วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
ด้วยในวันที่ 16 มกราคมที่จะถึงนี้ตรงกับวันครู ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนระบบการศึกษาเพื่อสร้างอนาคตที่ดีให้กับเยาวชน
ไทย ทั้งนี้นับว่าครูยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงหลายประการที่ล้วนท้าทายต่ออุดมการณ์ความคิด และวิถีทางในการประกอบวิชาชีพ อันเป็นผล
มาจากนโยบายเรื่องการปฏิรูปการศึกษาที่แม้จะผ่านมือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมาหลายยุคหลายสมัย แต่ภาพของการปฏิรูปการศึกษาไทยก็
ยังไม่ชัดเจนเป็นที่พอใจของผู้คนในสังคม กระทั่งล่าสุดนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบันได้ออกมาแสดงความมั่นใจ
ว่าภายในปี 2549 นี้ผู้เกี่ยวข้องจะมีโอกาสได้เห็นผลงานด้านการปฏิรูปการศึกษาที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ดังนั้น ในโอกาสวันครูปีนี้ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์
จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของครูทั่วประเทศในหัวข้อ “ความเชื่อมั่นของครูต่อการปฎิรูปการศึกษายุค รมว.จาตุรนต์” ในประเด็นต่อไปนี้
1. ความเชื่อมั่นต่อระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันว่าจะสามารถพัฒนาเยาวชนไทยในด้านต่างๆ ได้
2. ความเชื่อมั่นต่อการปฏิรูปการศึกษาของไทยในภาพรวมว่าเดินมาถูกทางหรือไม่
3. อุปสรรคสำคัญที่สุดในการปฏิรูปการศึกษาไทย
4. ความพึงพอใจต่อการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา
5. ความเชื่อมั่นต่อนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบันว่าจะสามารถผลักดันเรื่องการปฏิรูปการศึกษา
ให้เห็นผลชัดเจนเป็นที่พอใจของสังคมได้
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างครูในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนทั้งหมด 53 แห่ง แบ่งเป็นโรงเรียนของรัฐ 38 แห่ง
และเอกชน 15 แห่งใน 19 จังหวัดทุกภาคของประเทศ ได้แก่กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน
พะเยา แพร่ พิจิตร ร้อยเอ็ด ขอนแก่น สุรินทร์ กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ระยอง ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และตรัง ตามสัด
ส่วนของจำนวนครูในแต่ละภาค ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,061 คน เป็นชายร้อยละ 31.0 และหญิงร้อยละ 69.0
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 22-35 ปีร้อยละ 43.4 อายุ 36-45 ปีร้อยละ 32.5 และอายุ 46 ปีขึ้นไปร้อยละ 24.1
สังกัดสถาบันการศึกษาของรัฐร้อยละ 62.0 และเอกชนร้อยละ 38.0
เป็นครูที่สอนในระดับประถมศึกษาร้อยละ 48.4 มัธยมศึกษาร้อยละ 50.1 และสอนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาร้อยละ 1.5
ระยะเวลาในการประกอบวิชาชีพครู 1-10 ปีร้อยละ 52.1 ระยะเวลา 11-20 ปีร้อยละ 20.8 ระยะเวลา 21-30 ปีร้อยละ
23.8 และตั้งแต่ 31 ปีขึ้นไปร้อยละ 3.3
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 81.2 เป็นผู้ที่มีความตั้งใจจะประกอบอาชีพครูมาตั้งแต่แรก ขณะที่อีกร้อยละ 18.8 ไม่ได้ตั้งใจจะประกอบอาชีพครู
