กรุงเทพโพลล์: รัฐบาลกับการพยุงหนี้นอกระบบ

ข่าวผลสำรวจ Tuesday November 10, 2009 09:13 —กรุงเทพโพลล์

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ระบุคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลร้อยละ 79 เห็นด้วยกับโครงการพยุงหนี้นอกระบบของ รัฐบาล แม้ส่วนใหญ่จะเห็นว่าการรู้จักวางแผนใช้จ่ายอย่างเหมาะสม ไม่ฟุ่มเฟือย เป็นทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่ดีที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้เป็นหนี้ ร้อยละ 28.7 เคยถูกติดตามทวงหนี้ด้วยวิธีการที่เข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ความเห็นต่อโครงการพยุงหนี้นอกระบบของรัฐบาล ที่เปิดให้ประชาชนผู้เป็นหนี้นอกระบบสามารถกู้เงินจากรัฐบาล เพื่อนำไปชำระหนี้แล้วผ่อนชำระ
กับธนาคารที่เข้าร่วมโครงการในวงเงินไม่เกิน 2 แสนบาทต่อคน
          เห็นด้วย           ร้อยละ  79.0

โดยให้เหตุผลว่า เป็นการช่วยเหลือประชาชนให้ผ่อนชำระด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง และลดปัญหาการถูกทวงหนี้ด้วยวิธีรุนแรง

          ไม่เห็นด้วย         ร้อยละ  21.0

โดยให้เหตุผลว่า เป็นหนี้ส่วนบุคคลก่อขึ้นมาเอง เชื่อว่าแก้ปัญหาหนี้สินไม่ได้ และเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ

2. ความเห็นต่อทางออกหรือแนวทางในการแก้ปัญหาการเป็นหนี้นอกระบบของคนไทยที่ดีที่สุด คือ
          -  การรู้จักวางแผนการใช้จ่ายให้เหมาะสม  ไม่ฟุ่มเฟือย                                     ร้อยละ  51.2
          -  ภาครัฐควรเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น                                         ร้อยละ  28.1
          -  สถาบันการเงิน เช่น  ธนาคาร  ควรกำหนดหลักเกณฑ์การกู้ให้ง่ายขึ้น                         ร้อยละ  16.6
  • อื่นๆ อาทิ มีการปราบปรามเจ้าหนี้นอกระบบอย่างจริงจัง ส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้เสริม เป็นต้น ร้อยละ 4.1
3. เปรียบเทียบสัดส่วนของผู้ที่มีภาระหนี้สินอยู่ในปัจจุบันกับผู้ที่ไม่มีภาระหนี้สิน
          ไม่มีภาระหนี้สิน        ร้อยละ  45.6
          มีภาระหนี้สิน          ร้อยละ  54.4   โดยในจำนวนนี้ประกอบด้วย
                                           - เป็นหนี้ในระบบอย่างเดียว        ร้อยละ  29.2
  • เป็นหนี้นอกระบบอย่างเดียว ร้อยละ 13.6
  • เป็นหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ ร้อยละ 11.6
4. ประสบการณ์ที่ผู้ตอบหรือคนใกล้ชิดเคยถูกติดตามทวงหนี้ด้วยวิธีที่ทำให้เดือดร้อน อับอาย หรือเข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
(สอบถามเฉพาะผู้ที่ระบุว่ามีภาระหนี้สินอยู่ในปัจจุบัน)
          ไม่เคย        ร้อยละ  71.3
          เคย          ร้อยละ  28.7       โดยวิธีการที่พบคือ
                                          - ใช้คำพูดหยาบคาย                              ร้อยละ 14.4
                                          - ข่มขู่ / กรรโชก                               ร้อยละ  6.9
                                          - เปิดเผยข้อมูล  ประจานให้อับอาย                  ร้อยละ  3.6
                                          - ส่งคนติดตาม                                  ร้อยละ  2.3
                                          - อื่นๆ  อาทิ ทำร้ายร่างกาย ทำลายทรัพย์สิน           ร้อยละ  1.5

รายละเอียดในการสำรวจ

ระเบียบวิธีการสำรวจ

ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จำนวน 22 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางขุนเทียน บางเขน บางซื่อ บางรัก บางพลัด ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว สวนหลวง สาทร หลักสี่ และปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี จากนั้นสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายอายุ 25 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,416 คน เป็นชายร้อยละ 48.9 และหญิงร้อยละ 51.1

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูล และประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  7 — 9 พฤศจิกายน 2552

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :  10 พฤศจิกายน 2552

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                       จำนวน         ร้อยละ
เพศ
          ชาย                            692          48.9
          หญิง                            724          51.1
          รวม                          1,416         100.0

อายุ
          25 ปี — 35 ปี                    498          35.2
          36 ปี — 45 ปี                    486          34.3
          45 ปีขึ้นไป                       432          30.5
          รวม                          1,416         100.0

การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                   925          65.3
          ปริญญาตรี                        437          30.9
          สูงกว่าปริญญาตรี                    54           3.8
          รวม                          1,416         100.0

อาชีพ
          ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ      135           9.5
          พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน        480          33.9
          ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว        258          18.2
          รับจ้างทั่วไป                      368          26.0
          พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ       106           7.5
          อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน         69           4.9
          รวม                          1,416         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