วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อทราบความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรณีการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตหลังศาลปกครองสูงสุดตัดสินให้
ระงับการขายหุ้นไว้ชั่วคราว ในประเด็นต่อไปนี้
1. ประชาชนคิดอย่างไรกับคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด
2. คำตัดสินดังกล่าวส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนหรือไม่เพียงใด
3. รัฐบาลควรดำเนินการอย่างไรต่อไปในเรื่องการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
4. เห็นด้วยหรือไม่กับนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
5. ควรมีการรื้อฟื้นกรณีการนำรัฐวิสาหกิจ อาทิ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และองค์การสื่อสาร
มวลชนแห่งประเทศไทย ที่มีการแปรรูปไปแล้วมาพิจารณาใหม่หรือไม่
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-
Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครอง จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,502 คน เป็น
ชายร้อยละ 42.3 และหญิงร้อยละ 57.7
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 18-25 ปีร้อยละ 26.4 อายุ 26-35 ปีร้อยละ 37.9 อายุ 36-45 ปีร้อยละ 19.8 และอายุ 46 ปีขึ้น
ไปร้อยละ 15.9
กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาในระดับประถมศึกษาร้อยละ 7.6 มัธยมศึกษา/ปวช.ร้อยละ 15.6 อนุปริญญา/ปวส.ร้อยละ 10.5
ปริญญาตรีร้อยละ 54.3 และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 12.0
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการร้อยละ 12.3 พนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 3.9 พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ
48.5 ค้าขายและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 12.9 รับจ้างทั่วไปร้อยละ 8.8 พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 4.5 และอื่นๆ ร้อยละ
9.1
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เคยเล่นหุ้นร้อยละ 13.0 และไม่เคยเล่นหุ้นร้อยละ 87.0
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 16 พฤศจิกายน 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 17 พฤศจิกายน 2548
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. ร้อยละ 64.8 ระบุว่าเห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุดที่ให้ระงับการขายหุ้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตไว้ก่อน
ขณะที่ร้อยละ 15.0 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 20.2 ไม่แน่ใจ
2. ร้อยละ 64.0 คิดว่าคำตัดสินดังกล่าวส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ขณะที่ร้อยละ 21.6 คิดว่าไม่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น และ
ร้อยละ 14.4 ไม่แน่ใจ
3. เมื่อถามว่ารัฐบาลควรดำเนินการอย่างไรต่อไปในเรื่องการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต พบว่าร้อยละ 55.1 เห็นว่ารัฐบาลควรชะลอ
การแปรรูปไว้ก่อนแล้วศึกษาถึงผลดีผลเสียให้รอบคอบอีกครั้งโดยเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนให้มากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 32.4 เห็นว่ารัฐบาล
ควรยกเลิกการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต มีเพียงร้อยละ 12.5 ที่ เห็นว่ารัฐบาลควรเดินหน้าการแปรรูปต่อไป
4. สำหรับความคิดเห็นต่อนโยบายการนำรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์นั้น ร้อยละ 71.6 ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า เป็นการนำ
สมบัติของชาติไปขายให้คนบางกลุ่ม ประเทศไทยยังไม่มีระบบการจัดการเรื่องการแปรรูปและการกระจายหุ้นที่ชัดเจนโปร่งใส ประชาชนจะเดือด
