ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประเมินผลงาน 2 ปีผู้ว่าฯ อภิรักษ์” เนื่องในโอกาส
ครบรอบ 2 ปีของการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ในวันที่ 6 กันยายน 2549 นี้ โดยเก็บข้อมูลจาก
ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทั้ง 50 เขตของกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 18-23 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,290 คน เป็นเพศชาย
ร้อยละ 51.6 และเพศหญิงร้อยละ 48.4 สรุปผลได้ดังนี้
1. ความพึงพอใจผลงานด้านต่างๆ ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้คะแนนเฉลี่ย 5.17 จากคะแนนเต็ม 10 โดย
ความพึงพอใจด้านความสะอาดและสิ่งแวดล้อมได้คะแนนสูงสุด ขณะที่ด้านการจราจรและขนส่งมวลชน ได้คะแนนต่ำสุดและไม่ถึงครึ่ง ดังนี้
1.1 ด้านความสะอาดและสิ่งแวดล้อม ได้คะแนน 5.46
1.2 ด้านอนามัยและสาธารณสุข ได้คะแนน 5.44
1.3 ด้านการศึกษาและพัฒนาคน ได้คะแนน 5.30
1.4 ด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมอาชีพ ได้คะแนน 5.00
1.5 ด้านการจราจรและขนส่งมวลชน v ได้คะแนน 4.66
2. ความพึงพอใจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้คะแนนเฉลี่ย 5.71 จากคะแนนเต็ม 10 โดย
ความขยันและทุ่มเทในการทำงานมีคะแนนสูงสุด ขณะที่การทำงานให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรมมีคะแนนต่ำสุด ดังนี้
2.1 ความขยันทุ่มเทในการทำงาน ได้คะแนน 6.26
2.2 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้คะแนน 5.72
2.3 ความซื่อสัตย์โปร่งใส ได้คะแนน 5.62
2.4 ความฉับไวในการแก้ปัญหา ได้คะแนน 5.48
2.5 การทำงานให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม ได้คะแนน 5.46
3. เมื่อเปรียบเทียบผลงานในช่วง 2 ปีที่ผ่านมากับความคาดหวังตอนที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้รับเลือกเป็นผู้ว่า กทม. ประชาชนส่วน
ใหญ่ร้อยละ 57.1 ระบุว่านายอภิรักษ์มีผลงานพอๆ กับที่คาดหวังไว้ ขณะที่ร้อยละ 26.8 ระบุว่าแย่กว่าที่คาดหวังไว้ และร้อยละ 16.0 ระบุว่าดีกว่าที่
คาดหวังไว้
4. ความเชื่อมั่นว่าผู้ว่าฯ อภิรักษ์ จะสามารถทำให้เป้าหมาย 3 ประการประสบความสำเร็จได้หรือไม่ ได้แก่ ทำให้ กทม. เป็นองค์กรที่
ให้บริการที่ดีที่สุดแก่ประชาชน ผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัยได้มาตรฐานเทียบเท่ามหานครระดับโลก และพัฒนาข้าราชการและ
ลูกจ้างของ กทม. ให้มีคุณภาพ ปรากฏว่า ชาว กทม. เห็นว่าการทำให้ กทม. เป็นองค์กรที่ให้บริการที่ดีที่สุดแก่ประชาชนมีความเป็นไปได้มากที่สุด
(โดยเชื่อว่าทำได้ร้อยละ 48.3 ทำไม่ได้ร้อยละ 33.0 ไม่แน่ใจร้อยละ 18.7) รองลงมาคือการพัฒนาข้าราชการและลูกจ้างของ กทม. ให้มี
คุณภาพ (เชื่อว่าทำได้ร้อยละ 47.2 ทำไม่ได้ร้อยละ 35.4 ไม่แน่ใจร้อยละ 17.4) ส่วนการผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัยได้
มาตรฐานเทียบเท่ามหานครระดับโลกนั้น ส่วนใหญ่เชื่อว่าทำไม่ได้ (โดยเชื่อว่าทำได้ร้อยละ 27.5 ทำไม่ได้ร้อยละ 55.9 ไม่แน่ใจร้อยละ 16.6)
5. สำหรับปัญหาที่ต้องการให้ผู้ว่าฯ อภิรักษ์แก้ไขโดยเร่งด่วน อันดับแรกได้แก่ปัญหาการจราจร (ร้อยละ 59.5) รองลงมาคือปัญหา
ความปลอดภัยและคุณภาพชีวิต (ร้อยละ 18.8) ปัญหาการทุจริตใน กทม. (ร้อยละ 9.1) ปัญหาน้ำท่วมขัง (ร้อยละ 4.7) ปัญหาขยะและ
สิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 4.5) ปัญหาหาบเร่แผงลอย (ร้อยละ 1.5) และปัญหาอื่นๆ อาทิ ปัญหาคนจรจัด และปัญหาการว่างงาน (ร้อยละ 1.9)
ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับผลสำรวจในช่วงครบรอบ 1 ปี พบว่า ปัญหาที่ประชาชนต้องการให้แก้ไขโดยเร่งด่วนเป็นอันดับแรกในการสำรวจ
