ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ที่สุดแห่งปี 2552” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลทุกสาขาอาชีพ ด้วยคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบคิดคำตอบเองโดยไม่มีข้อคำตอบให้เลือกจำนวน 8 ข้อคำ ถาม เมื่อวันที่ 18-21 ธันวาคมที่ผ่านมา จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,167 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.7 และเพศหญิงร้อยละ 49.3 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจากพระอาการประชวร และ
เสด็จออกมหาสมาคม ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ร้อยละ 82.3 อันดับ 2 หมีแพนด้าคลอดลูก ร้อยละ 5.5
อันดับ 3 รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดภาระค่าครองชีพ เช่น
แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เรียนฟรี 15 ปี ต่อเวลาน้ำฟรี ไฟฟรี ร้อยละ 2.4 2. ข่าว หรือ เหตุการณ์ในรอบปี 2552 ที่สร้างความทุกข์ใจมากที่สุด (3 อันดับแรก) อันดับ 1 การแตกแยก แบ่งฝักแบ่งฝ่ายของคนไทย ม็อบเสื้อเหลือง-เสื้อแดง ร้อยละ 39.8 อันดับ 2 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประชวร ร้อยละ 25.0 อันดับ 3 การบาดเจ็บและเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่จากเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ร้อยละ 6.9 3. บุคคล / กลุ่มบุคคลในสังคมไทยที่มีพฤติกรรมน่าชื่นชมยกย่องมากที่สุดในรอบปี 2552 (3 อันดับแรก) อันดับ 1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 19.5
(โดยให้เหตุผลว่า สุภาพ มีความตั้งใจทำงาน พยายามทำงานเพื่อแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจของประเทศ ฯลฯ)
อันดับ 2 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 8.5
(โดยให้เหตุผลว่า มีความสามารถในการการบริหารจัดการ และชื่นชอบผลงานที่ทำไว้สมัยเป็นนายกฯ)
อันดับ 3 เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 6.8
(โดยให้เหตุผลว่า เป็นผู้เสียสละเพื่อประเทศชาติ และมีความกล้าหาญ)
อันดับ 1 นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 29.6
(โดยให้เหตุผลว่า ยุติสงครามในตะวันออกกลาง นำพาประเทศผ่านวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์
เป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรก และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ)
อันดับ 2 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 4.8
(โดยให้เหตุผลว่า มีความเป็นผู้นำ และต่อสู่เพื่อความยุติธรรม)
อันดับ 3 นางอองซาน ซูจี ร้อยละ 4.3
(โดยให้เหตุผลว่า เป็นผู้หญิงที่มีความเข้มแข็ง อดทน มุ่งมั่นต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย)
อันดับ 1 นักการเมืองและพรรคการเมืองไทยในปัจจุบัน ร้อยละ 19.7
(โดยให้เหตุผลว่า เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มัวแต่ทะเลาะกัน ไม่ร่วมมือกันแก้ปัญหาพัฒนาบ้านเมือง)
อันดับ 2 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 17.8
(โดยให้เหตุผลว่า สร้างความแตกแยกในหมู่คนไทย ไม่เคารพกฎหมาย ไม่ยอมกลับมารับโทษ)
อันดับ 3 กลุ่มคนเสื้อเหลือง — เสื้อแดง ร้อยละ 9.2
(โดยให้เหตุผลว่า สร้างความวุ่นวายให้กับประเทศ สร้างความแตกแยก และเดือดร้อนรำคาญ)
อันดับ 1 ไทเกอร์ วู้ด ร้อยละ 22.0
(โดยให้เหตุผลว่า นอกใจภรรยา ประพฤติตัวไม่เหมาะสม)
อันดับ 2 สมเด็จฯ ฮุนเซน นายกฯ กัมพูชา ร้อยละ 13.3
(โดยให้เหตุผลว่า กล่าวให้ร้ายประเทศไทย ให้การช่วยเหลือ พ.ต.ท. ทักษิณ)
อันดับ 3 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 10.2
(โดยให้เหตุผลว่า ร่วมมือกับนายกฯ กัมพูชากล่าวให้ร้ายประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาให้กัมพูชาทำให้คนไทยแตกแยก)
อันดับ 1 ร้านเซเว่น อิเลฟเว่น ร้อยละ 30.9 อันดับ 2 ห้างเทสโก้ โลตัส ร้อยละ 5.4
อันดับ 3 ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกสิกรไทย (ได้คะแนนเท่ากัน) ร้อยละ 4.5
อันดับ 1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร้อยละ 76.3 อันดับ 2 เพื่อนสนิท ร้อยละ 7.0 อันดับ 3 ครู / อาจารย์ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ได้คะแนนเท่ากัน) ร้อยละ 2.6
รายละเอียดในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลาย ขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) สำหรับในกรุงเทพมหานครได้ทำการสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน จำนวนทั้งสิ้น 28 เขตได้แก่ เขตคลองเตย ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึง กุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ลาดกระบัง สวนหลวง สะพานสูง สาทร สายไหม และหลักสี่ ส่วนในจังหวัด ปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่าง ทั้งสิ้น 1,167 คนเป็นเพศชายร้อยละ 50.7 และเพศหญิงร้อยละ 49.3
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) ในส่วนของข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบ และคำถามปลายเปิด (Open Form) ในส่วนของ ความคิดเห็นตามประเด็นที่สำรวจ จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 18-21 ธันวาคม 2552
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 30 ธันวาคม 2552
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 592 50.7 หญิง 575 49.3 รวม 1,167 100.0 อายุ 18-25 ปี 315 27.0 26-35 ปี 335 28.7 36-45 ปี 265 22.7 46 ปีขึ้นไป 252 21.6 รวม 1,167 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 590 50.6 ปริญญาตรี 522 44.7 สูงกว่าปริญญาตรี 55 4.7 รวม 1,167 100.0 อาชีพ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ 97 8.3 พนักงานบริษัทเอกชน 411 35.2 ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว 305 26.2 รับจ้างทั่วไป 98 8.4 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 87 7.5 อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 169 14.4 รวม 1,167 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--