กรุงเทพโพลล์: ดัชนีความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ

ข่าวผลสำรวจ Thursday April 8, 2010 08:54 —กรุงเทพโพลล์

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ระบุคนกรุงเทพฯ มีความเสี่ยงด้านการเมืองสูงที่สุด โดยร้อยละ 62.8 อยากให้ควบคุมสถานการณ์ ยุติปัญหาการชุมนุม และทำการเมืองให้สงบโดยเร็ว เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินชีวิต

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. คะแนนความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ในด้านต่างๆ พบว่า ความเสี่ยงด้านการเมือง มีคะแนนสูงที่สุด 7.47 คะแนน
(จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) ขณะที่ความเสี่ยงด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว มีคะแนนต่ำสุด 3.51 คะแนน ดังนี้
          ความเสี่ยงด้านการเมือง                                                        7.47  คะแนน
          ความเสี่ยงด้านสุขภาพกาย                                                       5.86  คะแนน
          ความเสี่ยงในด้านสุขภาพจิต                                                      5.85  คะแนน
          ความเสี่ยงด้านค่าครองชีพและหนี้สิน                                                5.75  คะแนน
          ความเสี่ยงด้านชีวิตและทรัพย์สิน                                                   5.70  คะแนน
          ความเสี่ยงด้านการเดินทาง                                                      5.56  คะแนน
          ความเสี่ยงด้านการงานอาชีพ                                                     5.24  คะแนน
          ความเสี่ยงด้านวัฒนธรรมประเพณี และความสัมพันธ์ในชุมชน                               4.75  คะแนน
          ความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติและโรคระบาดร้ายแรง                                     4.46  คะแนน
          ความเสี่ยงด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว                                             3.51  คะแนน

2.  สิ่งที่ต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขโดยเร่งด่วน เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตของคนกรุงเทพฯ  (5 อันดับแรก) คือ
          -  ควบคุมสถานการณ์ ยุติปัญหาการชุมนุม และทำการเมืองให้สงบโดยเร็ว                       ร้อยละ  62.8
          -  แก้ปัญหาสินค้าราคาแพง มาตรการป้องกันการถูกเลิกจ้าง ลดค่าแรง                         ร้อยละ  11.1
          -  แก้ปัญหารถติด ปรับปรุงคุณภาพระบบขนส่งมวลชนและรถโดยสารประจำทาง                    ร้อยละ  10.4
  • เพิ่มจำนวนและจัดสรรเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลให้ทั่วถึงเพื่อแก้ปัญหาการถูกทำร้ายร่างกาย ฉกชิงวิ่งราว ร้อยละ 5.7
          -  แก้ปัญหามลภาวะทางอากาศ ควันจากท่อไอเสีย                                        ร้อยละ   2.9

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

1. เพื่อสำรวจความเสี่ยงต่อการดำเนินชีวิตของคนกรุงเทพฯ ในด้านต่างๆ

2. เพื่อสะท้อนความเห็นต่อสิ่งที่ต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยงในชีวิตของคนกรุงเทพฯ

3. เพื่อเสนอแนะต่อภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,318 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 44.2 และเพศหญิงร้อยละ 55.8

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัวและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :   7 เมษายน 2553

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :   7 เมษายน 2553

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                                     จำนวน         ร้อยละ
เพศ
               ชาย                                     582          44.2
               หญิง                                     736          55.8
          รวม                                        1,318         100.0

อายุ
               18 - 25 ปี                               344          26.1
               26 - 35 ปี                               428          32.5
               36 - 45 ปี                               260          19.7
               46 ปีขึ้นไป                                286          21.7
          รวม                                        1,318         100.0

การศึกษา
               ต่ำกว่าปริญญาตรี                            632          48.0
               ปริญญาตรี                                 588          44.6
               สูงกว่าปริญญาตรี                             98           7.4
          รวม                                        1,318         100.0

อาชีพ
               ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ                92           7.0
               พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน                348          26.4
               ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว                 396          30.0
               รับจ้างทั่วไป                               116           8.8
               พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                    134          10.2
               อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น    232          17.6
          รวม                                        1,318         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