ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิสา ประวิชัย หัวหน้าศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ว่าที่ กก
ต. ชุดใหม่ในความเห็นของประชาชน” โดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 11-12 สิงหาคมที่ผ่านมาจากประชาชนอายุ 21 ปีขึ้นไปที่ทำงานในหน่วยงานต่างๆ ทั้ง
ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจเอกชน และหน่วยงานสาธารณกุศลในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 55 แห่ง โดยเลือกสอบถามเฉพาะผู้ที่ติดตามข่าว
การคัดเลือก กกต. ชุดใหม่ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,377 คน เป็นเพศชายร้อยละ 46.4 และเพศหญิงร้อยละ 53.6 สรุปผลได้ดังนี้
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 84.7 ระบุว่าพอใจผลการคัดเลือกผู้สมัคร กกต. ของศาลฎีกา มีเพียงร้อยละ 15.3 ที่ไม่พอใจ และเมื่อ
ถามถึงความชัดเจนโปร่งใสของกระบวนการรับสมัครและคัดเลือก กกต. ที่ผ่านมาของศาลฎีกา ร้อยละ 70.7 เห็นว่ามีความชัดเจนโปร่งใส ขณะที่ร้อย
ละ 28.9 เห็นว่าไม่ชัดเจนโปร่งใส และร้อยละ 0.4 ไม่แน่ใจ
ส่วนความเชื่อมั่นในความชัดเจนโปร่งใสของกระบวนการคัดเลือก กกต. ของวุฒิสภาชุดรักษาการที่จะดำเนินการต่อจากศาลฎีกานั้น
ประชาชนร้อยละ 53.0 ระบุว่าไม่เชื่อมั่น ขณะที่ร้อยละ 47.0 ระบุว่าเชื่อมั่น
อย่างไรก็ตามประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 55.0 ก็ยังมั่นใจว่าประเทศไทยจะได้ กกต. ชุดใหม่ที่เป็นอิสระจากพรรคการเมือง ขณะที่ร้อย
ละ 45.0 ไม่มั่นใจ
สำหรับรายชื่อบุคคล 5 ท่านที่ประชาชนเห็นว่าสมควรได้รับการคัดเลือกให้เป็น กกต. ชุดใหม่ เรียงลำดับจากผู้ได้คะแนนมากไปหาน้อย ดังนี้
1. นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตสมาชิกวุฒิสภา
2. นายอุดม เฟื่องฟุ้ง ผู้พิพากษาอาวุโสศาลอาญา
3. นายนาม ยิ้มแย้ม อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุธรณ์ภาค 1
4. นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานแผนกคดีแรงงานศาลฎีกา
5. นายวิชา มหาคุณ ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวศาลฎีกา
ส่วนความเชื่อมั่นว่า กกต. ชุดใหม่จะทำให้การเลือกตั้งครั้งต่อไปมีความบริสุทธิ์ยุติธรรมได้หรือไม่นั้น ร้อยละ 58.9 เชื่อมั่นว่า กกต. ชุด
ใหม่จะทำให้การเลือกตั้งมีความบริสุทธิ์ยุติธรรมได้ ขณะที่ร้อยละ 16.7 ไม่เชื่อมั่น โดยให้เหตุผลว่ากกต. ชุดใหม่จะถูกแทรกแซงจากพรรคการเมือง
ตามไม่ทันกลโกงของนักการเมือง มีเวลาเตรียมการเลือกตั้งน้อยเกินไป คณะทำงานระดับล่างยังเป็นชุดเดิม และขาดประสบการณ์ในการจัดการเลือก
ตั้ง และร้อยละ 24.4 ไม่แน่ใจ
สำหรับเรื่องที่ต้องการให้ กกต. ชุดใหม่จับตาดูเป็นพิเศษในการเลือกตั้งวันที่ 15 ตุลาคมที่จะถึงนี้ อันดับแรกคือเรื่องการแอบแฝงใช้งบ
ประมาณของชาติไปหาเสียง (ร้อยละ 44.2) รองลงมาคือเรื่องการใช้ข้าราชการประจำเป็นเครื่องมือในการหาเสียง (ร้อยละ 28.9) เรื่องงบ
ประมาณค่าใช้จ่ายในการหาเสียงของผู้สมัครแต่ละพรรค (ร้อยละ 18.9) และเรื่องอื่นๆ อาทิ เรื่องการซื้อเสียง และวิธีการลงคะแนน (ร้อยละ
8.0)
เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อประเด็นเรื่องการเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปเป็นหลังวันที่ 15 ตุลาคม 2549 ร้อยละ 64.8 เห็นว่าไม่ควรเลื่อน