ร้อนเพราะค่าสาธารณูปโภคพื้นฐานจะแพงขึ้น และควรระดมทุนด้วยวิธีอื่นที่ดีกว่าการนำกิจการสาธารณูปโภคพื้นฐานไปเข้าตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่ร้อย
ละ 28.4 เห็นด้วยกับนโยบายการนำรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ โดยให้เหตุผลว่า จะช่วยให้การบริหารจัดการเป็นระบบและลดปัญหาการขาด
ทุน เป็นวิธีการขยายกิจการรัฐวิสาหกิจโดยไม่ต้องใช้งบประมาณของประเทศ ประชาชนจะได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจ และจะช่วยให้
เศรษฐกิจการเงินของประเทศดีขึ้น
5. ส่วนความคิดเห็นต่อการรื้อฟื้นกรณีการนำรัฐวิสาหกิจ อาทิ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และ
องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ที่มีการแปรรูปไปแล้วมาพิจารณาใหม่นั้น ร้อยละ 42.5 เห็นว่าควรมีการรื้อฟื้นมาพิจารณาใหม่ ขณะที่ร้อยละ
35.8 เห็นว่าไม่ควร และร้อยละ 21.7 ไม่แน่ใจ
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างผู้ที่เคยเล่นหุ้นกับไม่เคยเล่นหุ้น พบว่า ผู้ที่เคยเล่นหุ้นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 52.0) เห็นว่าไม่ควรมี
การรื้อฟื้น ขณะที่ผู้ไม่เคยเล่นหุ้นร้อยละ 43.6 เห็นว่าควรมีการรื้อฟื้น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 636 42.3
หญิง 866 57.7
อายุ :
18 — 25 ปี 396 26.4
26 — 35 ปี 570 37.9
36 — 45 ปี 298 19.8
46 ปีขึ้นไป 238 15.9
การศึกษา
ประถมศึกษา 114 7.6
มัธยมศึกษา/ปวช. 234 15.6
อนุปริญญา/ปวส. 158 10.5
ปริญญาตรี 816 54.3
สูงกว่าปริญญาตรี 180 12.0
อาชีพ
ข้าราชการ 184 12.3
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 58 3.9
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 730 48.5
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 194 12.9
รับจ้างทั่วไป 132 8.8
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 68 4.5
อื่นๆ 136 9.1
ตารางที่ 2 : ประสบการณ์ในการเล่นหุ้น
จำนวน ร้อยละ
เคยเล่นหุ้น 196 13.0
ไม่เคยเล่นหุ้น 1306 87.0
ตารางที่ 3 : เห็นด้วยหรือไม่กับคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุดที่ให้ระงับการขายหุ้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตไว้ก่อน
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 972 64.8
ไม่เห็นด้วย 226 15.0
ไม่แน่ใจ 304 20.2
ตารางที่ 4 : คำตัดสินของศาลปกครองสูงสุดส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ส่งผล 960 64.0
ไม่ส่งผล 324 21.6
ไม่แน่ใจ 218 14.4
ตารางที่ 5 : รัฐบาลควรดำเนินการอย่างไรต่อไปในเรื่องการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
จำนวน ร้อยละ
ยกเลิกการแปรรูป 486 32.4
เดินหน้าการแปรรูปต่อไป 188 12.5
ชะลอการแปรรูปไว้ก่อนแล้วศึกษาถึงผลดีผลเสียให้รอบคอบอีกครั้ง 828 55.1
ตารางที่ 6: เห็นด้วยหรือไม่กับนโยบายการนำรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 426 28.4
ไม่เห็นด้วย 1076 71.6
ตารางที่ 7 : ควรมีการรื้อฟื้นกรณีการนำรัฐวิสาหกิจ อาทิ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และองค์การสื่อสารมวล
ชนแห่งประเทศไทย ที่มีการแปรรูปไปแล้วมาพิจารณาใหม่หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ควร 638 42.5
ไม่ควร 538 35.8
ไม่แน่ใจ 326 21.7
ตารางที่ 8: เปรียบเทียบความคิดเห็นเรื่องควรมีการรื้อฟื้นกรณีการนำรัฐวิสาหกิจ อาทิ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศ
ไทย และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ที่มีการแปรรูปไปแล้วมาพิจารณาใหม่หรือไม่ระหว่างผู้ที่เคยเล่นหุ้นกับไม่เคยเล่นหุ้น
ผู้ที่เคยเล่นหุ้น ผู้ที่ไม่เคยเล่นหุ้น
ควร 34.7(68) 43.6(570)
ไม่ควร 52.0(102) 33.4(436)
ไม่แน่ใจ 13.3(26) 23.0(300)
รวม 100.0(196) 100.0(1306)
