ด้วยวันที่ 20 กันยายนของทุกปีเป็นวันเยาวชนแห่งชาติ ในปีนี้ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการ
สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “เยาวชนไทยกับการใช้เวลาหลังเลิกเรียน” ขึ้นโดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม - 2 กันยายนที่ผ่านมา จากเยาวชนที่
ศึกษาในระดับมัธยมปลาย ปวช./ ปวส./ อนุปริญญา และปริญญาตรี ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนรวม 59 แห่ง จาก 14 จังหวัดทั่วทุกภาคของ
ประเทศ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,671 คน เป็นเพศชายร้อยละ 40.8 และเพศหญิงร้อยละ 59.2 สรุปผลได้ดังนี้
กิจกรรมในช่วงเย็นถึงค่ำหลังเลิกเรียนที่เยาวชนทำมากเป็นอันดับแรกคือการพูดคุยสังสรรค์กับเพื่อนฝูงร้อยละ 50.6 รองลงมาคือดู
โทรทัศน์ร้อยละ 46.6 ทำการบ้าน อ่านหนังสือ และเรียนพิเศษร้อยละ 46.3 เล่นเกม เล่นอินเทอร์เน็ต และคุยโทรศัพท์ร้อยละ 42.6 เล่น
กีฬา ออกกำลังกาย และทำงานอดิเรกร้อยละ 38.9 ทำงานบ้าน ช่วยงานที่บ้าน และทำงานหารายได้พิเศษร้อยละ 27.7 ช้อปปิ้ง ซื้อของ ดู
หนัง และฟังเพลงนอกบ้านร้อยละ 26.1 และอื่นๆ อาทิ นอน อยู่กับคนรัก และปฏิบัติธรรมร้อยละ 3.2เยาวชนร้อยละ 70.1 กลับถึงบ้านไม่เกิน
18.00 น. ขณะที่ร้อยละ 10.1 กลับถึงบ้านหลัง 20.00 น.
สำหรับบุคคลที่เยาวชนใช้เวลาอยู่ด้วยมากที่สุดในช่วงเย็นถึงค่ำหลังเลิกเรียนพบว่าอันดับแรกคือเพื่อนร้อยละ 38.6 พ่อแม่ร้อยละ
34.6 อยู่คนเดียวร้อยละ 10.5 อยู่กับญาติพี่น้องร้อยละ 9.3 อยู่กับคนรักร้อยละ 5.9 อยู่กับครูร้อยละ 0.2 และอยู่กับบุคคลอื่นอาทิ
โค้ช ร้อยละ 0.9
เมื่อถามถึงเป้าหมายในชีวิตส่วนใหญ่ร้อยละ 53.7 ระบุว่ายังไม่มีเป้าหมายในชีวิตว่าหลังจบการศึกษาแล้วจะทำอะไร ขณะที่ร้อยละ
46.3 ระบุว่ามีเป้าหมายในชีวิตแล้ว เช่น อยากเป็นเจ้าของกิจการ แพทย์ วิศวกร และนักแสดง เป็นต้น
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาที่ระดับการศึกษาพบว่า เยาวชนที่ศึกษาในระดับ ปวช. ปวส. และอนุปริญญาระบุว่ายังไม่มีเป้าหมายในชีวิตมากที่สุดคือ
ร้อยละ 63.0 รองลงมาคือระดับมัธยมปลายร้อยละ 51.6 และระดับปริญญาตรีร้อยละ 46.1
เมื่อถามต่อว่าทุกวันนี้ได้ใช้เวลาที่มีอยู่อย่างเป็นประโยชน์คุ้มค่าเพื่อเตรียมสร้างอนาคตที่ดีให้กับตนเองหรือไม่ ร้อยละ 46.3 ระบุว่าไม่แน่
ใจ ขณะที่ร้อยละ 36.7 คิดว่าได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์คุ้มค่าแล้ว อีกร้อยละ 17.0 เห็นว่ายังไม่ได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์คุ้มค่า
ทั้งนี้ เยาวชนร้อยละ 51.1 เห็นว่าที่ผ่านมายังไม่ได้รับคำแนะนำส่งเสริมอย่างถูกต้องเพียงพอในเรื่องการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์
ขณะที่ร้อยละ 48.9 เห็นว่าได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องเพียงพอแล้ว
สำหรับกิจกรรมที่เยาวชนต้องการให้มีการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ อันดับแรกคือกิจกรรมด้านกีฬาและการออก
