ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ภาพสะท้อนวงการฟุตบอลไทยในสายตาแฟนบอล พบว่า แฟนบอลส่วนใหญ่อยากเห็นการพัฒนาเปลี่ยนแปลงในด้านทักษะและความเป็นมืออาชีพของนักเตะมากที่สุด และคิดว่าการให้ผู้เล่นต่างชาติลงสนามได้ 5 คนเป็นผลดีต่อการพัฒนาลีกฟุตบอลไทย เพราะทำให้นักเตะไทยต้องพัฒนาฝีเท้าเพื่อแข่งขันกับนักเตะต่างชาติ พร้อมเชื่อว่าทีมเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด จะคว้าแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก 2010 นอกจากนี้ยังเชื่อว่าทีมชาติไทยจะไม่มีทางได้ไปแข่งขันฟุตบอลโลก ทั้งนี้ การสำรวจดังกล่าวเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่สนใจติดตามข่าวการแข่งขันฟุตบอล จำนวน 930 คน เมื่อวันที่ 4-8 มีนาคม ที่ผ่านมา ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
จะติดตามชม ร้อยละ 73.8 จะไม่ติดตามชม ร้อยละ 26.2 เนื่องจาก ไม่สนใจฟุตบอลลีกของไทย ร้อยละ 12.0
ไม่มีเวลา เพราะต้องเรียน/ทำงาน ร้อยละ 14.2
ด้านทักษะและความเป็นมืออาชีพของนักฟุตบอล ร้อยละ 40.4 ด้านมารยาทการเชียร์ของแฟนบอล ร้อยละ 24.0 ด้านระบบการรักษาความปลอดภัยในสนามฟุตบอล ร้อยละ 16.6
ด้านมาตรฐานการตัดสินของกรรมการและผู้กำกับเส้น ร้อยละ 9.7
ด้านการประชาสัมพันธ์และการถ่ายทอดสด ร้อยละ 9.3 3. ความคิดเห็นต่อการให้ผู้เล่นต่างชาติลงสนาม 5 คนว่าจะส่งผลดีหรือผลเสียต่อการพัฒนาลีกฟุตบอลไทย
คิดว่าเป็นผลดี ร้อยละ 72.6
เนื่องจาก ทำให้นักเตะไทยต้องพัฒนาฝีเท้ามากขึ้น เพื่อแข็งขันกับนักเตะต่างชาติ ร้อยละ 40.6 ทำให้นักเตะไทยรู้ถึงความเป็นมืออาชีพของนักเตะต่างชาติ ร้อยละ 18.4 ทำให้ฟุตบอลมีความสนุกขึ้น เรียกผู้ชมได้มากขึ้น ร้อยละ 13.6
คิดว่าเป็นผลเสีย ร้อยละ 27.4
เนื่องจาก ทำให้นักเตะไทยเสียโอกาสในการลงเล่นเพื่อพัฒนาฝีเท้า ร้อยละ 19.8 ทำให้ทีมชาติไทยขาดนักเตะที่มีคุณภาพ ร้อยละ 5.4 ทำให้นักเตะไทยเสียโอกาสในการสร้างรายได้ ร้อยละ 2.2 4. ความคิดเห็นต่อสโมสรในศึกฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก ที่คาดว่าน่าจะได้เป็นแชมป์ในฤดูกาลนี้ คือ เมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด ร้อยละ 48.4 ชลบุรี เอฟซี ร้อยละ 22.3 บางกอกกล๊าส เอฟซี ร้อยละ 20.8 อื่นๆ อาทิ บุรีรัมย์-การไฟฟ้าฯ การท่าเรือไทย เอฟซี ร้อยละ 8.5 5. คะแนนความพึงพอใจต่อศักยภาพในด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาฟุตบอลทีมชาติไทย พบว่าได้คะแนนเฉลี่ย 5.74 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยคะแนนความพึงพอใจในด้านการสนับสนุนให้กำลังใจจากแฟนบอลโดยการไปเชียร์ที่สนามได้คะแนน สูงสุดคือ 6.79 คะแนน ขณะที่ด้านทักษะความสามารถและการควบคุมอารมณ์ของนักเตะได้คะแนนต่ำสุดคือ 4.99 คะแนน
ด้านการสนับสนุนให้กำลังใจจากแฟนบอลโดยการไปเชียร์ที่สนาม มีคะแนนเฉลี่ย 6.79
ด้านการพัฒนามาตรฐานฟุตบอลลีก มีคะแนนเฉลี่ย 5.86 ด้านความสามารถและผลงานของโค้ชและผู้จัดการทีม มีคะแนนเฉลี่ย 5.85 ด้านการพัฒนาฟุตบอลในระดับรากหญ้าและเยาวชน มีคะแนนเฉลี่ย 5.48
ด้านระบบการบริหารจัดการของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย มีคะแนนเฉลี่ย 5.47
ด้านทักษะความสามารถและการควบคุมอารมณ์ของนักเตะ มีคะแนนเฉลี่ย 4.99 6. ความเชื่อมั่นว่าฟุตบอลทีมชาติไทยจะสามารถไปแข่งขันฟุตบอลโลกได้ เชื่อว่ามีโอกาสเป็นไปได้ ร้อยละ 49.1
โดยส่วนใหญ่คิดว่าจะได้ไปภายในระยะเวลามากกว่า 20 ปีขึ้นไป ร้อยละ 18.9
ภายใน 12 ถึง 16 ปี ร้อยละ 16.5 ภายใน 4 ถึง 8 ปี ร้อยละ 13.7 เชื่อว่าไม่มีทางเป็นไปได้ ร้อยละ 50.9
รายละเอียดในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 28 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลองสาน จตุจักร จอมทอง ดอนเมือง ดินแดง บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางกะปิ บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางบอน บางรัก บึงกุ่ม ประเวศ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ลาดกระบัง ลาดพร้าว วังทองหลาง สวนหลวง สะพานสูง สาทร และหนองแขม และจังหวัดในเขตปริมณฑลรวม 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 930 คน เป็นชายร้อยละ 89.4 และหญิงร้อยละ 10.6
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และข้อคำถามปลายเปิด จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 4 - 8 มีนาคม 2553 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 18 มีนาคม 2553
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 831 89.4 หญิง 99 10.6 รวม 930 100.0 อายุ 15 - 25 ปี 300 32.2 26 - 35 ปี 299 32.2 36 - 45 ปี 199 21.4 46 ปีขึ้นไป 132 14.2 รวม 930 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 575 61.8 ปริญญาตรี 316 34.0 สูงกว่าปริญญาตรี 39 4.2 รวม 930 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 55 5.9 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 327 35.2 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 208 22.4 รับจ้างทั่วไป 162 17.4 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 16 1.7 อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 162 17.4 รวม 930 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--