เยาวชนคืออนาคตของชาติ เป็นผู้ที่สังคมหวังจะสร้างให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพเพื่อนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาและเจริญก้าวหน้าในอนาคต แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ในปัจจุบันทำให้หลายฝ่ายเริ่มเป็นห่วงว่าสถานการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อ คุณภาพชีวิต รวมถึงการหล่อหลอมแบบแผนทางความคิดและการกระทำอันเป็นรากฐานที่สำคัญต่ออนาคตของเยาวชนไทย เนื่องในโอกาส วันที่ 20 กันยายน ที่จะถึงนี้ เป็น “วันเยาวชนแห่งชาติ” ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ความเชื่อ มั่นของเยาวชนไทยต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน” เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและมุมมองของเยาวชนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชน ไทยอายุ 15 — 24 ปี จากทุกภาคของประเทศ รวมทั้งสิ้น 1,143 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.9 และเพศหญิงร้อยละ 51.1 เมื่อวันที่ 9 -15 กันยายน ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาความเชื่อมั่นในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่เยาวชนมีความเชื่อมั่นสูงที่สุดคือ การได้รับความรักความอบอุ่นอย่างเพียงพอจาก ครอบครัว ส่วนด้านที่เยาวชนมีความเชื่อมั่นต่ำที่สุดคือ การมีนักการเมืองที่ดีมีคุณภาพ สามารถนำพาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
คะแนนความเชื่อมั่น
(จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
- ได้รับความรักความอบอุ่นอย่างเพียงพอจากครอบครัว 7.62 - มีวัฒนธรรมประจำชาติที่น่าภาคภูมิใจและน่ายึดถือปฏิบัติ 7.06 - ได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ 6.78 - มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ 6.46 - ฐานะการเงินของครอบครัวมีความมั่นคง 5.78 - มีความปลอดภัยในการใช้ชีวิตในสังคม 5.48 - คนในสังคมมีความเอื้อเฟื้อต่อกัน 5.18 - มีสภาพแวดล้อมรอบตัวที่ดี ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหามลพิษ 4.60 - อยู่ในสังคมที่มีความยุติธรรม ยึดหลักกฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ 4.57 - มีนักการเมืองที่ดีมีคุณภาพ สามารถนำพาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้ 4.33 2. สิ่งที่คิดว่าเป็นอุปสรรคขัดขวางการมีชีวิตที่ดีมีคุณภาพของเยาวชนไทยมากที่สุด คือ - พฤติกรรมการใช้ชีวิตของเยาวชนเอง (ไม่ตั้งใจเรียน เที่ยวเตร่ คบเพื่อนไม่ดี ติดอบายมุข) ร้อยละ 44.6 - การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว (พ่อแม่ไม่มีเวลา ครอบครัวแตกแยก) ร้อยละ 17.7
- ระบบการศึกษาไทย (เนื้อหาหลักสูตร รูปแบบการสอน การวัดผล และการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย) ร้อยละ 13.3
- ระบบการเมืองไทย (คุณภาพนักการเมือง ระบบการเลือกตั้ง การซื้อเสียง และรัฐธรรมนูญ) ร้อยละ 12.3 - พื้นฐานความเชื่อและค่านิยมบางอย่างของคนไทย (เชื่อโชคลาง ขาดวินัย ตัดสินคนที่เปลือกนอก) ร้อยละ 11.0
- อื่นๆ อาทิ ปัญหาเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม คุณภาพของสื่อ และการปิดกั้นทางความคิดของผู้ใหญ่ เป็น ร้อยละ 1.1
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของเยาวชนเกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อการดำเนินชีวิตของตนเองในด้านต่างๆ ที่เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับชีวิต ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนสิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการมีชีวิตที่ดีมีคุณภาพของเยาวชนไทย เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างเยาวชนไทยอายุตั้งแต่ 15 — 24 ปี ที่อาศัยอยู่แต่ละภาคของประเทศ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น ตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการเลือกจังหวัดที่เป็นตัวแทนของแต่ละภาค ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เพชรบุรี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด เชียงราย เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช และภูเก็ต จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,143 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.9 และเพศหญิงร้อยละ 51.1
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน จากนั้น คณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 9 — 15 กันยายน 2552 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 17 กันยายน 2552
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 559 48.9 หญิง 584 51.1 รวม 1,143 100.0 อายุ 15 ปี — 17 ปี 384 33.6 18 ปี — 20 ปี 388 33.9 21 ปี — 24 ปี 371 32.5 รวม 1,143 100.0 การศึกษา มัธยมศึกษา / ปวช. 485 42.4 ปวส. / อนุปริญญา 118 10.3 ปริญญาตรี 446 39.1 สูงกว่าปริญญาตรี 13 1.1 ไม่ได้ศึกษาแล้ว 81 7.1 รวม 1,143 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--