ทั้งสองครั้งยังคงเป็นปัญหาการจราจร
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาอัตราการเปลี่ยนแปลงของปัญหาที่ประชาชนต้องการให้แก้ไขโดยเร่งด่วนเป็นอันดับแรก พบว่า ความต้องการ
ให้แก้ปัญหาการทุจริตใน กทม. มีอัตราเพิ่มขึ้นมากที่สุดโดยเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 4.9 รองลงมาคือปัญหาการจราจรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 และ
ปัญหาความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1
ขณะที่ความต้องการให้แก้ปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรกลดลงร้อยละ 6.9 และความต้องการให้แก้ปัญหาหาบเร่แผงลอยเป็น
อันดับแรกลดลงร้อยละ 5.8 (โปรดดูตารางที่ 6 ประกอบ)
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครต่อการปฏิบัติหน้าที่ครบ 2 ปีในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของนายอภิรักษ์ โกษะ
โยธิน ในประเด็นต่อไปนี้
1. ความพึงพอใจผลงานด้านต่างๆ ของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
2. ความพึงพอใจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
3. ความคิดเห็นของประชาชน เมื่อเปรียบเทียบผลงานที่ผ่านมากับความคาดหวังตอนที่นายอภิรักษ์ได้รับเลือกให้เป็นผู้ว่า กทม.
4. ความเชื่อมั่นต่อการที่ผู้ว่าฯ อภิรักษ์ จะทำให้เป้าหมายที่วางไว้ 3 ประการบรรลุผลสำเร็จ
5. ปัญหาที่ต้องการให้ผู้ว่าฯ อภิรักษ์ แก้ไขโดยเร่งด่วนในขณะนี้
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนชาวกรุงเทพมหานครอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต ได้กลุ่มตัวอย่างทั้ง
สิ้น 1,290 คน เป็นเพศชายร้อยละ 51.6 และเพศหญิงร้อยละ 48.4
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 18-23 สิงหาคม 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 4 กันยายน 2549
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 666 51.6
หญิง 624 48.4
อายุ
18-25 ปี 400 31.1
26-35 ปี 351 27.2
36-45 ปี 341 26.4
46 ปีขึ้นไป 198 15.3
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 555 43.0
ปริญญาตรี 661 51.2
สูงกว่าปริญญาตรี 74 5.7
อาชีพ
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 218 16.9
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 329 25.5
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 322 25.0
รับจ้างทั่วไป 129 10.0
นิสิต/นักศึกษา 230 17.8
อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุ 62 4.8
ตารางที่ 2: ความพึงพอใจผลงานด้านต่างๆ ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
(เรียงลำดับจากคะแนนมากไปน้อย)
คะแนนที่ได้(จากคะแนนเต็ม 10)
1. ด้านความสะอาดและสิ่งแวดล้อม 5.46
2. ด้านอนามัยและสาธารณสุข 5.44
3. ด้านการศึกษาและพัฒนาคน 5.30
4. ด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมอาชีพ 5.00
5. ด้านการจราจรและขนส่งมวลชน 4.66
เฉลี่ยรวม 5.17
ตารางที่ 3: ความพึงพอใจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
(เรียงลำดับจากคะแนนมากไปน้อย)
คะแนนที่ได้(จากคะแนนเต็ม 10)
1. ความขยันทุ่มเทในการทำงาน 6.26
2. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 5.72
3. ความซื่อสัตย์โปร่งใส 5.62
4. ความฉับไวในการแก้ปัญหา 5.48
5. การทำงานให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม 5.46
เฉลี่ยรวม 5.71
ตารางที่ 4: เปรียบเทียบผลงานในช่วง 2 ปีที่ผ่านมากับความคาดหวังตอนที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม.