กำลังกายร้อยละ 36.4 ด้านบันเทิง ดนตรี และการแสดงร้อยละ 23.1 ด้านการพัฒนาความรู้ความสามารถเชิงวิชาการร้อยละ 14.8
ด้านการช่วยเหลือสังคมและชุมชนร้อยละ 6.7 ด้านใดก็ได้ที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำซากจำเจร้อยละ 5.0 ด้านการสร้างอาชีพเพื่อให้มีรายได้ร้อยละ
4.2 ด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวร้อยละ 1.5 ด้านการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมร้อยละ 1.3 และด้านอื่นๆ ร้อยละ 2.6
และเมื่อถามว่าระหว่างการมานะพยายามด้วยตนเองกับการใช้เส้นสายหรือระบบอุปถัมภ์คิดว่าสิ่งใดส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิตมากกว่ากัน ร้อยละ
80.7 ยังคงเชื่อว่าการมานะพยายามด้วยตนเองส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิต มากกว่า แต่ก็มีถึงร้อยละ 19.3 หรือประมาณ 1 ใน 5 ที่เชื่อว่าการใช้
เส้นสายหรือระบบอุปถัมภ์ส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิตมากกว่า
ผศ. สุนิสา ประวิชัย หัวหน้าศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าเยาวชนไทยในทุกวันนี้สนใจและใช้เวลาไปกับกิจกรรม
ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคมเท่าไรนัก โดยส่วนใหญ่หมดไปกับการพูดคุยสังสรรค์กับเพื่อนฝูง เล่นเกม คุยโทรศัพท์ และดูโทรทัศน์
ประกอบกับการที่พวกเขาใช้เวลาหลังเลิกเรียนอยู่กับเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ หรือบางคนต้องอยู่คนเดียวเพราะพ่อแม่ยังกลับไม่ถึงบ้านก็ยิ่งน่าเป็นห่วงว่า
เยาวชนเหล่านี้จะขาดการชี้แนะที่ถูกต้อง
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังสะท้อนปัญหาที่น่าเป็นห่วงสำหรับสังคมไทยอีกประการหนึ่งคือการที่เยาวชนไทยส่วนใหญ่ยังคงไม่มีเป้าหมายในชีวิต
ทั้งนี้แม้แต่กลุ่มที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีซึ่งควรจะเป็นเยาวชนชั้นแนวหน้าของสังคมและเหลือเวลาอีกไม่นานก็จะจบออกไปทำงานรับผิดชอบชีวิตตน
เองแล้วแต่ปรากฎว่ามีจำนวนเกือบครึ่งที่ระบุว่ายังไม่มีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจนว่าเมื่อจบการศึกษาแล้วจะไปทำอะไร
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 02-350-3500 ต่อ 1776
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เนื่องจากวันที่ 20 กันยายน ของทุกปีเป็นวันเยาวชนแห่งชาติ ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์จึงดำเนินโครงการสำรวจความเห็นเรื่อง “เยาวชน
ไทยกับการใช้เวลาหลังเลิกเรียน” เพื่อสอบถามข้อมูลความคิดเห็นของเยาวชนในประเด็นต่อไปนี้
1. กิจกรรมส่วนใหญ่ที่ทำในช่วงหลังเลิกเรียน
2. เวลาที่กลับถึงบ้านในแต่ละวัน
3. บุคคลที่ใช้เวลาอยู่ด้วยมากที่สุดในช่วงหลังเลิกเรียน
4. การตั้งเป้าหมายในชีวิตหลังจบการศึกษา
5. ความคิดเห็นต่อการใช้เวลาที่มีอยู่อย่างเป็นประโยชน์คุ้มค่าเพื่อเตรียมสร้างอนาคตที่ดีให้กับตนเอง
