วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกี่ยวกับทิศทางการเมืองไทยภายหลังการยุบสภา ในประเด็นต่อไปนี้
1. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่กับการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจยุบสภาแล้วให้มีการเลือกตั้งใหม่
2. ในการเลือกตั้งครั้งใหม่ประชาชนจะเลือกพรรคไทยรักไทยหรือไม่
3. ใครคือบุคคลที่เหมาะสมจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลาย
ขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง (ในกรุงเทพฯ เก็บข้อมูล 30 เขตจาก 50 เขต และปริมณฑลเก็บจังหวัดละ 3
อำเภอ) จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,460 คน เป็นชายร้อยละ 47.3 และหญิงร้อยละ 52.7
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 18-25 ปีร้อยละ 23.7
อายุ 26-35 ปีร้อยละ 30.9
อายุ 36-45 ปีร้อยละ 28.5
และอายุ 46 ปีขึ้นไปร้อยละ 16.9
กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 52.6
ปริญญาตรีร้อยละ 40.8
และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 6.6
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพ รับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 15.3
ค้าขายและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 22.3
รับจ้างทั่วไปร้อยละ 12.3
พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 33.4
พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 5.8
นิสิตนักศึกษาร้อยละ 6.5 และอื่นๆ ร้อยละ 4.4
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามปลายเปิดสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 26-27 กุมภาพันธ์ 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 28 กุมภาพันธ์ 2549
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776 http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจยุบสภาแล้วกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2
เมษายน 2549 พบว่า ประชาชนร้อยละ 45.6 เห็นด้วยกับการยุบสภาแล้วจัดการเลือกตั้งใหม่ โดยให้เหตุผลว่าเป็นการคืนอำนาจให้ประชาชน
เป็นผู้ตัดสินใจ ขณะที่ร้อยละ 29.0 ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่าไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องเพราะปัญหาอยู่ที่ตัวนายกฯ ไม่ใช่สภา ต้องเสียงบประมาณ
แผ่นดินมาจัดการเลือกตั้งใหม่ ควรรอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนค่อยยุบสภา และการยุบสภาทำให้สังคมไม่มีโอกาสได้รู้เบื้องหลังเรื่องการขายหุ้นชิน
คอร์ป และร้อยละ 25.4 ไม่แน่ใจ
2. ส่วนคำถามที่ว่าในการเลือกตั้งครั้งใหม่จะเลือกพรรคไทยรักไทยหรือไม่ พบว่า ร้อยละ 45.8 ระบุว่าจะเลือกพรรคไทยรักไทย
ขณะที่ร้อยละ 31.3 จะไม่เลือกพรรคไทยรักไทย และร้อยละ 22.9 ไม่แน่ใจ
โดยกลุ่มที่ระบุว่าจะไม่เลือกพรรคไทยรักไทยนั้น ระบุว่าจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ (ร้อยละ 12.8) เลือกพรรคชาติไทย (ร้อยละ
1.7) เลือกพรรคมหาชน (ร้อยละ 0.2) เลือกพรรคอื่น (ร้อยละ 1.0) และยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคใด (ร้อยละ 15.6)
3. สำหรับบุคคลที่ประชาชนเห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป เรียงลำดับคะแนนจากมากไปน้อย ได้ดังนี้
1. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร...............................................................ร้อยละ 55.3
2. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ............................................................. ร้อยละ 17.1
3. นายอานันท์ ปันยารชุน...............................................................ร้อยละ 3.4
4. พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์.............................................................ร้อยละ 2.1
5. นายบรรหาร ศิลปอาชา ....................................................ร้อยละ 1.6
6. อื่น ๆ เช่นนายชวน หลีกภัย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์......................................ร้อยละ 3.7
7. ยังตัดสินใจไม่ได้...................................................................ร้อยละ 8.9