จำนวน ร้อยละ
ดีกว่าที่คาดหวังไว้ 207 16.0
พอๆ กับที่คาดหวังไว้ 737 57.1
แย่กว่าที่คาดหวังไว้ 346 26.8
ตารางที่ 5: ความเชื่อมั่นว่าผู้ว่าฯ อภิรักษ์ จะสามารถทำให้เป้าหมายที่วางไว้ 3 ประการบรรลุผลสำเร็จได้
เชื่อว่าทำได้ เชื่อว่าทำไม่ได้ ไม่แน่ใจ
1. ทำให้ กทม. เป็นองค์กรที่ให้บริการที่ดีที่สุดแก่ประชาชน 48.3(623) 33.0(426) 18.7(241)
2. ผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัยได้มาตรฐาน
เทียบเท่ามหานครระดับโลก 27.5(355) 55.9(721) 16.6(214)
3. พัฒนาข้าราชการและลูกจ้างของ กทม.ให้มีคุณภาพ 47.2(609) 35.4(457) 17.4(224)
ตารางที่ 6: ปัญหาที่ต้องการให้ผู้ว่าฯ อภิรักษ์แก้ไขโดยเร่งด่วนเป็นอันดับแรก
(เปรียบเทียบระหว่างช่วงครบรอบการทำงาน 1 ปี กับ 2 ปี โดยเป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเองเพียงคนละ 1 ปัญหา)
ช่วงครบรอบ 1 ปี(ร้อยละ) ช่วงครบรอบ 2 ปี(ร้อยละ) การเปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)
1. ปัญหาการจราจร 54.9 59.5 + 4.5
2. ปัญหาความปลอดภัยและคุณภาพชีวิต 16.7 18.8 + 2.1
3. ปัญหาการทุจริตใน กทม. 4.2 9.1 + 4.9
4. ปัญหาน้ำท่วม 4.6 4.7 + 0.1
5. ปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อม 11.4 4.5 - 6.9
6. ปัญหาหาบเร่แผงลอย 7.3 1.5 - 5.8
7. อื่นๆ อาทิ ปัญหาคนจรจัด ปัญหาการว่างงาน ฯลฯ 0.9 1.9 +1.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
ครบรอบ 2 ปีของการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ในวันที่ 6 กันยายน 2549 นี้ โดยเก็บข้อมูลจาก
ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทั้ง 50 เขตของกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 18-23 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,290 คน เป็นเพศชาย
ร้อยละ 51.6 และเพศหญิงร้อยละ 48.4 สรุปผลได้ดังนี้
1. ความพึงพอใจผลงานด้านต่างๆ ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้คะแนนเฉลี่ย 5.17 จากคะแนนเต็ม 10 โดย
ความพึงพอใจด้านความสะอาดและสิ่งแวดล้อมได้คะแนนสูงสุด ขณะที่ด้านการจราจรและขนส่งมวลชน ได้คะแนนต่ำสุดและไม่ถึงครึ่ง ดังนี้
1.1 ด้านความสะอาดและสิ่งแวดล้อม ได้คะแนน 5.46
1.2 ด้านอนามัยและสาธารณสุข ได้คะแนน 5.44
1.3 ด้านการศึกษาและพัฒนาคน ได้คะแนน 5.30
1.4 ด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมอาชีพ ได้คะแนน 5.00
1.5 ด้านการจราจรและขนส่งมวลชน v ได้คะแนน 4.66
2. ความพึงพอใจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้คะแนนเฉลี่ย 5.71 จากคะแนนเต็ม 10 โดย
ความขยันและทุ่มเทในการทำงานมีคะแนนสูงสุด ขณะที่การทำงานให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรมมีคะแนนต่ำสุด ดังนี้
2.1 ความขยันทุ่มเทในการทำงาน ได้คะแนน 6.26
2.2 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้คะแนน 5.72
2.3 ความซื่อสัตย์โปร่งใส ได้คะแนน 5.62
2.4 ความฉับไวในการแก้ปัญหา ได้คะแนน 5.48
2.5 การทำงานให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม ได้คะแนน 5.46
