สืบเนื่องจากประเด็นข่าวสารเรื่องปัญหาการแต่งกายที่ไม่เหมาะสมของนิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในปัจจุบันทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ร่วมกันระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวง
วัฒนธรรมมีแนวคิดร่วมกันเสนอให้ผลักดันการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นต่อประเด็นปัญหาดังกล่าวในมุมมองของนิสิต
นักศึกษา ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นต่อปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษาใน
ระดับอุดมศึกษา” โดยเก็บข้อมูลจากนิสิต นักศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนทั่วทุกภาคของประเทศ
จำนวน 1,743 คน เป็นเพศชายร้อยละ 36.9 และเพศหญิงร้อยละ 63.1 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน — 16 กรกฎาคม 2550 โดยร่วมมือกับบริษัท เอ็ม
เว็บ (ประเทศไทย) จำกัด ในการเก็บผลสำรวจบางส่วนผ่านเว็บไซต์สนุกดอทคอม สรุปผลได้ดังนี้
1. ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อประเด็นปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษาในปัจจุบันว่าเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
- เห็นด้วย...................ร้อยละ 72.6
- ไม่เห็นด้วย.................ร้อยละ 12.8
- ไม่แสดงความเห็น............ร้อยละ 14.6
2. เมื่อถามความคิดเห็นที่มีต่อปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษาไทยในปัจจุบันว่ามีความน่าเป็นห่วงเพียงใด พบว่า
- เห็นว่าเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงมาก............ร้อยละ 27.4
- เห็นว่าเป็นปัญหาที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง.........ร้อยละ 54.2
- เห็นว่าเป็นปัญหาที่ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง..........ร้อยละ 13.4
- เห็นว่าเป็นปัญหาที่ไม่น่าเป็นห่วงเลย..........ร้อยละ 5.0
3. เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างถึงความเห็นของการแต่งกายไม่เหมาะสมของนิสิต นักศึกษาว่าจะก่อให้เกิดผลเสีย
หรือปัญหาใดมากที่สุด (เป็นคำถามปลายเปิดให้ระบุคำตอบเอง)
- ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม อาทิ การล่วงละเมิดทางเพศ การข่มขืน.....ร้อยละ 59.9
- ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของสถาบันและของตนเอง...................ร้อยละ 17.8
- ก่อให้เกิดปัญหาจี้ ปล้น วิ่งราวทรัพย์.............................ร้อยละ 5.4
- ขัดกับวัฒนธรรมอันดีงามของไทย................................ร้อยละ 4.3
- ไม่แสดงความเห็น..........................................ร้อยละ 4.2
- เห็นว่าไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ..................................ร้อยละ 3.8
- เสียบุคลิกภาพ เสียสุขภาพ....................................ร้อยละ 3.1
- อื่นๆ อาทิ สิ้นเปลือง ไม่เหมาะสมกับวัย..........................ร้อยละ 1.5
4. ความเห็นต่อกรณีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงวัฒนธรรมจะผลักดัน
เรื่องการแก้ปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษา ให้เป็นวาระแห่งชาติ พบว่า
- เห็นด้วย.........................ร้อยละ 68.5
(เพราะ เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ไขก่อนที่ปัญหาจะรุนแรงกว่านี้ เป็นการลดปัญหาอาชญากรรม
และปัญหาสังคมได้ นักศึกษาจะได้แต่งกายเรียบร้อยขึ้น และเพื่อรักษาวัฒนธรรมอันดีงาม)
- ไม่เห็นด้วย.......................ร้อยละ 31.5
(เพราะ ยังไม่ใช่ปัญหาใหญ่ระดับวาระแห่งชาติ เป็นการจำกัดสิทธิส่วนบุคคล เป็นความพอใจส่วนบุคคล และอาจเป็นการยิ่งห้ามยิ่งยุ)
โดยกลุ่มที่ระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติจำนวนร้อยละ 31.5 เห็นว่า
- ควรให้นิสิต นักศึกษาหรือองค์กรนิสิต นักศึกษาเป็นหลักในการแก้ปัญหา..ร้อยละ 15.1
