กรุงเทพโพลล์: "นักเศรษฐศาสตร์ช่วยคิดฝ่าวิกฤติประเทศไทย”

ข่าวผลสำรวจ Friday April 2, 2010 09:52 —กรุงเทพโพลล์

นักเศรษฐศาสตร์หนุนรัฐบาลเจรจาต่อแม้กลุ่ม นปช. จะปฎิเสธ พร้อมเตือนนักลงทุนหุ้นขึ้นเป็นการเก็งกำไรในระยะสั้น

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 22 แห่ง เรื่อง “นัก เศรษฐศาสตร์ช่วยคิดฝ่าวิกฤติประเทศไทยไทย” พบว่า นักเศรษฐศาสตร์เสนอแนวทางให้รัฐบาลใช้การเจรจาต่อกับกลุ่ม นปช. ต่อไป โดยควร กำหนดกรอบเวลาในการเจรจาที่ชัดเจน และประกาศให้ทุกฝ่ายรวมทั้งสาธารณชนรับรู้และเข้าใจ จากนั้นจึงยุบสภา พร้อมทั้งเสนอให้รัฐบาลอดทน ต่อการยั่วยุของกลุ่ม นปช. ด้านความเห็นในการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาตินั้นนักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 54.7 ไม่เห็นด้วย เนื่องจากรัฐบาลที่ตั้งขึ้นมาจะ ขาดเอกภาพ จะมีการขัดแย้งกันเองภายใน และไม่มีผู้นำที่ทุกฝ่ายยอมรับ ทำให้ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติอย่างแท้จริงได้ อีกทั้งจะทำให้ การบริหารประเทศเป็นไปอย่างยากลำบาก ไม่มีฝ่ายตรวจสอบ และรัฐบาลปัจจุบันยังทำงานได้

นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 51.6 ยังมองการปรับขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ว่าเป็นการปรับขึ้นเพื่อเก็งกำไรในระยะสั้น เพราะความเสี่ยงทางการเมืองยังมีอยู่ โดยคาดว่า SET Index ระดับสูงสุดของปีนี้จะอยู่ที่ 800- 810 จุด

สำหรับปัญหาความเดือดร้อนของชาวนาจากการที่ราคาข้าวตกต่ำและชาวนาบางส่วนเรียกร้องให้มีการนำระบบการรับจำนำข้าวมาใช้อีก ครั้งนั้น นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 51.6 ยังคงสนับสนุนรัฐบาลให้ใช้วิธีการประกันรายได้เกษตรกร(ประกันราคาข้าว) เนื่องจาก รัฐบาลจะมีราย จ่ายจากการอุดหนุนต่ำ ไม่มีปัญหาด้านการบริหารจัดการ ลดการทุจริต ในส่วนของเกษตรกรก็จะมีหลักประกันด้านรายได้ที่แน่นอน สามารถวางแผน การเพาะปลูกได้เนื่องจากสามารถคำนวณต้นทุนและรายได้ได้ อีกทั้งผลประโยชน์ดังกล่าวยังครอบคลุมจำนวนชาวนาได้มากกว่า

(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)

1. ความเห็นต่อวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำของรัฐบาล

ร้อยละ 51.6 สนับสนุนวิธีการประกันรายได้เกษตรกร (ประกันราคาข้าว)

เนื่องจาก (1) รัฐบาลมีรายจ่ายจากการอุดหนุนต่ำ ไม่มีปัญหาด้านการบริหารจัดการ ลดการทุจริต

(2) เกษตรกรมีหลักประกันด้านรายได้ และสามารถวางแผนการเพาะปลูกได้เนื่องจาก

สามารถคำนวณต้นทุนและรายได้ อีกทั้งยังครอบคลุมจำนวนชาวนาได้มาก

(3) ราคาประกันจะสะท้อนถึงต้นทุนการผลิตที่แท้จริงและอิงกับราคาข้าวในตลาดโลก

และมีการบิดเบือนกลไกตลาดน้อย

          ร้อยละ    4.6    สนับสนุนวิธีการจำนำข้าว

เนื่องจาก (1) เป็นการให้สิทธิในการเลือกมากกว่าการประกันราคา

(2) เพื่อช่วยบรรเทาความเดือนร้อนของชาวนาในเบื้องต้นและภาครัฐน่าจะเป็นตัวกลางในการหาช่องทางส่งออกข้าวในตลาดใหม่ๆ
ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือที่ยั่งยืนมากขึ้น

ร้อยละ 25.0 วิธีการอื่นๆ เช่น (1) การจัดการอุปทานด้วยการกำหนดพื้นที่เพาะปลูก และจับมือกับประเทศเพื่อนบ้าน