มาตั้งแต่แรก ร้อยละ 72.0 มีงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบนอกเหนือจากงานสอน อาทิ งานทะเบียน งานห้องสมุด
งานลูกเสือ งานวิชาการ และงานกลุ่มกิจกรรม เฉลี่ยคนละ 1.75 งาน ขณะที่ร้อยละ 28.0 ไม่มีงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ
นอกเหนือจากงานสอน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 5-12 มกราคม 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 15 มกราคม 2549
สรุปผลการสำรวจ
1. เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นของครูต่อระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันว่าจะสามารถพัฒนาศักยภาพของของเยาวชนในด้านต่างๆ ได้หรือไม่
นั้น ผลปรากฎว่า การพัฒนาความรู้เชิงวิชาการเป็นสิ่งที่ครูมีความเชื่อมั่นมากที่สุด (เชื่อมั่นร้อยละ 66.6
ไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 33.4) รองลงมาได้แก่ การปลูกฝังแนวทางการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม (เชื่อมั่นร้อยละ 62.0
ไม่เชื่อมั่นร้อยละ 38.0) การพัฒนาความคิดในเชิงเหตุผล (เชื่อมั่นร้อยละ 59.1 ไม่เชื่อมั่นร้อยละ 40.9) การวางรากฐานเพื่อ
ให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (เชื่อมั่นร้อยละ 53.7 ไม่เชื่อมั่นร้อยละ 46.3) ขณะที่การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ให้กับเยาวชนเป็น
สิ่งที่ครูมีความเชื่อมั่นน้อยที่สุด (เชื่อมั่นร้อยละ 53.2 ไม่เชื่อมั่นร้อยละ 46.8)
2. ส่วนความเห็นต่อการปฏิรูปการศึกษาของไทยในภาพรวมว่าเดินมาถูกทางหรือไม่นั้น ครูร้อยละ 46.4 ระบุว่า
ไม่แน่ใจ เนื่องจากยังไม่เห็นผลที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม และนโยบายปฏิรูปการศึกษายังคงมีการเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ ขณะที่
ร้อยละ 33.7 เห็นว่าไม่ถูกทางเนื่องจากแนวทางการปฏิรูปไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย มีการให้ความความสำคัญกับงานเอกสาร
มากกว่างานสอน และสร้างปัญหาความขัดแย้งสับสนในหมู่ผู้ปฏิบัติงาน โดยมีครูเพียงร้อยละ 19.9 ที่เห็นว่าการปฏิรูปการศึกษาไทยเดินมาถูกทาง
โดยให้เหตุผลว่านักเรียนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นมากขึ้น หลักสูตรมีความทันสมัยเหมาะกับโลกยุคปัจจุบัน และมีการจัดการเรียนการสอนที่เป็น
ระบบชัดเจนขึ้น
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบระหว่างครูในสถาบันของรัฐกับเอกชน พบว่า ครูในสถาบันเอกชนเห็นว่าการปฏิรูปการศึกษาไทยเดินมาไม่ถูกทางร้อย
ละ 28.0 ขณะที่ครูในสถาบันของรัฐเห็นว่าไม่ถูกทางร้อยละ 37.2
และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างครูระดับประถมศึกษากับมัธยมศึกษา พบว่า ครูประถมศึกษาเห็นว่าการปฏิรูปการศึกษาไทยเดินมาไม่ถูกทาง
ร้อยละ 27.1 ขณะที่ครูมัธยมเห็นว่าไม่ถูกทางถึงร้อยละ 40.8
3. สำหรับอุปสรรคสำคัญที่สุดในการปฏิรูประบบการศึกษาของไทยนั้น ครูร้อยละ 26.2 เห็นว่าเกิดจากการที่นโยบายปฏิรูปการศึกษา
เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รองลงมาร้อยละ 22.0 เห็นว่าเป็นเพราะไม่ได้มีการทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมให้