- ควรให้อาจารย์และสถาบันการศึกษาเป็นหลักในการแก้ปัญหา.........ร้อยละ 9.9
- ควรให้ผู้ปกครองเป็นหลักในการแก้ปัญหา.......................ร้อยละ 2.5
- อื่นๆ อาทิ ทุกฝ่ายควรร่วมมือกัน.............................ร้อยละ 4.0
5. เมื่อถามความเห็นกลุ่มตัวอย่างถึงมาตรการที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษาแล้วคิดว่าจะทำให้เห็นผลเป็นรูปธรรมมากที่สุด
- ใช้กฎระเบียบของสถาบันการศึกษามาเป็นตัวบังคับอย่างจริงจังอาทิ ตัดคะแนน หรือไม่ให้เข้าชั้นเรียน......ร้อยละ 47.5
- ใช้การรณรงค์หรือชักจูงใจให้นิสิต นักศึกษา หันมาแต่งกายให้เหมาะสม............................ร้อยละ 30.2
- ใช้มาตรการทางกฎหมายในการบังคับให้ผู้ผลิต เลิกผลิตเสื้อนักศึกษาที่ฟิต โป๊ หรือมีขนาดเล็กจนเกินไป.....ร้อยละ 15.7
- อื่นๆ อาทิ ใช้ทั้ง 3 มาตรการรวมกัน....................................................ร้อยละ 6.6
6. ความเห็นต่อการที่สถาบันการศึกษาจะอนุญาตให้นักศึกษาแต่งชุดธรรมดาที่สุภาพ (Private) แทนการใส่ชุดนักศึกษา
- ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 57.2
- เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 42.8
7. เมื่อถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างกรณีที่ หากสถาบันการศึกษาอนุญาตให้นักศึกษาแต่งชุดธรรมดาที่สุภาพ (Private) แทนการใส่ชุดนักศึกษา
มาเรียนแล้ว ปัญหาเรื่องการแต่งกายไม่เหมาะสมของนิสิต นักศึกษาจะหมดไปหรือไม่ พบว่า
- เชื่อว่าปัญหาเรื่องการแต่งกายไม่เหมาะสมจะยังคงมีอยู่........ร้อยละ 60.0
- เชื่อว่าปัญหาเรื่องการแต่งกายไม่เหมาะสมจะหมดไป..........ร้อยละ 22.3
- ไม่แสดงความเห็น...................................ร้อยละ 17.7
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นและสะท้อนมุมมองของนิสิต นักศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติต่อปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษาใน
ปัจจุบันให้สาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและเป็นข้อมูลในการกำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหา
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นต่อปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา” ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่าง 2 วิธีคือ วิธีเลือก
กลุ่มตัวอย่างแบบยึดหลักความน่าจะเป็น (Probability Sampling) และวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่ยึดหลักความน่าจะเป็น (Non-Probability
Sampling) จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนจำนวน 19
แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ทำการสุ่มคณะ ชั้นปีและประชากรเป้าหมาย สำหรับ
ประชากรเป้าหมายในต่างจังหวัดใช้การสุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวก (Convenience Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,743 คน เป็นเพศ
ชายร้อยละ 36.9 และเพศหญิงร้อยละ 63.1
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน ฑ 10% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามและแบบสอบถาม On-Line สัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 28 มิถุนายน — 16 กรกฎาคม 2550
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 27 กรกฎาคม 2550
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 643 36.9
หญิง 1100 63.1
อายุ :
17-18 ปี 178 10.2
19-20 ปี 595 34.1
21-22 ปี 699 40.1
23 ปีขึ้นไป 271 15.6
การศึกษา :
อนุปริญญา 94 5.4
ปริญญาตรี 1649 94.6
ชั้นปีที่กำลังศึกษา :
ชั้นปีที่ 1 332 19.0
ชั้นปีที่ 2 275 15.8
ชั้นปีที่ 3 425 24.4
ชั้นปีที่ 4 679 39.0
ชั้นปีอื่นๆ 32 1.8
สถาบัน :
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 535 30.7
สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน 836 48.0
สถาบันราชภัฎ/ราชมงคล 274 15.7
วิทยาลัย / อื่นๆ 98 5.6
