ด้วยวันที่ 20 ธันวาคม ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบ 1 ปี ในการทำงานของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัย กรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ ประเมินผลงาน 1 ปี รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ ” ขึ้น โดยเก็บข้อมูล จากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 11 จังหวัดจากทุกภาคของประเทศ จำนวน 1,660 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.6 เพศหญิงร้อยละ 51.4 เมื่อวันที่ 11 — 14 ธันวาคม ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากการสำรวจเมื่อตอนที่รัฐบาลทำงานครบ 6 เดือน และ 9 เดือน พบว่ามีคะแนนลดลง ดังตารางต่อไปนี้
6 เดือน(คะแนนที่ได้) 9 เดือน(คะแนนที่ได้) 1 ปี (คะแนนที่ได้) ด้านเศรษฐกิจ 3.95 4.17 4.41 ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต 4.13 4.39 3.76 ด้านการต่างประเทศ 4.58 4.15 3.75 ด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย 3.91 3.72 3.71 ด้านความมั่นคงของประเทศ 3.73 3.69 3.73 เฉลี่ยรวม 4.06 4.02 3.87
หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
- อันดับที่ 1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) ร้อยละ 36.9 - อันดับที่ 2 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (รมว.กระทรวงศึกษาธิการ) ร้อยละ 6.2 - อันดับที่ 3 นายกรณ์ จาติกวณิช (รมว.กระทรวงการคลัง) ร้อยละ 6.1 - ไม่ชื่นชอบใครเลย ร้อยละ 36.9 3. ผลงาน หรือโครงการ ของรัฐบาลที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) - โครงการเรียนฟรี 15 ปี ร้อยละ 17.3 - โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงานสร้างอาชีพ ร้อยละ 11.3 - โครงการไทยเข้มแข็ง สร้างความสามัคคี ร้องเพลงชาติ ร้อยละ 11.2 - โครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ร้อยละ 9.9 - โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ร้อยละ 9.3 4. คะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ครบ 6 เดือน(คะแนนที่ได้) ครบ 9 เดือน(คะแนนที่ได้) ครบ 1 ปี(คะแนนที่ได้)
พรรคแกนนำรัฐบาล (พรรคประชาธิปัตย์) 4.38 4.17 4.23 พรรคร่วมรัฐบาล (พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน) 3.40 3.45 3.44 พรรคฝ่ายค้าน (พรรคเพื่อไทย พรรคประชาราช) 3.46 3.65 3.37 หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน 5. คะแนนความพึงพอใจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้คะแนนเฉลี่ย 4.70 จากคะแนนเต็ม 10 โดยมีคะแนนความพึงพอใจในด้านต่างๆ ดังนี้ ครบ 9 เดือน(คะแนน) ครบ1 ปี(คะแนน) เพิ่มขึ้น / ลดลง ความซื่อสัตย์สุจริต 5.37 5.44 + 0.07 ความขยันทุ่มเทในการทำงาน 5.07 5.35 + 0.28 การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ 4.81 4.83 + 0.02 ความสามารถสร้างสรรค์ผลงานหรือโครงการใหม่ๆ 4.44 4.62 + 0.18 ความสามารถในการบริหารจัดการตามอำนาจหน้าที่ที่มี 4.31 4.25 - 0.06 ความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ 3.71 3.72 + 0.01 คะแนนเฉลี่ย 4.62 4.70 + 0.08 6. เมื่อเปรียบเทียบความคาดหวังระหว่างตอนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กับผลการทำงานในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา พบว่า - ดีกว่าที่คาดหวังไว้ ร้อยละ 10.8 - พอๆ กับที่คาดหวังไว้ ร้อยละ 34.6 - แย่กว่าที่คาดหวังไว้ ร้อยละ 27.3 - ไม่ได้คาดหวังไว้ ร้อยละ 27.3 7. เรื่องที่น่าเห็นใจรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ มากที่สุด 5 อันดับแรกคือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) - เรื่องการชุมนุมต่อต้านของกลุ่มคนเสื้อแดง ร้อยละ 23.2 - เป็นรัฐบาลในช่วงที่ประเทศชาติวุ่นวาย การเมืองไม่นิ่ง และเป็นช่วงเศรษฐกิจขาลง ร้อยละ 18.5 - ประชาชนในประเทศมีความขัดแย้ง แบ่งฝักแบ่งฝ่ายกัน ร้อยละ 14.1 - มีความขัดแย้งกันภายในพรรคร่วมรัฐบาล ร้อยละ 10.8 - คณะรัฐมนตรีบางคนทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 10.7 8. เรื่องที่ต้องการให้ นายกฯ อภิสิทธิ์ ทำมากที่สุดในเวลานี้ คือ - เดินหน้าทำงานต่อไป ร้อยละ 59.3 - ยุบสภา ร้อยละ 24.5 - ปรับคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 6.7
โดยรัฐมนตรีที่ควรถูกปรับออกมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ
อันดับ 1 นายกษิต ภิรมย์ (ร้อยละ 2.7 )
อันดับ 2 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ (ร้อยละ 1.2 )
อันดับ 3 นายโสภณ ซารัมย์ (ร้อยละ 0.5 )
- ลาออก ร้อยละ 5.2
- อื่นๆ อาทิ ให้นายกฯ กล้าตัดสินใจให้เด็ดขาดกว่านี้
เร่งสร้างผลงานให้เด่นชัดโดยเร็วและแก้ปัญหาความขัดแย้งกับกลุ่มคนเสื้อแดงให้ได้ ฯลฯ ร้อยละ 4.3
รายละเอียดในการสำรวจ ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่างๆ จากทั่วทุกภาคของประเทศ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน(Multi-Stage Sampling)
สำหรับกรุงเทพมหานครได้ทำการเก็บข้อมูลจากประชาชนทั้ง 50 เขต ปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และจังหวัดตัวแทนแต่ละภาค ได้แก่ ชลบุรี เชียงใหม่ ลำพูน ขอนแก่น ร้อยเอ็ด นครศรีธรรมราช และสงขลา จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้า หมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,660 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.6 และเพศหญิงร้อยละ 51.4
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถาม ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 11-14 ธันวาคม 2552 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 22 ธันวาคม 2552
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 807 48.6 หญิง 853 51.4 รวม 1,660 100.0 อายุ 18 ปี - 25 ปี 428 25.8 26 ปี — 35 ปี 495 29.8 36 ปี — 45 ปี 389 23.4 46 ปีขึ้นไป 348 21.0 รวม 1,660 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 859 51.7 ปริญญาตรี 700 42.2 สูงกว่าปริญญาตรี 101 6.1 รวม 1,660 100.0 อาชีพ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 194 11.7 พนักงานบริษัทเอกชน 473 28.5 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 463 27.8 รับจ้างทั่วไป 167 10.1 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 108 6.5 อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 255 15.4 รวม 1,660 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--