กรุงเทพโพลล์: "ความเห็นประเด็นเศรษฐกิจ เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2010"

ข่าวผลสำรวจ Wednesday February 24, 2010 10:20 —กรุงเทพโพลล์

นักเศรษฐศาสตร์เชื่อเศรษฐกิจของไทยปี 2553 จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น พร้อมมองประเด็นการลดค่าเงินด่องของประเทศเวียดนามจะกระทบกับการส่งออกของไทยเพียงเล็กน้อย แต่ห่วงต่างชาติย้ายฐานการผลิตจากปัญหาการเมืองและปัญหามาบตาพุด

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 20 แห่ง เรื่อง “ความเห็นประเด็นเศรษฐกิจ เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2010” พบว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 75.9 เชื่อว่าเศรษฐกิจของไทยปี 2553 จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจริงตามที่หน่วยงานประกาศ พร้อมมองประเด็นการลดค่าเงินด่องของประเทศเวียดนามเป็นครั้งที่ 2 ว่าจะกระทบกับการส่งออกของไทยเพียงเล็กน้อย เนื่องจาก (1) สินค้าของไทยมีคุณภาพดีกว่าสินค้าของเวียดนาม (2) เวียดนามได้ประโยชน์จากค่าเงินก็จริงแต่เสียเปรียบด้านต้นทุนที่สูงขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่สูง (3) สินค้าที่ต้องแข่งขันกับเวียดนามมีสัดส่วนไม่มากนักเมื่อเทียบกับมูลค่าส่งออกโดยรวม

ทั้งนี้ แม้ว่านักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จะมองภาพเศรษฐกิจไทยในเชิงบวก แต่นักเศรษฐศาสตร์ถึงร้อยละ 48.3 ก็ยังกังวลว่าปัญหาการเมืองของไทยที่ยังดำเนินอยู่และปัญหามาบตาพุดที่ยังหาทางออกไม่ได้จะส่งผลให้นักลงทุนย้ายฐานการผลิตหรือตัดสินใจลงทุนในประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศไทย

(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)

ส่วนที่ 1 ประเด็นเศรษฐกิจภายในประเทศ 1. ความเห็นต่อประเด็น การที่รัฐบาลจะย่นระยะเวลาในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้สิ้นสุดเร็วขึ้น

          ร้อยละ          43.1          ไม่เห็นด้วย  เนื่องจาก
  • เศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบางและมีความผันผวนอยู่
  • เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวดี มีความไม่แน่นอนสูง ประกอบกับการลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้น รัฐจึงควรเป็นผู้นำการลงทุน
  • ปัญหาการเมืองของประเทศที่ยังคงมีอยู่ อาจเป็นปัญหาในระยะถัดไป
          ร้อยละ          41.4          เห็นด้วย  โดยมองว่าช่วงเวลาสิ้นสุดที่เหมาะสมคือ ไตรมาส 3-4  ปี พ.ศ. 2553
          ร้อยละ          15.5          ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

2.  ความเห็นต่อประเด็นที่ว่า  “จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในขณะนี้  พ.ร.บ. กู้เงิน 4 แสนล้านบาท  ยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่”

ร้อยละ 37.9 มีความจำเป็นลดลง เนื่องจาก เศรษฐกิจของประเทศเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

ทำให้รัฐบาลจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น ดังนั้น เงินใน งบประมาณเพียงอย่างเดียวก็น่าจะเพียงพอ

อีกทั้งยังทำให้ระดับหนี้สาธารณะของประเทศไม่อยู่ในระดับสูงเกินไป

          ร้อยละ   36.2   ยังจำเป็นอยู่         เนื่องจาก  เศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบางอยู่  ทำให้ความจำเป็น

ในการกระตุ้นเศรษฐกิจจึงยังคงมีอยู่ นอกจากนี้ การใช้จ่ายดังกล่าวเป็นการใช้จ่าย

เพื่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานระยะยาวที่สำคัญให้กับประเทศ เช่น ระบบขนส่ง

ระบบน้ำ เป็นต้น อันจะช่วยสร้าง Potential GDP ให้กับประเทศ

ร้อยละ 12.1 ไม่มีความจำเป็นแล้ว

ร้อยละ 13.8 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

3. ความเห็นต่อประเด็นเงินเฟ้อเดือนมกราคม 2553 ที่อยู่ในระดับร้อยละ 4.1 ว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจของไทย ดังที่ได้เกิดขึ้นกับเวียดนามและหลายๆ ประเทศในขณะนี้หรือไม่

ร้อยละ 82.8 คาดว่าจะไม่กลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย

ร้อยละ 12.1 คาดว่าจะกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย

          ร้อยละ    5.1    ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

4.  ความเห็นต่อประเด็น  แนวคิดนายกฯ อภิสิทธิ์  ที่จะยกเลิกโครงการหวยออนไลน์
          ร้อยละ          46.6          เห็นด้วยที่จะยกเลิก  เพราะ
  • จะมีผู้เล่นมากขึ้น จากการเข้าถึงที่ง่ายและเป็นการเพิ่มช่องทางการพนัน
  • ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม (ผลเสียมากกว่าผลดี)
  • เป็นการเพิ่มอบายมุข มอมเมาเยาวชน
  • ไม่สามารถแก้ปัญหาหวยใต้ดินได้
          ร้อยละ          36.2          ไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิก เพราะ
  • หวยเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานาน ไม่มีหวยออนไลน์คนก็ยังเล่นอยู่ดี
  • การทำหวยให้ถูกกฎหมายน่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ/สร้างรายได้ให้รัฐ
  • การยกเลิกหวยออนไลน์ กลุ่มได้ประโยชน์คือเจ้ามือ/กลุ่มมาเฟีย
  • ทำให้เอกชนที่ลงทุนไม่เชื่อมั่นและอาจเกิดการฟ้องร้องรัฐบาล
          ร้อยละ          17.2          ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

