นักเศรษฐศาสตร์ทบทวนตัวเลข GDP ปี 53 คาดทั้งปีขยายตัว 4.3 % เสนอคงอัตราดอกเบี้ยถึงสิ้นปี
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 25 แห่ง เรื่อง “ทบทวนตัวเลขเศรษฐกิจ หลัง นปช. ยุติการชุมนุม” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวัน ที่ 8-14 มิ.ย. ที่ผ่านมา พบว่า
นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากถึงร้อยละ 86.6 ยังเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยปี 2553 ทั้งปีจะขยายดีกว่าปี 2552 โดยคาดว่า GDP จะขยาย ตัวเท่ากับร้อยละ 4.3 แม้จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่ม นปช. และวิกฤติหนี้สาธารณะของประเทศแถบยุโรป โดยนักเศรษฐศาสตร์ ร้อยละ 27.8 เห็นว่าการส่งออกสินค้าจะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจช่วงครึ่งหลังของปี
สำหรับประเด็นวิกฤติหนี้สาธารณะของกรีซและประเทศในแถบยุโรปนั้นนักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นต่างกันแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ ร้อย ละ 44.8 เห็นว่า วิกฤติดังกล่าวจะไม่ลุกลามและจะไม่กระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่อีกร้อยละ 44.8 เช่นกันกลับเห็นว่า วิกฤติจะลุกลามและนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจโลกอีกครั้งหนึ่งแต่แย่น้อยกว่าครั้งที่แล้ว(วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์) จากปัจจัยวิกฤติทางการเมืองของไทยและ วิกฤติหนี้สาธารณะของยุโรปทำให้นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 50.7 เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.25 จนถึงสิ้นปี โดยให้เหตุผลเพิ่มเติมว่า การคงอัตราดอกเบี้ยจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก อีกทั้งยังเป็นการช่วย เหลือภาคธุรกิจ ส่งเสริมการลงทุน ประกอบกับภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบันไม่ได้สูงมากนัก จึงเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันน่าจะเป็นอัตราที่เหมาะสม
ด้านปัจจัยที่จะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีนั้น ร้อยละ 71.6เห็นว่าเป็นปัญหาเสถียรภาพของรัฐบาล ร้อยละ 55.2 เห็นว่าการชุมนุมประท้วงที่อาจจะเกิดขึ้นอีก ร้อยละ53.7 เป็นปัญหาความเชื่อมั่นของนักลงทุน(การลงทุนทางตรง)
นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ภายใต้แนวคิด “ 3 (อย่าง)สร้างประเทศไทย” ประกอบด้วย (1) สร้าง เศรษฐกิจ ด้วยการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ กระตุ้นการท่องเที่ยว การบริโภค ช่วยเหลือ SMEs และภาคการเกษตร ซึ่งจะทำให้ เศรษฐกิจในประเทศมีการขับเคลื่อนที่ดีขึ้น ลดการพึ่งพาเศรษฐกิจจากภายนอก (2) สร้างความเชื่อมั่น ทั้งความเชื่อมั่นของนักลงทุนและความเชื่อ มั่นของนักท่องเที่ยวด้วยการออกมาตรการต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม (3) สร้างความปรองดอง เพื่อความแข็งแกร่งของประเทศในระยะยาว และ การดำเนินการตามแผนปรองดอง การกำหนดให้การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทยเป็นวาระแห่งชาติ
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด
(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
ร้อยละ 44.8 เห็นว่า จะสามารถควบคุมวิกฤติได้และจะไม่กระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมีนัยสำคัญ ร้อยละ 44.8 เห็นว่า จะนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจโลกอีกครั้งหนึ่ง แต่แย่น้อยกว่าครั้งที่แล้ว ร้อยละ 7.4 เห็นว่า จะนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจโลกอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งแย่กว่าครั้งที่แล้ว ร้อยละ 3.0 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ 2. จากเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. และวิกฤติหนี้สาธารณะของประเทศแถบยุโรป นักเศรษฐศาสตร์ เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่ เหลือของปีควรเป็นอย่างไร ร้อยละ 50.7 เห็นว่า ควรตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.25 จนถึงสิ้นปีนี้เป็นอย่างน้อย
เนื่องจาก
1. ความเปราะบางทางเศรษฐกิจยังมีอยู่ไม่ว่าจะเป็น อุปสงค์ในประเทศยัง
อ่อนแออยู่มาก ปัญหาทางการเมืองในประเทศยังมีอยู่ หนี้สาธารณะของ
ยุโรปที่ยังเป็นปัญหาอยู่ และเศรษฐกิจโลกยังฟื้นไม่ชัดเจน เป็นต้น
2. เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก อีกทั้งยังเป็นการ
ช่วยเหลือภาคธุรกิจ และส่งเสริมการลงทุน
3. ภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบันไม่ได้สูงมากนัก อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยระดับ
ร้อยละ 1.25 น่าจะเป็นอัตราที่เหมาะสม ดังนั้น ช่วงนี้ควรเป็นช่วงของการเฝ้าดูสถานการณ์ ร้อยละ 34.30 เห็นว่า ควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายในปีนี้
เนื่องจาก
1. ภาวะเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและชัดเจนขึ้น
2. ภาวะเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นจากราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่
ปรับตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับเงินเฟ้อคาดการณ์ที่เริ่มสูงขึ้น
3. การปรับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นการปรับให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
ไม่ต่ำจนเกินไป (ไม่ใช่การใช้นโยบายที่เข้มงวด) อีกทั้งผลจากการใช้นโยบาย
การเงินมิได้เกิดขึ้นทันทีทันใด หากมีการปรับช้าเกินไปก็อาจไม่ทันการณ์
ร้อยละ 1.5 เห็นว่า ควรลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากร้อยละ 1.25 ร้อยละ 13.5 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ 3. จากเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. และวิกฤติหนี้สาธารณะของประเทศแถบยุโรป นักเศรษฐศาสตร์ คาดว่า GDP ปี 2553 ทั้งปีของไทย จะขยายตัวในระดับใด เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 ร้อยละ 86.6 เห็นว่า GDP ปี 2553 จะดีกว่า ปี 2552 โดยคาดว่าจะขยายร้อยละ 4.3 (ค่าเฉลี่ย) ร้อยละ 4.4 เห็นว่า GDP ปี 2553 จะแย่กว่า ปี 2552 ร้อยละ 9.0 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ 4. ความเห็นต่อประเด็น ปัจจัยที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 อันดับ 1 ร้อยละ 27.8 การส่งออกสินค้า อันดับ 2 ร้อยละ 22.9 การใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ อันดับ 3 ร้อยละ 20.2 การบริโภคของภาคเอกชน อันดับ 4 ร้อยละ 13.6 การลงทุนของภาคเอกชน อันดับ 5 ร้อยละ 12.5 การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ ร้อยละ 3.0 5. ความเห็นต่อประเด็น ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบด้านลบกับเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 (ตอบได้มากกว่า 1 ปัจจัย) อันดับ 1 ร้อยละ 71.6 ปัญหาเสถียรภาพของรัฐบาล อันดับ 2 ร้อยละ 55.2 การชุมนุมประท้วงที่อาจจะเกิดขึ้นอีก (กลุ่ม นปช./กลุ่มพันธมิตร) อันดับ 3 ร้อยละ 53.7 ปัญหาความเชื่อมั่นของนักลงทุน(การลงทุนทางตรง) อันดับ 4 ร้อยละ 47.8 ปัญหาจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง อันดับ 4 ร้อยละ 47.8 การส่งออกที่อาจลดลงจากเศรษฐกิจโลกโดยรวมที่อาจได้รับผลกระทบจากวิกฤติหนี้สาธารณะ อันดับ 6 ร้อยละ 32.8 ราคาน้ำมันที่อาจจะปรับเพิ่มขึ้น อันดับ 6 ร้อยละ 32.8 ปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะของกรีซและกลุ่มประเทศแถบยุโรป อันดับ 8 ร้อยละ 31.3 ปัญหาความเชื่อมั่นของผู้บริโภค อันดับ 9 ร้อยละ 23.9 ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น กรณีมาบตาพุด และแหลมฉบัง ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข อันดับ 10 ร้อยละ 19.4 ค่าเงินบาทที่อาจจะแข็งค่าขึ้น อันดับ 11 ร้อยละ 13.4 ปัญหาเงินเฟ้อที่อาจจะปรับเพิ่มขึ้น อันดับ 12 ร้อยละ 10.4 อัตราดอกเบี้ยที่อาจจะปรับเพิ่มขึ้น อันดับ 13 ร้อยละ 4.5 ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปิดเสรีของกลุ่มการค้าอาเซียน
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ ร้อยละ 1.5
1. สร้างเศรษฐกิจ โดย
- เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตรวจสอบได้ โดยเฉพาะ
- กระตุ้นการท่องเที่ยว การบริโภค ช่วยเหลือ SMEs และภาคการเกษตร ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจในประเทศมีการขับ
2. สร้างความเชื่อมั่น ทั้งความเชื่อมั่นของนักลงทุนและความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวด้วยการออกมาตรการต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม และให้สัญญาว่าเหตุการณ์อย่างกรณีมาบตาพุดหรือกรณีการชุมนุมประท้วงทางการเมือง(ที่มีความรุนแรง) จะไม่เกิดขึ้นอีก
3. สร้างความปรองดอง เพื่อความแข็งแกร่งของประเทศในระยะยาว ด้วยการดำเนินการตามแผนปรองดอง การกำหนดให้การแก้ ปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทยเป็นวาระแห่งชาติ รวมทั้งการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด
รายละเอียดในการสำรวจ
1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรงไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่อง ทางสื่อมวลชน
2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย
เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้อง ใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 25 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนัก งานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย บริษัทศูนย์วิจัยกสิกร ไทย บริษัททริสเรทติ้ง บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน บริษัทหลักทรัพย์พัฒน สิน บริษัทหลักทรัพย์ไอร่า บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 8-14 มิถุนายน 2553 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 16 มิถุนายน 2553
ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่ หน่วยงานภาครัฐ 30 44.8 หน่วยงานภาคเอกชน 25 37.3 สถาบันการศึกษา 12 17.9 รวม 67 100.0 เพศ ชาย 38 56.7 หญิง 29 43.3 รวม 67 100.0 อายุ 18 ปี — 25 ปี 1 1.4 26 ปี — 35 ปี 33 49.3 36 ปี — 45 ปี 18 26.9 46 ปีขึ้นไป 15 22.4 รวม 67 100.0 การศึกษา ปริญญาตรี 4 6.0 ปริญญาโท 49 73.1 ปริญญาเอก 14 20.9 รวม 67 100.0 ประสบการณ์ทำงานรวม 1-5 ปี 18 26.9 6-10 ปี 21 31.3 11-15 ปี 6 9.0 16-20 ปี 8 11.9 ตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป 14 20.9 รวม 67 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--