ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรกับนโยบายของ
รัฐบาล” โดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 3-6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา จากประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,303 คน เป็นเพศชายร้อยละ
50.4 และเพศหญิงร้อยละ 49.6 สรุปผลได้ดังนี้
1. ความคิดเห็นต่อภาพรวมของนโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบันที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ชอบ ร้อยละ 78.8
เพราะ เป็นนโยบายที่มุ่งแก้ปัญหาที่ต้นเหตุไม่ใช่ปลายเหตุ เน้นประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมเป็นหลัก ให้ความสำคัญกับจิตใจมากกว่า
วัตถุเงินทอง เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนนโยบายแต่ละส่วนมีความสอดคล้องไปในทางเดียวกัน และเชื่อมั่นในตัว พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นต้น
ไม่ชอบ ร้อยละ 21.2
เพราะ เน้นการตั้งรับมากเกินไปไม่ค่อยมีเชิงรุก ค่อนข้างเป็นนามธรรมปฏิบัติจริงได้ยาก และอยากให้ต่อยอดนโยบายของรัฐบาล พ.
ต.ท.ทักษิณ มากกว่า เป็นต้น
2. ทั้งนี้เมื่อให้ประชาชนให้คะแนนความชอบนโยบายในแต่ละด้าน ปรากฎว่ามีคะแนนดังนี้
คะแนนที่ได้(จากคะแนนเต็ม 10)
1. นโยบายด้านสังคม 7.31
2. นโยบายด้านการรักษาความมั่นคงของรัฐ 7.20
3. นโยบายด้านการต่างประเทศ 7.11
4. นโยบายด้านเศรษฐกิจ 7.10
5. นโยบายด้านการเมือง การปกครอง และการบริหาร 6.77
3. เมื่อให้เปรียบเทียบภาพรวมระหว่างนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน กับนโยบายของรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ พบว่า
- ชอบนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันมากกว่า ร้อยละ 38.4
- ชอบนโยบายของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณมากกว่า ร้อยละ 20.6
- ชอบเท่าๆ กันแต่คนละด้าน ร้อยละ 17.4
- ไม่ชอบทั้งคู่ ร้อยละ 5.0
- ไม่แน่ใจ ร้อยละ 18.6
4. ความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถนำนโยบายที่แถลงไปปฏิบัติให้สำเร็จผลชัดเจนเป็นรูปธรรม
ภายในระยะเวลา 1 ปี
- เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 25.2
- เชื่อว่าทำไม่ได้ ร้อยละ 24.6
- ไม่แน่ใจ ร้อยละ 50.2
5. ความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถปฏิบัติงานโดยยึดหลัก 4 ป. (เป็นธรรม โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประหยัด) ได้จริง
- เชื่อว่าจะปฏิบัติได้จริงในข้อ เป็นธรรม ร้อยละ 44.0
- เชื่อว่าจะปฏิบัติได้จริงในข้อ โปร่งใส ร้อยละ 43.4
- เชื่อว่าจะปฏิบัติได้จริงในข้อ ประหยัด ร้อยละ 36.9
- เชื่อว่าจะปฏิบัติได้จริงในข้อ มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 31.2
- เชื่อว่าจะปฏิบัติจริงไม่ได้เลยซักข้อ ร้อยละ 13.7
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 02-350-3500 ต่อ 1776
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในประเด็นต่อไปนี้
1. ความชอบต่อนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
2. เปรียบเทียบความชอบระหว่างนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันกับนโยบายของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
3. ความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถนำนโยบายที่แถลงไปปฏิบัติให้เกิดผลชัดเจนเป็นรูปธรรมได้ภายในระยะเวลา 1 ปี
4. ความเชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศโดยยึดหลัก 4 ป. (เป็นธรรม โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ประหยัด) ตามที่รัฐบาลประกาศไว้
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 32 เขตจาก 50 เขต
ของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสามวา จตุจักร จอมทอง ดอนเมือง ดินแดง ตลิ่งชัน ทวี
วัฒนา ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางแค บางนา บึงกุ่ม ป้อมปราบ พญาไท พระโขนง
มีนบุรี ยานนาวา ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว สวนหลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ สายไหม หลักสี่ และห้วยขวาง และปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่นนทบุรี
ปทุมธานี และสมุทรปราการ จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,303 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน ฑ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 3-6 พฤศจิกายน 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 7 พฤศจิกายน 2549
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 657 50.4
หญิง 646 49.6
อายุ
18-25 ปี 482 37.0
26-35 ปี 373 28.6
36-45 ปี 268 20.6
46 ปีขึ้นไป 180 13.8
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 547 42.0
ปริญญาตรี 653 50.1
สูงกว่าปริญญาตรี 103 7.9
อาชีพ
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 152 11.8
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 391 30.0
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 256 19.6
รับจ้างทั่วไป 141 10.8
นิสิต/นักศึกษา 322 24.7
อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุ 41 3.1
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
รัฐบาล” โดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 3-6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา จากประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,303 คน เป็นเพศชายร้อยละ
50.4 และเพศหญิงร้อยละ 49.6 สรุปผลได้ดังนี้
1. ความคิดเห็นต่อภาพรวมของนโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบันที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ชอบ ร้อยละ 78.8
เพราะ เป็นนโยบายที่มุ่งแก้ปัญหาที่ต้นเหตุไม่ใช่ปลายเหตุ เน้นประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมเป็นหลัก ให้ความสำคัญกับจิตใจมากกว่า
วัตถุเงินทอง เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนนโยบายแต่ละส่วนมีความสอดคล้องไปในทางเดียวกัน และเชื่อมั่นในตัว พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นต้น
ไม่ชอบ ร้อยละ 21.2
เพราะ เน้นการตั้งรับมากเกินไปไม่ค่อยมีเชิงรุก ค่อนข้างเป็นนามธรรมปฏิบัติจริงได้ยาก และอยากให้ต่อยอดนโยบายของรัฐบาล พ.