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เพื่อทราบความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรณีการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตหลังศาลปกครองสูงสุดตัดสินให้
ระงับการขายหุ้นไว้ชั่วคราว ในประเด็นต่อไปนี้
1. ประชาชนคิดอย่างไรกับคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด
2. คำตัดสินดังกล่าวส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนหรือไม่เพียงใด
3. รัฐบาลควรดำเนินการอย่างไรต่อไปในเรื่องการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
4. เห็นด้วยหรือไม่กับนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
5. ควรมีการรื้อฟื้นกรณีการนำรัฐวิสาหกิจ อาทิ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และองค์การสื่อสาร
มวลชนแห่งประเทศไทย ที่มีการแปรรูปไปแล้วมาพิจารณาใหม่หรือไม่
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-
Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครอง จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,502 คน เป็น
ชายร้อยละ 42.3 และหญิงร้อยละ 57.7
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 18-25 ปีร้อยละ 26.4 อายุ 26-35 ปีร้อยละ 37.9 อายุ 36-45 ปีร้อยละ 19.8 และอายุ 46 ปีขึ้น
ไปร้อยละ 15.9
กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาในระดับประถมศึกษาร้อยละ 7.6 มัธยมศึกษา/ปวช.ร้อยละ 15.6 อนุปริญญา/ปวส.ร้อยละ 10.5
ปริญญาตรีร้อยละ 54.3 และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 12.0
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการร้อยละ 12.3 พนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 3.9 พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ
48.5 ค้าขายและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 12.9 รับจ้างทั่วไปร้อยละ 8.8 พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 4.5 และอื่นๆ ร้อยละ
9.1
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เคยเล่นหุ้นร้อยละ 13.0 และไม่เคยเล่นหุ้นร้อยละ 87.0
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 16 พฤศจิกายน 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 17 พฤศจิกายน 2548
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. ร้อยละ 64.8 ระบุว่าเห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุดที่ให้ระงับการขายหุ้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตไว้ก่อน
ขณะที่ร้อยละ 15.0 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 20.2 ไม่แน่ใจ
2. ร้อยละ 64.0 คิดว่าคำตัดสินดังกล่าวส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ขณะที่ร้อยละ 21.6 คิดว่าไม่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น และ
ร้อยละ 14.4 ไม่แน่ใจ
3. เมื่อถามว่ารัฐบาลควรดำเนินการอย่างไรต่อไปในเรื่องการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต พบว่าร้อยละ 55.1 เห็นว่ารัฐบาลควรชะลอ
การแปรรูปไว้ก่อนแล้วศึกษาถึงผลดีผลเสียให้รอบคอบอีกครั้งโดยเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนให้มากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 32.4 เห็นว่ารัฐบาล
ควรยกเลิกการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต มีเพียงร้อยละ 12.5 ที่ เห็นว่ารัฐบาลควรเดินหน้าการแปรรูปต่อไป
4. สำหรับความคิดเห็นต่อนโยบายการนำรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์นั้น ร้อยละ 71.6 ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า เป็นการนำ
สมบัติของชาติไปขายให้คนบางกลุ่ม ประเทศไทยยังไม่มีระบบการจัดการเรื่องการแปรรูปและการกระจายหุ้นที่ชัดเจนโปร่งใส ประชาชนจะเดือด