6. การได้รับคำแนะนำส่งเสริมในเรื่องการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์
7. กิจกรรมที่ต้องการให้ส่งเสริมเพื่อให้เกิดการใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์
8. ความเชื่อมั่นต่อปัจจัยที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิตระหว่างการมานะพยายามด้วยตนเองกับการใช้เส้นสายหรือระบบอุปถัมภ์
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มจังหวัดในแต่ละภาค จากนั้นจึงสุ่มสถานศึกษา
และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,671 คน เป็นเพศชายร้อยละ 40.8 และเพศหญิงร้อยละ 59.2 จากสถานศึกษา
จำนวน 59 แห่ง ใน 14 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น จันทบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ ตรัง นครศรีธรรมราช นนทบุรี
ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สุโขทัย และสมุทรปราการ
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 28 สิงหาคม - 2 กันยายน 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 19 กันยายน 2549
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 682 40.8
หญิง 989 59.2
การศึกษา :
มัธยมปลาย 812 48.6
ปวช. ปวส. อนุปริญญา 484 29.0
ปริญญาตรี 375 22.4
ปัจจุบันพักอาศัยอยู่กับ :
พ่อแม่ 1,090 65.2
ญาติ 209 12.5
เพื่อน 175 10.5
คนรัก 37 2.2
อยู่คนเดียว 128 7.7
อื่นๆ เช่นอาศัยอยู่กับพระ 32 1.9
เขตที่พักอาศัย
กรุงเทพฯ/ ปริมณฑล 818 48.9
ต่างจังหวัดในเขตอำเภอเมือง 431 25.8
ต่างจังหวัดนอกเขตอำเภอเมือง 422 25.3
ตารางที่ 2 : ส่วนใหญ่ใช้เวลาทำกิจกรรมอะไรหลังเลิกเรียน (เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
จำนวน ร้อยละ
พูดคุยสังสรรค์กับเพื่อนฝูง 846 50.6
ดูโทรทัศน์ 779 46.6
ทำการบ้าน ทำรายงาน อ่านหนังสือ เรียนพิเศษ 774 46.3
เล่นเกม เล่นอินเทอร์เน็ต คุยโทรศัพท์ 712 42.6
เล่นกีฬา ออกกำลังกาย ทำงานอดิเรก 650 38.9
ทำงานบ้าน ช่วยงานที่บ้าน ทำงานหารายได้พิเศษ 463 27.7
เดินห้าง ช้อปปิ้ง ซื้อของ ดูหนัง ฟังเพลง 436 26.1
อื่นๆ อาทิ นอน อยู่กับคนรัก ปฏิบัติธรรม ฯ 53 3.2
ตารางที่ 3 : โดยเฉลี่ยกลับถึงบ้านตอนกี่โมง
จำนวน ร้อยละ
ก่อน 18.00 น. 1,171 70.1
18.01 — 20.00 น. 332 19.8
หลัง 20.00 น. 168 10.1
ตารางที่ 4 : บุคคลที่เยาวชนใช้เวลาอยู่ด้วยมากที่สุดในช่วงเวลาหลังเลิกเรียน
จำนวน ร้อยละ
เพื่อน 645 38.6
พ่อแม่ 578 34.6
อยู่คนเดียว 175 10.5
ญาติพี่น้อง 156 9.3
คนรัก 98 5.9
ครู 4 0.2
อื่นๆ อาทิ โค้ช 15 0.9
ตารางที่ 5 : มีเป้าหมายในชีวิตหรือยังว่าหลังจบการศึกษาแล้วอยากจะประกอบอาชีพอะไร
จำนวน ร้อยละ
มีแล้ว เช่น อยากเป็นเจ้าของกิจการ แพทย์ วิศวกร อยากทำงานบริษัทที่ได้เงินเดือนสูงๆ 774 46.3
ยังไม่มี 897 53.7
ตารางที่ 5.1 : เปรียบเทียบสัดส่วนของผู้ที่ระบุว่ามีเป้าหมายในชีวิตแล้วกับยังไม่มีเป้าหมายในชีวิตระหว่าง เยาวชนในระดับ
มัธยมศึกษา ปวช. ปวส. และอนุปริญญา และระดับปริญญาตรี
