กรุงเทพโพลล์: ความเห็นประชาชนต่อการทำงานของ ส.ส. ในปัจจุบัน

ข่าวผลสำรวจ Wednesday January 20, 2010 10:44 —กรุงเทพโพลล์

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความเห็นประชาชนต่อการทำงานของ ส.ส.ในปัจจุบัน เนื่องในโอกาสที่จะมีการเปิดประชุมสภา สมัยสามัญทั่วไปปี 2553 ในวันที่ 21 มกราคม ที่จะถึงนี้ โดยสำรวจความเห็นจากประชาชนผู้สนใจ ติดตามข่าวสารการเมืองในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 1,277 คน ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ไม่พอใจผลการทำงานของ ส.ส. ใน รอบปี 2552 ที่ผ่านมา ทั้งยังเชื่อว่าการปรับขึ้นเงินเดือนของ ส.ส. จะไม่สามารถแก้ปัญหาสภาล่มได้ ส่วนเรื่องที่ต้องการให้ ส.ส.ปรับปรุงแก้ไขใน สมัยประชุมสภาที่จะถึงนี้ ได้แก่ เรื่องการพูดจาและแสดงความเห็นโดยคำนึงถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง การพูดหยาบคายท้าตีท้าต่อย พูดเยิ่น เย้อ วกวน ไม่ตรงประเด็น การขาดประชุม และการนั่งหลับในที่ประชุม ตามลำดับ ขณะเดียวกันก็ต้องการให้สื่อและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเสนอ ข้อมูลการทำงานของ ส.ส. ให้ประชาชนได้รับทราบให้มากขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าในการให้บริการช่วยเหลือประชาชนตามข้อร้อง ทุกข์ ข้อมูลการตรวจสอบทรัพย์สินของ ส.ส. สถิติการเข้าร่วมประชุมสภา การทำหน้าที่ในคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ และสถิติการไปประชุมหรือดู งานต่างประเทศ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ความพึงพอใจของประชาชน ต่อการทำงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในปี 2552 ที่ผ่านมา
          ไม่พอใจ                                                           ร้อยละ          53.7
          พอใจ                                                             ร้อยละ          22.5
          ไม่มีความเห็น/ ไม่ทราบข้อมูลการทำงานของ ส.ส.                           ร้อยละ          23.8

2. สิ่งที่ประชาชนต้องการให้  ส.ส. ปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด  ในการประชุมสภา ในสมัยประชุมที่กำลังจะถึงนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
          การพูดจาและแสดงความเห็นโดยคำนึงถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง            ร้อยละ          70.4
          การพูดหยาบคาย  ท้าตีท้าต่อย                                           ร้อยละ          56.0
          การขาดประชุม                                                      ร้อยละ          48.1
          การพูดจาเยิ่นเย้อ  วกวน  ไม่ตรงประเด็น                                 ร้อยละ          46.2
          การนั่งหลับในที่ประชุม                                                 ร้อยละ          29.3
          ดีอยู่แล้วไม่ต้องปรับปรุง                                                ร้อยละ           2.1
          อื่นๆ (เช่น  การประท้วงบ่อยเกินจำเป็น  การพูดเพื่อมุ่งจะเอาชนะอย่างเดียว)      ร้อยละ           6..2

3. ความเห็นต่อประเด็นการปรับขึ้นเงินเดือน ส.ส.ว่าจะช่วยแก้ปัญหาสภาล่ม ในการประชุมสภา ที่จะถึงนี้ได้หรือไม่
          เชื่อว่าแก้ได้                                ร้อยละ           7.8
          เชื่อว่าแก้ไม่ได้                              ร้อยละ          92.2

กลุ่มที่เชื่อว่า “แก้ไม่ได้” ให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้

                    - ควรแก้ที่จิตสำนึกรับผิดชองของ ส.ส. ทุกคน                     ร้อยละ          69.3
                    - ควรใช้วิธีหักเงินเดือน ส.ส. ที่ไม่เข้าประชุม                    ร้อยละ          12.9
                    - ควรแก้ที่ฝ่ายรัฐบาลที่ไม่มีเสถียรภาพ                           ร้อยละ           6.7
                    -ไม่ต้องแก้เพราะเป็นแค่เกมการเมือง                           ร้อยละ           3.3