3. เมื่อเปรียบเทียบผลงานในช่วง 2 ปีที่ผ่านมากับความคาดหวังตอนที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้รับเลือกเป็นผู้ว่า กทม. ประชาชนส่วน
ใหญ่ร้อยละ 57.1 ระบุว่านายอภิรักษ์มีผลงานพอๆ กับที่คาดหวังไว้ ขณะที่ร้อยละ 26.8 ระบุว่าแย่กว่าที่คาดหวังไว้ และร้อยละ 16.0 ระบุว่าดีกว่าที่
คาดหวังไว้
4. ความเชื่อมั่นว่าผู้ว่าฯ อภิรักษ์ จะสามารถทำให้เป้าหมาย 3 ประการประสบความสำเร็จได้หรือไม่ ได้แก่ ทำให้ กทม. เป็นองค์กรที่
ให้บริการที่ดีที่สุดแก่ประชาชน ผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัยได้มาตรฐานเทียบเท่ามหานครระดับโลก และพัฒนาข้าราชการและ
ลูกจ้างของ กทม. ให้มีคุณภาพ ปรากฏว่า ชาว กทม. เห็นว่าการทำให้ กทม. เป็นองค์กรที่ให้บริการที่ดีที่สุดแก่ประชาชนมีความเป็นไปได้มากที่สุด
(โดยเชื่อว่าทำได้ร้อยละ 48.3 ทำไม่ได้ร้อยละ 33.0 ไม่แน่ใจร้อยละ 18.7) รองลงมาคือการพัฒนาข้าราชการและลูกจ้างของ กทม. ให้มี
คุณภาพ (เชื่อว่าทำได้ร้อยละ 47.2 ทำไม่ได้ร้อยละ 35.4 ไม่แน่ใจร้อยละ 17.4) ส่วนการผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัยได้
มาตรฐานเทียบเท่ามหานครระดับโลกนั้น ส่วนใหญ่เชื่อว่าทำไม่ได้ (โดยเชื่อว่าทำได้ร้อยละ 27.5 ทำไม่ได้ร้อยละ 55.9 ไม่แน่ใจร้อยละ 16.6)
5. สำหรับปัญหาที่ต้องการให้ผู้ว่าฯ อภิรักษ์แก้ไขโดยเร่งด่วน อันดับแรกได้แก่ปัญหาการจราจร (ร้อยละ 59.5) รองลงมาคือปัญหา
ความปลอดภัยและคุณภาพชีวิต (ร้อยละ 18.8) ปัญหาการทุจริตใน กทม. (ร้อยละ 9.1) ปัญหาน้ำท่วมขัง (ร้อยละ 4.7) ปัญหาขยะและ
สิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 4.5) ปัญหาหาบเร่แผงลอย (ร้อยละ 1.5) และปัญหาอื่นๆ อาทิ ปัญหาคนจรจัด และปัญหาการว่างงาน (ร้อยละ 1.9)
ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับผลสำรวจในช่วงครบรอบ 1 ปี พบว่า ปัญหาที่ประชาชนต้องการให้แก้ไขโดยเร่งด่วนเป็นอันดับแรกในการสำรวจ
ทั้งสองครั้งยังคงเป็นปัญหาการจราจร
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาอัตราการเปลี่ยนแปลงของปัญหาที่ประชาชนต้องการให้แก้ไขโดยเร่งด่วนเป็นอันดับแรก พบว่า ความต้องการ
ให้แก้ปัญหาการทุจริตใน กทม. มีอัตราเพิ่มขึ้นมากที่สุดโดยเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 4.9 รองลงมาคือปัญหาการจราจรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 และ
ปัญหาความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1
ขณะที่ความต้องการให้แก้ปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรกลดลงร้อยละ 6.9 และความต้องการให้แก้ปัญหาหาบเร่แผงลอยเป็น
อันดับแรกลดลงร้อยละ 5.8 (โปรดดูตารางที่ 6 ประกอบ)
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครต่อการปฏิบัติหน้าที่ครบ 2 ปีในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของนายอภิรักษ์ โกษะ
โยธิน ในประเด็นต่อไปนี้
1. ความพึงพอใจผลงานด้านต่างๆ ของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
2. ความพึงพอใจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
3. ความคิดเห็นของประชาชน เมื่อเปรียบเทียบผลงานที่ผ่านมากับความคาดหวังตอนที่นายอภิรักษ์ได้รับเลือกให้เป็นผู้ว่า กทม.