มีเป้าหมายในชีวิตแล้ว(ร้อยละ) ยังไม่มีเป้าหมายในชีวิต(ร้อยละ)
มัธยมศึกษา 48.4 51.6
ปวช. ปวส. อนุปริญญา 37.0 63.0
ปริญญาตรี 53.9 46.1
ตารางที่ 6 :คิดว่าทุกวันนี้ได้ใช้เวลาที่มีอยู่อย่างเป็นประโยชน์คุ้มค่าเพื่อเตรียมสร้างอนาคตที่ดีให้กับตนเองแล้วใช่หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ใช่ 613 36.7
ไม่ใช่ 284 17.0
ไม่แน่ใจ 774 46.3
ตารางที่ 7 : คิดว่าที่ผ่านมาได้รับการแนะนำส่งเสริมอย่างถูกต้องเพียงพอในเรื่องการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์หรือยัง
จำนวน ร้อยละ
คิดว่าได้รับคำแนะนำส่งเสริมพียงพอแล้ว 817 48.9
คิดว่ายังได้รับคำแนะนำส่งเสริมไม่เพียงพอ 854 51.1
ตารางที่ 8 : หากจะส่งเสริมให้เยาวชนไทยใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ท่านสนใจกิจกรรมในลักษณะใด
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
จำนวน ร้อยละ
กิจกรรมด้านกีฬาและการออกกำลังกาย 609 36.4
กิจกรรมด้านบันเทิง ดนตรี และการแสดง 385 23.1
กิจกรรมด้านการพัฒนาความรู้ความสามารถ 248 14.8
กิจกรรมด้านการช่วยเหลือสังคมและชุมชน 112 6.7
กิจกรรมด้านใดก็ได้ที่สร้างสรรค์แปลกใหม่ และไม่ซ้ำซากจำเจ 83 5.0
กิจกรรมด้านการเสริมสร้างอาชีพให้มีรายได้ 71 4.2
กิจกรรมด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว 25 1.5
กิจกรรมด้านการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม 21 1.3
อื่นๆ 44 2.6
ไม่ระบุ 73 4.4
ตารางที่ 9 : ระหว่างการมานะพยายามด้วยตนเองกับการใช้เส้นสายและระบบอุปถัมภ์
คิดว่าสิ่งใดส่งผลให้ประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่ากัน
จำนวน ร้อยละ
การมานะพยายามด้วยตนเอง 1,349 80.7
การใช้เส้นสายและระบบอุปถัมภ์ 322 19.3
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “เยาวชนไทยกับการใช้เวลาหลังเลิกเรียน” ขึ้นโดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม - 2 กันยายนที่ผ่านมา จากเยาวชนที่
ศึกษาในระดับมัธยมปลาย ปวช./ ปวส./ อนุปริญญา และปริญญาตรี ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนรวม 59 แห่ง จาก 14 จังหวัดทั่วทุกภาคของ
ประเทศ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,671 คน เป็นเพศชายร้อยละ 40.8 และเพศหญิงร้อยละ 59.2 สรุปผลได้ดังนี้
กิจกรรมในช่วงเย็นถึงค่ำหลังเลิกเรียนที่เยาวชนทำมากเป็นอันดับแรกคือการพูดคุยสังสรรค์กับเพื่อนฝูงร้อยละ 50.6 รองลงมาคือดู
โทรทัศน์ร้อยละ 46.6 ทำการบ้าน อ่านหนังสือ และเรียนพิเศษร้อยละ 46.3 เล่นเกม เล่นอินเทอร์เน็ต และคุยโทรศัพท์ร้อยละ 42.6 เล่น
กีฬา ออกกำลังกาย และทำงานอดิเรกร้อยละ 38.9 ทำงานบ้าน ช่วยงานที่บ้าน และทำงานหารายได้พิเศษร้อยละ 27.7 ช้อปปิ้ง ซื้อของ ดู
หนัง และฟังเพลงนอกบ้านร้อยละ 26.1 และอื่นๆ อาทิ นอน อยู่กับคนรัก และปฏิบัติธรรมร้อยละ 3.2เยาวชนร้อยละ 70.1 กลับถึงบ้านไม่เกิน
18.00 น. ขณะที่ร้อยละ 10.1 กลับถึงบ้านหลัง 20.00 น.