กับครูผู้ปฏิบัติงาน ร้อยละ 17.6 เห็นว่าเป็นเพราะแนวทางการปฏิรูปการศึกษาไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ร้อยละ 14.9 เห็นว่าเป็น
เพราะขาดปัจจัยสนับสนุนด้านงบประมาณและอุปกรณ์การศึกษา ร้อยละ 7.7 เห็นว่าเป็นเพราะมีการเมืองเข้ามาแทรกแซงระบบการศึกษา และ
ร้อยละ 3.5 เห็นว่าเป็นเพราะการยึดติดกับแนวคิดและวิธีการแบบเดิมๆ ของครูบางกลุ่ม
4. ประเด็นเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการทำงานเรื่องการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ครูส่วนใหญ่คือร้อยละ 61.3
ระบุว่าไม่พอใจ (แบ่งเป็นไม่ค่อยพอใจร้อยละ 50.4 และไม่พอใจเลยร้อยละ 10.9) ขณะที่ร้อยละ 38.7 ระบุว่าพอใจ (แบ่งเป็นค่อนข้างพอใจ
ร้อยละ 36.5 และพอใจมากร้อยละ 2.2)
5. ส่วนความเชื่อมั่นต่อนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบันว่าจะสามารถผลักดันเรื่องการปฏิรูปการ
ศึกษาให้เห็นผลชัดเจนเป็นที่พอใจของสังคมได้หรือไม่นั้น ร้อยละ 70.0 ไม่เชื่อมั่น (แบ่งเป็นไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 60.1 และไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ
9.9) มีเพียงร้อยละ 30.0 ที่เชื่อมั่น (แบ่งเป็นค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 28.6 และเชื่อมั่นมากร้อยละ 1.4)
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 329 31.0
หญิง 732 69.0
อายุ :
25 — 35 ปี 461 43.4
36 — 45 ปี 345 32.5
46 ปีขึ้นไป 255 24.1
สังกัด
สถาบันการศึกษาของรัฐ 658 62.0
สถาบันการศึกษาเอกชน 403 38.0
ระดับที่สอน
ประถมศึกษา 513 48.4
มัธยมศึกษา 532 50.1
ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 16 1.5
จำนวนปีที่ประกอบอาชีพครู
1-10 ปี 553 52.1
11-20 ปี 221 20.8
21-30 ปี 252 23.8
ตั้งแต่ 31 ปีขึ้นไป 35 3.3
ตารางที่ 2: ความตั้งใจที่จะประกอบอาชีพครูมาตั้งแต่แรก
จำนวน ร้อยละ
มีความตั้งใจจะประกอบอาชีพครูมาตั้งแต่แรก 862 81.2
ไม่ได้ตั้งใจจะประกอบอาชีพครูมาตั้งแต่แรก 199 18.8
ตารางที่ 3 : งานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบนอกเหนือจากงานสอน
จำนวน ร้อยละ
มี อาทิ งานทะเบียน งานห้องสมุด งานลูกเสือ งานวิชาการ และงานกลุ่มกิจกรรม เฉลี่ยคนละ 1.75 งาน 764 72.0
ไม่มี 297 28.0
ตารางที่ 4 : ความเชื่อมั่นต่อระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันว่าจะสามารถพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในด้านต่างๆ
เชื่อมั่นมาก ค่อนข้างเชื่อมั่น ไม่ค่อยเชื่อ ไม่มั่นใจเลย
การพัฒนาความรู้เชิงวิชาการ 16.7(177) 49.9(529) 29.3(311) 4.1(44)
การปลูกฝังแนวทางการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม 17.1(181) 44.9(476) 32.6(347) 5.4(57)
การพัฒนาความคิดในเชิงเหตุผล 12.8(136) 46.3(491) 35.2(373) 5.7(61)
การวางรากฐานเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 15.2(161) 38.5(409) 40.3(427) 6.0(64)
การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 12.5(133) 40.7(432) 40.9(433) 5.9(63)
