กรุงเทพโพลล์: 14 ตุลา ในมุมมองนิสิตนักศึกษายุคปัจจุบัน

ข่าวผลสำรวจ Tuesday October 13, 2009 10:44 —กรุงเทพโพลล์

กรุงเทพโพลล์เผยผลสำรวจ พบนิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่ทราบถึงความสำคัญของวันที่ 14 ตุลาคม แต่ยังคงเห็นว่านิสิตนักศึกษาควรมีบทบาทและมีส่วนร่วมทางการเมือง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิสา ประวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) กล่าวว่า วันที่ 14 ตุลาคม เป็นวันที่นิสิตนักศึกษาไทยเคยมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงอันนำมาซึ่งการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยเช่นในปัจจุบัน นิสิตนักศึกษาในยุคนั้นจึงเป็นทั้งผู้นำความคิดและเป็นความหวังของคนในชาติ แต่ปัจจุบันข่าวคราวส่วนใหญ่เกี่ยวกับนิสิตนักศึกษาที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ กลับทำให้หลายฝ่ายเกิดคำถามว่า เราจะยังคงฝากอนาคตของประเทศชาติไว้กับนิสิตนักศึกษาซึ่งเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้หรือไม่ ในโอกาสวันที่ 14 ตุลาคม ได้เวียนมาถึง ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษาในประเด็นดังกล่าว โดยเก็บข้อมูลจากนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,003 คน เมื่อวันที่ 22 — 27 กันยายน 2552 สรุปผลได้ดังนี้

1. การรับทราบถึงความสำคัญของวันที่ 14 ตุลาคม ของนิสิตนักศึกษาไทยในปัจจุบัน พบว่า
          - ทราบ                                          ร้อยละ 45.3
          - ไม่ทราบ                                        ร้อยละ 54.7

2.  การให้ความสำคัญกับวันที่ 14 ตุลาคม (เฉพาะผู้ที่ทราบถึงความสำคัญของวันดังกล่าว)
          - ให้ความสำคัญมากที่สุด                              ร้อยละ 7.5
          - ให้ความสำคัญค่อนข้างมาก                           ร้อยละ 26.9
          - ให้ความสำคัญปานกลาง                             ร้อยละ 45.8
          - ให้ความสำคัญค่อนข้างน้อย                           ร้อยละ 16.7
          - ไม่ให้ความสำคัญเลย                               ร้อยละ 3.1

3.  เนื้อหาการพูดคุยในกลุ่มเพื่อนนิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่
          -  เรื่องการเรียน                                  ร้อยละ 26.79
          -  เรื่องกิน เที่ยว ช้อปปิ้ง บันเทิง แฟชั่น                 ร้อยละ 22.14
          -  เรื่องอาชีพการงานในอนาคต                        ร้อยละ 17.18
          -  เรื่องความรัก แฟน                               ร้อยละ 13.27
          -  เรื่องปัญหาสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ                     ร้อยละ 6.79
          -  เรื่องการทำกิจกรรมเพื่อสังคม                       ร้อยละ 6.30
          -  เรื่องการเมือง                                  ร้อยละ 6.09
          -  อื่นๆ อาทิ กีฬา เกม และชีวิตประจำวันทั่วไป ฯลฯ        ร้อยละ 1.44

4.   ความคิดเห็นต่อบทบาทการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของนิสิตนักศึกษา
          - เห็นว่านิสิตนักศึกษาควรมีบทบาทหรือมีส่วนร่วม             ร้อยละ 65.5

(โดยให้เหตุผลว่า นิสิตนักศึกษามีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นของตน เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนทางสังคม จะได้รู้ทันเหตุการณ์บ้านเมือง เป็นบทบาทหน้าที่ในฐานะพลเมืองของรัฐ เพื่อสะท้อนมุมมองทางการเมืองจากคนรุ่นใหม่ ฯลฯ)

          - เห็นว่านิสิตนักศึกษาไม่ควรมีบทบาทหรือมีส่วนร่วม           ร้อยละ 34.5

(โดยในจำนวนนี้เห็นว่าควรเป็นหน้าที่ของ รัฐบาลและนักการเมืองร้อยละ 28.7 เป็นของผู้ใหญ่ที่ทำงานแล้วร้อยละ 4.7 อื่นๆ อาทิ เป็นของผู้มีอำนาจโดยชอมธรรมร้อยละ 1.1)