วันเลือกตั้ง ขณะที่ร้อยละ 35.2 เห็นว่าควรเลื่อนวันเลือกตั้ง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ผศ. สุนิสา ประวิชัย หัวหน้าศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
โทรศัพท์เคลื่อนที่ 0-1458-6741
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่สนใจติดตามข่าวการคัดเลือกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กก
ต.) ชุดใหม่ ในประเด็นต่อไปนี้
1. ความพึงพอใจต่อผลการคัดเลือกผู้สมัคร กกต. ของศาลฎีกา
2. ความคิดเห็นต่อความชัดเจนโปร่งใสในกระบวนการรับสมัครและคัดเลือก กกต. ที่ผ่านมาของศาลฎีกา
3. ความเชื่อมั่นในความชัดเจนโปร่งใสของกระบวนการคัดเลือก กกต. ของวุฒิสภา
4. ความมั่นใจในความเป็นอิสระจากพรรคการเมืองของ กกต. ชุดใหม่
5. รายชื่อผู้ที่ประชาชนเห็นว่าสมควรได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่ง กกต. ชุดใหม่
6. ความเชื่อมั่นต่อการที่ กกต. ชุดใหม่จะทำให้การเลือกตั้งครั้งต่อไปมีความบริสุทธิ์ยุติธรรม
7. เรื่องที่ต้องการให้ กกต. ชุดใหม่จับตาดูเป็นพิเศษในการจัดการเลือกตั้งที่จะถึงนี้
8. ความคิดเห็นต่อประเด็นเรื่องการเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปเป็นหลังวันที่ 15 ตุลาคม 2549
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 21 ปีขึ้นไปที่ทำงานในหน่วยงานรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจเอกชน และหน่วยงานสาธารณกุศล
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 55 แห่ง โดยเลือกเฉพาะผู้ที่ติดตามข่าวเรื่องการคัดเลือกคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ ได้กลุ่ม
ตัวอย่างทั้งสิ้น 1,377 คน เป็นเพศชายร้อยละ 46.4 และเพศหญิงร้อยละ 53.6
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 11-12 สิงหาคม 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 13 สิงหาคม 2549
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 639 46.4
หญิง 738 53.6
อายุ
21-30 ปี 554 40.2
31-40 ปี 488 35.5
41-50 ปี 256 18.6
51 ปีขึ้นไป 79 5.7
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 266 19.3
ปริญญาตรี 962 69.9
สูงกว่าปริญญาตรี 149 10.8
สถานที่ทำงาน
หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ 631 45.8
หน่วยงานธุรกิจเอกชน 732 53.2
หน่วยงานสาธารณกุศล 14 1.0
รวม 1,377 100.0
ตารางที่ 2: ความพึงพอใจต่อผลการคัดเลือกผู้สมัคร กกต. 10 คนของศาลฎีกา
จำนวน ร้อยละ
พอใจ 1,166 84.7
ไม่พอใจ 211 15.3
ตารางที่ 3: ความคิดเห็นต่อความชัดเจนโปร่งใสในกระบวนการรับสมัครและคัดเลือก กกต. ที่ผ่านมาของศาลฎีกา
จำนวน ร้อยละ
เห็นว่าชัดเจนโปร่งใส 973 70.7
เห็นว่าไม่ชัดเจนโปร่งใส 399 28.9
ไม่แน่ใจ 5 0.4
ตารางที่ 4: ความเชื่อมั่นในความชัดเจนโปร่งใสของกระบวนการคัดเลือก กกต. ของวุฒิสภา
จำนวน ร้อยละ
เชื่อมั่น 647 47.0
ไม่เชื่อมั่น 730 53.0
ตารางที่ 5: ความมั่นใจว่าประเทศไทยจะได้ กกต. ชุดใหม่ที่เป็นอิสระจากพรรคการเมือง
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 757 55.0
ไม่มั่นใจ 620 45.0
ตารางที่ 6: รายชื่อผู้ที่สมควรได้รับการคัดเลือกให้เป็น กกต. ชุดใหม่
(เรียงลำดับจากคะแนนมากไปหาน้อย โดยการให้ผู้ตอบเลือกผู้ที่คิดว่าเหมาะสมจำนวน 5 คนจาก 10 คน)
คะแนนที่ได้
1. นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตสมาชิกวุฒิสภา 1,059
2. นายอุดม เฟื่องฟุ้ง ผู้พิพากษาอาวุโสศาลอาญา 903
3. นายนาม ยิ้มแย้ม อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุธรณ์ภาค 1 876
4. นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานแผนกคดีแรงงานศาลฎีกา 738
5. นายวิชา มหาคุณ ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวศาลฎีกา 700
6. นางสดศรี สัตยธรรม ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลอาญา 638
7. นายประพันธ์ นัยโกวิท รองอัยการสูงสุด 562
8. นายสมชัย จึงประเสริฐ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา 506
9. นายสุเมธ อุปนิสากร ผู้พิพากษาอาวุโสศาลอาญา 473
10.นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมศาลฎีกา 430
ตารางที่ 7: ความเชื่อมั่นว่า กกต. ชุดใหม่จะทำให้การเลือกตั้งมีความบริสุทธิ์ยุติธรรมได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ได้ 811 58.9
ไม่ได้ เพราะ 230 16.7
- ถูกพรรคการเมืองแทรกแซง
- ตามไม่ทันกลโกงของนักการเมือง
- มีเวลาเตรียมการเลือกตั้งน้อยเกินไป
- คณะทำงานระดับล่างยังเป็นชุดเดิม
- ขาดประสบการณ์ในการจัดการเลือกตั้ง
ไม่แน่ใจ 336 24.4
ตารางที่ 8: เรื่องที่ต้องการให้ กกต. ชุดใหม่จับตาดูเป็นพิเศษในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้
จำนวน ร้อยละ
เรื่องการแอบแฝงใช้งบประมาณของชาติไปหาเสียง 609 44.2
เรื่องการใช้ข้าราชการประจำเป็นเครื่องมือในการหาเสียง 398 28.9
เรื่องค่าใช้จ่ายในการหาเสียงของแต่ละพรรค 260 18.9
อื่นๆ อาทิ เรื่องการซื้อเสียงจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง และวิธีการลงคะแนน 110 8.0
ตารางที่ 9: ความคิดเห็นต่อการเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปเป็นหลังวันที่ 15 ตุลาคม 2549
จำนวน ร้อยละ
ควรเลื่อนวันเลือกตั้ง 485 35.2
ไม่ควรเลื่อนวันเลือกตั้ง 892 64.8
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
ต. ชุดใหม่ในความเห็นของประชาชน” โดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 11-12 สิงหาคมที่ผ่านมาจากประชาชนอายุ 21 ปีขึ้นไปที่ทำงานในหน่วยงานต่างๆ ทั้ง
ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจเอกชน และหน่วยงานสาธารณกุศลในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 55 แห่ง โดยเลือกสอบถามเฉพาะผู้ที่ติดตามข่าว
การคัดเลือก กกต. ชุดใหม่ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,377 คน เป็นเพศชายร้อยละ 46.4 และเพศหญิงร้อยละ 53.6 สรุปผลได้ดังนี้
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 84.7 ระบุว่าพอใจผลการคัดเลือกผู้สมัคร กกต. ของศาลฎีกา มีเพียงร้อยละ 15.3 ที่ไม่พอใจ และเมื่อ
ถามถึงความชัดเจนโปร่งใสของกระบวนการรับสมัครและคัดเลือก กกต. ที่ผ่านมาของศาลฎีกา ร้อยละ 70.7 เห็นว่ามีความชัดเจนโปร่งใส ขณะที่ร้อย
ละ 28.9 เห็นว่าไม่ชัดเจนโปร่งใส และร้อยละ 0.4 ไม่แน่ใจ
ส่วนความเชื่อมั่นในความชัดเจนโปร่งใสของกระบวนการคัดเลือก กกต. ของวุฒิสภาชุดรักษาการที่จะดำเนินการต่อจากศาลฎีกานั้น
ประชาชนร้อยละ 53.0 ระบุว่าไม่เชื่อมั่น ขณะที่ร้อยละ 47.0 ระบุว่าเชื่อมั่น
อย่างไรก็ตามประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 55.0 ก็ยังมั่นใจว่าประเทศไทยจะได้ กกต. ชุดใหม่ที่เป็นอิสระจากพรรคการเมือง ขณะที่ร้อย
ละ 45.0 ไม่มั่นใจ
สำหรับรายชื่อบุคคล 5 ท่านที่ประชาชนเห็นว่าสมควรได้รับการคัดเลือกให้เป็น กกต. ชุดใหม่ เรียงลำดับจากผู้ได้คะแนนมากไปหาน้อย ดังนี้
1. นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตสมาชิกวุฒิสภา
2. นายอุดม เฟื่องฟุ้ง ผู้พิพากษาอาวุโสศาลอาญา
3. นายนาม ยิ้มแย้ม อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุธรณ์ภาค 1
4. นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานแผนกคดีแรงงานศาลฎีกา
5. นายวิชา มหาคุณ ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวศาลฎีกา
ส่วนความเชื่อมั่นว่า กกต. ชุดใหม่จะทำให้การเลือกตั้งครั้งต่อไปมีความบริสุทธิ์ยุติธรรมได้หรือไม่นั้น ร้อยละ 58.9 เชื่อมั่นว่า กกต. ชุด
ใหม่จะทำให้การเลือกตั้งมีความบริสุทธิ์ยุติธรรมได้ ขณะที่ร้อยละ 16.7 ไม่เชื่อมั่น โดยให้เหตุผลว่ากกต. ชุดใหม่จะถูกแทรกแซงจากพรรคการเมือง
ตามไม่ทันกลโกงของนักการเมือง มีเวลาเตรียมการเลือกตั้งน้อยเกินไป คณะทำงานระดับล่างยังเป็นชุดเดิม และขาดประสบการณ์ในการจัดการเลือก
ตั้ง และร้อยละ 24.4 ไม่แน่ใจ
สำหรับเรื่องที่ต้องการให้ กกต. ชุดใหม่จับตาดูเป็นพิเศษในการเลือกตั้งวันที่ 15 ตุลาคมที่จะถึงนี้ อันดับแรกคือเรื่องการแอบแฝงใช้งบ
ประมาณของชาติไปหาเสียง (ร้อยละ 44.2) รองลงมาคือเรื่องการใช้ข้าราชการประจำเป็นเครื่องมือในการหาเสียง (ร้อยละ 28.9) เรื่องงบ
ประมาณค่าใช้จ่ายในการหาเสียงของผู้สมัครแต่ละพรรค (ร้อยละ 18.9) และเรื่องอื่นๆ อาทิ เรื่องการซื้อเสียง และวิธีการลงคะแนน (ร้อยละ
8.0)
เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อประเด็นเรื่องการเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปเป็นหลังวันที่ 15 ตุลาคม 2549 ร้อยละ 64.8 เห็นว่าไม่ควรเลื่อน
วันเลือกตั้ง ขณะที่ร้อยละ 35.2 เห็นว่าควรเลื่อนวันเลือกตั้ง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ผศ. สุนิสา ประวิชัย หัวหน้าศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
โทรศัพท์เคลื่อนที่ 0-1458-6741
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่สนใจติดตามข่าวการคัดเลือกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กก
ต.) ชุดใหม่ ในประเด็นต่อไปนี้
1. ความพึงพอใจต่อผลการคัดเลือกผู้สมัคร กกต. ของศาลฎีกา
2. ความคิดเห็นต่อความชัดเจนโปร่งใสในกระบวนการรับสมัครและคัดเลือก กกต. ที่ผ่านมาของศาลฎีกา
3. ความเชื่อมั่นในความชัดเจนโปร่งใสของกระบวนการคัดเลือก กกต. ของวุฒิสภา
4. ความมั่นใจในความเป็นอิสระจากพรรคการเมืองของ กกต. ชุดใหม่
5. รายชื่อผู้ที่ประชาชนเห็นว่าสมควรได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่ง กกต. ชุดใหม่
6. ความเชื่อมั่นต่อการที่ กกต. ชุดใหม่จะทำให้การเลือกตั้งครั้งต่อไปมีความบริสุทธิ์ยุติธรรม
7. เรื่องที่ต้องการให้ กกต. ชุดใหม่จับตาดูเป็นพิเศษในการจัดการเลือกตั้งที่จะถึงนี้
8. ความคิดเห็นต่อประเด็นเรื่องการเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปเป็นหลังวันที่ 15 ตุลาคม 2549
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 21 ปีขึ้นไปที่ทำงานในหน่วยงานรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจเอกชน และหน่วยงานสาธารณกุศล
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 55 แห่ง โดยเลือกเฉพาะผู้ที่ติดตามข่าวเรื่องการคัดเลือกคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ ได้กลุ่ม
ตัวอย่างทั้งสิ้น 1,377 คน เป็นเพศชายร้อยละ 46.4 และเพศหญิงร้อยละ 53.6
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 11-12 สิงหาคม 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 13 สิงหาคม 2549