ตารางที่ 5 : ความคิดเห็นต่อการปฏิรูปการศึกษาของไทยในภาพรวมว่าดำเนินมาถูกทางหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ถูกทาง เพราะ - นักเรียนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นมากขึ้น ร้อยละ 11.0 211 19.9
- หลักสูตรมีความทันสมัยเหมาะกับโลกยุคปัจจุบัน ร้อยละ 2.3
- มีการจัดการเรียนการสอนที่เป็นระบบชัดเจนขึ้น ร้อยละ 2.1
- อื่นๆ ร้อยละ 1.6
- ไม่ระบุเหตุผล ร้อยละ 2.9
ไม่ถูกทาง เพราะ - ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย ร้อยละ 10.2 358 33.7
- ให้ความสำคัญกับงานเอกสารมากกว่างานสอน ร้อยละ 8.0
- สร้างปัญหาความขัดแย้งและสับสนในหมู่ผู้ปฏิบัติ ร้อยละ 7.8
- ผลการเรียนของเด็กแย่ลงกว่าเดิม ร้อยละ 4.7
- อื่นๆ ร้อยละ 0.6
- ไม่ระบุเหตุผล ร้อยละ 2.4
ไม่แน่ใจ เพราะ - ยังไม่เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม ร้อยละ 17.3 492 46.4
- นโยบายปฏิรูปการศึกษาเปลี่ยนแปลงบ่อย ร้อยละ 13.6
- บางอย่างดูดีขึ้นแต่บางอย่างก็แย่ลง ร้อยละ 6.1
- มีปัจจัยด้านอื่น เช่น การเมือง และสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง ร้อยละ 1.6
- อื่นๆ ร้อยละ 0.8
- ไม่ระบุเหตุผล ร้อยละ 7.0
ตารางที่ 5.1: เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการปฏิรูปการศึกษาไทยระหว่างครูในสถาบันการศึกษาของรัฐกับเอกชน
ถูกทาง ไม่ถูกทาง ไม่แน่ใจ รวม
รัฐ 18.5(122) 37.2(245) 44.2(291) 100.0(658)
เอกชน 22.2(89) 28.0(113) 49.9(201) 100.0(403)
เฉลี่ยรวม 19.9(211) 33.7(358) 46.4(492) 100.0(1,061)
ตารางที่ 5.2: เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการปฏิรูปการศึกษาไทยระหว่างครูที่สอนระดับประถมศึกษากับมัธยมศึกษา
ถูกทาง ไม่ถูกทาง ไม่แน่ใจ รวม
ประถมศึกษา 24.0(123) 27.1(139) 48.9(251) 100.0(513)
มัธยมศึกษา 15.8(84) 40.8(217) 43.4(231) 100.0(532)
สอนทั้งประถมและมัธยม 25.0(4) 12.5(2) 62.5(10) 100.0(16)
เฉลี่ยรวม 19.9(211) 33.7(358) 46.4(492) 100.0(1,061)
ตารางที่ 6 : อุปสรรคสำคัญที่สุดในการปฏิรูปการศึกษาของไทย
จำนวน ร้อยละ
นโยบายปฏิรูปการศึกษาเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 279 26.2
ไม่ได้มีการทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมของครูผู้ปฏิบัติ 233 22.0
แนวทางปฏิรูปการศึกษาไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง 186 17.6
ขาดปัจจัยสนับสนุนด้านงบประมาณและอุปกรณ์การศึกษา 158 14.9
มีการเมืองเข้ามาแทรกแซงระบบการศึกษา 82 7.7
การยึดติดกับแนวคิดและวิธีการแบบเดิมๆ ของครูบางกลุ่ม 37 3.5
อื่นๆ อาทิผู้ปกครองไม่เข้าใจและไม่ให้ความร่วมมือ 18 1.7
ไม่มีอุปสรรคใดๆ 3 0.3
ไม่ระบุ 65 6.1
ตารางที่ 7: ความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา
จำนวน ร้อยละ
พอใจมาก 23 2.2
ค่อนข้างพอใจ 388 36.5
ไม่ค่อยพอใจ 534 50.4
ไม่พอใจเลย 116 10.9
ตารางที่ 8 : ความเชื่อมั่นต่อนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบันว่าจะสามารถผลักดัน
เรื่องการปฏิรูปการศึกษาให้มีความชัดเจนเป็นที่พอใจของสังคมได้
จำนวน ร้อยละ
เชื่อมั่นมาก 15 1.4
ค่อนข้างเชื่อมั่น 303 28.6
ไม่ค่อยเชื่อมั่น 638 60.1
ไม่เชื่อมั่นเลย 105 9.9