ร้อนเพราะค่าสาธารณูปโภคพื้นฐานจะแพงขึ้น และควรระดมทุนด้วยวิธีอื่นที่ดีกว่าการนำกิจการสาธารณูปโภคพื้นฐานไปเข้าตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่ร้อย
ละ 28.4 เห็นด้วยกับนโยบายการนำรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ โดยให้เหตุผลว่า จะช่วยให้การบริหารจัดการเป็นระบบและลดปัญหาการขาด
ทุน เป็นวิธีการขยายกิจการรัฐวิสาหกิจโดยไม่ต้องใช้งบประมาณของประเทศ ประชาชนจะได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจ และจะช่วยให้
เศรษฐกิจการเงินของประเทศดีขึ้น
5. ส่วนความคิดเห็นต่อการรื้อฟื้นกรณีการนำรัฐวิสาหกิจ อาทิ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และ
องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ที่มีการแปรรูปไปแล้วมาพิจารณาใหม่นั้น ร้อยละ 42.5 เห็นว่าควรมีการรื้อฟื้นมาพิจารณาใหม่ ขณะที่ร้อยละ
35.8 เห็นว่าไม่ควร และร้อยละ 21.7 ไม่แน่ใจ
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างผู้ที่เคยเล่นหุ้นกับไม่เคยเล่นหุ้น พบว่า ผู้ที่เคยเล่นหุ้นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 52.0) เห็นว่าไม่ควรมี
การรื้อฟื้น ขณะที่ผู้ไม่เคยเล่นหุ้นร้อยละ 43.6 เห็นว่าควรมีการรื้อฟื้น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 636 42.3
หญิง 866 57.7
อายุ :
18 — 25 ปี 396 26.4
26 — 35 ปี 570 37.9
36 — 45 ปี 298 19.8
46 ปีขึ้นไป 238 15.9
การศึกษา
ประถมศึกษา 114 7.6
มัธยมศึกษา/ปวช. 234 15.6
อนุปริญญา/ปวส. 158 10.5
ปริญญาตรี 816 54.3
สูงกว่าปริญญาตรี 180 12.0
อาชีพ
ข้าราชการ 184 12.3
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 58 3.9
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 730 48.5
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 194 12.9
รับจ้างทั่วไป 132 8.8
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 68 4.5
อื่นๆ 136 9.1
ตารางที่ 2 : ประสบการณ์ในการเล่นหุ้น
จำนวน ร้อยละ
เคยเล่นหุ้น 196 13.0
ไม่เคยเล่นหุ้น 1306 87.0
ตารางที่ 3 : เห็นด้วยหรือไม่กับคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุดที่ให้ระงับการขายหุ้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตไว้ก่อน
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 972 64.8
ไม่เห็นด้วย 226 15.0
ไม่แน่ใจ 304 20.2
ตารางที่ 4 : คำตัดสินของศาลปกครองสูงสุดส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ส่งผล 960 64.0
ไม่ส่งผล 324 21.6
ไม่แน่ใจ 218 14.4
ตารางที่ 5 : รัฐบาลควรดำเนินการอย่างไรต่อไปในเรื่องการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
จำนวน ร้อยละ
ยกเลิกการแปรรูป 486 32.4
เดินหน้าการแปรรูปต่อไป 188 12.5
ชะลอการแปรรูปไว้ก่อนแล้วศึกษาถึงผลดีผลเสียให้รอบคอบอีกครั้ง 828 55.1
ตารางที่ 6: เห็นด้วยหรือไม่กับนโยบายการนำรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 426 28.4
ไม่เห็นด้วย 1076 71.6
ตารางที่ 7 : ควรมีการรื้อฟื้นกรณีการนำรัฐวิสาหกิจ อาทิ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และองค์การสื่อสารมวล
ชนแห่งประเทศไทย ที่มีการแปรรูปไปแล้วมาพิจารณาใหม่หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ควร 638 42.5
ไม่ควร 538 35.8
ไม่แน่ใจ 326 21.7
ตารางที่ 8: เปรียบเทียบความคิดเห็นเรื่องควรมีการรื้อฟื้นกรณีการนำรัฐวิสาหกิจ อาทิ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศ
ไทย และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ที่มีการแปรรูปไปแล้วมาพิจารณาใหม่หรือไม่ระหว่างผู้ที่เคยเล่นหุ้นกับไม่เคยเล่นหุ้น
ผู้ที่เคยเล่นหุ้น ผู้ที่ไม่เคยเล่นหุ้น
ควร 34.7(68) 43.6(570)
ไม่ควร 52.0(102) 33.4(436)
ไม่แน่ใจ 13.3(26) 23.0(300)
รวม 100.0(196) 100.0(1306)
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-