สำหรับบุคคลที่เยาวชนใช้เวลาอยู่ด้วยมากที่สุดในช่วงเย็นถึงค่ำหลังเลิกเรียนพบว่าอันดับแรกคือเพื่อนร้อยละ 38.6 พ่อแม่ร้อยละ
34.6 อยู่คนเดียวร้อยละ 10.5 อยู่กับญาติพี่น้องร้อยละ 9.3 อยู่กับคนรักร้อยละ 5.9 อยู่กับครูร้อยละ 0.2 และอยู่กับบุคคลอื่นอาทิ
โค้ช ร้อยละ 0.9
เมื่อถามถึงเป้าหมายในชีวิตส่วนใหญ่ร้อยละ 53.7 ระบุว่ายังไม่มีเป้าหมายในชีวิตว่าหลังจบการศึกษาแล้วจะทำอะไร ขณะที่ร้อยละ
46.3 ระบุว่ามีเป้าหมายในชีวิตแล้ว เช่น อยากเป็นเจ้าของกิจการ แพทย์ วิศวกร และนักแสดง เป็นต้น
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาที่ระดับการศึกษาพบว่า เยาวชนที่ศึกษาในระดับ ปวช. ปวส. และอนุปริญญาระบุว่ายังไม่มีเป้าหมายในชีวิตมากที่สุดคือ
ร้อยละ 63.0 รองลงมาคือระดับมัธยมปลายร้อยละ 51.6 และระดับปริญญาตรีร้อยละ 46.1
เมื่อถามต่อว่าทุกวันนี้ได้ใช้เวลาที่มีอยู่อย่างเป็นประโยชน์คุ้มค่าเพื่อเตรียมสร้างอนาคตที่ดีให้กับตนเองหรือไม่ ร้อยละ 46.3 ระบุว่าไม่แน่
ใจ ขณะที่ร้อยละ 36.7 คิดว่าได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์คุ้มค่าแล้ว อีกร้อยละ 17.0 เห็นว่ายังไม่ได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์คุ้มค่า
ทั้งนี้ เยาวชนร้อยละ 51.1 เห็นว่าที่ผ่านมายังไม่ได้รับคำแนะนำส่งเสริมอย่างถูกต้องเพียงพอในเรื่องการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์
ขณะที่ร้อยละ 48.9 เห็นว่าได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องเพียงพอแล้ว
สำหรับกิจกรรมที่เยาวชนต้องการให้มีการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ อันดับแรกคือกิจกรรมด้านกีฬาและการออก
กำลังกายร้อยละ 36.4 ด้านบันเทิง ดนตรี และการแสดงร้อยละ 23.1 ด้านการพัฒนาความรู้ความสามารถเชิงวิชาการร้อยละ 14.8
ด้านการช่วยเหลือสังคมและชุมชนร้อยละ 6.7 ด้านใดก็ได้ที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำซากจำเจร้อยละ 5.0 ด้านการสร้างอาชีพเพื่อให้มีรายได้ร้อยละ
4.2 ด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวร้อยละ 1.5 ด้านการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมร้อยละ 1.3 และด้านอื่นๆ ร้อยละ 2.6
และเมื่อถามว่าระหว่างการมานะพยายามด้วยตนเองกับการใช้เส้นสายหรือระบบอุปถัมภ์คิดว่าสิ่งใดส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิตมากกว่ากัน ร้อยละ
80.7 ยังคงเชื่อว่าการมานะพยายามด้วยตนเองส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิต มากกว่า แต่ก็มีถึงร้อยละ 19.3 หรือประมาณ 1 ใน 5 ที่เชื่อว่าการใช้
เส้นสายหรือระบบอุปถัมภ์ส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิตมากกว่า
ผศ. สุนิสา ประวิชัย หัวหน้าศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าเยาวชนไทยในทุกวันนี้สนใจและใช้เวลาไปกับกิจกรรม
ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคมเท่าไรนัก โดยส่วนใหญ่หมดไปกับการพูดคุยสังสรรค์กับเพื่อนฝูง เล่นเกม คุยโทรศัพท์ และดูโทรทัศน์
ประกอบกับการที่พวกเขาใช้เวลาหลังเลิกเรียนอยู่กับเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ หรือบางคนต้องอยู่คนเดียวเพราะพ่อแม่ยังกลับไม่ถึงบ้านก็ยิ่งน่าเป็นห่วงว่า