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
ด้วยในวันที่ 16 มกราคมที่จะถึงนี้ตรงกับวันครู ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนระบบการศึกษาเพื่อสร้างอนาคตที่ดีให้กับเยาวชน
ไทย ทั้งนี้นับว่าครูยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงหลายประการที่ล้วนท้าทายต่ออุดมการณ์ความคิด และวิถีทางในการประกอบวิชาชีพ อันเป็นผล
มาจากนโยบายเรื่องการปฏิรูปการศึกษาที่แม้จะผ่านมือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมาหลายยุคหลายสมัย แต่ภาพของการปฏิรูปการศึกษาไทยก็
ยังไม่ชัดเจนเป็นที่พอใจของผู้คนในสังคม กระทั่งล่าสุดนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบันได้ออกมาแสดงความมั่นใจ
ว่าภายในปี 2549 นี้ผู้เกี่ยวข้องจะมีโอกาสได้เห็นผลงานด้านการปฏิรูปการศึกษาที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ดังนั้น ในโอกาสวันครูปีนี้ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์
จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของครูทั่วประเทศในหัวข้อ “ความเชื่อมั่นของครูต่อการปฎิรูปการศึกษายุค รมว.จาตุรนต์” ในประเด็นต่อไปนี้
1. ความเชื่อมั่นต่อระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันว่าจะสามารถพัฒนาเยาวชนไทยในด้านต่างๆ ได้
2. ความเชื่อมั่นต่อการปฏิรูปการศึกษาของไทยในภาพรวมว่าเดินมาถูกทางหรือไม่
3. อุปสรรคสำคัญที่สุดในการปฏิรูปการศึกษาไทย
4. ความพึงพอใจต่อการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา
5. ความเชื่อมั่นต่อนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบันว่าจะสามารถผลักดันเรื่องการปฏิรูปการศึกษา
ให้เห็นผลชัดเจนเป็นที่พอใจของสังคมได้
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างครูในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนทั้งหมด 53 แห่ง แบ่งเป็นโรงเรียนของรัฐ 38 แห่ง
และเอกชน 15 แห่งใน 19 จังหวัดทุกภาคของประเทศ ได้แก่กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน
พะเยา แพร่ พิจิตร ร้อยเอ็ด ขอนแก่น สุรินทร์ กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ระยอง ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และตรัง ตามสัด
ส่วนของจำนวนครูในแต่ละภาค ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,061 คน เป็นชายร้อยละ 31.0 และหญิงร้อยละ 69.0
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 22-35 ปีร้อยละ 43.4 อายุ 36-45 ปีร้อยละ 32.5 และอายุ 46 ปีขึ้นไปร้อยละ 24.1
สังกัดสถาบันการศึกษาของรัฐร้อยละ 62.0 และเอกชนร้อยละ 38.0
เป็นครูที่สอนในระดับประถมศึกษาร้อยละ 48.4 มัธยมศึกษาร้อยละ 50.1 และสอนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาร้อยละ 1.5
ระยะเวลาในการประกอบวิชาชีพครู 1-10 ปีร้อยละ 52.1 ระยะเวลา 11-20 ปีร้อยละ 20.8 ระยะเวลา 21-30 ปีร้อยละ
23.8 และตั้งแต่ 31 ปีขึ้นไปร้อยละ 3.3
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 81.2 เป็นผู้ที่มีความตั้งใจจะประกอบอาชีพครูมาตั้งแต่แรก ขณะที่อีกร้อยละ 18.8 ไม่ได้ตั้งใจจะประกอบอาชีพครู
