กรุงเทพโพลล์: ผลสำรวจเรื่อง พ.ร.บ. ความมั่นคง กับการชุมนุมของกลุ่ม นปช.

ข่าวผลสำรวจ Friday August 28, 2009 10:20 —กรุงเทพโพลล์

จากการที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรในพื้นที่เขตดุสิตระหว่างวันที่ 29 ส.ค. — 1 ก.ย. 2552 ซึ่งเป็นช่วงการนัดชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นำมาซึ่งเสียงวิจารณ์ที่หลากหลายโดยมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและ ไม่เห็นด้วย ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องดังกล่าวขึ้น โดยเก็บข้อมูล จากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,027 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.9 และเพศหญิงร้อยละ 50.1 เมื่อวันที่ 26-27 สิงหาคม 2552 สรุปผลได้ดังนี้

1. ความรู้สึกต่อสถานการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบัน
                    - น่าเป็นห่วงมาก                ร้อยละ  48.4
                    - น่าเป็นห่วงค่อนข้างมาก          ร้อยละ  35.4
                    - ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง              ร้อยละ  12.2
                    - ไม่น่าเป็นห่วงเลย              ร้อยละ   4.0

2. เปรียบเทียบผลดีและผลเสียจากการที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคงฯ ในพื้นที่เขตดุสิต ในช่วงการชุมนุมของกลุ่ม นปช.
ระหว่างวันที่ 29 ส.ค. — 1 ก.ย. 52 พบว่า
          - เชื่อว่าจะส่งผลเสียมากกว่า                 ร้อยละ 37.8
          - เชื่อว่าจะส่งผลดีมากกว่า                   ร้อยละ 21.7
          - ไม่แน่ใจ                               ร้อยละ 40.5

3. เรื่องที่ประชาชนเป็นห่วงมากที่สุดจากการนัดชุมนุมของกลุ่ม นปช. และการประกาศใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคงฯ ในครั้งนี้ คือ
          - ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุนของไทย                                       ร้อยละ 36.0
          - การฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์โดยผู้ไม่หวังดี                                      ร้อยละ 28.3
          - การจราจรติดขัด                                                           ร้อยละ 16.2
          - การใช้อำนาจเกินขอบเขตของเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุม                                    ร้อยละ 15.9
  • อื่นๆ อาทิ การลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการเสียเลือดเนื้อของคนไทยด้วยกัน ฯลฯ ร้อยละ 3.6
4. ความเชื่อมั่นต่อความสามารถของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมสถานการณ์
การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ไม่ให้ยืดเยื้อบานปลาย
          - เชื่อว่าจะสามารถควบคุมได้                    ร้อยละ 35.8
          - ไม่เชื่อว่าจะสามารถควบคุมได้                  ร้อยละ 31.7
          - ไม่แน่ใจ                                  ร้อยละ 32.5

5. สิ่งที่ต้องการให้นายกฯ อภิสิทธิ์ ทำมากที่สุดในขณะนี้ คือ
          - เดินหน้าแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชน                               ร้อยละ 28.8
          - ยุบสภา                                                                ร้อยละ 22.2
          - แก้ปัญหาความขัดแย้งในรัฐบาล                                               ร้อยละ 19.3
          - แก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น                                                  ร้อยละ 12.9
          - แก้เกม พ.ต.ท. ทักษิณ และกลุ่ม นปช.                                        ร้อยละ 7.1
          - ปรับคณะรัฐมนตรี                                                         ร้อยละ 3.3
          - อื่นๆ อาทิ สร้างความสามัคคีของคนในชาติแก้ปัญหาภาคใต้ แก้ปัญหาเยาวชน ฯลฯ          ร้อยละ 6.4

6. สำหรับความเชื่อมั่นเกี่ยวกับระยะเวลาในการอยู่บริหารประเทศของรัฐบาลนายกฯ  อภิสิทธ์  พบว่า
          - เชื่อว่ารัฐบาลจะอยู่ได้เกิน 1 ปี              ร้อยละ  58.2

(ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาพบว่าความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะอยู่ได้เกิน 1 ปีลดลงร้อยละ 6.3)

          - เชื่อว่ารัฐบาลจะอยู่ไม่ครบ 1 ปี             ร้อยละ  41.8

(ในจำนวนนี้เชื่อว่าสาเหตุที่จะทำให้รัฐบาลอยู่ไม่ครบ 1 ปี เนื่องจาก

          - ผลงานไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน          ร้อยละ 12.9
          - ความขัดแย้งกับพรรคร่วมรัฐบาล             ร้อยละ 9.6
          - ความขัดแย้งภายในพรรคประชาธิปัตย์         ร้อยละ 6.6
          - การชุมนุมเคลื่อนไหวของกลุ่ม นปช.          ร้อยละ 5.9
          - ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน                  ร้อยละ 5.5
          - อื่นๆ อาทิ นายกฯ ไม่เด็ดขาด ฯลฯ          ร้อยละ 1.3

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ. การรักษา ความมั่นคงในราชอาณาจักรในพื้นที่เขตดุสิตระหว่างวันที่ 29 ส.ค. — 1 ก.ย. 2552 ซึ่งเป็นช่วงการนัดชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้าน เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ทั้งนี้เพื่อสะท้อนให้สังคมและแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมต่อไป

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน จำนวนทั้งสิ้น 26 เขต จาก นั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,027 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.9 และเพศหญิงร้อยละ 50.1

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน+/-4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :   26-27 สิงหาคม 2552

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :   28 สิงหาคม 2552

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                            จำนวน         ร้อยละ
เพศ
                       ชาย                    512          49.9
                       หญิง                    515          50.1
          รวม                               1,027         100.0

อายุ
                      18 - 25 ปี               261          25.4
                      26 - 35 ปี               282          27.5
                      36 - 45 ปี               234          22.8
                      46 ปีขึ้นไป                250          24.3
          รวม                               1,027         100.0

การศึกษา
               ต่ำกว่าปริญญาตรี                   593          57.7
               ปริญญาตรี                        389          37.9
               สูงกว่าปริญญาตรี                    45           4.4
          รวม                               1,027         100.0

อาชีพ
     ข้าราชาร / พนักงานรัฐวิสาหกิจ                 113          10.9
     พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน                 273          26.7
     ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว                  298          29.0
     รับจ้างทั่วไป                                114          11.1
     พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                      61           5.9
     อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น     168          16.4
          รวม                               1,027         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