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
รวมถึงสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ร่วมกันระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวง
วัฒนธรรมมีแนวคิดร่วมกันเสนอให้ผลักดันการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นต่อประเด็นปัญหาดังกล่าวในมุมมองของนิสิต
นักศึกษา ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นต่อปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษาใน
ระดับอุดมศึกษา” โดยเก็บข้อมูลจากนิสิต นักศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนทั่วทุกภาคของประเทศ
จำนวน 1,743 คน เป็นเพศชายร้อยละ 36.9 และเพศหญิงร้อยละ 63.1 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน — 16 กรกฎาคม 2550 โดยร่วมมือกับบริษัท เอ็ม
เว็บ (ประเทศไทย) จำกัด ในการเก็บผลสำรวจบางส่วนผ่านเว็บไซต์สนุกดอทคอม สรุปผลได้ดังนี้
1. ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อประเด็นปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษาในปัจจุบันว่าเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
- เห็นด้วย...................ร้อยละ 72.6
- ไม่เห็นด้วย.................ร้อยละ 12.8
- ไม่แสดงความเห็น............ร้อยละ 14.6
2. เมื่อถามความคิดเห็นที่มีต่อปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษาไทยในปัจจุบันว่ามีความน่าเป็นห่วงเพียงใด พบว่า
- เห็นว่าเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงมาก............ร้อยละ 27.4
- เห็นว่าเป็นปัญหาที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง.........ร้อยละ 54.2
- เห็นว่าเป็นปัญหาที่ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง..........ร้อยละ 13.4
- เห็นว่าเป็นปัญหาที่ไม่น่าเป็นห่วงเลย..........ร้อยละ 5.0
3. เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างถึงความเห็นของการแต่งกายไม่เหมาะสมของนิสิต นักศึกษาว่าจะก่อให้เกิดผลเสีย
หรือปัญหาใดมากที่สุด (เป็นคำถามปลายเปิดให้ระบุคำตอบเอง)
- ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม อาทิ การล่วงละเมิดทางเพศ การข่มขืน.....ร้อยละ 59.9
- ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของสถาบันและของตนเอง...................ร้อยละ 17.8
- ก่อให้เกิดปัญหาจี้ ปล้น วิ่งราวทรัพย์.............................ร้อยละ 5.4
- ขัดกับวัฒนธรรมอันดีงามของไทย................................ร้อยละ 4.3
- ไม่แสดงความเห็น..........................................ร้อยละ 4.2
- เห็นว่าไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ..................................ร้อยละ 3.8
- เสียบุคลิกภาพ เสียสุขภาพ....................................ร้อยละ 3.1
- อื่นๆ อาทิ สิ้นเปลือง ไม่เหมาะสมกับวัย..........................ร้อยละ 1.5
4. ความเห็นต่อกรณีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงวัฒนธรรมจะผลักดัน
เรื่องการแก้ปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษา ให้เป็นวาระแห่งชาติ พบว่า
- เห็นด้วย.........................ร้อยละ 68.5
(เพราะ เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ไขก่อนที่ปัญหาจะรุนแรงกว่านี้ เป็นการลดปัญหาอาชญากรรม
และปัญหาสังคมได้ นักศึกษาจะได้แต่งกายเรียบร้อยขึ้น และเพื่อรักษาวัฒนธรรมอันดีงาม)
- ไม่เห็นด้วย.......................ร้อยละ 31.5
(เพราะ ยังไม่ใช่ปัญหาใหญ่ระดับวาระแห่งชาติ เป็นการจำกัดสิทธิส่วนบุคคล เป็นความพอใจส่วนบุคคล และอาจเป็นการยิ่งห้ามยิ่งยุ)
โดยกลุ่มที่ระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติจำนวนร้อยละ 31.5 เห็นว่า
- ควรให้นิสิต นักศึกษาหรือองค์กรนิสิต นักศึกษาเป็นหลักในการแก้ปัญหา..ร้อยละ 15.1
- ควรให้อาจารย์และสถาบันการศึกษาเป็นหลักในการแก้ปัญหา.........ร้อยละ 9.9