5. การให้ความสนใจติดตามข่าวสารในด้านต่างๆ ที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาสังคมไทย
                                                                สนใจ        ไม่สนใจ
          ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ภาวะโลกร้อน และมลพิษต่างๆ            90.9           9.1
          ปัญหายาเสพติด และการใช้ความรุนแรงในสังคม                   88.3          11.7
          สภาวะเศรษฐกิจและปัญหาการว่างงาน                          87.1          12.9
          ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้                               79.5          20.5
          ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาสในสังคม                        77.7          22.3
          เรื่องราวความสำเร็จของเยาวชนไทยในการแข่งขันในเวทีโลก        77.5          22.5
          ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางการเมือง                       73.0          27.0
          ศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก                    71.5          28.5
          ปัญหาการผลิตและส่งออกสินค้าการเกษตรของไทย                  66.7          33.3

6.   การเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคม เช่น โครงการรณรงค์ต่างๆ การออกค่ายอาสา การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ฯลฯ ในระหว่างที่เป็นนิสิตนักศึกษา พบว่า
          - เคยเข้าร่วม                      ร้อยละ  70.6

เนื่องจาก

                    ต้องการหาประสบการณ์เพิ่มเติม                             ร้อยละ 23.3
                    ต้องการมีส่วนร่วมช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติ                ร้อยละ 20.9
                    เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่มีคะแนน                          ร้อยละ 13.1
                    ต้องการมีเพื่อน มีสังคม                                   ร้อยละ 10.1
                    ต้องการรางวัล                                         ร้อยละ  2.0
                    อื่นๆ อาทิ อยากไปเที่ยว สนุกสนาน ชอบ                      ร้อยละ  1.2

          - ไม่เคยเข้าร่วม                    ร้อยละ   29.4

เนื่องจาก

                    มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและการเดินทาง                         ร้อยละ  8.6
                    มีภาระด้านการเรียนมากอยู่แล้ว                             ร้อยละ  7.2
                    ไม่ทราบข้อมูลรายละเอียด                                 ร้อยละ  7.0
                    ไม่มีกิจกรรมที่น่าสนใจ และมองไม่เห็นประโยชน์                 ร้อยละ  3.3
                    มีภาระค่าใช้จ่าย                                        ร้อยละ  2.8
                    อื่นๆ อาทิ ไม่ว่าง ไม่ชอบทำกิจกรรม                         ร้อยละ  0.5

7.  เรื่องที่ทำให้นิสิตนักศึกษาภาคภูมิใจในตัวเองมากที่สุด คือ
          -  การมีงานทำ มีรายได้เลี้ยงตัวเอง ไม่ต้องเป็นภาระของพ่อแม่              ร้อยละ 63.6
          - การได้ทำประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวม                                 ร้อยละ 20.8
          - การมีเงิน มีฐานะร่ำรวย                                          ร้อยละ 9.9
          - การเป็นคนดัง มีชื่อเสียง                                          ร้อยละ 3.5
  • อื่นๆ อาทิ เป็นคนดีของพ่อแม่ สามารถเลี้ยงดูพ่อแม่ได้-
            ไม่เป็นภาระของสังคม ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ฯลฯ                       ร้อยละ 2.2

รายละเอียดในการสำรวจ

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างนิสิตนักศึกษาในระดับชั้นปีที่ 1 — ปีที่ 4 ที่ศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชนทั่วประเทศด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยในแต่ละภาคจะสุ่มจังหวัดขึ้นมาเป็นตัวแทน จากนั้นจึงสุ่มสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนั้นๆ ได้จำนวนสถาบันอุดมศึกษาทั้งสิ้น 28 แห่ง โดยเป็นสถาบันของรัฐ 21 แห่ง และเอกชน 7 แห่ง ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,003 คน

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/-4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  22 - 27 กันยายน 2552

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :  13 ตุลาคม 2552

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                         จำนวน          ร้อยละ
เพศ
            ชาย            510          50.8
            หญิง            493          49.2
          รวม            1,003         100.0

การศึกษา
             ปีที่ 1          272          27.2
             ปีที่ 2          242          24.1
             ปีที่ 3          244          24.3
             ปีที่ 4          245          24.4
          รวม            1,003         100.0

ประเภทของสถาบัน
             รัฐ            703          70.3
             เอกชน         300          29.7
          รวม            1,003         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