อย่างเวียดนามเพื่อควบคุมราคาในตลาดโลก

(2) การจัดการด้านอุปสงค์ด้วยการระบายข้าวในสต็อกแบบรัฐต่อรัฐ Road Show

สินค้าข้าวในตลาดต่างประเทศ ทำการตลาดชุมชน

(3) การขาย Put Options ให้กับชาวนา (การให้สิทธิการขายแก่ผู้ถือสัญญา)

(4) การประกันรายได้ของผู้มีรายได้ขั้นต่ำ หรือในระดับพอยังชีพ

(5) ปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกตลาด

ร้อยละ 18.8 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

2. ความเห็นต่อประเด็น การปรับขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงการชุมนุมของกลุ่ม นปช. เป็นการปรับเพิ่มขึ้นในลักษณะใด

ร้อยละ 51.6 เชื่อว่าเป็นการปรับขึ้นเพื่อเก็งกำไรในระยะสั้น เพราะความเสี่ยงทางการเมืองยังมีอยู่

โดยคาดว่า SET Index ระดับสูงสุดของปีนี้จะอยู่ที่ 800-810 จุด

ร้อยละ 34.4 เชื่อว่า เป็นการปรับเพิ่มขึ้นในระยะยาวตามข้อมูลเศรษฐกิจของไทย และการชุมนุมที่สามารถควบคุมได้

โดยคาดว่า SET Index ระดับสูงสุดของปีนี้จะอยู่ที่ 840-850 จุด

ร้อยละ 14.0 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

3. ความเห็นต่อประเด็น แนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง

ร้อยละ 54.7 ไม่เห็นด้วย

เนื่องจาก (1) รัฐบาลที่ตั้งขึ้นมาจะขาดเอกภาพ จะมีการขัดแย้งกันเองภายใน ไม่มีผู้นำที่ทุกฝ่ายยอมรับ

และจะไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติอย่างแท้จริงได้

(2) เป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด กล่าวคือ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ระบบแต่อยู่ที่ตัวบุคคลไม่ยอมรับกฎกติกา

ทางสังคม การทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวหรือกลุ่มของตัวเอง และการแย่งชิงอำนาจของ

นักการเมือง

(3) จะบริหารประเทศลำบากมาก ควรมีฝ่ายตรวจสอบ ไม่ใช่วิถีแห่งประชาธิปไตย และรัฐบาล

ปัจจุบันยังทำงานได้

ร้อยละ 14.0 เห็นด้วย

เนื่องจาก ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเกิดจากต่างฝ่ายต่างไม่ยอมรับกัน และไม่ได้ใช้เหตุผลในการพูดคุยกัน ดังนั้น

การมีคนกลางจะช่วยลดความขัดแย้งลง จากนั้นจึงตั้งกติกาใหม่ที่ทุกฝ่ายยอมรับ แล้วเข้าสู่กระบวน

การเลือกตั้งโดยเร็ว

ร้อยละ 31.3 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

4. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองต่อรัฐบาล

ร้อยละ 34.4 เสนอให้แก้ด้วยวิธี (1) เจรจาเพื่อร่วมกันหาทางออก โดยกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจน

ที่ทุกฝ่ายรวมทั้งสาธารณชนรับรู้และเข้าใจ จากนั้นจึงยุบสภา

(2) ขอให้รัฐบาลประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่ถูกต้องให้กับประชาชน อย่างต่อเนื่อง

และอดทนต่อการยั่วยุของกลุ่ม นปช.

(3) ดำเนินการทุกอย่างตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด(นิติรัฐ)

ร้อยละ 29.7 ไม่ตอบ (แต่ทราบและมีความคิดอยู่ในใจ)

ร้อยละ 35.9 ไม่รู้/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรงไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่อง ทางสื่อมวลชน

2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย

กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้อง ใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 22 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนัก งานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารธนชาติ ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย บริษัททริ สเรทติ้ง บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน คณะ เศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิธีการรวบรวมข้อมูล

รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  25-30  มีนาคม  2553

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  2 เมษายน 2553

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

                                        จำนวน          ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
           หน่วยงานภาครัฐ                    32          50.0
           หน่วยงานภาคเอกชน                 21          32.8
           สถาบันการศึกษา                    11          17.2
          รวม                              64         100.0

เพศ
            ชาย                            31          48.4
            หญิง                            33          51.6
          รวม                              64         100.0

อายุ
            18 ปี — 25 ปี                     1           1.5
            26 ปี — 35 ปี                    33          51.6
            36 ปี — 45 ปี                    18          28.1
            46 ปีขึ้นไป                       12          18.8
          รวม                              64         100.0

การศึกษา
             ปริญญาตรี                        4           6.3
             ปริญญาโท                       50          78.1
             ปริญญาเอก                      10          15.6
          รวม                              64         100.0

ประสบการณ์ทำงานรวม
              1-5  ปี                       13          20.3
              6-10 ปี                       22          34.4
              11-15 ปี                       8          12.5
              16-20 ปี                      10          15.6
              ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป                11          17.2
          รวม                              64         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