เยาวชนเหล่านี้จะขาดการชี้แนะที่ถูกต้อง
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังสะท้อนปัญหาที่น่าเป็นห่วงสำหรับสังคมไทยอีกประการหนึ่งคือการที่เยาวชนไทยส่วนใหญ่ยังคงไม่มีเป้าหมายในชีวิต
ทั้งนี้แม้แต่กลุ่มที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีซึ่งควรจะเป็นเยาวชนชั้นแนวหน้าของสังคมและเหลือเวลาอีกไม่นานก็จะจบออกไปทำงานรับผิดชอบชีวิตตน
เองแล้วแต่ปรากฎว่ามีจำนวนเกือบครึ่งที่ระบุว่ายังไม่มีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจนว่าเมื่อจบการศึกษาแล้วจะไปทำอะไร
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 02-350-3500 ต่อ 1776
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เนื่องจากวันที่ 20 กันยายน ของทุกปีเป็นวันเยาวชนแห่งชาติ ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์จึงดำเนินโครงการสำรวจความเห็นเรื่อง “เยาวชน
ไทยกับการใช้เวลาหลังเลิกเรียน” เพื่อสอบถามข้อมูลความคิดเห็นของเยาวชนในประเด็นต่อไปนี้
1. กิจกรรมส่วนใหญ่ที่ทำในช่วงหลังเลิกเรียน
2. เวลาที่กลับถึงบ้านในแต่ละวัน
3. บุคคลที่ใช้เวลาอยู่ด้วยมากที่สุดในช่วงหลังเลิกเรียน
4. การตั้งเป้าหมายในชีวิตหลังจบการศึกษา
5. ความคิดเห็นต่อการใช้เวลาที่มีอยู่อย่างเป็นประโยชน์คุ้มค่าเพื่อเตรียมสร้างอนาคตที่ดีให้กับตนเอง
6. การได้รับคำแนะนำส่งเสริมในเรื่องการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์
7. กิจกรรมที่ต้องการให้ส่งเสริมเพื่อให้เกิดการใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์
8. ความเชื่อมั่นต่อปัจจัยที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิตระหว่างการมานะพยายามด้วยตนเองกับการใช้เส้นสายหรือระบบอุปถัมภ์
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มจังหวัดในแต่ละภาค จากนั้นจึงสุ่มสถานศึกษา
และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,671 คน เป็นเพศชายร้อยละ 40.8 และเพศหญิงร้อยละ 59.2 จากสถานศึกษา
จำนวน 59 แห่ง ใน 14 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น จันทบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ ตรัง นครศรีธรรมราช นนทบุรี
ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สุโขทัย และสมุทรปราการ
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 28 สิงหาคม - 2 กันยายน 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 19 กันยายน 2549
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 682 40.8
หญิง 989 59.2
การศึกษา :
มัธยมปลาย 812 48.6
ปวช. ปวส. อนุปริญญา 484 29.0
ปริญญาตรี 375 22.4
ปัจจุบันพักอาศัยอยู่กับ :
พ่อแม่ 1,090 65.2
ญาติ 209 12.5
เพื่อน 175 10.5
คนรัก 37 2.2
อยู่คนเดียว 128 7.7
อื่นๆ เช่นอาศัยอยู่กับพระ 32 1.9
เขตที่พักอาศัย
กรุงเทพฯ/ ปริมณฑล 818 48.9
ต่างจังหวัดในเขตอำเภอเมือง 431 25.8
ต่างจังหวัดนอกเขตอำเภอเมือง 422 25.3
ตารางที่ 2 : ส่วนใหญ่ใช้เวลาทำกิจกรรมอะไรหลังเลิกเรียน (เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