5.  ความเห็นต่อประเด็น  การปรับตัวลดลงร้อยละ 5.17 ของตลาดหุ้นไทยในเดือนมกราคม 2553 (และต่อเนื่องถึงเดือนกุมภาพันธ์) เป็นผลมาจากปัจจัยใดมากที่สุด
          ร้อยละ          43.2          ปัจจัยปัญหาด้านการเมือง
          ร้อยละ          32.8          ปัจจัยเศรษฐกิจโลก
          ร้อยละ          8.6          ปรับตัวลดลงตามตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาค
          ร้อยละ          3.4          ปัจจัยปัญหามาบตาพุด
          ร้อยละ          3.4          ปัจจัยเศรษฐกิจในประเทศ
          ร้อยละ          1.7          อื่นๆ
          ร้อยละ          6.9          ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

6.  ความเห็นต่อประเด็นข้อมูลการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่หลายๆ หน่วยงานมีการปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี  2553
          ร้อยละ          75.9          เชื่อว่าเศรษฐกิจของไทยจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจริงตามที่หน่วยงานประกาศ
          ร้อยละ          19.0          ไม่เชื่อว่า  เศรษฐกิจของไทยจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจริง
          ร้อยละ           5.1          ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

ส่วนที่ 2 ประเด็นเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับต่างประเทศ 7. ความเห็นต่อประเด็น ปัจจัยเสี่ยงใดจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้มากที่สุด

          ร้อยละ          39.7          ปัญหาด้านการเงินของสถาบันการเงินที่ยังไม่สิ้นสุด
          ร้อยละ          36.2          ปัญหาหนี้สาธารณะ
          ร้อยละ          17.2          อื่นๆ  เช่น  - การว่างงานที่ยังอยู่ในระดับสูงท่ามกลางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
  • ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกยังมีอยู่
          ร้อยละ          1.7          ปัญหาเงินเฟ้อ
          ร้อยละ          5.2          ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

8.  ในปัจจุบันที่เขตการค้าเสรี AFTA เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 ที่ผ่านมาและจะเปิดเสรีครบทุกประเทศในปี 2555  ท่ามกลางปัญหาทางการเมืองของไทยที่ยังดำเนินอยู่และปัญหามาบตาพุดที่ยังหาทางออกไม่ได้  จากสถานการณ์ในปัจจุบันดังกล่าว  จะส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิตหรือตัดสินใจลงทุนในประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศไทยหรือไม่
          ร้อยละ          48.3          มีผลกระทบต่อการลงทุนอย่างมาก
          ร้อยละ          34.5          มีผลกระทบเล็กน้อย
          ร้อยละ          13.8          ไม่น่าจะมีผลกระทบ  เนื่องจากประเทศไทยมีปัจจัยอื่นที่ยังคงดึงดูดนักลงทุนได้
          ร้อยละ           3.4          ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

9. ความเห็นต่อประเด็นการลดค่าเงินด่องของประเทศเวียดนามเป็นครั้งที่ 2 ว่าจะกระทบกับการส่งออกของไทยในระดับใด
          ร้อยละ          69.0          กระทบน้อย  เนื่องจาก
  • สินค้าของไทยมีคุณภาพดีกว่าสินค้าของเวียดนาม
  • เวียดนามได้ประโยชน์จากค่าเงินก็จริงแต่เสียเปรียบด้านต้นทุนที่สูงขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่สูง
  • สินค้าที่ต้องแข่งขันกับเวียดนามมีสัดส่วนไม่มากนักเมื่อเทียบกับมูลค่าส่งออกโดยรวม
          ร้อยละ          17.2          กระทบมาก  เนื่องจาก
  • ประเทศเวียดนามมีโครงสร้างเศรษฐกิจและทรัพยากรที่ คล้ายกับไทยโดยเฉพาะในแง่ของสินค้าส่งออกและตลาดส่งออกจึงอาจทำให้ไทยเสียเปรียบได้
          ร้อยละ          8.6          ไม่กระทบ
          ร้อยละ          5.2          ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์

1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรงไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน

2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย

กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 20 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารธนชาติ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ บริษัท ทริสเรทติ้ง คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยทักษิณ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิธีการรวบรวมข้อมูล

รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล          :  16-23  กุมภาพันธ์  2553

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ              :  24  กุมภาพันธ์ 2553

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

                                      จำนวน         ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
           หน่วยงานภาครัฐ                 30          51.7
           หน่วยงานภาคเอกชน              19          32.8
           สถาบันการศึกษา                  9          15.5
รวม                                     58         100.0

เพศ
            ชาย                         32          55.2
            หญิง                         26          44.8
รวม                                     58         100.0

อายุ
            18 ปี — 25 ปี                  1           1.7
            26 ปี — 35 ปี                 30          51.8
            36 ปี — 45 ปี                 13          22.4
            46 ปีขึ้นไป                    14          24.1
รวม                                     58         100.0

การศึกษา
             ปริญญาตรี                     4           6.9
             ปริญญาโท                    43          74.1
             ปริญญาเอก                   11          19.0
รวม                                     58         100.0

ประสบการณ์ทำงานรวม
              1-5  ปี                    13          22.4
              6-10 ปี                    20          34.6
              11-15 ปี                    6          10.3
              16-20 ปี                    5           8.6
              ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป             14          24.1
รวม                                     58         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