กรุงเทพโพลล์: กิจกรรมการเชียร์ฟุตบอลโลก 2010 ของแฟนบอลชาวไทย

ข่าวผลสำรวจ Friday June 4, 2010 09:39 —กรุงเทพโพลล์

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่สนใจ กีฬาฟุตบอล จำนวน 1,119 ตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 95.4 สนใจติดตามรับชมการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก โดยคาดว่าทีมที่จะได้เป็นแชมป์ ฟุตบอลโลก 2010 คือ บราซิล

ส่วนกิจกรรมที่จะทำควบคู่ไปกับการชมฟุตบอลโลก อันดับแรกคือการกินขนมขบเขี้ยว (ร้อยละ 26.7) รองลงมาคือการแทงพนันฟุตบอล (ร้อยละ 25.6) โดยในจำนวนนี้เป็นกลุ่มเยาวชนถึง 1 ใน 4 ขณะที่จำนวนเงินที่คาดว่าจะใช้ในการแทงพนันฟุตบอลอยู่ในช่วง 101-1,000 บาท ต่อครั้ง

เมื่อสอบถามถึงความเห็นเรื่องการเปิดโต๊ะพนันบอลแบบถูกกฎหมาย พบว่า ร้อยละ 44.6 เห็นด้วยกับการเปิดโต๊ะพนันบอลแบบถูก กฎหมาย

สำหรับความรู้สึกต่อทีมชาติไทยที่ยังไม่เคยได้ไปร่วมแข่งขันฟุตบอลโลก ร้อยละ 36.7 ระบุว่า รู้สึกเฉยๆ ปลง ไม่เคยคาดหวังอยู่แล้ว ขณะที่ร้อยละ 33.1 อยากให้มีการพัฒนาทักษะ ความเป็นมืออาชีพ สรีระของนักฟุตบอล รวมไปถึงพัฒนา สมาคมฟุตบอล ผู้บริหาร ผู้ฝึกสอนและผู้จัดการ ทีมชาติไทยให้มีมาตรฐานดีขึ้น

ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ความตั้งใจที่จะติดตามชมการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010
          จะติดตามชม            ร้อยละ  95.4
                    โดย           ติดตามชมทุกคู่                                   ร้อยละ  22.3
                              ติดตามชมเฉพาะทีมที่เชียร์                              ร้อยละ  36.3
                              ติดตามชมเฉพาะคู่ดังๆ หรือคู่บิ๊กแมตช์                      ร้อยละ  36.8

          จะไม่ติดตามชม          ร้อยละ  4.6

(เนื่องจาก ไม่มีเวลาเพราะ ต้องทำงานและเรียนหนังสือ)

2. ทีมชาติที่คาดว่าจะเป็นแชมป์ฟุตบอลโลก 2010 (5 ดับแรก) คือ
          บราซิล                                       ร้อยละ  26.0
          สเปน                                        ร้อยละ  19.2
          อังกฤษ                                       ร้อยละ  18.1
          อาร์เจนติน่า                                   ร้อยละ   9.8
          อิตาลี                                        ร้อยละ   9.1

3. กิจกรรมที่จะทำควบคู่ไปกับการชมฟุตบอลโลก 2010 (5 อันดับแรก) คือ
          กินขนมขบเขี้ยว                                            ร้อยละ  26.7
          แทงพนันฟุตบอล                                            ร้อยละ  25.6
          ดื่มน้ำอัดลม / น้ำผลไม้                                      ร้อยละ  19.0
          ดื่มเหล้า / เบียร์                                          ร้อยละ  18.3
          เล่นพนันกับเพื่อน เช่น เลี้ยงข้าว เลี้ยงเหล้า เบียร์ น้ำอัดลม          ร้อยละ  10.4

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ที่ระบุว่าจะแทงพนันฟุตบอลควบคู่ไปกับการชมฟุตบอลโลก พบว่า

          เป็นผู้ที่มีอายุ     15-25 ปี                                  ร้อยละ 26.9
                        26-35 ปี                                  ร้อยละ 29.7
                        36-45 ปี                                  ร้อยละ 24.3
                        46 ปีขึ้นไป                                 ร้อยละ 19.1

4.  จำนวนเงินต่อครั้งที่คาดว่าจะใช้เล่นพนันในช่วงฟุตบอลโลก 2010 (ถามเฉพาะผู้ที่คิดว่าจะเล่นพนันฟุตบอล) คือ
          20-100 บาท                                             ร้อยละ   39.0
          101-1,000 บาท                                          ร้อยละ   43.3
          1,001-10,000 บาท                                       ร้อยละ   13.6
          10,001 บาทขึ้นไป                                         ร้อยละ     4.1

5.  ความเห็นต่อการเปิดโต๊ะพนันบอลแบบถูกกฎหมาย
          เห็นด้วย                                                 ร้อยละ  44.6
          ไม่เห็นด้วย                                               ร้อยละ  37.6
          ไม่ออกความเห็น                                           ร้อยละ  17.8

6.  ความรู้สึกต่อทีมชาติไทยที่ยังไม่เคยได้ไปร่วมแข่งขันฟุตบอลโลก (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
          ร้อยละ  36.7         รู้สึกเฉยๆ ชินแล้ว ปลง ไม่เคยคาดหวังอยู่แล้ว
          ร้อยละ  33.1         อยากให้ทีมชาติไทยมีการพัฒนาทักษะ ความเป็นมืออาชีพ และสรีระ ของนักฟุตบอล

รวมไปถึงพัฒนา สมาคมฟุตบอล ผู้บริหาร ผู้ฝึกสอนและผู้จัดการทีม

          ร้อยละ  13.5         รู้สึกผิดหวัง เสียใจ ที่ทีมชาติไทยไม่เคยได้ไปบอลโลก
          ร้อยละ   9.7         สมควรแล้วที่ไม่เคยได้ไป  ยังไงก็ไม่มีวันได้ไป
          ร้อยละ   7.0         เซ็ง เบื่อ ไม่อยากติดตามแล้ว

รายละเอียดในการสำรวจ

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 24 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางเขน บางคอแหลม บางพลัด บางนา บางบอน บางรัก บึงกุ่ม พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี สวนหลวง สาทร หนองจอก และห้วยขวาง และจังหวัด ในเขตปริมณฑลรวม 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,119 คน เป็นชายร้อยละ 71.3 และหญิงร้อยละ 28.7

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และข้อคำถามปลายเปิด จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและ ประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  27 - 30 พฤษภาคม 2553

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  4 มิถุนายน 2553

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                           จำนวน          ร้อยละ
เพศ
     ชาย                                     798          71.3
     หญิง                                     321          28.7
รวม                                        1,119         100.0

อายุ
     15 - 25 ปี                               301          26.9
     26 - 35 ปี                               333          29.8
     36 - 45 ปี                               272          24.3
     46 ปีขึ้นไป                                213          19.0
รวม                                        1,119         100.0

การศึกษา
     ต่ำกว่าปริญญาตรี                            690          61.6
     ปริญญาตรี                                 359          32.1
     สูงกว่าปริญญาตรี                             56           5.0
    ไม่ระบุการศึกษา                              14           1.3
รวม                                        1,119         100.0

อาชีพ
     ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ                84           7.5
     พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน                358          32.1
     ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว                 279          24.9
     รับจ้างทั่วไป                               195          17.4
     พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                     37           3.3
     อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น    166          14.8
รวม                                        1,119         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