จำนวน ร้อยละ
พูดคุยสังสรรค์กับเพื่อนฝูง 846 50.6
ดูโทรทัศน์ 779 46.6
ทำการบ้าน ทำรายงาน อ่านหนังสือ เรียนพิเศษ 774 46.3
เล่นเกม เล่นอินเทอร์เน็ต คุยโทรศัพท์ 712 42.6
เล่นกีฬา ออกกำลังกาย ทำงานอดิเรก 650 38.9
ทำงานบ้าน ช่วยงานที่บ้าน ทำงานหารายได้พิเศษ 463 27.7
เดินห้าง ช้อปปิ้ง ซื้อของ ดูหนัง ฟังเพลง 436 26.1
อื่นๆ อาทิ นอน อยู่กับคนรัก ปฏิบัติธรรม ฯ 53 3.2
ตารางที่ 3 : โดยเฉลี่ยกลับถึงบ้านตอนกี่โมง
จำนวน ร้อยละ
ก่อน 18.00 น. 1,171 70.1
18.01 — 20.00 น. 332 19.8
หลัง 20.00 น. 168 10.1
ตารางที่ 4 : บุคคลที่เยาวชนใช้เวลาอยู่ด้วยมากที่สุดในช่วงเวลาหลังเลิกเรียน
จำนวน ร้อยละ
เพื่อน 645 38.6
พ่อแม่ 578 34.6
อยู่คนเดียว 175 10.5
ญาติพี่น้อง 156 9.3
คนรัก 98 5.9
ครู 4 0.2
อื่นๆ อาทิ โค้ช 15 0.9
ตารางที่ 5 : มีเป้าหมายในชีวิตหรือยังว่าหลังจบการศึกษาแล้วอยากจะประกอบอาชีพอะไร
จำนวน ร้อยละ
มีแล้ว เช่น อยากเป็นเจ้าของกิจการ แพทย์ วิศวกร อยากทำงานบริษัทที่ได้เงินเดือนสูงๆ 774 46.3
ยังไม่มี 897 53.7
ตารางที่ 5.1 : เปรียบเทียบสัดส่วนของผู้ที่ระบุว่ามีเป้าหมายในชีวิตแล้วกับยังไม่มีเป้าหมายในชีวิตระหว่าง เยาวชนในระดับ
มัธยมศึกษา ปวช. ปวส. และอนุปริญญา และระดับปริญญาตรี
มีเป้าหมายในชีวิตแล้ว(ร้อยละ) ยังไม่มีเป้าหมายในชีวิต(ร้อยละ)
มัธยมศึกษา 48.4 51.6
ปวช. ปวส. อนุปริญญา 37.0 63.0
ปริญญาตรี 53.9 46.1
ตารางที่ 6 :คิดว่าทุกวันนี้ได้ใช้เวลาที่มีอยู่อย่างเป็นประโยชน์คุ้มค่าเพื่อเตรียมสร้างอนาคตที่ดีให้กับตนเองแล้วใช่หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ใช่ 613 36.7
ไม่ใช่ 284 17.0
ไม่แน่ใจ 774 46.3
ตารางที่ 7 : คิดว่าที่ผ่านมาได้รับการแนะนำส่งเสริมอย่างถูกต้องเพียงพอในเรื่องการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์หรือยัง
จำนวน ร้อยละ
คิดว่าได้รับคำแนะนำส่งเสริมพียงพอแล้ว 817 48.9
คิดว่ายังได้รับคำแนะนำส่งเสริมไม่เพียงพอ 854 51.1
ตารางที่ 8 : หากจะส่งเสริมให้เยาวชนไทยใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ท่านสนใจกิจกรรมในลักษณะใด
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
จำนวน ร้อยละ
กิจกรรมด้านกีฬาและการออกกำลังกาย 609 36.4
กิจกรรมด้านบันเทิง ดนตรี และการแสดง 385 23.1
กิจกรรมด้านการพัฒนาความรู้ความสามารถ 248 14.8
กิจกรรมด้านการช่วยเหลือสังคมและชุมชน 112 6.7
กิจกรรมด้านใดก็ได้ที่สร้างสรรค์แปลกใหม่ และไม่ซ้ำซากจำเจ 83 5.0
กิจกรรมด้านการเสริมสร้างอาชีพให้มีรายได้ 71 4.2
กิจกรรมด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว 25 1.5
กิจกรรมด้านการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม 21 1.3
อื่นๆ 44 2.6
ไม่ระบุ 73 4.4
ตารางที่ 9 : ระหว่างการมานะพยายามด้วยตนเองกับการใช้เส้นสายและระบบอุปถัมภ์
คิดว่าสิ่งใดส่งผลให้ประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่ากัน
จำนวน ร้อยละ
การมานะพยายามด้วยตนเอง 1,349 80.7
การใช้เส้นสายและระบบอุปถัมภ์ 322 19.3
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-