กรุงเทพโพลล์: การเมืองไทยในช่วงชุมนุมใหญ่ของกลุ่ม นปช.

ข่าวผลสำรวจ Friday March 12, 2010 09:44 —กรุงเทพโพลล์

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ระบุ ประชาชนชาวกรุงเทพ ฯ รู้สึกเบื่อหน่าย และเซ็งกับการชุมนุมมากที่สุด โดยเห็น ว่าผู้ที่เป็นต้นเหตุทำให้การเมืองไทยมีความร้อนแรงมากขึ้นในช่วงระยะนี้คือ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และ กลุ่ม นปช. รองลงมาคือ กลุ่มมือที่สามที่ ฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์

ทั้งนี้ คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ ไม่มั่นใจว่ารัฐบาลและฝ่ายความมั่นคงจะสามารถควบคุมสถานการณ์การชุมนุมไม่ให้เกิดความรุนแรงได้ แต่ ร้อยละ 46.6 ก็ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารยึดอำนาจแม้เหตุการณ์จะรุนแรงถึงขั้นนองเลือด โดยร้อยละ 39.2 เชื่อว่าการชุมนุมครั้งนี้จะจบลงด้วย การยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ ขณะที่ร้อยละ 23.8 เชื่อว่ารัฐบาลชุดเดิมจะได้บริหารประเทศต่อไป

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ความรู้สึกต่อการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดงที่จะมีขึ้นปลายสัปดาห์นี้
          - เบื่อหน่าย เซ็ง                                                  ร้อยละ  41.7
          - เฉยๆ ไม่สนใจ                                                  ร้อยละ  24.2
          - ตื่นเต้น น่าติดตาม                                                ร้อยละ  19.4
          - เครียดและกังวล                                                 ร้อยละ  12.0
          - อื่นๆ อาทิ ไม่พอใจ รู้สึกวุ่นวาย ไม่ชอบเลย เป็นต้น                       ร้อยละ   2.7
2. ความเชื่อมั่นว่ากลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จะชุมนุมอย่างสงบภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ
          - เชื่อว่าบางส่วนจะชุมนุมอย่างสงบแต่บางส่วนจะใช้ความรุนแรง                ร้อยละ 47.0
          - เชื่อว่าจะชุมนุมอย่างสงบทั้งหมด                                      ร้อยละ 15.2
          - เชื่อว่าจะใช้ความรุนแรงทั้งหมด                                      ร้อยละ 12.6
          - ไม่แน่ใจ                                                       ร้อยละ 25.2

3. ประชาชนมองว่าผู้ที่เป็นต้นเหตุ ทำให้การเมืองไทยมีความร้อนแรงมากขึ้นในช่วงระยะนี้ คือ
          - พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และ กลุ่ม นปช.                               ร้อยละ 40.8
          - มือที่สามที่ฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์                                  ร้อยละ 20.4
          - สื่อต่างๆ ที่นำเสนอข่าวความขัดแย้ง                                   ร้อยละ 18.3
          - รัฐบาล                                                        ร้อยละ 14.3
          - กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย                                ร้อยละ 6.2

4. ความมั่นใจต่อความสามารถของรัฐบาลและฝ่ายความมั่นคงในการควบคุมสถานการณ์การชุมนุม ไม่ให้เกิดความรุนแรง
          - มั่นใจ                                                         ร้อยละ 39.4

(โดยแบ่งเป็น มั่นใจมาก ร้อยละ 11.8 และค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 27.6)

          - ไม่มั่นใจ                                                       ร้อยละ 60.6

(โดยแบ่งเป็น ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 21.5 และไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 39.1)

5. ความคิดเห็นต่อการรัฐประหารยึดอำนาจ หากสถานการณ์รุนแรงบานปลายถึงขั้นนองเลือด
          - ไม่เห็นด้วย                                                     ร้อยละ 46.6
          - เห็นด้วย                                                       ร้อยละ 19.9
          - ไม่แสดงความคิดเห็น                                              ร้อยละ 33.5

6. ความคาดหมายต่อบทสรุปสุดท้ายของการชุมนุมครั้งนี้ว่าจะจบลงแบบใด
          - เชื่อว่าจะจบลงด้วยการยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่                           ร้อยละ 39.2
          - เชื่อว่ารัฐบาลชุดเดิมจะได้บริหารประเทศต่อไป                           ร้อยละ 23.8
          - เชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองใหม่                              ร้อยละ 8.7
          - เชื่อว่ามีการรัฐประหารยึดอำนาจ                                     ร้อยละ 4.1
          - อื่น ๆ อาทิ จะมีการชุมนุมยืดเยื้อต่อไป                                 ร้อยละ 1.5
          - ไม่แน่ใจ                                                       ร้อยละ 22.7

7. ถ้ามีการยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ และหากสามารถเลือกได้ บุคคลที่คนกรุงเทพฯ จะเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป คือ
          - นายอภิสิทธิ์   เวชชาชีวะ                                                    ร้อยละ  33.2
          - ยังมองไม่เห็นใครที่เหมาะสม                                                  ร้อยละ  23.0
          - พ.ต.ท. ทักษิณ  ชินวัตร                                                     ร้อยละ  22.1
          - นักการเมืองหน้าใหม่ที่มีความเป็นกลาง                                           ร้อยละ  7.1
  • อื่นๆ อาทิ นายอานันท์ ปันยารชุน ร.ต.อ.ปุรชัย เปี่ยมสมบูรณ์ นายชวน หลีกภัย เป็นต้น ร้อยละ 3.7
          - ไม่แสดงความเห็น                                                          ร้อยละ  10.9

รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการนัดชุมนุมของกลุ่มแนวร่วม ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ทั้งนี้เพื่อสะท้อนให้สังคมและแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อสังคมส่วน รวมต่อไป

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัวและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,226 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.2 และเพศหญิงร้อยละ 51.8

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัวและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อ คำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและ ประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :   10 — 11 มีนาคม 2553

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :    12 มีนาคม 2553

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                               จำนวน          ร้อยละ
เพศ
                       ชาย                       591          48.2
                       หญิง                       635          51.8
                       รวม                     1,226         100.0

อายุ
                      18 - 25 ปี                  279          22.8
                      26 - 35 ปี                  368          30.0
                      36 - 45 ปี                  282          23.0
                      46 ปีขึ้นไป                   297          24.2
                      รวม                      1,226         100.0

การศึกษา
               ต่ำกว่าปริญญาตรี                      661          53.9
               ปริญญาตรี                           509          41.5
               สูงกว่าปริญญาตรี                       56           4.6
                      รวม                      1,226         100.0

อาชีพ
     ข้าราชาร / พนักงานรัฐวิสาหกิจ                    119           9.7
     พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน                    365          29.8
     ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว                     316          25.8
     รับจ้างทั่วไป                                   198          16.1
     พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                         66           5.4
     อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น        162          13.2
                     รวม                       1,226         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