ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) พบ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ร้อยละ 41.4 ระบุ ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบมากต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ แต่ยังยกให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่น่าท่องเที่ยวมากที่สุดในบรรดา 11 เมือง ของกลุ่ม เครือข่ายเมืองใหญ่แห่งเอเชีย
มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ระบุว่า ส่งผลมาก ถึงร้อยละ 41.4 ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากการสำรวจ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม — 1 พฤศจิกายน 2552 (ร้อยละ 19.3)
สำรวจเมื่อ สำรวจเมื่อ
31 ต.ค.-1 พ.ย. 52 26 - 29 มี.ค. 53
(ร้อยละ) (ร้อยละ) ส่งผลมาก (โดยแบ่งเป็น ส่งผลมากที่สุด ร้อยละ 7.8 และส่งผลมาก ร้อยละ 33.6) 19.3 41.4 ส่งผลน้อย (โดยแบ่งเป็น ส่งผลน้อยที่สุด ร้อยละ 23.0 และส่งผลน้อย ร้อยละ 35.6) 80.7 58.6 2. เมืองหลวงที่น่าท่องเที่ยวมากที่สุด 5 อันดับแรกในความเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ (เปรียบเทียบเฉพาะ 11 เมืองในกลุ่มเครือข่ายเมืองใหญ่แห่งเอเชีย 21 (The Asian Network of Major Cities 21 หรือ ANMC21) ได้แก่ กรุงเดลี กรุงฮานอย กรุงจาการ์ตา กรุงกัวลาลัมเปอร์ กรุงมะนิลา กรุงโซล กรุงโตเกียว กรุงไทเป กรุงย่างกุ้ง สิงคโปร์ และกรุงเทพมหานคร) อันดับ 1 กรุงเทพฯ ประเทศไทย ร้อยละ 31.9 อันดับ 2 กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ร้อยละ 19.0 อันดับ 3 สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์ ร้อยละ 12.6 อันดับ 4 กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ร้อยละ 8.8 อันดับ 5 กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ร้อยละ 7.6 3. เมื่อสอบถามนักท่องเที่ยวถึงความต้องการจะกลับมาเที่ยวกรุงเทพฯ อีกครั้ง พบว่า จะกลับมาอีก ร้อยละ 75.5 จะไม่กลับมาอีก ร้อยละ 2.7 ยังไม่แน่ใจ ร้อยละ 21.8 4. การยินดีที่จะแนะนำและบอกต่อให้ผู้อื่นมาเที่ยวกรุงเทพฯ พบว่า จะแนะนำ ร้อยละ 82.8 จะไม่แนะนำ ร้อยละ 0.7
(โดยให้เหตุผลว่า มีปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง เสียงดัง และทางเดินเท้าไม่สะอาด)
ไม่แน่ใจ ร้อยละ 16.5
รายละเอียดในการสำรวจ ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป บริเวณแหล่งท่องเที่ยวที่ชาวต่างชาตินิยมไป 8 แห่ง ของกรุงเทพฯ ได้แก่ 1) ถนนข้าวสาร 2) ถนนสีลม 3) ประตูน้ำ - พระพรหม — แยกราชดำริ 4) ตลาดนัดจตุจักร - สวนจตุจักร 5) วัดพระแก้ว — วัดโพธิ์ 6) สถานีรถไฟหัวลำโพง - ถนนเยาวราช 7) ถนนสุขุมวิท - แยกอโศก 8) สวนลุมไนท์บาซาร์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้ง สิ้น 449 คน เป็นเพศชายร้อยละ 55.5 และ เพศหญิงร้อยละ 44.5
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อน บันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 26 - 29 มีนาคม 2553 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 1 เมษายน 2553
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 249 55.5 หญิง 200 44.5 รวม 449 100.0 อายุ 15 — 24 ปี 111 24.7 25 — 34 ปี 169 37.7 35 — 44 ปี 87 19.4 45 — 54 ปี 53 11.8 55 — 64 ปี 24 5.3 64 ปีขึ้นไป 5 1.1 รวม 449 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 88 19.6 ปริญญาตรี 263 58.6 สูงกว่าปริญญาตรี 98 21.8 รวม 449 100.0 จำนวนครั้งที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย 1 ครั้ง 202 45.0 2 — 3 ครั้ง 145 32.3 มากกว่า 3 ครั้ง 102 22.7 รวม 449 100.0 ชาวต่างชาติส่วนใหญ่มาจากทวีป ทวีปยุโรป 257 57.2 ทวีปอเมริกา 66 14.7 ทวีปโอเชียเนีย 32 7.1 ทวีปเอเชีย 91 20.3 ทวีปแอฟริกา 3 0.7 รวม 449 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--