กรุงเทพโพลล์: "นโยบายการเงินของไทยและอัตราแลกเปลี่ยนของจีน"

ข่าวผลสำรวจ Monday April 19, 2010 09:10 —กรุงเทพโพลล์

นักเศรษฐศาสตร์เชื่อ ธปท. จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.25 ในการประชุมวันที่ 21 เม.ย. นี้

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 22 แห่งเรื่อง"นโยบาย การเงินของไทยและอัตราแลกเปลี่ยนของจีน” โดยนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 70.3 เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะคงอัตราดอกเบี้ย นโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปีเหมือนเดิมในการประชุม 21 เม.ย. นี้ แม้ว่าในการประชุมครั้งที่ผ่านมา ธปท. จะมีการส่งสัญญาณปรับเพิ่มอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายที่ชัดเจนก็ตาม นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 21.9 สนับสนุนให้รัฐบาล(โดยกระทรวงการคลัง) และ ธปท. แก้ปัญหาหนี้สิน ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(Financial Institutions Development Fund : FIDF)ที่มีกว่า 1.14 ล้านล้านบาท ตามข้อเสนอแนะของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ด้วยการเสนอให้ ธปท.ซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่ไม่มีผลตอบแทนซึ่งจะทำให้รัฐบาลไม่มีภาระ ดอกเบี้ยอีกเพียงแต่กำไรของ ธปท. จะลดลงไป

ด้านประเด็นที่ธนาคารโลก IMF รวมทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา กดดันให้ประเทศจีนปรับค่าเงินหยวนให้แข็งขึ้นนั้นนักเศรษฐศาสตร์ร้อย ละ 59.4 เชื่อว่าจีนจะยังคงรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนต่อเงินดอลลาร์สหรัฐไว้ในระดับเดิมจนถึงสิ้นปีนี้ (พ.ศ. 2553) เป็นอย่างน้อย

(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)

1. ความเห็นจากประเด็นถ้อยแถลง ผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 10 มีนาคม
2553 ที่ผ่านมาซึ่งได้มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี อีกทั้งยังส่งสัญญาณค่อนข้างชัดเจนว่าในการประชุม กนง. ครั้งหน้าในวัน
ที่ 21 เม.ย. นี้ หากไม่มีอะไรมากระทบเศรษฐกิจแรง ๆ และตัวเลขเศรษฐกิจที่เป็นปัจจัยการพิจารณาดอกเบี้ยไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ก็มี
โอกาสสูงที่ กนง.จะปรับดอกเบี้ยอาร์/พี พบว่า
          ร้อยละ  70.3          เชื่อว่า ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี  เหมือนเดิม
          ร้อยละ  18.8          เชื่อว่า ธปท. จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 0.25 ต่อปี

ในการประชุมในวันที่ 21 เม.ย. นี้

          ร้อยละ  10.9          ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

2.   ความเห็นต่อประเด็น  แนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(Financial Institutions
Development Fund : FIDF)ที่มีกว่า 1.14 ล้านล้านบาท แยกเป็น FIDF1 ประมาณ 4.6 แสนล้านบาทและ FIDF2 ประมาณ 6.7 แสนล้าน
บาท  ซึ่งกระทรวงการคลังได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหา 3 แนวทางด้วยกันเพื่อให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจ  พบว่า
          ร้อยละ  21.9          สนับสนุนแนวทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) โดยเสนอให้ ธปท.ซื้อพันธบัตรรัฐบาล

ที่ไม่มีผลตอบแทนจะทำให้รัฐบาลไม่มีภาระดอกเบี้ยอีกเพียงแต่กำไรของ ธปท. จะลดลงไป

          ร้อยละ  20.3          สนับสนุนแนวทางการแก้ไขหนี้ FIDF2 จำนวน 6.7 แสนล้านบาท โดยจะแก้กฎหมายพระราชบัญญัติ

เงินตรา เพื่อให้สามารถนำเงินจากบัญชีสำรองพิเศษมาใส่ในบัญชีสำรองเงินตราที่ใช้แบ็กอัพในการออก

ธนบัตรได้โดยตรง ในกรณีที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นหรืออ่อนค่าลง ก็ให้นำกำไรเข้าไปในบัญชีสำรองพิเศษ

จากเดิมที่กำหนดว่าถ้าขาดทุนให้ใช้เงินจากบัญชีผลประโยชน์ประจำปีมาใส่ แต่หากมีกำไรก็ให้เข้าบัญชีสำรองพิเศษ

          ร้อยละ  10.9          สนับสนุนแนวทางการแก้ไขหนี้ FIDF1 ที่กฎหมายระบุว่าให้นำกำไรของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)

มาชำระดอกเบี้ยและเงินต้น แต่ถ้า ธปท. ไม่มีกำไร ให้รัฐบาลตั้งงบประมาณชำระดอกเบี้ยไปก่อน แล้ว

แก้ไขด้วยการใช้วิธีนำเงินจากบัญชีสำรองพิเศษที่มีราว 8.6 แสนล้านบาท มาให้ ธปท.ยืมใช้ชำระหนี้

FIDF1 ราว 4.6 แสนล้านบาท หลังจากนั้นให้ ธปท.ทยอยใช้คืนในเวลา 5 ปี

          ร้อยละ  4.7           สนับสนุนแนวทางอื่นๆ เช่น -  เก็บภาษีจากสถาบันการเงินเพื่อมาชดเชยภาระขาดทุน
  • การใช้ดอกผลบัญชีผลประโยชน์ประจำปีมาชำระเงินต้น
          ร้อยละ  42.2          ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

3.    ความเห็นต่อประเด็นที่ธนาคารโลก  IMF  รวมทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา  กดดันให้ประเทศจีนปรับค่าเงินหยวนให้แข็งขึ้นนั้น  พบว่า
          ร้อยละ  59.4          เชื่อว่าจีนจะยังคงรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนต่อเงินดอลลาร์สหรัฐไว้ในระดับเดิม

ภายในปีนี้ (พ.ศ. 2553) เป็นอย่างน้อย

          ร้อยละ  34.4          เชื่อว่าจีนจะปรับค่าเงินหยวนให้แข็งขึ้น  ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในไตรมาสที่  3 ปีนี้
          ร้อยละ  6.2           ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรงไปยังสาธารณชน

โดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน

2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย

กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้อง ใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 22 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนัก งานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารธนชาต ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย บริษัททริ สเรทติ้ง บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน คณะ เศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิธีการรวบรวมข้อมูล

รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  25-30  มีนาคม  2553

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  19 เมษายน 2553

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

                                        จำนวน          ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
           หน่วยงานภาครัฐ                    32          50.0
           หน่วยงานภาคเอกชน                 21          32.8
           สถาบันการศึกษา                    11          17.2
          รวม                              64         100.0

เพศ
            ชาย                            31          48.4
            หญิง                            33          51.6
          รวม                              64         100.0

อายุ
            18 ปี — 25 ปี                     1           1.5
            26 ปี — 35 ปี                    33          51.6
            36 ปี — 45 ปี                    18          28.1
            46 ปีขึ้นไป                       12          18.8
          รวม                              64         100.0

การศึกษา
             ปริญญาตรี                        4           6.3
             ปริญญาโท                       50          78.1
             ปริญญาเอก                      10          15.6
          รวม                              64         100.0

ประสบการณ์ทำงานรวม
              1-5  ปี                       13          20.3
              6-10 ปี                       22          34.4
              11-15 ปี                       8          12.5
              16-20 ปี                      10          15.6
              ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป                11          17.2
          รวม                              64         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