จากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลก และการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทย รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างคิดหาแนวทางและกลยุทธ์เพื่อกระตุ้น และสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยหวังให้สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวในประเทศฟื้นตัวขึ้น ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัย กรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจเรื่อง “แนวโน้มท่องเที่ยวไทยในช่วงครึ่งปีหลัง” เพื่อสะท้อนข้อมูลความคิดเห็นและความเชื่อมั่นของ ประชาชนชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวในประเทศไทยในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,116 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.4 และเพศหญิงร้อยละ 50.6 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม — 2 สิงหาคมที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
- คิดว่าจะเที่ยวน้อยลงกว่าครึ่งปีแรก ร้อยละ 47.7
(โดยให้เหตุผลว่า ต้องประหยัด ยังไม่มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น กังวลเรื่องการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่)
- คิดว่าจะเที่ยวพอๆ กับครึ่งปีแรก ร้อยละ 36.3 - คิดว่าจะเที่ยวมากขึ้นกว่าครึ่งปีแรก ร้อยละ 16.0
(โดยให้เหตุผลว่า เป็นช่วงอากาศหนาว มีวันหยุดยาว และต้องการใช้เวลากับครอบครัว)
- การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ร้อยละ 35.9 - ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ร้อยละ 35.1 - ความไม่สงบทางการเมือง ร้อยละ 27.0 - อื่นๆ เช่น ปัญหาเรื่องความปลอดภัย และความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยว ร้อยละ 2.0 3. เกณฑ์การคัดเลือกสถานที่ท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีหลัง คือ - เลือกที่ความปลอดภัยเป็นหลัก ร้อยละ 49.0 - เลือกที่ความสวยงามเป็นหลัก ร้อยละ 28.6 - เลือกที่ราคาถูกเป็นหลัก ร้อยละ 16.9 - อื่นๆ เช่น ความสะดวกในการเดินทาง และสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น ร้อยละ 5.5 4. แหล่งท่องเที่ยวที่วางแผนจะไปท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีหลัง คือ - ทะเล ร้อยละ 49.5 - ป่า ภูเขา น้ำตก ร้อยละ 41.9 - อื่นๆ เช่น เขื่อนต่างๆ วัดและโบราณสถาน สวนสัตว์และสวนสนุก ร้อยละ 8.6 5. ความมั่นใจว่าจะปลอดภัยจากโรคไข้หวัด 2009 เมื่อต้องเดินทางไปสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญต่างๆ พบว่า ร้อยละ 64.2 ไม่มั่นใจ มีเพียงร้อยละ 35.8 ที่มั่นใจ โดยมีรายละเอียดดังนี้
มั่นใจ(ร้อยละ) ไม่มั่นใจ(ร้อยละ)
ชะอำ หัวหิน 41.2 58.8 เชียงใหม่ เชียงราย 40.5 59.5 ภูเก็ต 34.9 65.1 พัทยา ชลบุรี 26.5 73.5 เฉลี่ยรวม 35.8 64.2 6. สิ่งที่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ ควรมีการปรับปรุงหรือพัฒนามากที่สุด (3 อันดับแรก) ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
เชียงใหม่ เชียงราย
- ความสะอาดของสถานที่ท่องเที่ยว ร้อยละ 19.9 - ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ร้อยละ 13.3 - ที่พัก อาหาร ค่าโดยสาร มีราคาแพง ร้อยละ 13.3
ชะอำ หัวหิน
- ความสะอาดของสถานที่ท่องเที่ยว ร้อยละ 62.4 - ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ร้อยละ 8.9 - ที่พัก อาหาร ค่าโดยสาร มีราคาแพง ร้อยละ 8.5
ภูเก็ต
- ความสะอาดของสถานที่ท่องเที่ยว ร้อยละ 35.2 - ที่พัก อาหาร ค่าโดยสารมีราคาแพง ร้อยละ 19.2 - ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ร้อยละ 17.8
พัทยา ชลบุรี
- ความสะอาดของสถานที่ท่องเที่ยว ร้อยละ 53.6 - ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ร้อยละ 14.9 - แหล่งบันเทิง การขายบริการ ร้อยละ 8.4 7. สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำมากที่สุด (5 อันดับแรก) เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวของไทย คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) - ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทำเศรษฐกิจให้ดี ร้อยละ 19.2 - ทำโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ร้อยละ 18.4 - จัดโปรโมชั่น ลดราคา ร้อยละ 16.7 - ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดให้ได้ ร้อยละ 11.4 - ทำการเมืองให้สงบ ร้อยละ 10.7
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในประเทศช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อสะท้อนข้อมูลให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ทุกสาขาอาชีพที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลาย ขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน จำนวนทั้งสิ้น 31 เขต ได้แก่ คลองสาน คลอง สามวา จตุจักร จอมทอง ดินแดง ดุสิต ทวีวัฒนา ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางเขน บางแค บางซื่อ บางพลัด บางรัก ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระโขนง พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานนาวา ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ สาทร สายไหม หนองแขม และหลักสี่ จากนั้นจึง สุ่มถนนและประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,116 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.4 และเพศหญิงร้อยละ 50.6
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อน บันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 31 กรกฎาคม — 2 สิงหาคม 2552 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 7 สิงหาคม 2552
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 551 49.4 หญิง 565 50.6 รวม 1,116 100.0 อายุ 18-25 ปี 314 28.2 26-35 ปี 306 27.4 36-45 ปี 256 22.9 46 ปีขึ้นไป 240 21.5 รวม 1,116 100.0 จบการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 635 57.2 ปริญญาตรี 409 36.7 สูงกว่าปริญญาตรี 72 6.1 รวม 1,116 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 115 10.3 พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน 291 26.1 ค้าขาย / อาชีพส่วนตัว 278 24.9 รับจ้างทั่วไป 153 13.7 พ่อบ้าน / แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 82 7.3 อื่นๆ เช่น นักศึกษา ว่างงาน 197 17.7 รวม 1,116 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--