- ควรให้ผู้ปกครองเป็นหลักในการแก้ปัญหา.......................ร้อยละ 2.5
- อื่นๆ อาทิ ทุกฝ่ายควรร่วมมือกัน.............................ร้อยละ 4.0
5. เมื่อถามความเห็นกลุ่มตัวอย่างถึงมาตรการที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษาแล้วคิดว่าจะทำให้เห็นผลเป็นรูปธรรมมากที่สุด
- ใช้กฎระเบียบของสถาบันการศึกษามาเป็นตัวบังคับอย่างจริงจังอาทิ ตัดคะแนน หรือไม่ให้เข้าชั้นเรียน......ร้อยละ 47.5
- ใช้การรณรงค์หรือชักจูงใจให้นิสิต นักศึกษา หันมาแต่งกายให้เหมาะสม............................ร้อยละ 30.2
- ใช้มาตรการทางกฎหมายในการบังคับให้ผู้ผลิต เลิกผลิตเสื้อนักศึกษาที่ฟิต โป๊ หรือมีขนาดเล็กจนเกินไป.....ร้อยละ 15.7
- อื่นๆ อาทิ ใช้ทั้ง 3 มาตรการรวมกัน....................................................ร้อยละ 6.6
6. ความเห็นต่อการที่สถาบันการศึกษาจะอนุญาตให้นักศึกษาแต่งชุดธรรมดาที่สุภาพ (Private) แทนการใส่ชุดนักศึกษา
- ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 57.2
- เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 42.8
7. เมื่อถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างกรณีที่ หากสถาบันการศึกษาอนุญาตให้นักศึกษาแต่งชุดธรรมดาที่สุภาพ (Private) แทนการใส่ชุดนักศึกษา
มาเรียนแล้ว ปัญหาเรื่องการแต่งกายไม่เหมาะสมของนิสิต นักศึกษาจะหมดไปหรือไม่ พบว่า
- เชื่อว่าปัญหาเรื่องการแต่งกายไม่เหมาะสมจะยังคงมีอยู่........ร้อยละ 60.0
- เชื่อว่าปัญหาเรื่องการแต่งกายไม่เหมาะสมจะหมดไป..........ร้อยละ 22.3
- ไม่แสดงความเห็น...................................ร้อยละ 17.7
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นและสะท้อนมุมมองของนิสิต นักศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติต่อปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษาใน
ปัจจุบันให้สาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและเป็นข้อมูลในการกำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหา
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นต่อปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา” ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่าง 2 วิธีคือ วิธีเลือก
กลุ่มตัวอย่างแบบยึดหลักความน่าจะเป็น (Probability Sampling) และวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่ยึดหลักความน่าจะเป็น (Non-Probability
Sampling) จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนจำนวน 19
แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ทำการสุ่มคณะ ชั้นปีและประชากรเป้าหมาย สำหรับ
ประชากรเป้าหมายในต่างจังหวัดใช้การสุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวก (Convenience Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,743 คน เป็นเพศ
ชายร้อยละ 36.9 และเพศหญิงร้อยละ 63.1
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน ฑ 10% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามและแบบสอบถาม On-Line สัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 28 มิถุนายน — 16 กรกฎาคม 2550
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 27 กรกฎาคม 2550
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 643 36.9
หญิง 1100 63.1
อายุ :
17-18 ปี 178 10.2
19-20 ปี 595 34.1
21-22 ปี 699 40.1
23 ปีขึ้นไป 271 15.6
การศึกษา :
อนุปริญญา 94 5.4
ปริญญาตรี 1649 94.6
ชั้นปีที่กำลังศึกษา :
ชั้นปีที่ 1 332 19.0
ชั้นปีที่ 2 275 15.8
ชั้นปีที่ 3 425 24.4
ชั้นปีที่ 4 679 39.0
ชั้นปีอื่นๆ 32 1.8
สถาบัน :
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 535 30.7
สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน 836 48.0
สถาบันราชภัฎ/ราชมงคล 274 15.7
วิทยาลัย / อื่นๆ 98 5.6
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-