กรุงเทพโพลล์: เสียงสะท้อนของประชาชนต่อระบบความปลอดภัยจากเหตุเพลิงไหม้

ข่าวผลสำรวจ Tuesday December 29, 2009 09:10 —กรุงเทพโพลล์

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ระบุ ประชาชนยังไม่เชื่อมั่นในระบบความปลอดภัยจากเหตุเพลิงไหม้ของสถานบริการใน เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล หลังเหตุการณ์ไฟไหม้ซานติก้าผับผ่านมา 1 ปี พร้อมเรียกร้องให้มีการตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ดับเพลิงอย่างสม่ำ เสมอและเพิ่มโทษสถานหนักกับผู้ก่อสร้างและใช้อาคารผิดแบบ

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ความตั้งใจจะไปใช้บริการในสถานบันเทิง โรงภาพยนตร์ โรงแรม และห้างสรรพสินค้าในช่วง เทศกาลปีใหม่
          -  ไป            ร้อยละ  59.1

โดยสถานที่ที่คาดว่าจะไปใช้บริการ คือ

                    -  ห้างสรรพสินค้า                        ร้อยละ  29.0
                    -  โรงแรม ร้านอาหาร                    ร้อยละ  12.3
                    -  โรงภาพยนตร์                         ร้อยละ  11.5
                    -  ผับ บาร์ คาราโอเกะ                   ร้อยละ   6.3
          -  ไม่ไป          ร้อยละ  40.9

2. ความกังวลต่ออันตรายที่อาจเกิดจากเหตุเพลิงไหม้ (สอบถามเฉพาะผู้ที่ระบุว่าจะไปใช้บริการ) พบว่า ผู้ที่จะไปใช้บริการในสถานบันเทิง
ประเภทผับ บาร์ คาราโอเกะมีความกังวลต่ออันตรายที่อาจเกิดจากเหตุเพลิงไหม้มากที่สุด ดังนี้

         ความกังวลต่ออันตรายจากเหตุเพลิงไหม้                                              กังวล     ไม่กังวล     รวม

(ร้อยละ) (ร้อยละ)

ผู้ที่คาดว่าจะไปสถานบันเทิง       (โดยให้เหตุผลว่า มีทางออกน้อย เป็นสถานที่มืด คับแคบ                 54.9       45      100
ประเภท ผับ บาร์ คาราโอเกะ     มีคนแออัด และเคยมีเหตุเพลิงไหม้รุนแรงมาแล้ว)

ผู้ที่คาดว่าจะไปโรงแรม ร้านอาหาร (โดยให้เหตุผลว่าเป็นสถานที่ที่มีวัตถุซึ่งสามารถติดไฟได้ง่าย)              45.5       55      100

ผู้ที่คาดว่าจะไปโรงภาพยนตร์      (โดยให้เหตุผลว่า เป็นที่มืดทึบ แออัด มีทางเข้า - ออกน้อย)             43         57      100

ผู้ที่คาดว่าจะไปห้างสรรพสินค้า     (โดยให้เหตุผลว่าเป็นช่วงเทศกาลมีผู้เข้าไปใช้บริการจำนวนมาก           42.8       57      100

และไม่มั่นใจในระบบรักษาความปลอดภัยจากเหตุเพลิงไหม้ของห้างสรรพสินค้า)

3. ความคิดเห็นต่อประเด็นที่ว่า ระบบป้องกันการเกิดเหตุเพลิงไหม้ของสถานบริการแต่ละแห่ง
มีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจเข้าไปใช้บริการหรือไม่เพียงใด พบว่า
          - มีส่วนสำคัญค่อนข้างมากถึงมากที่สุด          ร้อยละ 76.3
          - มีส่วนสำคัญค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด          ร้อยละ 23.7

4. ความมั่นใจในความพร้อมของเจ้าหน้าที่  อุปกรณ์ดับเพลิง และอุปกรณ์ช่วยชีวิต ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
          - ไม่มั่นใจ                             ร้อยละ 65.0

(โดยแบ่งเป็น ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 54.3 และไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 10.7)

          - มั่นใจ                               ร้อยละ  35.0

(โดยแบ่งเป็น มั่นใจค่อนข้างมาก ร้อยละ 26.1 และมั่นใจมาก ร้อยละ 8.9)

5. ความเชื่อมั่นต่อระบบความปลอดภัยจากเหตุเพลิงไหม้ของสถานบริการต่างๆ หลังเหตุการณ์ไฟไหม้ “ซานติก้าผับ” เมื่อปลายปีที่แล้ว พบว่า
          - เชื่อว่ายังไม่อยู่ในระดับที่ไว้ใจได้           ร้อยละ 51.6
          - เชื่อว่าอยู่ในระดับที่ไว้ใจได้แล้ว            ร้อยละ 13.5
          - ไม่แน่ใจ                             ร้อยละ 34.9

6. สิ่งที่ต้องการให้มีการปรับปรุงแก้ไข เพื่อลดอันตรายจากเหตุเพลิงไหม้สถานบริการต่างๆ ได้แก่
          - ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ดับเพลิงอย่างสม่ำเสมอ                   ร้อยละ  24.0
  • ตรวจสอบอย่างจริงจังและเพิ่มโทษสถานหนักกับผู้ก่อสร้างและใช้อาคารผิดแบบ ร้อยละ 20.5
          - เพิ่มทางหนีไฟ                                                 ร้อยละ  16.9
          - เพิ่มความชัดเจนของป้ายบอกทางหนีไฟ                               ร้อยละ  16.3
          - มีการจัดซ้อมหนีไฟเป็นระยะๆ                                      ร้อยละ  11.8
          - ย้ายสิ่งของไม่ให้กีดขวางทางหนีไฟ                                  ร้อยละ   9.7

(ทั้งนี้ มีเพียงร้อยละ 0.8 ที่คิดว่า สภาพที่เป็นอยู่ดีอยู่แล้ว ไม่ต้องปรับปรุงแก้ไข)

รายละเอียดในการสำรวจ

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ทุกสาขาอาชีพที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯและประมณฑล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยในเขตกรุงเทพฯ ใช้การสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน จำนวนทั้งสิ้น 24 เขต ได้แก่ คันนายาว คลองสาน ดินแดง ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางกะปิ บางขุนเทียน บางแค บางนา บางบอน บางพลัด บางรัก ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร พระโขนง ยานนาวา ราชเทวี วังทองหลาง และสุ่มอำเภอในเขตปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการ สัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,211 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.2 และเพศหญิงร้อยละ 49.8

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อน บันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :   20 - 21 ธันวาคม 2552

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :   29 ธันวาคม 2552

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                        จำนวน         ร้อยละ
เพศ
       ชาย                                608          50.2
       หญิง                                603          49.8
รวม                                     1,211        100.00

อายุ
       18 ปี — 25 ปี                        318          26.2
       26 ปี — 35 ปี                        338          27.9
       36 ปี — 45 ปี                        291          24.1
       46 ปีขึ้นไป                           264          21.8
รวม                                     1,211         100.0

การศึกษา
       ต่ำกว่าปริญญาตรี                       703          58.0
       ปริญญาตรี                            443          36.6
       สูงกว่าปริญญาตรี                        65           5.4
รวม                                     1,211         100.0

อาชีพ
       ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ          111           9.2
       พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน            374          30.9
       ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว            338          27.9
       รับจ้างทั่วไป                          133          11.0
       พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ            93           7.6
       อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน  นักศึกษา    162          13.4
รวม                                     1,211         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