มาตั้งแต่แรก ร้อยละ 72.0 มีงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบนอกเหนือจากงานสอน อาทิ งานทะเบียน งานห้องสมุด
งานลูกเสือ งานวิชาการ และงานกลุ่มกิจกรรม เฉลี่ยคนละ 1.75 งาน ขณะที่ร้อยละ 28.0 ไม่มีงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ
นอกเหนือจากงานสอน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 5-12 มกราคม 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 15 มกราคม 2549
สรุปผลการสำรวจ
1. เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นของครูต่อระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันว่าจะสามารถพัฒนาศักยภาพของของเยาวชนในด้านต่างๆ ได้หรือไม่
นั้น ผลปรากฎว่า การพัฒนาความรู้เชิงวิชาการเป็นสิ่งที่ครูมีความเชื่อมั่นมากที่สุด (เชื่อมั่นร้อยละ 66.6
ไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 33.4) รองลงมาได้แก่ การปลูกฝังแนวทางการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม (เชื่อมั่นร้อยละ 62.0
ไม่เชื่อมั่นร้อยละ 38.0) การพัฒนาความคิดในเชิงเหตุผล (เชื่อมั่นร้อยละ 59.1 ไม่เชื่อมั่นร้อยละ 40.9) การวางรากฐานเพื่อ
ให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (เชื่อมั่นร้อยละ 53.7 ไม่เชื่อมั่นร้อยละ 46.3) ขณะที่การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ให้กับเยาวชนเป็น
สิ่งที่ครูมีความเชื่อมั่นน้อยที่สุด (เชื่อมั่นร้อยละ 53.2 ไม่เชื่อมั่นร้อยละ 46.8)
2. ส่วนความเห็นต่อการปฏิรูปการศึกษาของไทยในภาพรวมว่าเดินมาถูกทางหรือไม่นั้น ครูร้อยละ 46.4 ระบุว่า
ไม่แน่ใจ เนื่องจากยังไม่เห็นผลที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม และนโยบายปฏิรูปการศึกษายังคงมีการเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ ขณะที่
ร้อยละ 33.7 เห็นว่าไม่ถูกทางเนื่องจากแนวทางการปฏิรูปไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย มีการให้ความความสำคัญกับงานเอกสาร
มากกว่างานสอน และสร้างปัญหาความขัดแย้งสับสนในหมู่ผู้ปฏิบัติงาน โดยมีครูเพียงร้อยละ 19.9 ที่เห็นว่าการปฏิรูปการศึกษาไทยเดินมาถูกทาง
โดยให้เหตุผลว่านักเรียนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นมากขึ้น หลักสูตรมีความทันสมัยเหมาะกับโลกยุคปัจจุบัน และมีการจัดการเรียนการสอนที่เป็น
ระบบชัดเจนขึ้น
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบระหว่างครูในสถาบันของรัฐกับเอกชน พบว่า ครูในสถาบันเอกชนเห็นว่าการปฏิรูปการศึกษาไทยเดินมาไม่ถูกทางร้อย
ละ 28.0 ขณะที่ครูในสถาบันของรัฐเห็นว่าไม่ถูกทางร้อยละ 37.2
และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างครูระดับประถมศึกษากับมัธยมศึกษา พบว่า ครูประถมศึกษาเห็นว่าการปฏิรูปการศึกษาไทยเดินมาไม่ถูกทาง
ร้อยละ 27.1 ขณะที่ครูมัธยมเห็นว่าไม่ถูกทางถึงร้อยละ 40.8
3. สำหรับอุปสรรคสำคัญที่สุดในการปฏิรูประบบการศึกษาของไทยนั้น ครูร้อยละ 26.2 เห็นว่าเกิดจากการที่นโยบายปฏิรูปการศึกษา
เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รองลงมาร้อยละ 22.0 เห็นว่าเป็นเพราะไม่ได้มีการทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมให้
