กรุงเทพโพลล์: ดัชนีความเชื่อมั่นประเทศไทย ประจำไตรมาส 3/2552

ข่าวผลสำรวจ Tuesday September 29, 2009 08:46 —กรุงเทพโพลล์

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความเชื่อมั่นประเทศไทย ประจำไตรมาส 3/2552 พบความเชื่อมั่นด้านการเมืองมีคะแนนต่ำที่สุดคือ 2.46 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ขณะที่ความเชื่อมั่นด้านสังคมและคุณภาพชีวิตได้ 3.43 คะแนน ส่วนความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจแม้จะมีคะแนนสูงกว่าด้านอื่นแต่ก็ยังต่ำกว่าครึ่งคือ 3.96 คะแนน ส่งผลให้คะแนนความเชื่อมั่น เฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 3.28 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของความเชื่อมั่นในแต่ละด้านพบว่า ความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันมีคะแนนต่ำที่สุดคือ 2.05 คะแนน ขณะที่ความเชื่อมั่นในศักยภาพด้านการเป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งการค้า และการลงทุนมีคะแนนสูงที่สุดคือ 4.54 คะแนน (โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางที่ 1)

ตารางที่ 1 ความเชื่อมั่นที่มีต่อประเทศไทยในด้านต่างๆ
(เต็ม 10 คะแนน)
1. ด้านการเมือง                                                                  2.46
    2.1  ความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น                                       2.05
    2.2  ความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้                    2.06
    2.3  ความเชื่อมั่นในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและการชุมนุมประท้วง          2.59
    2.4  ความเชื่อมั่นในกระบวนการปฏิรูปการเมืองและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ                     3.12

2. ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต                                                          3.43
     3.1  ความเชื่อมั่นในความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายและอาชญากรรม                          2.71
     3.2  ความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย                         3.43
3.3  ความเชื่อมั่นในความถูกต้องเที่ยงตรงของข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่โดยหน่วยงานภาครัฐ       3.56
     3.4  ความเชื่อมั่นในการรับมือกับภัยธรรมชาติและโรคระบาด                             4.02

3. ด้านเศรษฐกิจ                                                                  3.96
     1.1  ความเชื่อมั่นในสถานะการเงินการคลังของประเทศ                                3.22
     1.2  ความเชื่อมั่นในเรื่องรายได้และการมีงานทำ                                     4.03
     1.3  ความเชื่อมั่นในความสามารถรับมือกับภาระค่าครองชีพ                              4.06
     1.4  ความเชื่อมั่นในศักยภาพด้านการเป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งการค้า  และการลงทุน          4.54
          เฉลี่ยรวม                                                              3.28

สำหรับความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อประเทศไทย ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ผลสำรวจพบว่า คะแนนความเชื่อมั่นยังคงอยู่ในระดับต่ำ ทั้ง 3 ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อมั่นด้านการเมืองที่ประชาชนให้คะแนนเพียง 2.49 คะแนน สะท้อนมุมมองของประชาชนที่เชื่อว่าอนาคต อีก 3 เดือนข้างหน้าปัญหาด้านการเมืองจะยังคงเป็นปัญหาหลักที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประเทศไทยอยู่เช่นเดิม (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 ความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า
ความเชื่อมั่นในด้านต่างๆ          คะแนนเต็ม 10 คะแนน
1.  ด้านการเมือง                    2.49
2.  ด้านเศรษฐกิจ                    3.22
3.  ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต            3.69
เฉลี่ยรวม                           3.13

ส่วน เรื่องที่เห็นว่าควรดำเนินการโดยเร่งด่วนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทย (3 อันดับแรก) (เป็นคำถามปลายเปิด ให้ผู้ตอบระบุเอง) ได้แก่ อันดับที่ 1: แก้ปัญหาเศรษฐกิจ การว่างงาน และปัญหาปากท้องให้เห็นผลอย่างชัดเจน..............ร้อยละ 31.3 อันดับที่ 2 : แก้ปัญหาความขัดแย้งของคนในสังคมให้มีความรักสามัคคีกัน .........................ร้อยละ 19.0 อันดับที่ 3 : แก้ปัญหาความขัดแย้งในหมู่นักการเมืองให้มีความสามัคคี

และช่วยกันบริหารประเทศ................................................ ร้อยละ 17.1

การสำรวจดังกล่าวเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในทุกสาขาอาชีพทั่วทุกภาคของประเทศ จำนวน 1,112 คน ระหว่างวันที่ 11 — 16 กันยายนที่ผ่านมา

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) โทร. 02-350-3500 ต่อ 1776

E-mail: bangkokpollh@bu.ac.th Website: http://research.bu.ac.th

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ในประเด็นต่อไปนี้

1. ประเมินความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยในด้านต่างๆ

2. ประเมินความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า

3. เรื่องที่เห็นว่าควรมีการดำเนินการโดยเร่งด่วนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทย

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในทั่วทุกภาคของประเทศ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น ตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการเลือกจังหวัดที่เป็นตัวแทนของแต่ละภาครวม 9 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เพชรบุรี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด เชียงราย เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช และสตูล จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่ม ตัวอย่างทั้งสิ้น 1,112 คน เป็นเพศชายร้อยละ 47.1 และเพศหญิงร้อยละ 52.9

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว(Face to face interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบ ด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจ สอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  11 — 16 กันยายน 2552

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  29 กันยายน 2552

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                   จำนวน        ร้อยละ
เพศ
            ชาย                     524          47.1
            หญิง                     588          52.9
          รวม                     1,112         100.0

อายุ
            18 ปี — 25 ปี             287          25.8
            26 ปี — 35 ปี             299          26.9
            36 ปี — 45 ปี             275          24.7
            46 ปีขึ้นไป                251          22.6
          รวม                     1,112         100.0

การศึกษา
             ต่ำกว่าปริญญาตรี           641          57.6
             ปริญญาตรี                387          34.8
             สูงกว่าปริญญาตรี            84           7.6
          รวม                     1,112         100.0

อาชีพ
ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ           110           9.9
พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน             267          24.0
ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว             281          25.3
รับจ้างทั่วไป                           170          15.3
พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ             59           5.3
อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน   225          20.2
          รวม                     1,112         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