จากการที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ได้นำเสนอรายงานผลการศึกษาแนวทางการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทางการปฏิรูปการเมือง ของไทย โดยในระยะสั้นเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 6 มาตรา เพื่อลดความขัดแย้งในสังคม นำไปสู่ความสมานฉันท์ และปฏิรูปการเมืองนั้น ศูนย์ วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้ดำเนินการสำรวจเรื่อง “ประชาชนต้องการอย่างไรเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” เพื่อสะท้อนมุมมอง ความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องดังกล่าว โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร อายุ 18 ปีขึ้นไป ในทุกสาขาอาชีพ จำนวนทั้งสิ้น 1,119 คน เมื่อวันที่ 25-28 กรกฎาคมที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่แน่ใจ
(ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
1) แก้ไขมาตรา 111 - 121 โดยให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 84.4 8.8 6.8 2) แก้ไขมาตรา 237 โดยให้ตัดทิ้งประเด็นการยุบพรรคการเมืองและให้ลงโทษ กรรมการบริหารพรรคที่ทุจริตการเลือกตั้งเฉพาะคน ไม่ใช่เหมารวม 76.9 17.3 5.8 3) แก้ไขมาตรา 190 โดยยังคงให้การทำสัญญากับต่างประเทศต้องผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภา แต่ให้กำหนดประเภทของหนังสือสัญญาให้ชัดเจนว่าแบบไหนที่ต้องให้สภาเห็นชอบ 75.8 14.3 9.9 4) แก้ไขมาตรา 93 - 98 โดยการเลือกตั้ง ส.ส.ให้กลับไปใช้ระบบเขตเดียวคนเดียว (รวมจำนวน ส.ส.เขต 400 คน) และ ส.ส.บัญชีรายชื่ออีก 100 คน 59.6 20.6 19.8 5) แก้ไขมาตรา 266 โดยให้ ส.ส. และ ส.ว. เข้าไปมีบทบาทต่อการบริหารงาน ของข้าราชการประจำ และงบประมาณในโครงการต่างๆ ของรัฐเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้ 45.5 41.0 13.5 6) แก้ไขมาตรา 265 โดยให้ ส.ส. ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น เลขานุการรัฐมนตรีได้ 43.9 39.1 17.0 2. ความคิดเห็นต่อประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 ให้มีการนิรโทษกรรมทางการเมือง - เห็นด้วย ร้อยละ 41.2 - ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 47.1 - ไม่แน่ใจ ร้อยละ 11.7
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาพบว่าจำนวนของผู้ที่ไม่เห็นด้วยลดลงจากร้อยละ 53.5 เหลือร้อยละ 47.1 หรือลดลงร้อยละ 6.4
- ต้องการให้เร่งดำเนินการให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนภายในสมัยประชุมสภานี้..............................ร้อยละ 41.7
- ต้องการให้ดำเนินการอย่างรอบคอบโดยไม่จำเป็นต้องเร่งให้เสร็จสิ้นภายในสมัยประชุมสภานี้..............ร้อยละ 53.5
- ไม่แน่ใจ...........................................................................ร้อยละ 4.8
- ควรมีการทำประชามติให้ประชาชนออกเสียงเพื่อรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข...................ร้อยละ 91.2
- ไม่จำเป็นต้องทำประชามติ..............................................................ร้อยละ 8.8
- เห็นว่าการแก้รัฐธรรมนูญจะช่วยยุติปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนเสื้อสีต่างๆ ได้......................ร้อยละ 26.5
- เห็นว่าการแก้รัฐธรรมนูญจะไม่สามารถยุติปัญหาความขัดแย้งได้.....................................ร้อยละ 50.0
เนื่องจาก - ต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งอยู่ที่ตัวบุคคลไม่ใช่กฎหมาย
- ความขัดแย้งลุกลามไปไกลเกินกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะช่วยได้
- ฝ่ายที่เสียผลประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญคงไม่ยอมยุติ
- ไม่แน่ใจ..................................................................ร้อยละ 23.5
รายละเอียดในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น ตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็น ระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,119 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.8 และเพศหญิงร้อยละ 50.2
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน..3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึก ข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 25 — 28 กรกฎาคม 2552 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 29 กรกฎาคม 2552
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 557 49.8 หญิง 562 50.2 รวม 1,119 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 276 24.7 26 — 35 ปี 300 26.8 36 — 45 ปี 282 25.2 46 ปี ขึ้นไป 261 23.3 รวม 1,119 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 624 55.8 ปริญญาตรี 440 39.3 สูงกว่าปริญญาตรี 55 4.9 รวม 1,119 100.0 อาชีพ ข้าราชการ/ พนักงานรัฐวิสาหกิจ 115 10.3 พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน 381 34.0 ค้าขาย / อาชีพส่วนตัว 239 21.4 รับจ้างทั่วไป 147 13.1 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 87 7.8 อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ 150 13.4 รวม 1,119 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--