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 639 46.4
หญิง 738 53.6
อายุ
21-30 ปี 554 40.2
31-40 ปี 488 35.5
41-50 ปี 256 18.6
51 ปีขึ้นไป 79 5.7
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 266 19.3
ปริญญาตรี 962 69.9
สูงกว่าปริญญาตรี 149 10.8
สถานที่ทำงาน
หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ 631 45.8
หน่วยงานธุรกิจเอกชน 732 53.2
หน่วยงานสาธารณกุศล 14 1.0
รวม 1,377 100.0
ตารางที่ 2: ความพึงพอใจต่อผลการคัดเลือกผู้สมัคร กกต. 10 คนของศาลฎีกา
จำนวน ร้อยละ
พอใจ 1,166 84.7
ไม่พอใจ 211 15.3
ตารางที่ 3: ความคิดเห็นต่อความชัดเจนโปร่งใสในกระบวนการรับสมัครและคัดเลือก กกต. ที่ผ่านมาของศาลฎีกา
จำนวน ร้อยละ
เห็นว่าชัดเจนโปร่งใส 973 70.7
เห็นว่าไม่ชัดเจนโปร่งใส 399 28.9
ไม่แน่ใจ 5 0.4
ตารางที่ 4: ความเชื่อมั่นในความชัดเจนโปร่งใสของกระบวนการคัดเลือก กกต. ของวุฒิสภา
จำนวน ร้อยละ
เชื่อมั่น 647 47.0
ไม่เชื่อมั่น 730 53.0
ตารางที่ 5: ความมั่นใจว่าประเทศไทยจะได้ กกต. ชุดใหม่ที่เป็นอิสระจากพรรคการเมือง
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 757 55.0
ไม่มั่นใจ 620 45.0
ตารางที่ 6: รายชื่อผู้ที่สมควรได้รับการคัดเลือกให้เป็น กกต. ชุดใหม่
(เรียงลำดับจากคะแนนมากไปหาน้อย โดยการให้ผู้ตอบเลือกผู้ที่คิดว่าเหมาะสมจำนวน 5 คนจาก 10 คน)
คะแนนที่ได้
1. นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตสมาชิกวุฒิสภา 1,059
2. นายอุดม เฟื่องฟุ้ง ผู้พิพากษาอาวุโสศาลอาญา 903
3. นายนาม ยิ้มแย้ม อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุธรณ์ภาค 1 876
4. นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานแผนกคดีแรงงานศาลฎีกา 738
5. นายวิชา มหาคุณ ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวศาลฎีกา 700
6. นางสดศรี สัตยธรรม ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลอาญา 638
7. นายประพันธ์ นัยโกวิท รองอัยการสูงสุด 562
8. นายสมชัย จึงประเสริฐ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา 506
9. นายสุเมธ อุปนิสากร ผู้พิพากษาอาวุโสศาลอาญา 473
10.นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมศาลฎีกา 430
ตารางที่ 7: ความเชื่อมั่นว่า กกต. ชุดใหม่จะทำให้การเลือกตั้งมีความบริสุทธิ์ยุติธรรมได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ได้ 811 58.9
ไม่ได้ เพราะ 230 16.7
- ถูกพรรคการเมืองแทรกแซง
- ตามไม่ทันกลโกงของนักการเมือง
- มีเวลาเตรียมการเลือกตั้งน้อยเกินไป
- คณะทำงานระดับล่างยังเป็นชุดเดิม
- ขาดประสบการณ์ในการจัดการเลือกตั้ง
ไม่แน่ใจ 336 24.4
ตารางที่ 8: เรื่องที่ต้องการให้ กกต. ชุดใหม่จับตาดูเป็นพิเศษในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้
จำนวน ร้อยละ
เรื่องการแอบแฝงใช้งบประมาณของชาติไปหาเสียง 609 44.2
เรื่องการใช้ข้าราชการประจำเป็นเครื่องมือในการหาเสียง 398 28.9
เรื่องค่าใช้จ่ายในการหาเสียงของแต่ละพรรค 260 18.9
อื่นๆ อาทิ เรื่องการซื้อเสียงจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง และวิธีการลงคะแนน 110 8.0
ตารางที่ 9: ความคิดเห็นต่อการเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปเป็นหลังวันที่ 15 ตุลาคม 2549
จำนวน ร้อยละ
ควรเลื่อนวันเลือกตั้ง 485 35.2
ไม่ควรเลื่อนวันเลือกตั้ง 892 64.8
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-