กับครูผู้ปฏิบัติงาน ร้อยละ 17.6 เห็นว่าเป็นเพราะแนวทางการปฏิรูปการศึกษาไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ร้อยละ 14.9 เห็นว่าเป็น
เพราะขาดปัจจัยสนับสนุนด้านงบประมาณและอุปกรณ์การศึกษา ร้อยละ 7.7 เห็นว่าเป็นเพราะมีการเมืองเข้ามาแทรกแซงระบบการศึกษา และ
ร้อยละ 3.5 เห็นว่าเป็นเพราะการยึดติดกับแนวคิดและวิธีการแบบเดิมๆ ของครูบางกลุ่ม
4. ประเด็นเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการทำงานเรื่องการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ครูส่วนใหญ่คือร้อยละ 61.3
ระบุว่าไม่พอใจ (แบ่งเป็นไม่ค่อยพอใจร้อยละ 50.4 และไม่พอใจเลยร้อยละ 10.9) ขณะที่ร้อยละ 38.7 ระบุว่าพอใจ (แบ่งเป็นค่อนข้างพอใจ
ร้อยละ 36.5 และพอใจมากร้อยละ 2.2)
5. ส่วนความเชื่อมั่นต่อนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบันว่าจะสามารถผลักดันเรื่องการปฏิรูปการ
ศึกษาให้เห็นผลชัดเจนเป็นที่พอใจของสังคมได้หรือไม่นั้น ร้อยละ 70.0 ไม่เชื่อมั่น (แบ่งเป็นไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 60.1 และไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ
9.9) มีเพียงร้อยละ 30.0 ที่เชื่อมั่น (แบ่งเป็นค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 28.6 และเชื่อมั่นมากร้อยละ 1.4)
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 329 31.0
หญิง 732 69.0
อายุ :
25 — 35 ปี 461 43.4
36 — 45 ปี 345 32.5
46 ปีขึ้นไป 255 24.1
สังกัด
สถาบันการศึกษาของรัฐ 658 62.0
สถาบันการศึกษาเอกชน 403 38.0
ระดับที่สอน
ประถมศึกษา 513 48.4
มัธยมศึกษา 532 50.1
ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 16 1.5
จำนวนปีที่ประกอบอาชีพครู
1-10 ปี 553 52.1
11-20 ปี 221 20.8
21-30 ปี 252 23.8
ตั้งแต่ 31 ปีขึ้นไป 35 3.3
ตารางที่ 2: ความตั้งใจที่จะประกอบอาชีพครูมาตั้งแต่แรก
จำนวน ร้อยละ
มีความตั้งใจจะประกอบอาชีพครูมาตั้งแต่แรก 862 81.2
ไม่ได้ตั้งใจจะประกอบอาชีพครูมาตั้งแต่แรก 199 18.8
ตารางที่ 3 : งานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบนอกเหนือจากงานสอน
จำนวน ร้อยละ
มี อาทิ งานทะเบียน งานห้องสมุด งานลูกเสือ งานวิชาการ และงานกลุ่มกิจกรรม เฉลี่ยคนละ 1.75 งาน 764 72.0
ไม่มี 297 28.0
ตารางที่ 4 : ความเชื่อมั่นต่อระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันว่าจะสามารถพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในด้านต่างๆ
เชื่อมั่นมาก ค่อนข้างเชื่อมั่น ไม่ค่อยเชื่อ ไม่มั่นใจเลย
การพัฒนาความรู้เชิงวิชาการ 16.7(177) 49.9(529) 29.3(311) 4.1(44)
การปลูกฝังแนวทางการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม 17.1(181) 44.9(476) 32.6(347) 5.4(57)
การพัฒนาความคิดในเชิงเหตุผล 12.8(136) 46.3(491) 35.2(373) 5.7(61)
การวางรากฐานเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 15.2(161) 38.5(409) 40.3(427) 6.0(64)
การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 12.5(133) 40.7(432) 40.9(433) 5.9(63)
