องค์ประกอบสำคัญของการพัฒนากีฬาฟุตบอลไทยไปสู่การแข่งขันฟุตบอลโลกคือฟุตบอลลีกอาชีพ ซึ่งการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ที่กำลังจะเสร็จสิ้นไปนี้ได้ตั้งเป้าหมายเพื่อยกระดับมาตรฐานวงการฟุตบอลของไทยให้เป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้นเพื่อหวังพัฒนาทีมฟุตบอลไทยไปสู่ฟุตบอลโลก ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจเรื่อง “ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก กับความหวังพัฒนาฟุตบอลไทยไปบอลโลก” ขึ้นเพื่อสะท้อนความคิดเห็นและความเชื่อมั่นของแฟนฟุตบอลชาวไทยที่มีต่อวงการฟุตบอลไทย โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่สนใจติดตามข่าวการแข่งขันฟุตบอล จำนวน 426 คน เมื่อวันที่ 1-4 ตุลาคมที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
ติดตามชม ร้อยละ 94.4
(ส่วนใหญ่รับชมจากสื่อ โทรทัศน์ รองลงมาคือ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต วิทยุ และไปชมที่สนามแข่งขัน ตามลำดับ)
ไม่ได้ติดตามชม ร้อยละ 5.6 2. ความสนใจติดตามชมการถ่ายทอดสดศึกฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกถ้ามีการถ่ายทอดสดในฤดูกาลหน้า จะติดตามชม ร้อยละ 95.8
(โดยในจำนวนนี้ตั้งใจว่าจะติดตามชมทุกแมตช์ร้อยละ 25.6 และจะติดตามชมบางแมตช์ร้อยละ 70.2)
จะไม่ติดตามชม ร้อยละ 4.2
(เนื่องจาก ไม่สนใจทีมฟุตบอลไทย รองลงมาคือ ไม่มีเวลาเนื่องจากต้องทำงาน)
อันดับ 1 ชลบุรี เอฟซี ร้อยละ 30.8 อันดับ 2 เมืองทองฯ ยูไนเต็ด ร้อยละ 28.7 อันดับ 3 บางกอกกล๊าส เอฟซี ร้อยละ 13.4 4. สิ่งที่ควรแก้ไข / พัฒนามากที่สุดเพื่อยกมาตรฐานฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก (5 อันดับแรก) คือ อันดับ 1 มาตรฐานการตัดสินของกรรมการ / ไลน์แมน ร้อยละ 22.6 อันดับ 2 ทักษะ และความเป็นมืออาชีพของนักเตะ ร้อยละ 16.0 อันดับ 3 มารยาทแฟนบอล กองเชียร์ ร้อยละ 12.6 อันดับ 4 มาตรฐานของสนามฟุตบอล ร้อยละ 12.3 อันดับ 5 การประชาสัมพันธ์ การถ่ายทอดสด ร้อยละ 10.0 5. ความคิดเห็นเรื่องความเหมาะสมสำหรับการให้มิสเตอร์ไบรอัน ร็อบสันคุมทีมชาติไทย เห็นว่าเหมาะสม ร้อยละ 56.3 เห็นว่าไม่เหมาะสม ร้อยละ 12.9
(โดยกลุ่มที่คิดว่าไม่เหมาะสมเห็นว่าคนที่เหมาะสมที่จะคุมทีมชาติไทยน่าจะเป็นคนไทย โดยส่วนใหญ่คิดว่า
น่าจะเป็น ชาญวิทย์ ผลชีวิน รองลงมาคือ ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน)
ไม่ทราบ ร้อยละ 30.8 6. ความเชื่อมั่นว่าฟุตบอลทีมชาติไทยจะสามารถพัฒนาไปสู่บอลโลกได้ เชื่อว่าได้ ร้อยละ 66.2
(โดยในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เชื่อว่าจะได้ไปภายในเวลา 12 ปี ซึ่งตรงกับฟุตบอลโลกปี 2022)
ไม่เชื่อว่าจะได้ ร้อยละ 33.8 7. ความคิดเห็นต่อเรื่องการเปิดโต๊ะให้เล่นพนันฟุตบอลแบบถูกกฎหมาย เห็นด้วย ร้อยละ 54.5
(โดยในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เห็นว่ารัฐบาลควรนำเงินกำไรที่ได้ไปใช้พัฒนาวงการฟุตบอลไทยร้อยละ 24.2
รองลงมาคือ ใช้พัฒนาวงการกีฬาร้อยละ 15.9 และใช้พัฒนาประเทศร้อยละ 14.4)
ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 34.5 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 11.0
รายละเอียดในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มประชาชนที่สนใจในกีฬาฟุตบอล อายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากสนาม กีฬาและลานกีฬาต่างๆ ทั้งสิ้น 15 แห่ง ได้แก่ สนามกีฬาการท่าเรือ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติบางมด สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติคลองหก สนามกีฬา สมุทรปราการ สนามศุภชลาศัย สนามธันเดอร์โดม เมืองทองธานี สนามกีฬาไทยญี่ปุ่น-ดินแดง สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (วิทยาเขตรังสิต) สนามกีฬาคลองจั่น สนามกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) สนามฟุตซอลวิทยาลัยดุสิตธานี ลานกีฬาใต้สะพานพระราม 8 ลานกีฬาตะวันนาพลาซ่า สวน สมเด็จสราญราษฎร์มณีรมย์ และสนามฟุตซอลเขตบึงกุ่ม ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 426 คน
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึก ข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 1 — 4 ตุลาคม 2552 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 7 ตุลาคม 2552
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 396 93.0 หญิง 30 7.0 รวม 426 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 204 47.9 26 - 35 ปี 142 33.3 36 - 45 ปี 58 13.6 46 ปีขึ้นไป 22 5.2 รวม 426 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 244 57.3 ปริญญาตรี 162 38.0 สูงกว่าปริญญาตรี 20 4.7 รวม 426 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 36 8.5 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 154 36.1 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 60 14.1 รับจ้างทั่วไป 31 7.3 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 4 0.9 อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 141 33.1 รวม 426 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--