เนื่องจากการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลาง หรือ แอดมิสชั่นส์ ได้มีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ใหม่โดย จะเริ่มใช้สำหรับการสอบคัดเลือกในปีการศึกษา 2553 ที่จะถึงนี้เป็นปีแรก และในช่วงวันที่ 11-19 กรกฎาคมนี้ จะมีการจัดทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และการทดสอบความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสอบแอดมิสชั่นส์ระบบใหม่ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “นักเรียนคิดอย่างไรกับการสอบแอดมิสชั่นส์ระบบใหม่” ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 1,549 คน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน - 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
- ได้รับทราบข้อมูลเพียงพอแล้ว ร้อยละ 34.2 - ยังได้รับทราบข้อมูลรายละเอียดไม่เพียงพอ ร้อยละ 65.8 2. ความเหมาะสมของหลักเกณฑ์การสอบแอดมิสชั่นส์ระบบใหม่ (สอบถามเฉพาะผู้ที่ระบุว่าได้รับทราบข้อมูลเพียงพอแล้ว) - เห็นว่าเหมาะสมดีแล้ว ร้อยละ 16.4 - เห็นว่าไม่เหมาะสม ร้อยละ 51.8
(โดยให้เหตุผลว่า ข้อสอบยากเกินไป หลักเกณฑ์เงื่อนไขยุ่งยากวุ่นวาย อ่านหนังสือไม่ทัน ยังเรียนไม่ครบหลักสูตร เป็นต้น)
- ไม่แน่ใจ ร้อยละ 31.8 3. ความคิดเห็นต่อความเหมาะสมเกี่ยวกับการจัดสอบความถนัดทั่วไป(GAT) และการทดสอบความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT) พบว่าส่วนใหญ่ เห็นว่าเรื่องที่ดำเนินการได้เหมาะสมดีแล้วได้แก่ การกำหนดช่วงเวลาในการสอบ การเปิดโอกาสให้สอบได้ตั้งแต่ชั้น ม.5 การใช้ช่องทางสมัครสอบ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต การกำหนดสถานที่สอบ และการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวเกี่ยวกับการสอบ ส่วนที่ไม่เหมาะสมคือ เรื่องเนื้อหาของข้อสอบ และค่า สมัครสอบที่แพงเกินไป โดยมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ประเด็น เหมาะสม | ไม่เหมาะสม (ร้อยละ) | (ร้อยละ) ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 73.1 | 26.9 การกำหนดช่วงเวลาในการสอบ (จัดสอบปีละ 3 ครั้ง ในเดือน- | โดยให้เหตุผลว่า ช่วงเวลาสอบติดกันเกินไปอ่านหนังสือไม่ทัน ยังเรียนไม่ครบหลักสูตร มี.ค. ก.ค. และ ต.ค.)โดยสามารถเลือกคะแนนครั้งที่ดีที่สุดมาใช้ | จำนวนครั้งในการจัดสอบมากเกินไปสร้างความเครียดและกดดัน -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
|
การเปิดโอกาสให้สอบได้ตั้งแต่ชั้น ม.5 71 | 29
| โดยให้เหตุผลว่า ยังเตรียมตัวไม่พร้อม และเนื้อหาที่ใช้ในการสอบเป็นของ ม . 6 -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เนื้อหาของข้อสอบ 41.9 | 58.1
| โดยให้เหตุผลว่า ยากและสับสน เนื้อหาบางเรื่อง
| ยังไม่เคยเรียน -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ช่องทางการสมัคร (ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต) 71.2 | 28.8
| โดยให้เหตุผลว่า บางคนไม่มีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เนตใช้ เว็บไซต์ล่มบ่อย
| และทำให้เด็กต่างจังหวัดเสียเปรียบ -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ค่าสมัครสอบ (วิชาละ200) 30.1 | 69.9
| โดยให้เหตุผลว่า ค่าสมัครสอบแพงเกินไป -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การกำหนดสถานที่สำหรับเป็นสนามสอบ 67.2 | 32.8
| โดยให้เหตุผลว่า สนามสอบไกล เดินทางไม่สะดวก ร้อนส่งผลให้ทำข้อสอบได้ไม่เต็มที่ -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวเกี่ยวกับการสอบ 52.4 | 47.6
| โดยให้เหตุผลว่าไม่ค่อยได้ยินข่าว ช่องทางในการนำเสนอข่าวน้อยทำให้รู้ข่าวช้า ไม่ทั่วถึง -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
- มั่นใจ ร้อยละ 11.4 (โดยแบ่งเป็น มั่นใจมากร้อยละ 2.9 และค่อนข้างมั่นใจร้อยละ 8.5) - ไม่มั่นใจ ร้อยละ 88.6
(โดยแบ่งเป็นไม่มั่นใจเลยร้อยละ 38.3 และไม่ค่อยมั่นใจร้อยละ 50.3)
- ข้อสอบยากเกินไป เนื้อหาไม่ตรงกับที่เรียน ยังเรียนไม่ครบหลักสูตร.................ร้อยละ 26.3
- ข้อสอบ GAT เข้าใจยากต้องใช้เวลาทำความเข้าใจนานไม่เหมาะกับ
การวัดผลในช่วงเวลาจำกัด และไม่มีเนื้อหาให้อ่านเพื่อเตรียมตัวล่วงหน้า.............ร้อยละ 23.2
- ค่าสมัครสอบ แพงเกินไป ตัดโอกาสคนที่มีฐานะยากจน...........................ร้อยละ 11.2
- ช่วงเวลาในการจัดสอบไม่ควรใกล้กับช่วงที่โรงเรียนจัดสอบตามปกติ
ทำให้อ่านหนังสือไม่ทัน..................................................ร้อยละ 8.1
- สนามสอบไกล เดินทางไม่สะดวก และอยากสอบที่โรงเรียนตัวเองมากกว่า............ร้อยละ 8.0
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 สังกัดรัฐบาลและเอกชน ในกรุงเทพหานครและปริมณฑลในประเด็นต่อไปนี้
1. ความเพียงพอในการได้รับข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อใน
สถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลาง หรือ แอดมิสชั่นส์
2. ความเห็นต่อหลักเกณฑ์การสอบแอดมิสชั่นส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
3. ความเหมาะสมในการจัดสอบความถนัดทั่วไป(GAT) และการทดสอบความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ
(PAT) ตามหลักเกณฑ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในประเด็นต่างๆ
4. ความมั่นใจว่าจะสามารถทำข้อสอบ GAT และ PAT ได้โดยไม่ต้องไปเรียนพิเศษเพิ่มเติม
5. เรื่องที่เห็นว่าควรปรับปรุงแก้ไขในการสอบ GAT และ PAT มากที่สุด 5 อันดับแรก
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดรัฐบาล และเอกชน ในกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล จำนวน 46 แห่ง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่าง เป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,549 คน เป็นเพศชายร้อยละ 43.6 และเพศหญิงร้อยละ 56.4
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและ ประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 29 มิถุนายน — 1 กรกฎาคม 2552 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 9 กรกฎาคม 2552
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 676 43.6 หญิง 873 56.4 รวม 1,549 100.0 สังกัดโรงเรียน รัฐบาล 1088 70.2 เอกชน 461 29.8 รวม 1,549 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--