการเปิดเสรีทางการค้า (เอฟที
เอ) ร้อยละ 1.7 และอื่นๆ ร้อยละ 2.0
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 768 49.9
หญิง 770 50.1
อายุ :
18 - 25 ปี 537 34.8
26 — 35 ปี 490 31.9
36 — 45 ปี 359 23.4
46 ปีขึ้นไป 152 9.9
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 720 46.8
ปริญญาตรี 756 49.2
สูงกว่าปริญญาตรี 62 4.0
อาชีพ
ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 270 17.5
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 318 20.7
รับจ้างทั่วไป 162 10.5
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 466 30.3
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 24 1.6
นิสิตนักศึกษา 234 15.2
อื่นๆ 64 4.2
รวม 1,538 100
ตารางที่ 2: ผู้ที่ควรแสดงความรับผิดชอบหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน
ที่ผ่านมาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและให้จัดการเลือกตั้งใหม่
จำนวน ร้อยละ
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 670 43.6
พรรคฝ่ายค้าน 234 15.2
รัฐบาลพรรคไทยรักไทย 214 13.9
แกนนำกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย 140 9.1
อื่นๆ อาทิ ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง 78 5.1
ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ 202 13.1
ตารางที่ 3: ความตั้งใจไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งครั้งใหม่
จำนวน ร้อยละ
ไป โดย 1,254 81.5
- จะลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากพรรคใดพรรคหนึ่ง (ร้อยละ 44.9)
- จะไม่เลือกผู้สมัครคนใดเลย (ร้อยละ 11.8)
- ยังไม่แน่ใจว่าจะลงคะแนนเลือกผู้สมัครหรือไม่ (ร้อยละ 24.8)
ไม่ไป 114 7.4
ยังไม่แน่ใจว่าจะไปใช้สิทธิหรือไม่ 170 11.1
ตารางที่ 4: ความต้องการให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบันทำหน้าที่ดูแลจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่
จำนวน ร้อยละ
ต้องการ 747 48.6
ไม่ต้องการ 791 51.4
ตารางที่ 5: พรรคการเมืองที่ประชาชนต้องการให้เป็นรัฐบาลชุดต่อไป
จำนวน ร้อยละ
พรรคไทยรักไทย 630 41.0
พรรคประชาธิปัตย์ 196 12.7
พรรคชาติไทย 32 2.1
พรรคอื่น 71 4.6
ต้องการรัฐบาลผสมจากหลายพรรค 609 39.6
ตารางที่ 6: หัวหน้าพรรคการเมืองที่ประชาชนต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
จำนวน ร้อยละ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 694 45.1
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 208 13.5
นายบรรหาร ศิลปะอาชา 30 2.0
อื่นๆ อาทิ 37 2.4
ไม่มีหัวหน้าพรรคคนใดที่เหมาะสมเลย 569 37.0
ตารางที่ 7: ภารกิจสำคัญประการแรกที่ต้องการให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งครั้งใหม่ทำ
จำนวน ร้อยละ
แก้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจและราคาสินค้า 896 58.3
แก้ไขรัฐธรรมนูญ/ปฏิรูปการเมือง 306 19.9
ปฏิรูประบบการศึกษาไทย 116 7.5
แก้ปัญหาจราจร 76 4.9
แก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน 39 3.9
เดินหน้าโครงการเมกกะโปรเจ็ก 28 1.8
ปรับแนวนโยบายเรื่องการเปิดเสรีทางการค้า (เอฟทีเอ) 26 1.7
อื่นๆ 31 2.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-