จากการที่พรรคภูมิใจไทยได้ยื่นเสนอร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำผิดเนื่องในการชุมนุมทางการเมืองระหว่างวันที่ 26 พ.ค.- 3 ธ.ค. 51 และวันที่ 26 มี.ค.-1 เม.ย. 52 โดยประธานรัฐสภาได้บรรจุเรื่องดังกล่าวเข้าสู่วาระการประชุมเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ที่ผ่านมา ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างโดยมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องดังกล่าวขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,206 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.4 และเพศหญิงร้อยละ 50.6 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2552 สรุปผลได้ดังนี้
- เห็นด้วย ร้อยละ 33.4
(โดยให้เหตุผลว่า เพื่อสร้างความสมานฉันท์ ทำให้บ้านเมืองสงบสุข ให้ความยุติธรรมกับผู้กระทำผิดทุกฝ่าย
โดยไม่เลือกปฏิบัติ คนไทยด้วยกันควรอภัยให้กัน และอยากให้มาเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่)
- ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 66.6
(โดยให้เหตุผลว่า ไม่ควรมีใครอยู่เหนือกฎหมาย คนทำผิดจะได้ใจและทำผิดต่อไปอีก เป็นการช่วยเหลือคนบางกลุ่ม
ที่สร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่ส่วนรวม เสียภาพลักษณ์ประเทศทำให้ประเทศไทยไม่น่าเชื่อถือในสายตาต่างชาติ
จะเป็นประเด็นให้เกิดความขัดแย้งวุ่นวายตามมา และเชื่อว่ามีผลประโยชน์แอบแฝงที่ไม่ชอบมาพากล)
สำหรับผู้ที่เห็นด้วยกับการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฯ ระบุว่าผู้ที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุด คือ
- ประชาชน ร้อยละ 66.7 - กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ร้อยละ 9.1 - พรรครัฐบาล ร้อยละ 6.8 - กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ( นปช.) ร้อยละ 6.1 - ข้าราชการ ทหาร ตำรวจที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 3.8 - พรรคฝ่ายค้าน ร้อยละ 1.5 - อื่นๆ อาทิ ทุกฝ่าย นักการเมืองทุกคน ร้อยละ 6.0
สำหรับผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฯ ระบุว่าผู้ที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุด คือ
- กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ร้อยละ 22.1 - กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ( นปช.) ร้อยละ 17.9 - พรรครัฐบาล ร้อยละ 12.9 - ประชาชน ร้อยละ 10.3 - ข้าราชการ ทหาร ตำรวจที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 8.4 - พรรคฝ่ายค้าน ร้อยละ 6.7
- อื่นๆ อาทิ ผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์รุนแรง นักการเมืองบางกลุ่ม -
และเจ้าของความคิดเรื่อง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฯ ร้อยละ 21.7 3. ผลที่น่าจะเกิดขึ้นหาก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ผ่านเป็นกฎหมายออกมามีผลบังคับใช้ พบว่า - จะเป็นการจุดชนวนและก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมตามมา ร้อยละ 62.5 - จะช่วยลดความขัดแย้ง และสร้างความสมานฉันท์ปรองดองภายในชาติ ร้อยละ 37.5
โดยผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฯ มองเห็นผลที่จะเกิดขึ้นแตกต่างกันดังนี้
กลุ่มที่เห็นด้วย กลุ่มที่ไม่เห็นด้วย เฉลี่ยรวม
กับการออกพ.ร.บ. กับการออก พ.ร.บ.
จะเป็นการจุดชนวนและก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมตามมา 11.9 89.4 62.5 จะช่วยลดความขัดแย้งและสร้างความสมานฉันท์ปรองดองภายในชาติ 88.1 10.6 37.5 รวม 100.0 100.0 100.0
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ในเรื่องการเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่อง ในการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 26 พ.ค.- 3 ธ.ค. 51 และระหว่างวันที่ 26 มี.ค.-1 เม.ย. 52 รวมถึงผู้ที่ได้ประโยชน์ และผลที่จะเกิดขึ้นตามมาหากมีการบังคับใช้ พ.ร.บ. ดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อสะท้อนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำข้อมูลไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อ ส่วนรวมต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน จากนั้นจึงสุ่มถนนและ ประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,206 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.4 และเพศหญิงร้อยละ 50.6
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/-3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 20 สิงหาคม 2552 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 21 สิงหาคม 2552
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 594 49.4 หญิง 612 50.6 รวม 1,206 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 306 25.5 26 - 35 ปี 312 25.9 36 - 45 ปี 285 23.7 46 ปีขึ้นไป 303 24.9 รวม 1,206 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 738 61.2 ปริญญาตรี 387 32.1 สูงกว่าปริญญาตรี 81 6.7 รวม 1,206 100.0 อาชีพ ข้าราชาร / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 96 8.0 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 354 29.3 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 303 25.1 รับจ้างทั่วไป 180 15.0 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 63 5.2 อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 210 17.4 รวม 1,206 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--