8. ไม่ตอบ..........................................................................ร้อยละ 7.9
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 691 47.3
หญิง 769 52.7
อายุ :
18 - 25 ปี 346 23.7
26 — 35 ปี 451 30.9
36 — 45 ปี 416 28.5
46 ปีขึ้นไป 247 16.9
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 768 52.6
ปริญญาตรี 596 40.8
สูงกว่าปริญญาตรี 96 6.6
อาชีพ
ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 224 15.3
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 325 22.3
รับจ้างทั่วไป 180 12.3
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 488 33.4
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 84 5.8
นิสิตนักศึกษา 95 6.5
อื่นๆ 64 4.4
รวม 1,460 100
ตารางที่ 2: ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตัดสินใจยุบสภา
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 666 45.6
ไม่เห็นด้วย 424 29.0
ไม่แน่ใจ 370 25.4
ตารางที่ 3: ในการเลือกตั้งครั้งใหม่จะเลือกพรรคไทยรักไทยหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เลือกพรรคไทยรักไทย 668 45.8
ไม่เลือกพรรคไทยรักไทย 457 31.3
โดยจะเลือก
- พรรคประชาธิปัตย์..........(12.8%)
- พรรคชาติไทย.............(1.7%)
- พรรคมหาชน..............(0.2%)
- พรรคอื่นๆ................(1.0%)
- ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกพรรคใดนอกเหนือจากพรรคไทยรักไทย...(15.6%)
ไม่แน่ใจ 335 22.9
ตารางที่ 4: บุคคลที่เหมาะสมจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
จำนวน ร้อยละ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 808 55.3
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 249 17.1
นายอานันท์ ปันยารชุน 49 3.4
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 31 2.1
นายบรรหาร ศิลปอาชา 23 1.6
อื่นๆ เช่น นายชวน/ พล.ต.จำลอง/ คุณหญิงสุดารัตน์/ และนายสมคิดฯ 54 3.7
ยังตัดสินใจไม่ได้ 130 8.9
ไม่ตอบ 116 7.9
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกี่ยวกับทิศทางการเมืองไทยภายหลังการยุบสภา ในประเด็นต่อไปนี้
1. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่กับการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจยุบสภาแล้วให้มีการเลือกตั้งใหม่
2. ในการเลือกตั้งครั้งใหม่ประชาชนจะเลือกพรรคไทยรักไทยหรือไม่
3. ใครคือบุคคลที่เหมาะสมจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลาย
ขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง (ในกรุงเทพฯ เก็บข้อมูล 30 เขตจาก 50 เขต และปริมณฑลเก็บจังหวัดละ 3
อำเภอ) จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,460 คน เป็นชายร้อยละ 47.3 และหญิงร้อยละ 52.7
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 18-25 ปีร้อยละ 23.7
อายุ 26-35 ปีร้อยละ 30.9
อายุ 36-45 ปีร้อยละ 28.5
และอายุ 46 ปีขึ้นไปร้อยละ 16.9
กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 52.6
ปริญญาตรีร้อยละ 40.8
และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 6.6
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพ รับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 15.3
ค้าขายและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 22.3
รับจ้างทั่วไปร้อยละ 12.3
พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 33.4
พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 5.8
นิสิตนักศึกษาร้อยละ 6.5 และอื่นๆ ร้อยละ 4.4
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามปลายเปิดสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 26-27 กุมภาพันธ์ 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 28 กุมภาพันธ์ 2549
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776 http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจยุบสภาแล้วกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2
เมษายน 2549 พบว่า ประชาชนร้อยละ 45.6 เห็นด้วยกับการยุบสภาแล้วจัดการเลือกตั้งใหม่ โดยให้เหตุผลว่าเป็นการคืนอำนาจให้ประชาชน
