จากการที่รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ ได้แถลงผลการทำงานของรัฐบาลในโอกาสบริหารราชการแผ่นดินมาครบ 6 เดือนให้ประชาชนได้รับ ทราบผ่านทางสถานีโทรทัศน์ และสถานีวิทยุกระจายเสียงในเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยได้กล่าวว่าภาวะเศรษฐกิจ ของประเทศไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว และกำลังจะเริ่มฟื้นตัว อันเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ขณะที่ภาคเอกชนบางส่วนกลับ มองว่าเศรษฐกิจไทยจะยังไม่ฟื้นตัวเนื่องจากยังขาดการลงทุนใหม่ๆ จากทั้งภาครัฐและเอกชน ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อผลงาน 6 เดือนของรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ และความเชื่อมั่น ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังเพื่อสะท้อนข้อมูลความคิดเห็นให้รัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชนได้รับทราบ โดยเก็บข้อมูล จากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ทุกสาขาอาชีพที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,114 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.4 และเพศหญิงร้อย ละ 50.6 เมื่อวันที่ 7-8 สิงหาคมที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
- ได้รับฟัง รับชม หรือรับทราบเนื้อหาการแถลงผลงาน ร้อยละ 37.6 - ไม่ได้รับฟัง รับชม หรือรับทราบเนื้อหาการแถลงผลงาน ร้อยละ 62.4 2. ความรู้สึกต่อผลงานของรัฐบาล หลังจากได้รับทราบเนื้อหาการแถลงผลงาน 6 เดือนแล้ว (ถามเฉพาะผู้ที่ได้รับฟัง รับชม หรือรับทราบเนื้อหาการแถลงผลงาน) - รู้สึกว่ามีผลงานมากขึ้นกว่าตอนที่ยังไม่ได้แถลง ร้อยละ 39.1 - ไม่รู้สึกว่ามีผลงานมากขึ้น ร้อยละ 60.9 3. คะแนนนิยมที่มีต่อรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ หลังจากได้รับทราบเนื้อหาการแถลงผลงาน 6 เดือน (ถามเฉพาะผู้ที่ได้รับฟัง รับชม หรือรับทราบเนื้อหาการแถลงผลงาน) - คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 24.9 - คะแนนนิยมเท่าเดิม ร้อยละ 46.9 - คะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 28.2 4. ความมั่นใจว่ารัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ ได้นำพาประเทศเดินมาในทิศทางที่ถูกต้อง (ถามเฉพาะผู้ที่ได้รับฟัง รับชม หรือรับทราบเนื้อหาการแถลงผลงาน)
- เชื่อว่าเดินมาในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว ร้อยละ 29.8
- เชื่อว่าเดินมาในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง ร้อยละ 23.0 - ไม่แน่ใจ ร้อยละ 47.2
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 16-18 มิถุนายน 2552 หรือก่อนมีการแถลงผลงานรัฐบาล พบการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
ก่อนแถลงผลงาน(ร้อยละ) หลังแถลงผลงาน(ร้อยละ) เพิ่มขึ้น / ลดลง(ร้อยละ) เชื่อว่าเดินมาในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว 33.7 29.8 - 3.9 เชื่อว่าเดินมาในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง 21.9 23.0 + 1.1 ไม่แน่ใจ 44.4 47.2 + 2.8 5. ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง - เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัว ร้อยละ 29.4
โดยให้เหตุผลว่า
เป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจโลก ร้อยละ 19.4 เป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ร้อยละ 9.1
อื่นๆ อาทิ รัฐบาลใช้ความประนีประนอม - ในการแก้ปัญหาความแตกแยกทางการเมือง ร้อยละ 0.9
- ไม่เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัว ร้อยละ 51.5
เนื่องจาก
ปัญหาความไม่สงบทางการเมือง ร้อยละ 17.4 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่ได้ผล ร้อยละ 13.0 น้ำมันแพง ร้อยละ 9.5 ปัญหาโรคระบาด ร้อยละ 9.1 อื่นๆ อาทิ ภาวะเศรษฐกิจโลกยังไม่ดี - และ รัฐบาลยังแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ร้อยละ 2.5 - ไม่แน่ใจ ร้อยละ 19.1 6. สิ่งที่ต้องการฝากถึงรัฐบาลเกี่ยวกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทย คือ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) - ขอให้สร้างความสมานฉันท์ในประเทศควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ 29.8 - ขอให้ใช้งบประมาณในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างโปร่งใสและคุ้มค่า ร้อยละ 24.8 - ขอให้ทำโครงการต่างๆ อย่างจริงจังต่อเนื่อง ร้อยละ 14.4
- ขอให้ปรับปรุงระบบการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ - เพื่อสร้างความคล่องตัวให้กับภาคธุรกิจ ร้อยละ 13.2
- ขอให้เน้นการสร้างเศรษฐกิจที่มั่นคงยั่งยืน ร้อยละ 13.1 - อื่นๆ อาทิ ลดปัญหาความขัดแย้งกันเองในรัฐบาล ส่งเสริมเรื่องการส่งออก ร้อยละ 4.7 7. สิ่งที่คิดว่าคนไทยควรทำเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้น คือ - กินของไทย ใช้ของไทย เที่ยวเมืองไทย ร้อยละ 52.7 - แสดงออกทางการเมืองอย่างมีสติ ภายใต้กรอบของกฎหมาย ร้อยละ 26.9 - ทำตัวเป็นเจ้าบ้านที่ดีสำหรับนักท่องเที่ยว ร้อยละ 16.7
- อื่นๆ อาทิ รักประเทศไทย ให้คนไทยรักและสามัคคีกันและอยู่อย่างพอเพียง ร้อยละ 3.7
รายละเอียดในการสำรวจ ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน จำนวนทั้งสิ้น 29 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางแค บางซื่อ บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว สวนหลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ และหลักสี่ จากนั้นจึงสุ่ม ถนนและประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,114 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.4 และเพศหญิงร้อยละ 50.6
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 7- 8 สิงหาคม 2552 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 8 สิงหาคม 2552
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 549 49.4 หญิง 565 50.6 รวม 1,114 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 294 26.4 26 - 35 ปี 307 27.6 36 — 45 ปี 251 22.6 46 ปี ขึ้นไป 262 23.4 รวม 1,114 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 673 60.4 ปริญญาตรี 396 35.5 สูงกว่าปริญญาตรี 45 4.1 รวม 1,114 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 114 10.2 พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน 229 20.6 ค้าขาย / อาชีพส่วนตัว 352 31.8 รับจ้างทั่วไป 138 12.3 พ่อบ้าน / แม่บ้าน /เกษียณอายุ 88 7.8 อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ เป็นต้น 193 17.3 รวม 1,114 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--