กรุงเทพโพลล์: ความเห็นของผู้เป็นหนี้นอกระบบต่อการเข้าร่วมโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาล

ข่าวผลสำรวจ Friday December 11, 2009 09:31 —กรุงเทพโพลล์

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ระบุผู้เป็นหนี้นอกระบบในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลร้อยละ 50.0 จะไม่เข้าร่วม โครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาล เนื่องจากมีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน คุณสมบัติไม่ตรงตามกำหนด และกลัวไม่ได้รับเงินจริง

ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. ความคิดเห็นต่อโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาล

  • เห็นว่าเป็นโครงการที่ดี................................................................ร้อยละ 75.0
  • เห็นว่าเป็นโครงการที่ไม่ดี..............................................................ร้อยละ 15.4

(เนื่องจาก มีเงื่อนไขและขั้นตอนยุ่งยาก แก้ปัญหาไม่ถูกจุด ปลูกฝังให้คนสร้างหนี้)

  • ไม่แสดงความคิดเห็น..................................................................ร้อยละ 9.6
2. สัดส่วนการเข้าร่วมโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า
  • เข้าร่วมโครงการแล้ว..................................................................ร้อยละ 6.5
  • ยังไม่เข้าร่วมโครงการ แต่ตั้งใจว่าจะเข้าร่วมภายในวันที่ 30 ธันวาคมนี้.............................ร้อยละ 43.5
  • จะไม่เข้าร่วมโครงการ ................................................................ร้อยละ 50.0

เนื่องจาก (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

  • มีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อน ไม่มีเวลาว่างพอ มีหนี้นอกระบบไม่มากนัก.................................ร้อยละ 21.0
  • คุณสมบัติไม่ตรงตามกำหนด เช่น มีภาระหนี้สินเกินกว่า 2 แสนบาท

ไม่มีคนค้ำประกัน ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และรายได้ไม่แน่นอน..................................ร้อยละ 11.6

  • ถูกเจ้าหนี้ข่มขู่ไม่ให้เข้าร่วมโครงการ กลัวถูกเจ้าหนี้ทำร้าย.......................................ร้อยละ 0.7
  • อื่นๆ เช่น กลัวไม่ได้รับเงินจริง คิดว่าโครงการยังไม่มีความแน่นอนชัดเจน

ไม่ทราบรายละเอียดของโครงการที่แน่ชัด และเป็นเงินที่ยืมจากญาติพี่น้อง

เพื่อนสนิท...........................................................................ร้อยละ 16.7

3. เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบระหว่างกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการแล้ว กลุ่มที่ตั้งใจว่าจะเข้าร่วมโครงการ
และกลุ่มที่จะไม่เข้าร่วมโครงการ

ผลการสำรวจพบว่า ผู้ที่ตั้งใจว่าจะเข้าร่วมโครงการมีความเห็นว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ดีมากถึงร้อยละ 88.1 ขณะที่กลุ่มผู้ เข้าร่วมโครงการแล้วกลับเห็นว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ดีเพียงร้อยละ 55.6

ดังรายละเอียดในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบระหว่างกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการแล้ว

กลุ่มที่ตั้งใจว่าจะเข้าร่วมโครงการ และกลุ่มที่จะไม่เข้าร่วมโครงการ

                                      เห็นว่าเป็นโครงการที่ดี     เห็นว่าเป็นโครงการที่ไม่ดี   ไม่แน่ใจ        รวม
เข้าร่วมโครงการแล้ว                              55.6                    33.3          11.1      100.0
ยังไม่เข้าร่วมโครงการ แต่ตั้งใจว่าจะเข้าร่วม            88.1                     6.8           5.1      100.0
จะไม่เข้าร่วมโครงการ                             66.2                    20.6          13.2      100.0
เฉลี่ยรวม                                       75.0                    15.4           9.6      100.0

รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์

เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบ ต่อการเข้าร่วมโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาล และเพื่อ ให้หน่วยงานภาครัฐ สามารถนำผลสำรวจที่ได้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจดำเนินโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

ระเบียบวิธีการสำรวจ

ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเฉพาะผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบ ใน 32 เขต จาก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองสาน จตุจักร จอมทอง ดอนเมือง ดินแดง ตลิ่งชัน ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางขุนเทียน บางเขน บางแค บางซื่อ บางบอน บางพลัด ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระโขนง พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สัมพันธวงศ์ สายไหม หนองจอก หลักสี่ ห้วยขวาง และปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 276 คน เป็นชายร้อยละ 47.8 และหญิงร้อยละ 52.2

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 10% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้วิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน เป็นคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :   9 ธันวาคม 2552

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :  11 ธันวาคม 2552

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                         จำนวน         ร้อยละ
เพศ
            ชาย                            132          47.8
            หญิง                            144          52.2
          รวม                              276         100.0

อายุ
            25 ปี — 35 ปี                     84          30.4
            36 ปี — 45 ปี                     90          32.6
            45 ปีขึ้นไป                       102          37.0
          รวม                              276         100.0

การศึกษา
             ต่ำกว่าปริญญาตรี                  224          81.2
             ปริญญาตรี                        52          18.8
          รวม                              276         100.0

อาชีพ
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ      14           5.1
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน        98          35.6
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว        92          33.3
             รับจ้างทั่วไป                      44          15.9
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ       12           4.3
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน        16           5.8
          รวม                              276         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