ตารางที่ 5 : ความคิดเห็นต่อการปฏิรูปการศึกษาของไทยในภาพรวมว่าดำเนินมาถูกทางหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ถูกทาง เพราะ - นักเรียนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นมากขึ้น ร้อยละ 11.0 211 19.9
- หลักสูตรมีความทันสมัยเหมาะกับโลกยุคปัจจุบัน ร้อยละ 2.3
- มีการจัดการเรียนการสอนที่เป็นระบบชัดเจนขึ้น ร้อยละ 2.1
- อื่นๆ ร้อยละ 1.6
- ไม่ระบุเหตุผล ร้อยละ 2.9
ไม่ถูกทาง เพราะ - ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย ร้อยละ 10.2 358 33.7
- ให้ความสำคัญกับงานเอกสารมากกว่างานสอน ร้อยละ 8.0
- สร้างปัญหาความขัดแย้งและสับสนในหมู่ผู้ปฏิบัติ ร้อยละ 7.8
- ผลการเรียนของเด็กแย่ลงกว่าเดิม ร้อยละ 4.7
- อื่นๆ ร้อยละ 0.6
- ไม่ระบุเหตุผล ร้อยละ 2.4
ไม่แน่ใจ เพราะ - ยังไม่เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม ร้อยละ 17.3 492 46.4
- นโยบายปฏิรูปการศึกษาเปลี่ยนแปลงบ่อย ร้อยละ 13.6
- บางอย่างดูดีขึ้นแต่บางอย่างก็แย่ลง ร้อยละ 6.1
- มีปัจจัยด้านอื่น เช่น การเมือง และสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง ร้อยละ 1.6
- อื่นๆ ร้อยละ 0.8
- ไม่ระบุเหตุผล ร้อยละ 7.0
ตารางที่ 5.1: เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการปฏิรูปการศึกษาไทยระหว่างครูในสถาบันการศึกษาของรัฐกับเอกชน
ถูกทาง ไม่ถูกทาง ไม่แน่ใจ รวม
รัฐ 18.5(122) 37.2(245) 44.2(291) 100.0(658)
เอกชน 22.2(89) 28.0(113) 49.9(201) 100.0(403)
เฉลี่ยรวม 19.9(211) 33.7(358) 46.4(492) 100.0(1,061)
ตารางที่ 5.2: เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการปฏิรูปการศึกษาไทยระหว่างครูที่สอนระดับประถมศึกษากับมัธยมศึกษา
ถูกทาง ไม่ถูกทาง ไม่แน่ใจ รวม
ประถมศึกษา 24.0(123) 27.1(139) 48.9(251) 100.0(513)
มัธยมศึกษา 15.8(84) 40.8(217) 43.4(231) 100.0(532)
สอนทั้งประถมและมัธยม 25.0(4) 12.5(2) 62.5(10) 100.0(16)
เฉลี่ยรวม 19.9(211) 33.7(358) 46.4(492) 100.0(1,061)
ตารางที่ 6 : อุปสรรคสำคัญที่สุดในการปฏิรูปการศึกษาของไทย
จำนวน ร้อยละ
นโยบายปฏิรูปการศึกษาเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 279 26.2
ไม่ได้มีการทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมของครูผู้ปฏิบัติ 233 22.0
แนวทางปฏิรูปการศึกษาไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง 186 17.6
ขาดปัจจัยสนับสนุนด้านงบประมาณและอุปกรณ์การศึกษา 158 14.9
มีการเมืองเข้ามาแทรกแซงระบบการศึกษา 82 7.7
การยึดติดกับแนวคิดและวิธีการแบบเดิมๆ ของครูบางกลุ่ม 37 3.5
อื่นๆ อาทิผู้ปกครองไม่เข้าใจและไม่ให้ความร่วมมือ 18 1.7
ไม่มีอุปสรรคใดๆ 3 0.3
ไม่ระบุ 65 6.1
ตารางที่ 7: ความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา
จำนวน ร้อยละ
พอใจมาก 23 2.2
ค่อนข้างพอใจ 388 36.5
ไม่ค่อยพอใจ 534 50.4
ไม่พอใจเลย 116 10.9
ตารางที่ 8 : ความเชื่อมั่นต่อนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบันว่าจะสามารถผลักดัน
เรื่องการปฏิรูปการศึกษาให้มีความชัดเจนเป็นที่พอใจของสังคมได้
จำนวน ร้อยละ
เชื่อมั่นมาก 15 1.4
ค่อนข้างเชื่อมั่น 303 28.6
ไม่ค่อยเชื่อมั่น 638 60.1
ไม่เชื่อมั่นเลย 105 9.9
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-