กรุงเทพโพลล์: อนาคตการเมืองไทยหลังการเจรจา 2 ครั้งระหว่างรัฐบาลกับแกนนำ นปช.

ข่าวผลสำรวจ Wednesday March 31, 2010 09:43 —กรุงเทพโพลล์

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ระบุคนกรุงเทพ ฯ ร้อยละ 45.6 คิดว่าสถานการณ์การเมืองไทยภายหลังการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับแกนนำ นปช. มาแล้ว 2 ครั้ง จะยังคงเหมือนเดิม โดยให้คะแนนความพึงพอใจต่อการทำหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมือง 6.09 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทยหลังจากมีการเปิดเจรจาระหว่างรัฐบาลกับแกนนำ นปช. มาแล้ว 2 ครั้ง
          - คิดว่าสถานการณ์จะดีขึ้น                                                     ร้อยละ  21.0
          - คิดว่าสถานการณ์จะเหมือนเดิม                                                ร้อยละ  45.6
          - คิดว่าสถานการณ์จะแย่ลง                                                    ร้อยละ  20.4
          - ไม่ทราบ ไม่ออกความคิดเห็น                                                 ร้อยละ  13.0

2. ความเห็นต่อประเด็นเรืองการยุบสภา ซึ่งพบว่า
          -  เห็นด้วยกับการยุบสภา                                                     ร้อยละ  42.0
          -  ไม่เห็นด้วยกับการยุบสภา                                                   ร้อยละ  41.0
          -  ไม่ออกความคิดเห็น                                                       ร้อยละ  17.0

3.   หากจะมีการยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่  ประเด็นที่เห็นว่าควรมีการแก้ไขเพื่อสร้างรากฐานที่ดีให้กับระบบการเมืองไทยในอนาคต คือ
          - ทุกอย่างดีอยู่แล้ว ไม่มีเรื่องใดต้องแก้ไข                                         ร้อยละ  30.3
          - ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ                                                       ร้อยละ  41.8

โดย - แก้ไขในบางประเด็นของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เช่น ร้อยละ 30.6

ประเด็นข้อกำหนดการยุบพรรคการเมือง

ที่มาของ สว. และองค์กรอิสระ การแบ่งเขตเลือกตั้ง สส.

                      - ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาเพื่อใช้แทนฉบับปี 2550         ร้อยละ 11.2
          - ควรแก้ไขในเรื่องอื่นๆ เช่น                                                  ร้อยละ  27.9

กำหนดมาตรการป้องกันและเพิ่มโทษของการซื้อสิทธิขายเสียง

สร้างคุณธรรมและจริยธรรมให้กับนักการเมือง

4. คะแนนความพึงพอใจต่อการทำหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมือง ได้คะแนน 6.09 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10)

5. สิ่งที่คนกรุงเทพฯ อยากฝากบอกถึงรัฐบาล (5 อันดับแรก) คือ
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
          - เป็นกำลังใจให้รัฐบาลทำงานต่อไปให้ดีที่สุด                                       ร้อยละ  26.9
          - ให้รัฐบาลจริงใจในการแก้ปัญหาเพื่อจะได้ยุติปัญหาโดยเร็ว                            ร้อยละ  16.3
          - ให้เสียสละ ยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน                                       ร้อยละ  13.8
          - ให้ประนีประนอม  ไม่ให้ใช้ความรุนแรง  ปล่อยให้เป็นไปตามกฎหมาย                   ร้อยละ   7.0
          - ให้คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก                                        ร้อยละ   6.6

6. สิ่งที่คนกรุงเทพฯ อยากฝากบอกถึงแกนนำและกลุ่มผู้ชุมนุม นปช.  (5 อันดับแรก) คือ
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
          - ให้ยุติการชุมนุมโดยเร็ว                                                     ร้อยละ 32.7
          - ไม่ควรนึกถึงประโยชน์ของคนใดคนหนึ่ง ควรนึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก            ร้อยละ 19.5
          - ชุมนุมได้แต่ควรชุมนุมอย่างสงบไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน                            ร้อยละ 19.0
          - เป็นกำลังใจให้ชุมนุมต่อไป                                                   ร้อยละ 10.4
          - ให้เจรจาหาทางออก และถอยกันคนละก้าว                                       ร้อยละ 5.1

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทยหลังมีการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) มาแล้ว 2 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อสะท้อนให้สังคมและแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมต่อไป

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัวและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,238 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 48.8 และเพศหญิงร้อยละ 51.2

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัวและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :   30 มีนาคม 2553

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :   31 มีนาคม 2553

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                               จำนวน         ร้อยละ
เพศ
          ชาย                                    604          48.8
          หญิง                                    634          51.2
        รวม                                    1,238         100.0

อายุ
          18 - 25 ปี                              268          21.7
          26 - 35 ปี                              472          38.1
          36 - 45 ปี                              254          20.5
          46 ปีขึ้นไป                               244          19.7
        รวม                                    1,238         100.0

การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                           560          45.2
          ปริญญาตรี                                494          39.9
          สูงกว่าปริญญาตรี                           184          14.9
        รวม                                    1,238         100.0

อาชีพ
          ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ               76           6.1
          พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน               512          41.4
          ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว                280          22.7
          รับจ้างทั่วไป                              103           8.3
          พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                    76           6.1
          อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น   191          15.4
        รวม                                    1,238         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