ต.ท.ทักษิณ มากกว่า เป็นต้น
2. ทั้งนี้เมื่อให้ประชาชนให้คะแนนความชอบนโยบายในแต่ละด้าน ปรากฎว่ามีคะแนนดังนี้
คะแนนที่ได้(จากคะแนนเต็ม 10)
1. นโยบายด้านสังคม 7.31
2. นโยบายด้านการรักษาความมั่นคงของรัฐ 7.20
3. นโยบายด้านการต่างประเทศ 7.11
4. นโยบายด้านเศรษฐกิจ 7.10
5. นโยบายด้านการเมือง การปกครอง และการบริหาร 6.77
3. เมื่อให้เปรียบเทียบภาพรวมระหว่างนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน กับนโยบายของรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ พบว่า
- ชอบนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันมากกว่า ร้อยละ 38.4
- ชอบนโยบายของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณมากกว่า ร้อยละ 20.6
- ชอบเท่าๆ กันแต่คนละด้าน ร้อยละ 17.4
- ไม่ชอบทั้งคู่ ร้อยละ 5.0
- ไม่แน่ใจ ร้อยละ 18.6
4. ความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถนำนโยบายที่แถลงไปปฏิบัติให้สำเร็จผลชัดเจนเป็นรูปธรรม
ภายในระยะเวลา 1 ปี
- เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 25.2
- เชื่อว่าทำไม่ได้ ร้อยละ 24.6
- ไม่แน่ใจ ร้อยละ 50.2
5. ความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถปฏิบัติงานโดยยึดหลัก 4 ป. (เป็นธรรม โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประหยัด) ได้จริง
- เชื่อว่าจะปฏิบัติได้จริงในข้อ เป็นธรรม ร้อยละ 44.0
- เชื่อว่าจะปฏิบัติได้จริงในข้อ โปร่งใส ร้อยละ 43.4
- เชื่อว่าจะปฏิบัติได้จริงในข้อ ประหยัด ร้อยละ 36.9
- เชื่อว่าจะปฏิบัติได้จริงในข้อ มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 31.2
- เชื่อว่าจะปฏิบัติจริงไม่ได้เลยซักข้อ ร้อยละ 13.7
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 02-350-3500 ต่อ 1776
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในประเด็นต่อไปนี้
1. ความชอบต่อนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
2. เปรียบเทียบความชอบระหว่างนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันกับนโยบายของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
3. ความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถนำนโยบายที่แถลงไปปฏิบัติให้เกิดผลชัดเจนเป็นรูปธรรมได้ภายในระยะเวลา 1 ปี
4. ความเชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศโดยยึดหลัก 4 ป. (เป็นธรรม โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ประหยัด) ตามที่รัฐบาลประกาศไว้
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 32 เขตจาก 50 เขต
ของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสามวา จตุจักร จอมทอง ดอนเมือง ดินแดง ตลิ่งชัน ทวี
วัฒนา ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางแค บางนา บึงกุ่ม ป้อมปราบ พญาไท พระโขนง
มีนบุรี ยานนาวา ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว สวนหลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ สายไหม หลักสี่ และห้วยขวาง และปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่นนทบุรี
ปทุมธานี และสมุทรปราการ จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,303 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน ฑ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 3-6 พฤศจิกายน 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 7 พฤศจิกายน 2549
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 657 50.4
หญิง 646 49.6
อายุ
18-25 ปี 482 37.0
26-35 ปี 373 28.6
36-45 ปี 268 20.6
46 ปีขึ้นไป 180 13.8
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 547 42.0
ปริญญาตรี 653 50.1
สูงกว่าปริญญาตรี 103 7.9
อาชีพ
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 152 11.8
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 391 30.0
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 256 19.6
รับจ้างทั่วไป 141 10.8
นิสิต/นักศึกษา 322 24.7
อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุ 41 3.1
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-