ด้วยวันที่ 20 มิถุนายน ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบ 1 ปี 6 เดือน การทำงานของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ประเมินผลงาน 1 ปี 6 เดือนรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์” ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกภาคของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,395 คน เมื่อวันที่ 17- 20 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบว่า
ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาล 3.79 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยพึงพอใจผลงานด้านการต่างประเทศมากที่สุด แต่พึงพอใจผลงานด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมายน้อยที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อตอนที่รัฐบาลทำงานครบ 6 เดือน และ 1ปี พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยลดลง
สำหรับกระทรวงที่ประชาชนชื่นชอบผลงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตามลำดับ
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน พบว่า พรรคแกนนำรัฐบาลได้คะแนน 4.21 คะแนน พรรคร่วมรัฐบาลได้ 3.26 คะแนน และพรรคฝ่ายค้าน ได้ 3.36 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
สำหรับคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้คะแนนเฉลี่ย 4.48 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งลดลงจากผลการประเมินเมื่อตอนที่ทำงานครบ 1 ปี 0.22 คะแนน หรือลดลงร้อยละ 0.2 โดยได้คะแนนด้านความซื่อสัตย์สุจริตมากที่สุด แต่ได้คะแนนด้านความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจน้อยที่สุด
ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. คะแนนความพึงพอใจผลงานของรัฐบาล นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อทำงานครบ 1 ปี 6 เดือนได้คะแนนเฉลี่ย 3.79 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากการสำรวจเมื่อตอนที่รัฐบาลทำงานครบ 6 เดือน 9 เดือน และ 1 ปีพบว่ามีคะแนนลดลง ดังตารางต่อไปนี้
6 เดือน(คะแนนที่ได้) 1 ปี (คะแนนที่ได้) 1 ปี ครึ่ง(คะแนนที่ได้) ด้านการต่างประเทศ 4.58 3.75 3.97 ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต 4.13 3.76 3.95 ด้านเศรษฐกิจ 3.95 4.41 3.78 ด้านความมั่นคงของประเทศ 3.73 3.73 3.65 ด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย 3.91 3.71 3.61 เฉลี่ยรวม 4.06 3.87 3.79
หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
- อันดับที่ 1 กระทรวงศึกษาธิการ ร้อยละ 13.2
(โดยผลงานที่ชื่นชอบได้แก่ โครงการเรียนฟรี 15 ปี โครงการติวเตอร์แชแนล)
- อันดับที่ 2 กระทรวงการคลัง ร้อยละ 8.8
(โดยผลงานที่ชื่นชอบได้แก่ โครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ มาตรการด้านภาษี การขาย
พันธบัตรรัฐบาล)
- อันดับที่ 3 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร้อยละ 6.1
(โดยผลงานที่ชื่นชอบได้แก่ โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ การสนับสนุน
ทางด้านกีฬา เช่น ทีมฟุตซอล)
- ไม่ชื่นชอบผลงานของกระทรวงใดเลย ร้อยละ 31.1 3. คะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ครบ 6 เดือน(คะแนนที่ได้) ครบ 1 ปี(คะแนนที่ได้) ครบ 1 ปีครึ่ง(คะแนนที่ได้)
พรรคแกนนำรัฐบาล (พรรคประชาธิปัตย์) 4.38 4.23 4.21 พรรคร่วมรัฐบาล (พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเผื่อแผ่นดิน ฯลฯ) 3.40 3.44 3.26 พรรคฝ่ายค้าน (พรรคเพื่อไทย พรรคประชาราช ฯลฯ) 3.46 3.37 3.36
หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
ครบ 1 ปี(คะแนน) ครบ 1 ปี ครึ่ง(คะแนน) เพิ่มขึ้น/ลดลง
ความซื่อสัตย์สุจริต 5.44 5.07 - 0.37 ความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศ 5.35 5.02 - 0.33 การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ 4.83 4.66 - 0.17 ความสามารถสร้างสรรค์ผลงานหรือโครงการใหม่ๆ 4.62 4.26 - 0.36 ความสามารถในการบริหารจัดการตามอำนาจหน้าที่ที่มี 4.25 4.15 - 0.10 ความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ 3.72 3.73 + 0.01 คะแนนเฉลี่ย 4.70 4.48 - 0.22 5. เมื่อเปรียบเทียบความคาดหวังระหว่างตอนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กับผลการทำงานในช่วง 1 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา พบว่า - ดีกว่าที่คาดหวังไว้ ร้อยละ 12.3 - พอๆ กับที่คาดหวังไว้ ร้อยละ 30.6 - แย่กว่าที่คาดหวังไว้ ร้อยละ 29.6 - ไม่ได้คาดหวังไว้ ร้อยละ 27.5
รายละเอียดในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่างๆ จากทั่วทุกภาคของประเทศ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน(Multi-Stage Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,395 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.6 และเพศหญิงร้อยละ 50.4
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 17- 20 มิถุนายน 2553 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 23 มิถุนายน 2553
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 691 49.6 หญิง 704 50.4 รวม 1,395 100.0 อายุ 18 ปี - 25 ปี 345 24.7 26 ปี — 35 ปี 382 27.4 36 ปี — 45 ปี 333 23.9 46 ปีขึ้นไป 335 24.0 รวม 1,395 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 793 56.9 ปริญญาตรี 517 37.1 สูงกว่าปริญญาตรี 85 6.0 รวม 1,395 100.0 อาชีพ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 145 10.4 พนักงานบริษัทเอกชน 424 30.4 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 341 24.5 รับจ้างทั่วไป 209 15.0 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 95 6.8 อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 181 12.9 รวม 1,395 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--