เป็นผู้ตัดสินใจ ขณะที่ร้อยละ 29.0 ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่าไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องเพราะปัญหาอยู่ที่ตัวนายกฯ ไม่ใช่สภา ต้องเสียงบประมาณ
แผ่นดินมาจัดการเลือกตั้งใหม่ ควรรอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนค่อยยุบสภา และการยุบสภาทำให้สังคมไม่มีโอกาสได้รู้เบื้องหลังเรื่องการขายหุ้นชิน
คอร์ป และร้อยละ 25.4 ไม่แน่ใจ
2. ส่วนคำถามที่ว่าในการเลือกตั้งครั้งใหม่จะเลือกพรรคไทยรักไทยหรือไม่ พบว่า ร้อยละ 45.8 ระบุว่าจะเลือกพรรคไทยรักไทย
ขณะที่ร้อยละ 31.3 จะไม่เลือกพรรคไทยรักไทย และร้อยละ 22.9 ไม่แน่ใจ
โดยกลุ่มที่ระบุว่าจะไม่เลือกพรรคไทยรักไทยนั้น ระบุว่าจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ (ร้อยละ 12.8) เลือกพรรคชาติไทย (ร้อยละ
1.7) เลือกพรรคมหาชน (ร้อยละ 0.2) เลือกพรรคอื่น (ร้อยละ 1.0) และยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคใด (ร้อยละ 15.6)
3. สำหรับบุคคลที่ประชาชนเห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป เรียงลำดับคะแนนจากมากไปน้อย ได้ดังนี้
1. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร...............................................................ร้อยละ 55.3
2. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ............................................................. ร้อยละ 17.1
3. นายอานันท์ ปันยารชุน...............................................................ร้อยละ 3.4
4. พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์.............................................................ร้อยละ 2.1
5. นายบรรหาร ศิลปอาชา ....................................................ร้อยละ 1.6
6. อื่น ๆ เช่นนายชวน หลีกภัย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์......................................ร้อยละ 3.7
7. ยังตัดสินใจไม่ได้...................................................................ร้อยละ 8.9
8. ไม่ตอบ..........................................................................ร้อยละ 7.9
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 691 47.3
หญิง 769 52.7
อายุ :
18 - 25 ปี 346 23.7
26 — 35 ปี 451 30.9
36 — 45 ปี 416 28.5
46 ปีขึ้นไป 247 16.9
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 768 52.6
ปริญญาตรี 596 40.8
สูงกว่าปริญญาตรี 96 6.6
อาชีพ
ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 224 15.3
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 325 22.3
รับจ้างทั่วไป 180 12.3
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 488 33.4
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 84 5.8
นิสิตนักศึกษา 95 6.5
อื่นๆ 64 4.4
รวม 1,460 100
ตารางที่ 2: ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตัดสินใจยุบสภา
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 666 45.6
ไม่เห็นด้วย 424 29.0
ไม่แน่ใจ 370 25.4
ตารางที่ 3: ในการเลือกตั้งครั้งใหม่จะเลือกพรรคไทยรักไทยหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เลือกพรรคไทยรักไทย 668 45.8
ไม่เลือกพรรคไทยรักไทย 457 31.3
โดยจะเลือก
- พรรคประชาธิปัตย์..........(12.8%)
- พรรคชาติไทย.............(1.7%)
- พรรคมหาชน..............(0.2%)
- พรรคอื่นๆ................(1.0%)
- ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกพรรคใดนอกเหนือจากพรรคไทยรักไทย...(15.6%)
ไม่แน่ใจ 335 22.9
ตารางที่ 4: บุคคลที่เหมาะสมจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
จำนวน ร้อยละ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 808 55.3
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 249 17.1
นายอานันท์ ปันยารชุน 49 3.4
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 31 2.1
นายบรรหาร ศิลปอาชา 23 1.6
อื่นๆ เช่น นายชวน/ พล.ต.จำลอง/ คุณหญิงสุดารัตน์/ และนายสมคิดฯ 54 3.7
ยังตัดสินใจไม่ได้ 130 8.9
ไม่ตอบ 116 7.9
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-