4. ความเชื่อมั่นต่อการที่ผู้ว่าฯ อภิรักษ์ จะทำให้เป้าหมายที่วางไว้ 3 ประการบรรลุผลสำเร็จ
5. ปัญหาที่ต้องการให้ผู้ว่าฯ อภิรักษ์ แก้ไขโดยเร่งด่วนในขณะนี้
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนชาวกรุงเทพมหานครอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต ได้กลุ่มตัวอย่างทั้ง
สิ้น 1,290 คน เป็นเพศชายร้อยละ 51.6 และเพศหญิงร้อยละ 48.4
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 18-23 สิงหาคม 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 4 กันยายน 2549
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 666 51.6
หญิง 624 48.4
อายุ
18-25 ปี 400 31.1
26-35 ปี 351 27.2
36-45 ปี 341 26.4
46 ปีขึ้นไป 198 15.3
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 555 43.0
ปริญญาตรี 661 51.2
สูงกว่าปริญญาตรี 74 5.7
อาชีพ
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 218 16.9
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 329 25.5
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 322 25.0
รับจ้างทั่วไป 129 10.0
นิสิต/นักศึกษา 230 17.8
อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุ 62 4.8
ตารางที่ 2: ความพึงพอใจผลงานด้านต่างๆ ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
(เรียงลำดับจากคะแนนมากไปน้อย)
คะแนนที่ได้(จากคะแนนเต็ม 10)
1. ด้านความสะอาดและสิ่งแวดล้อม 5.46
2. ด้านอนามัยและสาธารณสุข 5.44
3. ด้านการศึกษาและพัฒนาคน 5.30
4. ด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมอาชีพ 5.00
5. ด้านการจราจรและขนส่งมวลชน 4.66
เฉลี่ยรวม 5.17
ตารางที่ 3: ความพึงพอใจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
(เรียงลำดับจากคะแนนมากไปน้อย)
คะแนนที่ได้(จากคะแนนเต็ม 10)
1. ความขยันทุ่มเทในการทำงาน 6.26
2. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 5.72
3. ความซื่อสัตย์โปร่งใส 5.62
4. ความฉับไวในการแก้ปัญหา 5.48
5. การทำงานให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม 5.46
เฉลี่ยรวม 5.71
ตารางที่ 4: เปรียบเทียบผลงานในช่วง 2 ปีที่ผ่านมากับความคาดหวังตอนที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม.
จำนวน ร้อยละ
ดีกว่าที่คาดหวังไว้ 207 16.0
พอๆ กับที่คาดหวังไว้ 737 57.1
แย่กว่าที่คาดหวังไว้ 346 26.8
ตารางที่ 5: ความเชื่อมั่นว่าผู้ว่าฯ อภิรักษ์ จะสามารถทำให้เป้าหมายที่วางไว้ 3 ประการบรรลุผลสำเร็จได้
เชื่อว่าทำได้ เชื่อว่าทำไม่ได้ ไม่แน่ใจ
1. ทำให้ กทม. เป็นองค์กรที่ให้บริการที่ดีที่สุดแก่ประชาชน 48.3(623) 33.0(426) 18.7(241)
2. ผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัยได้มาตรฐาน
เทียบเท่ามหานครระดับโลก 27.5(355) 55.9(721) 16.6(214)
3. พัฒนาข้าราชการและลูกจ้างของ กทม.ให้มีคุณภาพ 47.2(609) 35.4(457) 17.4(224)
ตารางที่ 6: ปัญหาที่ต้องการให้ผู้ว่าฯ อภิรักษ์แก้ไขโดยเร่งด่วนเป็นอันดับแรก
(เปรียบเทียบระหว่างช่วงครบรอบการทำงาน 1 ปี กับ 2 ปี โดยเป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเองเพียงคนละ 1 ปัญหา)
ช่วงครบรอบ 1 ปี(ร้อยละ) ช่วงครบรอบ 2 ปี(ร้อยละ) การเปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)
1. ปัญหาการจราจร 54.9 59.5 + 4.5
2. ปัญหาความปลอดภัยและคุณภาพชีวิต 16.7 18.8 + 2.1
3. ปัญหาการทุจริตใน กทม. 4.2 9.1 + 4.9
4. ปัญหาน้ำท่วม 4.6 4.7 + 0.1
5. ปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อม 11.4 4.5 - 6.9
6. ปัญหาหาบเร่แผงลอย 7.3 1.5 - 5.8
7. อื่นๆ อาทิ ปัญหาคนจรจัด ปัญหาการว่างงาน ฯลฯ 0.9 1.9 +1.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-