4. การนำผลการทำงานของ  ส.ส.  มาประกอบการตัดสินใจลงคะแนนในการเลือกตั้งครั้งต่อไป  พบว่า
          จะนำมาประกอบการตัดสินใจลงคะแนน             ร้อยละ          93.1
          จะไม่นำมาประกอบการตัดสินใจลงคะแนน           ร้อยละ           6.9

เนื่องจาก - จะดูที่นโยบายของพรรคมากกว่าตัวบุคคล

  • จะดูจากพฤติกรรมการทุจริตคอร์รัปชันเป็นหลัก
  • ไม่มีข้อมูลผลการทำงานของ ส.ส.ที่ครบถ้วนเพียงพอที่จะนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ ฯลฯ
5. ความเพียงพอของข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของ ส.ส. ที่ได้รับในปัจจุบัน
          ได้รับข้อมูลเพียงพอแล้ว                        ร้อยละ          44.8
          ยังได้รับข้อมูลไม่เพียงพอ                       ร้อยละ          55.2

โดยข้อมูลที่ต้องการให้สื่อและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อนำเสนอเพิ่มเติม คือ

  • ความคืบหน้าในการทำงานช่วยเหลือประชาชนตามข้อร้องทุกข์
  • การตรวจสอบทรัพย์สินของ ส.ส. รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
  • ข้อมูลสถิติเกี่ยวข้องกับการเข้าร่วมประชุมสภา เช่น จำนวนครั้งที่เข้าประชุม การขาด ลา มาสาย
  • การทำหน้าที่ในคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ
  • การเดินทางไปประชุมหรือดูงานในต่างประเทศ เป็นต้น

โดยนำเสนอข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ เช่น ทางสื่อ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์อินเทอร์เน็ต และแผ่น ป้ายประกาศในพื้นที่ที่ ส.ส. แต่ละคนสังกัดอยู่ เป็นต้น

6. ส.ส. ในปัจจุบันที่ประชาชนเห็นว่าทำหน้าที่ในฐานะ ส.ส. ได้เป็นอย่างดี สมควรที่ ส.ส. ทุกคนควรยึดถือเป็นแบบอย่าง 5 อันดับแรก
ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
          นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ                        ร้อยละ          36.0
          นายชวน หลีกภัย                             ร้อยละ          15.8
          ร.ต.อ.เฉลิม  อยู่บำรุง                       ร้อยละ           9.7
          นายกรณ์ จาติกวณิช                           ร้อยละ           6.5
          นายจตุพร พรหมพันธุ์                          ร้อยละ           5.0

รายละเอียดในการสำรวจ

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 37 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลอง สาน คลองสามวา คันนายาว จตุจักร จอมทอง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางซื่อ บางนา บางบอน บางพลัด บางรัก ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระโขนง มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี ลาดกระบัง ลาดพร้าว วัง ทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สะพานสูง หนองแขม และห้วยขวาง จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่สนใจติดตามข่าวสารการเมือง โดยใช้วิธี เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,277 คน เป็นชายร้อยละ 50.6 และหญิงร้อยละ 49.4

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และข้อคำถามปลายเปิด จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและ ประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  16 — 17 มกราคม 2553

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :  20 มกราคม 2553

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                            จำนวน         ร้อยละ
เพศ
            ชาย                               646          50.6
            หญิง                               631          49.4
          รวม                               1,277         100.0

อายุ
            18 ปี — 25 ปี                       328          25.7
            26 ปี — 35 ปี                       347          27.2
            36 ปี — 45 ปี                       302          23.6
            46 ปีขึ้นไป                          300          23.5
          รวม                               1,277         100.0

การศึกษา
             ต่ำกว่าปริญญาตรี                     514          40.2
             ปริญญาตรี                          647          50.7
             สูงกว่าปริญญาตรี                     116           9.1
          รวม                               1,277         100.0

อาชีพ
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ        122           9.6
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน          425          33.3
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว          354          27.7
             รับจ้างทั่วไป                        122           9.6
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ          55           4.3
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน  นักศึกษา  199          15.5
          รวม                               1,277         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